การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๑๓


จะต้องสร้างความเห็นพ้องและข้อตกลงที่ชัดเจนถึงส่วนของอุดมศึกษาที่เป็นเรื่องส่วนสาธารณะและเรื่องส่วนบุคคล เพื่อกำหนดสัดส่วนภาระความรับผิดชอบของผู้เรียนและของรัฐ

การเปลี่ยนแปลงของ มจธ. เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล

          กล่าวโดยสรุป ผมมองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดกับ มจธ. เมื่อเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยกำกับรัฐบาล คือ

  1. วางรากฐานและสร้างระบบการบริหารที่จะนำไปสู่การสร้างมหาวิทยาลัยที่พึงปรารถนาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาพของมหาวิทยาลัยที่หวังจะเห็นคือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ของภูมิภาค ของเอเชียและของโลก เพื่อให้มหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรขับเคลื่อนและชี้นำประเทศได้อย่างสมศักดิ์ศรี
  2. ข้ามพ้น psychological barrier ของข้าราชการที่มักจะยอมจำนนต่อปัญหา ไม่คิดแก้ไขอะไร รอการแก้ไขหรือสัญญาณจากภายนอกมาเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรของตนเอง
  3.  เชื่อในศักยภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคลในองค์กร ที่จะสร้างองค์กรให้มีคุณภาพ มีพลวัตร
  4. สร้างระบบธรรมาภิบาล
  5. บุคลากรได้แสดงศักยภาพและนวัตกรรมในการทำงานทางวิชาการ และการบริหารจัดการ ศักยภาพและนวัตกรรมนี้สะท้อนออกมาในรูปการลดค่าใช้จ่ายลงได้ในงานเดิม มีความสำนึกที่จะประหยัด ทำงานได้ผลลัพธ์ผลผลิตมากขึ้นด้วยเงินที่ไม่มากไปกว่าเดิม มีรูปแบบใหม่ในการทำงาน มีความสำนึกเรื่องคุณภาพและการใช้เงินให้คุ้มค่ามากขึ้นมีผลงานวิชาการเกิดเพิ่มขึ้นมาก องค์กรหารายได้ได้มากขึ้น ตลอดจนมีเงินสะสมเพิ่มขึ้น
  6. มีความมั่นใจและยอมรับระบบตรวจสอบและระบบประเมิน ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร ใช้ผลการตรวจสอบและการประเมินเป็นเครื่องพัฒนา
  7. ระบบมีความมั่นใจที่จะเปลี่ยนความรู้ และความสามารถ ให้เป็นทุน ไม่คาดหวังที่จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
  8. สร้างวัฒนธรรมการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) และผู้สนับสนุน โดยเฉพาะกับนักศึกษาเก่า ภาคธุรกิจเอกชน และภาคสังคม
  9. ระบบมีความเปิดมากขึ้น เปิดโอกาสชักนำบุคลากรที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาเป็นผู้บริหาร ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชา คณบดี/ผู้อำนวยการ จนถึงอธิการบดี
     

สิ่งที่จะต้องช่วยกันคิดและพัฒนาต่อไป

          มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลจะพัฒนาต่อไปได้ ผมเห็นว่าต้องช่วยกันคิดเรื่องต่อไปนี้

1. ความสัมพันธ์กับองค์กรของรัฐ
          
จะต้องทบทวนความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลกับองค์กรของรัฐที่มีอยู่แล้วและมีส่วนสนับสนุนการดำเนินการของมหาวิทยาลัย เช่น สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
           นอกจากนั้น ยังมีองค์กรที่จะเกิดใหม่ เช่น คณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แต่ละฝ่ายจะต้องกำหนดบทบาทของตนให้ชัดเจนขึ้น


2. งบประมาณและการระดมทรัพยากรเพื่ออุดมศึกษา
           จะต้องสร้างความเห็นพ้องและข้อตกลงที่ชัดเจนถึงส่วนของอุดมศึกษาที่เป็นเรื่องส่วนสาธารณะและเรื่องส่วนบุคคล เพื่อกำหนดสัดส่วนภาระความรับผิดชอบของผู้เรียนและของรัฐ
           นอกจากนั้น จะต้องสร้างความชัดเจนเรื่องทรัพยากรเพื่ออุดมศึกษาระยะยาว ทั้งจากงบประมาณของรัฐ กองทุนกู้ยืม กองทุนเพื่อการพัฒนา กองทุนเพื่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ตลอดจนกลไกและ incentive ในการระดมทุนจากภาคเอกชน


3. การพัฒนาคุณภาพ
           จะต้องมีระบบในระดับประเทศที่จะชักนำ สร้าง incentive และจัดสรรทรัพยากรให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการ สายปฏิบัติและสายบริหาร และพัฒนาคุณภาพของระบบ

 

ติดตาม บทส่งท้าย  ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68831เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท