ของขวัญปีใหม่ ที่เด็กทุกคนต้องการ....


ทำเพื่อเด็กที่เราห่วงใย (เด็กๆในชุมชนและนอกชุมชน) ทำเพื่อเด็กที่ใกล้ชิดเรา (ลูกหลาน) และทำเพื่อปรับปรุงตัวเราให้เป็นคนน่ารักขึ้น มีคุณภาพขึ้น เป็นของขวัญปีใหม่ที่จะให้กับตัวเอง ครอบครัว และเด็กๆดีไหม?

ความจริงเรื่องความรุนแรงในเด็กกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเรื่องจริงที่สังคมทั่วไปยังไม่ใคร่รับรู้ อาจเพราะคนทั่วไปติดยึดกับภาพโรแมนติกของชนบทที่มีแต่ความเอื้ออาทรน้ำใจไมตรี

 แต่หารู้ไม่ว่าเด็กและเยาวชนบนที่สูงก็ประสบปัญหารุนแรงเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่ายังมีชุมชนและครอบครัวคอยเหนี่ยวรั้งไว้ได้บ้าง (และไม่ได้บ้าง) 

สมัยเมื่อผมมาทำงานวิจัยภาคสนามในอำเภอเล็กๆที่แม่ฮ่องสอนแห่งนี้ ผมก็ไม่ได้สนใจประเด็นนี้สักเท่าไร เพราะไปสนใจประเด็นวิจัยในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆมากกว่า  อย่างไรก็ตาม พอฝังตัวอยู่นานวันเข้า เรื่องราวความก้าวร้าวรุนแรงและภัยต่อเด็กเล็กเด็กโตก็เข้ามาเบียดแทรกเนื้อที่ความสนใจในสมองมากเข้าๆ  

<p style="text-align: center"></p>

    เด็กๆกะเหรี่ยงบ้านเมืองแพม แม่ฮ่องสอน ขณะร่วมด้วยช่วยกันในงานแต่งงานในหมู่บ้าน

</span><hr><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เด็กติดยา เด็กมั่วสุม เด็กมั่วเซ็กซ์ เด็กติดเอดส์ เด็กทำแท้ง เด็กถูกผู้ใหญ่ทำร้าย เด็กทำร้ายร่างกายกัน ยกพวกตีรันฟันแทงกัน เด็กขี้ลักขี้ขโมย ฯลฯ สารพัดปัญหาเด็กในพื้นที่ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>เราเคยชินกับการอวดโฉมหน้าสวยใสของแม่ฮ่องสอนป้อนแก่การท่องเที่ยวแต่เสือกไสปัญหาสังคมซุกซ่อนไว้เบื้องหลัง </p><p>ไม่ว่ากัน หากจะสนใจกำรี้กำไรจากการท่องเที่ยว แต่เม็ดเงินเหล่านี้ จะผันกลับมาแก้ไขปัญหาเด็กๆสักแค่ไหน   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ที่กล่าวมานี่ ไม่ได้อยากให้คิดกันว่าจะประณามแม่ฮ่องสอนในแง่ร้าย หรืออยากจะไปทำลายภาพพจน์การท่องเที่ยวนะครับ แต่ในฐานะนักวิชาการท้องถิ่น หน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือเป็นกระจกแห่งสัจจะที่สะท้อนภาพการพัฒนาโดยใช้หลักวิชาที่ตนร่ำเรียนมา แม้ว่าตัวเองจะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกเกลียดขี้หน้า มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ด้วยสปิริต ก็ต้องทำครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>เขียนบันทึกนี้ ส่งออนไลน์ไป นี่ก็ยังไม่รู้ว่าจะโดนใครมาแช่งชักหักกระดูกอีกหรือเปล่า แต่ก็ต้องทำครับ  </p><p>และในอีกฐานะหนึ่งที่เป็นนักพัฒนาอิสระ ที่มีประสบการณ์การทำกิจกรรมกับเยาวชนมาบ้างจากครั้งสมัยเรียนอุดมศึกษามาจนถึงปัจจุบัน และกำลังก่อร่างสร้างกลุ่มแกนนำเด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็เลยขอใช้ทั้งสองบทบาท คือทั้งในฐานะนักวิชาการและ activist แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตรงนี้ </p><p></p><p> ปัญหาเด็กที่แม่ฮ่องสอน นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ในขณะที่ผู้ใหญ่ (ส่วนใหญ่ ย้ำนะครับว่าส่วนใหญ่ ส่วนที่เปิดเกมรุกใส่ปัญหาก็มีเหมือนกัน แต่เป็นส่วนน้อย) ผู้นำส่วนใหญ่ได้แต่อยู่บนวัด อยู่บนศาลา อยู่บนอาคารสวยๆเรียกร้องให้ศีลธรรมกลับมา โดยไม่ก้าวลงมาสัมผัสมือ สัมผัสใจของพวกเขา อย่างนี้กว่าจะเข้าถึงพวกเขาได้ก็อาจต้องรอชาติหน้าตอนบ่ายๆ   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ถึงจะมีงบลงมา ถ้าใช้ไม่เป็น เข้าไม่ถึงใจเด็ก  ก็เหมือนเอาเงินฟาดหัวเด็ก เสียทั้งเงิน เสียทั้งแนวร่วม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>  งานพัฒนาเด็ก ต้องลงมาหาเด็กครับ (ซึ่งต้องกล้าที่จะถูกเด็กวิพากษ์ด้วย) และไม่หลงยึดติดกับยี่ห้อ เด็กดี” “เด็กเลว” “เด็กฉัน  เด็กเธอ  เด็กเขตนั้น” “เด็กเขตนี้ ซึ่งล้วนเป็นแต่ภาพลวงตาที่ใครก็ไม่รู้สร้างขึ้นมาบดบังพระพุทธเจ้าในใจของเรา </p><p></p><p></p><p> เด็กๆชาวลาหู่ยี บ้านบ่อไคร้ แม่ฮ่องสอน กับการเรียนรู้ในสนามเด็กเล่น</p><p><hr></p><p>คำว่าเมตตามันคงไม่มีพรมแดนนะครับ เด็กทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน ถ้าผู้ใหญ่ลำเอียงแล้ว เด็กจะกล้าพึ่งหรือ?    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โดยสรุปแล้ว ผมมองผ่านสายตาผู้ใหญ่ที่ใช้ชีวิตแย่ๆมาเหมือนกันกว่าจะถึงวันนี้ได้ ว่า การที่ผู้ใหญ่จะพัฒนาเด็กได้ แรกสุด ผู้ใหญ่ต้องพัฒนาตัวเองก่อนเลยนะครับ ยึดเอาเด็กเป็นตัวตั้ง ทำอย่างไรจะเข้าถึงพวกเขา โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง ไม่ต้องบีบบังคับ ไม่ใช้ความรุนแรงซ้ำเติมพวกเขา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> เครื่องมือที่ผู้ใหญ่มักใช้จัดการ “คนเก่ง” (ตั้งไว้กลางงานฤดูหนาวประจำอำเภอครับ)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"><hr></p><p> เหมือนครูสุขศึกษาสอนเด็กอย่าริสูบบุหรี่ แต่สอนเสร็จแล้วไปสูบควันขโมง ถ้าเด็กย้อน ครูจะตอบว่าอย่างไร?</p><p> เราอยากสอนให้เด็กดูแลครอบครัว ในขณะที่เราอ้างภาระงาน ในการทอดทิ้งอีกหลายคน รวมถึงบุพการีไว้ที่บ้าน</p><p> เช่นกัน เราอยากสอนให้พวกเขาลดการใช้อำนาจ เราเองต้องเป็นแบบอย่างก่อนครับ โดยการลด ละ เลิก การใช้อำนาจนิยมกับเขา  อันนี้ความยากไม่ได้อยู่ที่งบ เพราะไม่ได้ใช้งบเลย แต่ใช้สองมือกับหนึ่งใจที่กล้าหาญของแต่ละท่านนี่แหละ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ยากนะครับ แต่ถ้าไม่เริ่มวันนี้ พรุ่งนี้จะยากกว่านี้เพราะปัญหาจะลุกลามและซับซ้อนขึ้น นี่เป็นหนทางขั้นต้นที่จะเข้าถึงเด็กได้แท้จริง และยั่งยืน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center">คุณผู้ใหญ่ต้องเด็ดขาดกับตัวเองในเรื่องนี้</h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center"></h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center">   </h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center"></h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center"></h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center">เด็กๆลีซูบ้านกึ้ดสามสิบ ช่วยแม่ทำงานเลี้ยงของชุมชน เด็ดขาดไหมครับ :-) </h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center"></h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="center"></h1><p> ทำเพื่อเด็กที่เราห่วงใย (เด็กๆในชุมชนและนอกชุมชน)  ทำเพื่อเด็กที่ใกล้ชิดเรา (ลูกหลาน) และทำเพื่อปรับปรุงตัวเราให้เป็นคนน่ารักขึ้น มีคุณภาพขึ้น เป็นของขวัญปีใหม่ที่จะให้กับตัวเอง ครอบครัว และเด็กๆดีไหม? </p><p></p><p>แล้วประเด็นอื่นๆ ค่อยมาว่ากันในตอนต่อๆไปครับ </p>

หมายเลขบันทึก: 68675เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เด็กคือเด็ก

เด็กดอย มีโอกาสกว่าเด็กหลง

ที่อยู่กลางเมืองหลวงเยอะ

เพราะ ยังมีคนกล้าที่จะกอด

มากกว่าเด็กหลงตัวมอมแมเหม็น ๆ กลางเมือหลวง

ทำงาน ในสิ่งรักและทำอย่างจริงจัง เป็นเรื่องดี

แต่ การมองคนอื่นว่า ทำไม่จริง เหมือนตัวเอง

เป็นสิ่งไม่ดี ทีหลังอย่าทำ

เห็นด้วยกับคุณ "กลางเมืองหลวง" นะครับว่า เป็นเด็กหลงแล้วนี่อาจจะยิ่งไปกันใหญ่เลย คือไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเด็กชายขอบ แต่เด็กหลงนี่แทบจะไม่มีพื้นที่ทางสังคมให้ผู้ใหญ่มองเลย

ผมอยากจะแลกเปลี่ยนประเด็นเด็กหลง ว่าจากประสบการณ์ที่รู้จักกับเด็กหลงในเชียงใหม่ ผมพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กมันเป็นกระบวนการต่อเนื่องครับ

คือกว่าจะมาเป็นเด็กหลง ก็เป็นเด็กอย่างอื่นมาก่อน และยังเป็นมาถึงปัจจุบัน

เรียกว่ามีอัตลักษณ์หลายชุดซ้อนกันน่ะครับ

หมายถึงว่า ในเด็กหลง เด็กพลัดถิ่น เด็กจรจัด เร่ร่อน ก็มีเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อยู่เยอะแยะ ในเชียงใหม่นี่เพียบเลย

เราแยกเด็กกลุ่มชาติพันธุ์กับเด็กหลงหรือเด็กเร่ร่อนออกจากกันได้จริงหรือ??

 

เราแยกเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ออกจากกลุ่มเด็กขายบริการทางเพศได้หรือไม่

หรือเราอาจจะหาวิธีมอง วิธีทำงานที่เชื่อมเด็กแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน

 

สำหรับความคิดส่วนตัวของผมนะครับ เรามักมองว่าเด็กพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็น เด็กดอย เด็กข้างถนน แรงงานเด็ก เด็กแกงค์ เด็กเอดส์ เด็กขายบริการทางเพศ และอีกหลายๆเด็ก ว่าเป็นคนละกลุ่มกัน

ทั้งๆที่ มีกลุ่มเด็กทับซ้อนกันในประเภทเหล่านี้

เช่น เด็กหญิง ก. เป็นชาวลีซู อายุ 14 ปี หนีตามแฟนไปอยู่ในเมือง แล้วแยกทางกับแฟน อาย ไม่กล้ากับบ้าน ต้องไปทำงานรับจ้างในบาร์เบียร์ ต่อมาถูกชักจูงให้ค้าบริการทางเพศ พอตอนกลางวันก็ไปช่วยขายพวงมาลัยตามสี่แยกริมถนน

ถามว่า เด็กหญิงคนนี้จัดเป็นเด็กกลุ่มใด???

นี่เป็นปัญหาเรื่องวิธีคิดแบบแยกส่วนนะครับ บางทีการจำแนกก็เป็นกับดักให้เรามองไม่เห็บทบาท อัตลักษณ์ ตัวตนของเด็กในด้านอื่นๆ

พูดง่ายๆ เด็กๆเหล่านี้มีอัตลักษณ์ซ้อน ซึ่งถ้าผู้ใหญ่มองไม่ทะลุ ก็จะไม่เข้าใจตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาครับ

การพัฒนาก็จะมุ่งไปที่อัตลักษณ์ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป โดยละเลยอัตลักษณ์ด้านอื่นๆที่เป็น ทุนทางสังคมเดิมของพวกเขา

 

ผมไม่เชื่อว่า เด็กหลง เด็กข้างถนน เด็กติดเอดส์ เด็กอันธพาลจะไม่มีศักยภาพ หรือต้นทุนทางสังคมใดๆเลยที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตัวเขาเองได้

สำคัญคือ นักพัฒนาต้องค้นหาทุนทางสังคมวัฒนธรรมเดิมของพวกเขาให้เจอครับ

ส่วนตัวผม เห็นด้วยที่เด็กหลงเป็นเด็กที่ต้องได้รับการเอาใจใส่จากสังคมให้มาก ในขณะเดียวกัน ผมเห็นเสริมว่า เด็กหลง เป็นเด็กที่อยู่ตอนปลายๆแล้วครับ และรวมเอาเด็กดอยเอาไว้ก็มี เด็กไร้สัญชาติก็มี แมเด็กอีกสารพัดมารวมที่นี่

ประเด็นคำถามก็คือ ถ้าอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของเด็ก เช่น ความเป็นอาข่า ความเป็นลีซู ความเป็นมูเซอยังเป็นรากเหง้าของเขา ยังเป็นทุนทางสังคมที่พวกเขามีอยู่ เราจะใช้มันช่วยพัฒนาพื้นที่ทางสังคมให้พวกเขาได้แค่ไหน อย่างไร

ต้องขอบคุณความเห็นดีๆของคุณกลางเมืองหลวง ที่ทำให้ผมได้คิดต่อ และขอเชิญชวนคนอื่นๆช่วยคิดกันต่อด้วยนะครับ

อ่านแล้วนึกถึงเด็กติดเชื้อเอดส์ที่เคยเจอเมื่อเดือนที่แล้วที่ถูกสอนให้เต้นเลียนแบบสมัยนิยมยั่วยวนไม่เหมาะกับเด็ก มาแสดงโชว์เพื่อแสดงความสามารถให้คนดูประทับใจ ซึ่งดูแล้วก็นึกไปถึงผู้ใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง ที่สอนให้เด็กแสดงแบบนี้  นึกต่อไปว่าการจะช่วยเด็กๆที่ขาดโอกาสเหล่านี้ในสังคม ที่กระแสสื่อทุนนิยมที่หลงผิดแบบนี้อย่างไร แล้วทวนกระแสอย่างนี้จะไหวหรือ

ผมเองส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้นิยมชมชอบกับการที่ผู้ใหญ่ให้เด็กๆแต่งตัว "เกินวัย" แล้วไปประกวดประชันกันในแบบที่ผู้ใหญ่วางกรอบเอาไว้

ผมคิดว่า การนำเด็กมาแต่งตัวเปรี้ยว โชว์เอว โชว์แข้งขา เต้นแข่งประกวดประชันกันมีผลข้างเคียงกับเด็กเองหลายเรื่องที่ผู้ใหญ่รู้เท่าไม่ถึงการณ์นะครับ อย่างเช่น

1. เกิดการสะสมตะกอนของการชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยา ความรู้สึกเหลิง(สำหรับผู้ชนะ) และความรู้สึกต่ำต้อย (สำหรับเด็กที่แพ้)ในหมู่เด็กมากกว่า การร่วมมือกันเพราะเด็กๆหลายคน (ผมคิดว่าจำนวนมาก)แยกไม่ออกระหว่างการประกวดแข่งขันกับชีวิตจริง  การแสดงจบแต่ยังมีความรู้สึกติดตามเด็กไปอีกนาน

2. ส่งเสริมให้เด็ก รู้สึก "เป็นหนุ่มสาว" เร็วเกินควร ทั้งๆที่เด็กวัยนี้ ควรมุ่งที่การศึกษา และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และครอบครัว มากกว่าการแต่งหน้าทาปากแต่งกายเลียนแบบแฟชั่น สำหรับเด็กแล้ว ยากจะเข้าใจครับว่า ทำไมในเวทีแต่งได้ แต่นอกเวทีผู้ใหญ่ห้าม รู้แต่ว่าแต่งอย่างในเวทีประกวดแล้วสนุก ได้รางวัล และก็มีคนยอมรับด้วย ถ้าฝึกอย่างนี้บ่อยๆ เด็กๆสับสนครับ

ลำพังการเป็นหนุ่มสาวเร็วมันไม่ผิดอะไรหรอกครับ แต่ต้องมาพร้อมกับวินัยที่จะควบคุมตัวเอง และต้องตระหนักที่มีความรับผิดชอบมากพอต่อสมาชิกของสังคมด้วย แต่บ้านเราการปลูกฝังอย่างนี้ไม่ค่อยได้ผลครับ

ผลก็คือ เด็กๆเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินควร แถมไม่สามารถควบคุมตนเอง และไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น และขาดจิตสำนึกสาธารณะ แล้วจะโทษใครครับ? 

พฤติกรรมของเด็กส่วนใหญ่เป็นผลสะท้อนจากการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่ และสิ่งแวดล้อมครับ

อ่านแล้วนึกถึงคำพูดที่ว่า "เขาอยากได้ หรือ คุณอยากให้" ขึ้นมาทันที (คล้ายๆ คำพูดในโฆษณาเลยอ่ะ) เพราะว่าที่ผ่านมาหน่วยงานหรือคนทำงานเอง ก็ยังไม่เข้าถึงปัญหาในจุดนี้มากนัก แก้ปัญหาหน้าเสื่อเสียมากกว่า โดยที่ไม่ค่อยได้ถามว่าเด็กๆ ว่าเขาต้องการอะไร เขาเป็นอย่างไร ฯลฯ แต่มักจะมองว่าต้องทำอย่างนี้ อย่างนั้น ซึ่งก็ใช่ว่าจะไม่ดีนะครับ มันก็ดี แต่ว่า..ต้องดูด้วยว่ามันถูกจุด ถูกทาง หรือไม่

สุภาษิตที่ว่า "ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน"  นั้น จะนำไปใช้ได้ผลมากเลยถ้าคนสร้างบ้านตามใจผู้อยู่จริง จะเห็นว่าหลายครั้ง ที่มีการลงไปทำงานกับเด็ก ก่อนทำหรือก่อนลงมือก็ตั้งเป้าหมายว่าเด็กต้องเป็นศูนย์กลาง แต่พอทำเข้าจริงๆ หลายครั้งที่กรอบงาน หรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดของงานนั้น ไม่สัมพันธ์กับแนวคิดที่เด็กๆ อยากได้ อยากเป็น จึงเกิดการยัดเยียด ซึ่งถ้าดีก็ดีไป แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะยืนหยัดยืนยงแค่ไหน ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของคำทำงานเหมือนกันที่ต้องทำงานเพื่อตอบกับผลลัพธ์ และคนที่ทำงานแบบอิสระก็มีน้อย ไม่ใช่ว่าคนทำงานมีน้อยนะครับ แต่คนทำงานเพื่อเด็กจริงๆ มีน้อย ย้ำคำว่าเพื่อเด็กจริงๆ นะครับ เพราะคนทำงานกับมีเด็กเยอะมาก บางที่ภาพที่ออกมาสวยหรู แต่ข้างในกลวง บางที่คนทำงานเป็นผู้นำกระบวนการเกือบทั้งหมด พัฒนาการของเด็กแทบจะไม่มี พอหมดยุคๆ หนึ่งไป เด็กก็ยืนด้วยลำแข้งตนเองไม่ค่อยได้ .. ยิ่งเรามองหลายๆ ด้าน จะเห็นว่าย่อมมีส่วนดีและส่วนเสียต่างกันไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เชื่อว่า ทุกคนที่ทำงาน ล้วนต้องการให้เกิดสิ่งดีๆ กับสิ่งที่ตนเองได้ทำทั้งนั้น เพียงแต่ว่า เสี้ยวหนึ่งของรายละเอียดเพียงเท่านั้น ที่ถูกมองข้ามไป อีกอย่างหนึ่ง แสนคนทำงานก็ไปไม่ถึงฝั่ง ถ้าไม่มีหนึ่งการสนับสนุน ฉะนั้น กระบวนการต่างๆ ตั้งแต่ทำงานจนถึงการต่อยอด การสนับสนุนย่อมสำคัญ สนับสนุนในทุกรูปแบบที่จะเอื้อต่องานหรือกิจกรรมหรือกลุ่มนั้นๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ ทุกอย่างนั้นล้วนเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะดำเนินงาน ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปไม่ได้ จะบอกว่าทำวันนี้ให้ดีที่สุดก็ใช่ว่าจะถูกมากนัก จริงอยู่ทุกคนควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด แต่เราก็ต้องนึกถึงวันข้างหน้าด้วย ถ้าวันนี้เราทำกลุ่มๆ หนึ่งได้เข้มแข็งมากๆ แต่ไม่ได้มองถึงการต่อยอดหรือสะพานที่จะส่งคนกลุ่มนั้นไปยังระดับที่สูงขึ้นหรือสาขาแขนงต่างๆ ในวัฏจักรสังคม มันก็จะหยุดอยู่เท่านั้น ต้องคำนึงว่าโลกมันเปลี่ยนไปทุกวัน จะเก่งในที่ๆ หนึ่ง หรือพำนักอยู่ในที่ๆ หนึ่ง เพียงอย่างเดียวไม่ได้ สิ่งแปลกใหม่ต้องเข้ามาให้พบเจอเป็นแน่ ช้าบ้าง เร็วบ้าง แล้วแต่เวลา

เฮ้อ..พร่ำอะไรไปยืดยาวฟะเนี่ยะเรา

ขอบคุณ คุณหมูมอมแมมที่คอยติดตามความคิดอ่านในบล็อคเล็กๆแห่งนี้ไปด้วยกันนะครับ 

เห็นทาง สกว.ภาค จะทำหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ "นักวิจัยน้อย" ออกมาเร็วๆนี้ น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีที่กลุ่มคนตัวเล็กๆที่ "ใจใหญ่" (คือ ทำในสิ่งเล็กๆ ด้วยหัวใจที่กล้าหาญ) อย่างเรา(และคนอื่นๆ) ได้นำไปขบคิดเพิ่มเติม

ด้านการทำงานกับเด็ก หรือไม่ว่ากับหน่วยงานไหน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องธรรมดา ในหมู่เด็กเขาก็แตกต่างกัน แต่ที่ต้องระวัง คือผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าของหรือผู้นำโครงการสามารถมีอิทธิพลชักนำ ทั้งทางตรงและทางอ้อมยุยงส่งเสริมให้เขาแตกแยกกันไปอีก ทำนองเดียวกับการสร้างสำนึกในความเป็นชาตินิยม สถาบันนิยม ถ้าสุดโต่งไปก็จะนำมาซึ่งความรุนแรงได้

มุมมองของผม งานพัฒนาเด็ก ปริมาณงานจะใหญ่เล็กไม่สำคัญ  แต่ควรจะควบคู่กับการเดินทางสายกลาง เรียบง่าย สอดคล้องกับจริยธรรม เป็นการศึกษาแบบทางเลือกแบบหนึ่งครับ

 

เป็นกำลังใจให้สำหรับการทำงานเพื่อสังคม อย่างน้อยคุณครูก็คงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได่ค่ะ แต่ก็น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืนของเด็ก ๆ ยิ่งเด็กบนดอยที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกันไป เคยมีนักเรียนของครูแอนพอปีใหม่ ทีไรกลับบ้านก็มักจะไม่กลับมา แต่กลับไปแต่งงานแทน อันนี้มันก็สุดปัญญาที่จะแก้ได้ ....ที่ปายก็เหมือนกัน วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามาก คนที่มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็จะไม่แยกแยะสิ่งดีดี  ......ยังไงซะคุณครูจะร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเด็กด้อยโอกาสน่ะค่ะ

เห็นด้วยคะ ผู้ใหญ่ต้องพัฒนาตัวเองก่อน บางคนเป็นผู้ใหญ่แต่ก็ไม่ได้ต่างจากเด็กเท่าไหร่

เสื้อคู่รัก ของขวัญปีใหม่

ผู้ใหญ่เองก็ไม่ต่างจากเด็กเลยครับ ในแง่ที่เราต่างต้องการความรัก การยอมรับ มีความต้องการพื้นฐานเหมือนๆกัน ต้องการที่จะเป็นคนที่ "ดี เก่ง และมีความสุข" เหมือนกัน เพียงแต่มี "อะไรบางอย่าง"ที่ทำให้เรามีอคติต่อกันเท่านั้น

ขอบคุณ happy new year gift ที่แวะมาให้ "ของขวัญ" (การเยี่ยมเยือน)นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท