พม่า ลาว กัมพูชา และค่าจ้างไม่ตัดป่า


ที่ประชุมมีข้อเสนอให้ประเทศอุตสาหกรรมลงขันกันจ้างประเทศเขตร้อนให้ช่วยกันรักษาป่าเขตร้อน กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ตัดป่า อาจได้เงิน

                                

เราๆ ท่านๆ คงทราบกันดีว่า การตัดไม้ทำลายป่าทำเงินมหาศาลให้กับรัฐบาล นักการเมือง นายทุน และผู้มีอิทธิพลหลายท่านในหลายๆ ประเทศ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> เร็วๆ นี้ (6-17 พฤศจิกายน 49) มีการประชุมที่จัดโดยองค์การสหประชาชาติเรื่องอากาศเปลี่ยนแปลง (UN Climate Change) ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ภาพที่ 1: แสดงกิจกรรมสำรวจนกในพม่า</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ที่ประชุมมีข้อเสนอให้ประเทศอุตสาหกรรมลงขันกันจ้างประเทศเขตร้อนให้ช่วยกันรักษาป่าเขตร้อน กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ตัดป่า อาจได้เงิน</p>Sweaty <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> แก๊สเรือนกระจก (heat-trapping gases) ร้อยละ 20 มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และภาวะป่าเสื่อมสภาพ </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">อาจารย์อู โอน เลขาธิการสมาคมพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (FREDA) ของพม่ากล่าวว่า ถ้าโครงการนี้ทำได้จริง… พม่าอาจได้เงินเพิ่มขึ้นถึง 25% ของรายได้ประชากรต่อปี</p>Sun <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> องค์การสหประชาชาติรายงานว่า พม่าตัดไม้ทำลายป่ามากกว่า 450,000 เฮกตาร์ (hectares) ต่อปี ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 32-93 ล้านตันต่อปี </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">พื้นที่ 1 เฮกตาร์มีค่าเท่ากับ 10,000 ตารางเมตร เท่ากับ 2,500 ตารางวา หรือ 6.25 ไร่</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">Sprinkler</p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> การทำลายป่า 1 เฮกตาร์ทำให้เกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ 80-200 ตัน ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอว่า ประเทศที่มีป่าเขตร้อนควรได้รับค่าอนุรักษ์ป่าเขตร้อน 8-32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีถ้ารักษาป่าได้ 1 เฮกตาร์ </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">อาจารย์ท่านประมาณการณ์ว่า ถ้าพม่ารักษาป่าไม้ได้ 100% จะได้เงินสนับสนุนประมาณ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">Sunburn 2</p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ถ้ารักษาป่าไม้ได้ 50% จะได้เงินสนับสนุนประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือจะมีรายได้ต่อหัวประชากร (per capita income) เพิ่มขึ้นประมาณ 25% </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">อาจารย์วิลเลียม เอฟ. ลอเรนซ์ แห่งสถาบันวิจัยเขตร้อนสมิธโซเนียนในปานามาจัดตั้งเว็บไซต์ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ (www.mongabay.com) </p>Sprinkler <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">อาจารย์ท่านประมาณว่า ถ้าข้อเสนอนี้มีผลบังคับใช้ และประเทศเขตร้อนช่วยกันรักษาป่าไม้จริง ประเทศที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในเอเชีย และอาฟริกา</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แผนภูมิที่ 1: แสดงประเทศที่มีโอกาสได้ค่าตอบแทนจากการรักษาป่า (คิดเป็นรายได้ประชากรต่อหัวต่อปีที่เพิ่มขึ้น) ข้อมูลจาก www.mengabay.com </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">คลิกที่นี่: เพื่อชมกราฟพร้อมรายชื่อประเทศ(ภาพใหญ่) >>>>> [[[[[[ Click ]]]]] หรือที่นี่ >>>>>    http://gotoknow.org/file/wullopporn/061220Forest2-L2.jpg</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">Hammock</p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ประเทศที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากข้อเสนอนี้มากที่สุด คิดเป็นรายได้ต่อหัวประชากรต่อปีที่จะเพิ่มขึ้นคือ พม่า (25%) ซิมบับเว (19%) และกัมพูชา (18%) </div></li></ul>Rain Forest <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ถ้าทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้เขตร้อน และพวกเราช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นทุกปี… น่าจะดีกับทุกฝ่ายครับ</div></li></ul>    แหล่งข้อมูล: <ul>

  • ขอขอบพระคุณ > May May San. Forests rethink could earn nation carbon trading initiative mooted $1b. The myanmar times. > http://www.myanmar.com/myanmartimes/MyanmarTimes18-343/n001.htm > December 20-26, 2006. Volume18. Number 344.
  • ขอขอบพระคุณ > http://dictionary.reference.com/browse/hectare > December 20, 2006.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙. >
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้าได้ครับ...
  • </ul>    เชิญอ่าน & ดาวน์โหลดที่นี่: <ul>

  • อ่านบ้านสุขภาพ >>> http://gotoknow.org/blog/health2you > เชิญท่านผู้อ่านชมบันทึกย้อนหลังได้จากปฏิทินกิจกรรมทางขวามือ (เลือกจากเดือนและปี)
  • Download แฟ้ม PDF >>> www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณณรงค์ ม่วงตานี webmaster
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 68387เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (6)

    เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมากครับ แต่น่าจะทำได้ยาก  เพราะถ้าจะดูที่ผ่านมา ลำพังข้อเสนอลดการปล่อยกาซ คาร์บอนไดออกไซด์ ประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เหล่านั้น (ประเทศใหนบ้างเอ่ย :) นั่นแหละ ก็ยังไม่ยอมลดเลย

    การที่จะมาจ่ายตังค์ให้ประเทศอื่นๆ (เสียประโยชน์ตนเอง) ไม่ให้ตัดไม้ แต่ผลประโยชน์ที่ได้ ได้กับทั้งโลก (ได้กับประเทศอื่นๆด้วย) ไม่ได้ประโยชน์กับประเทศตนเพียงแต่อย่างเดียว ผลที่ได้ น่าจะเหมือนกับข้อเสนอลดการปล่อย ซีโอทู น่ะแหละครับ :(

     

    เห็นด้วยกับพี่ฉัตรชัยคะ..ขอตอบว่า อเมริกาไงคะ..ก็จากการขอร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด็ยังไม่ทำเลย ก็การลงนามสนธิสัญญาเกียวโต..ก็ยังไม่ยอมเซ็นเลย เพราะต้องเสียเงินหลายหมื่นล้านเหรียญจาการเป็นประเทศที่สร้างมลพิษสูงสุดของโลก.....แล้วเอาเงินมาหว่านให้ประเทศเขตร้อนช่วยกันรักษาต้นไม้...คิดว่ามันไม่เหมาะเท่าไหร่.... ลำพังประเทศเล็กๆ จะสู่ได้เหรอคะ...คนรณรงค์ก็ทำไป คนทำลายก็ยังเยอะอยู่...แต่ไม่ได้หมายความว่าปลูกต้นไม้ไม่ดีนะคะ..แต่ว่าถ้าเราลดมลพิษได้มากจากประเทศมหาอำนาจคงจะดีกว่าเป็นไหนๆ เห็นด้วยไหมคะ

    ขอนำบทความที่เคยกล่าวไว้จากหนังที่ได้ดูมา จริงๆ แล้วเป็นสารคดีที่รวบรวมข้อเท็จจริงที่เหมาะสมและเป็นไปได้กับเหตุการณปัจจุบันคะ  ชื่อ An Inconvenient Truth 

     

     

    ขอขอบคุณอาจารย์ฉัตรชัย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ...
    • โอกาสที่ข้อเสนอนี้จะมีผลบังคับใช้น่าจะไกล...และนาน

    สิ่งที่เราๆ ท่านๆ ทำได้ตอนนี้คือ เริ่มต้นที่บ้านเรา ปลูกต้นไม้คนละต้นสองต้นเท่าที่ทำได้... น่าเสียดายจริงๆ

    ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋า และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เห็นด้วยกับอาจารย์จ๊ะจ๋าครับ...
    • ตราบใดที่มหาอำนาจยักษ์ใหญ่ไม่เล่นด้วย โอกาสที่จะลด หรือชะลอปรากฏการณ์เรือนกระจกน่าจะทำได้ยากมากๆ

    ขอขอบคุณสำหรับการทำแถบเชื่อมโยง (ลิ้งค์) ไปยังบันทึกที่น่าสนใจครับ...

    • ชอบการอนุรักษ์ป่าครับ
    • ที่ทุ่งใหญ่นเศวรและชายแดนเมืองกาญจน์ป่าสมบูรณ์มากครับคุณหมอ
    • ขอบคุณมากครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขอแสดงความยินดีที่ป่าเมืองกาญจนบุรี และบริเวณใกล้เคียงสมบูรณ์มาก

    คุณงาม ความดีนี้... ขอน้อมแสดงความเคารพ และขอบพระคุณอาจารย์สืบ นาคะเสถียร ตลอดท่านผู้มีส่วนร่วม เช่น พนักงานรักษาป่าไม้ ฯลฯ ทุกท่าน

    • ขออุทิศส่วนกุศล ผลบุญที่ได้ทำมาแล้วทั้งหมดแด่อาจารย์สืบ และท่านผู้มีส่วนร่วมในการรักษาป่าไม้ทั่วโลก

    ขอขอบคุณครับ...

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท