การถอดบทเรียน "พัฒนาการเรียนรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร" ภายใต้โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม


                   นับตั้งแต่การดำเนินงานโครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2546 - 2548  เป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นโครงการที่ดีที่สร้างความตระหนักให้แก่คนในชุมชนในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการดำเนินงานเพียง 16 จังหวัดเท่านั้นและจังหวัดนำร่องดังกล่าวดำเนินกิจกรรมได้ไม่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่มุ่งเน้นการปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจึงทำให้โครงการไม่สามารถขยายผลได้ตามเป้าหมาย

                   การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม สามารถทำได้หลายมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่สนับสนุนให้ประชาชนคิดและแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเองก่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

                   จังหวัดน่านได้ปรับวิธีการทำงานภายใต้โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่ในปี 2548 / 2549  ลักษณะการทำงานเชิงรุกโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคน ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและชาวบ้านให้เป็นนักวิจัยชุมชน แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติงานตามกรอบเดิมควบคุมไปด้วยเพียงแต่ว่ามีการบันทึกหรือถอดองค์ความรู้และความพึงพอใจแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกทั้งยังมีคำตอบให้กับชุมชนโดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเอง จากเหตุผลดังกล่าวจังหวัดน่าน จึงแสวงหาพันธมิตรในการทำงานลักษณะนี้ เพื่อขยายผลไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ  ที่เป็นงานปกติของชุมชน อีกทั้งเป็นการพัฒนาคนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

                   และแล้วในวันที่ 14 ธันวาคม 2549  ทีมงานทั้งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร  รวม  34  คน  มานั่งถอดบทเรียน "กระบวนการเรียนรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและนักวิจัยชุมชน" ภายใต้การดำเนินงานโครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งในการถอดบทเรียนครั้งนี้ ได้ให้โจทย์แก่ผู้เข้าร่วมประชุม  3  ประเด็น

                  1. 

เล่าประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคนมีอะไรบ้าง  โดยมีข้อสรุปเปรียบเทียบให้เห็นถึงประสบการณ์ของแต่ละคนดังนี้  <table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" width="607" class="MsoTableGrid" style="width: 455.4pt; border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

เกษตรกร (นักวิจัยชุมชน)

·       การทำงานตามระบบราชการ

·       กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน

·       การรับเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้  กับงานปกติ

·       เรียนรู้การบริหารจัดการ คน

      งบประมาณ  และงาน  ที่ทำอยู่อย่างเป็นระบบ

 

·       การทำตามกันในท้องถิ่น

·  การประกอบอาชีพของบรรพบุรุษ

·      วัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น

·     อาชีพทางเลือกใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ให้

     กับชุมชนและเป็นแหล่งอาหาร

·     พัฒนาการทำนาโดยเปลี่ยนจากแรงงานสัตว์

     ไปใช้เครื่องจักรกลแต่ทำให้วิถีชีวิต

     แบบดั้งเดิมหายไป

·      เรียนรู้บทบาทของผู้นำจึงทำให้เกิดการปรับ

      เปลี่ยนพฤติกรรม เรียนรู้กับการอยู่ในสังคม

</tbody></table>  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">                     2.  ระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ได้สรุปการเรียนรู้ทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกร  ดังนี้ </p><p>นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร</p><p>บทบาทหน้าที่และภาระกิจ</p><p>-  ระบบราชการ</p><p>-  การเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ  </p><p>-  จิตอาสา</p><p>-  บูรณาการกับภาคีพัฒนา</p><p>-  จุดไฟ  ใส่เชื้อ  เกื้อกูล</p><p>-  ประสบการณ์เดิมผสมผสานกับความรู้ใหม่</p><p>-  การทำงานแบบมีส่วนร่วม</p><p>สิ่งที่เกิดขึ้น</p><p>-  องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นของท้องถิ่น</p><p>-  การปรับพฤติกรรม</p><p>-  การพัฒนาบุคลาการที่ตัวเองมีความพร้อม</p><p>เกษตรกร   :  ความอยู่ดีกินดีของคนในชุมชน</p><p>ประสบการณ์เดิม</p><p>-  อาชีพดั้งเดิมระดมความคิด</p><p>-  บรรพบุรุษ</p><p>-  วัฒนธรรม</p><p>-  ความเชื่อ</p><p>-  วิถีชีวิต</p><p></p><p>กระบวนการ </p><p>-  ลองทำ</p><p>-  โอกาสที่เกิดขึ้นจากภาคีที่เข้ามาสนับสนุน</p>-  ความเป็นชุมชนต้นแบบ <p></p><p>-  การศึกษาดูงาน / อบรมนอกสถานที่</p><p>-  ความเป็นผู้นำชุมชน</p><p>-  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์</p><p>-  ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน</p><p>สิ่งที่เกิดขึ้น</p><p>-  การปรับตัว / พฤติกรรม</p><p>-  การปรับประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่กับภูมิปัญญาเดิม</p><p>-  ผลผลิตเพิ่ม</p><p>-  ทางเลือกใหม่ในอาชีพ</p><p>                 จะเห็นได้ว่าประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคนทั้งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างกันเนื่องจาก "ภารกิจ" ของแต่ละคนแล้วสิ่งที่เหมือนกัน     คือเป้าหมายสุดท้าย คือ "ชุมชน"</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; tab-stops: .75in" class="MsoNormal">                 3. คุณลักษณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่พึงประสงค์ของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมการเกษตร</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 0.5in; tab-stops: 1.0in" class="MsoNormal">     ในประเด็นนี้ได้ให้ทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกร  ค้นหาคุณลักษณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่พึงประสงค์ โดยให้แยกคุณลักษณะภายในและคุณลักษณะภายนอก จึงสรุปได้ดังนี้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">*  กลุ่มนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  :  ที่บอกว่าตนเองควรมีคุณลักษณะอย่างไร</p><p>คุณลักษณะภายใน</p><p>ด้านความรู้</p><p>-  มีองค์ความรู้ที่เป็นทั้งความรู้ภายในและความรู้จากภายนอก</p><p>-  รู้จักและติดตามปัญหาของชุมชนโดยเฉพาะด้านการเกษตร</p><p>ด้านภาวะผู้นำ</p><p>-  มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล</p><p>-  การวางตัวให้เหมาะสมกับกาละเทศะ</p><p>-  เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก</p><p>-  เปิดโอกาสและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้</p><p>ด้านวุฒิภาวะ</p><p>-  มีหลักการทำงานอย่างมีสติและสามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อพบกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์</p><p>-  มองโลกในแง่ดี</p><p>-  ใช้คุณธรรม / จริยธรรมในการทำงาน</p><p>-  ร่าเริง  แจ่มใส  อารมณ์ดี</p><p>-  การคิดนอกกรอบเพื่อประสิทธิภาพของงาน</p><p>ด้านทักษะ</p><p>-  การคิดนอกกรอบเพื่อความมีประสิทธิภาพของงาน</p><p>-  ยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม</p><p>-  ความสามารถเป็นผู้นำการปฏิบัติด้านการเกษตร</p><p>ด้านบุคลิกภาพ</p><p>-  มองโลกในแง่ดี</p><p>-  พูดจาสุภาพ  ไม่ติดสุราเรื้อรัง</p><p>-  สง่างาม</p><p>คุณลักษณะภายนอก</p><p>ด้านความรู้</p><p>-  มีองค์ความรู้ที่เป็นสหวิทยาการรู้เท่าทันสถานการณ์โลก</p><p>-  นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ  มาถ่ายทอดต่อเกษตรกรได้อย่างเหมาะสม</p><p>ด้านภาวะผู้นำ</p><p>-  ยึดหลักประชาธิปไตย</p><p>-  มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีเหตุผล</p><p>-  มีความมั่นคงในอาชีพและทรัพย์สิน</p><p>ด้านวุฒิภาวะ</p><p>-  มีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใสและปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม</p><p>-  มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง</p>ด้านทักษะ <p>-  ความสามารถในงานที่รับผิดชอบรู้กว้าง  รู้ลึก  สนองตอบต่อเกตรกรได้</p> <p>-  รู้จัก  คนในชุมชนว่ามีนิสัยใจคอเป็นอย่างไร มีวัฒนธรรมในการทำงานอย่างไร</p><p>-  รู้ใจ  เพื่อนร่วมงานและคนในชุมชน</p><p>-  รู้ใช้  รู้จักใช้คนและทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p><p>-  รู้รักษา  ทรัพยากรให้ธำรงอยู่ต่อไป</p><p>ด้านบุคลิกภาพ</p><p>-  บุคลิกที่ดีน่าเชื่อถือ  แต่งกายสุภาพ</p><p>-  สุขภาพสมบูรณ์  แข็งแรงมีพร้อมกับการทำงาน</p><p>-  อยู่อย่างพอเพียง / ไม่มีหนี้สินรุงรัง</p><p>-  แต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ</p><p>กลุ่มเกษตรกร  :  ที่บอกว่านักวิชาการส่งเสริมการเกษตรควรมีคุณลักษณะอย่างไร</p><p>คุณลักษณะภายใน</p><p>ด้านความรู้</p><p>-  มีคุณวุฒิเหมาะสมกับสายงานเพื่อเป็นที่พึ่งพาของเกษตรกรได้</p><p>-  รู้จักและติดตามปัญหาของชุมชนโดยเฉพาะด้านการเกษตร</p><p>ด้านภาวะผู้นำ</p>-  ต้องมีลักษณะผู้นำและเสียสละ <p></p>

</span></font><p>-  ต้องเป็นคนที่มีความคิดกว้างไกล</p><p>-  เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก</p><p>ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์</p><p>-  มีจิตใจโอบอ้อมอารี</p><p>-  ไม่เห็นแก่ตัว</p><p>-  เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรม</p><p>-  ร่าเริง  แจ่มใส  อารมณ์ดี</p><p>-  เคารพและยอมรับความคิดเห้นของคนอื่น</p><p>-  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี</p><p>ด้านทักษะ</p><p>-  เสนอแนวทางเลือกอาชีพเกษตร</p><p>-  ช่วยประสานกับแหล่งทุนและแหล่งตลาดให้กับชุมชน</p><p>-  สามารถเสนอแนวคิดวิธีการในการพัฒนาด้านการเกษตรต่อชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p><p>ด้านบุคลิกภาพ</p><p>-  สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง</p><p>-  แต่งกายสุภาพเหมาะสม</p><p>คุณลักษณะภายนอก</p><p>ด้านความรู้</p><p>-  นำความรู้ด้านการเกษตรใหม่ ๆ  มาสู่ชุมชนเพื่อให้เป็นทางเลือก</p><p>-  แสวงหาความรู้อยู่เป็นนิจ</p><p>-  รู้จริง  รู้แท้  สามารถแนะนำให้ผู้อื่นทำตามได้โดยใช้ข้อมูลของชุมชน</p><p>ด้านภาวะผู้นำ</p><p>-  ร่วมรับรู้ปัญหาของชุมชน</p><p>-  สามารถบริหารจัดการโครงการที่ได้รับมอบหมายลงสู่ชุมชนได้</p><p>-  มีลักษณะผู้นำ</p><p>-  ต้องเข้าร่วมการประชาคมหมู่บ้านทุกครั้ง</p><p>ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์</p><p>-  ไม่โกรธง่าย  เก็บความรู้สึกของตนเองได้ดี</p><p>-  มีจิตสาธารณะ</p><p>-  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี</p><p>-  ให้ความร่วมมือกับชุมชน</p><p>-  ไม่เห็นแก่ตัว</p><p>ด้านทักษะ</p><p>-  มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนา</p><p>-  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการเกษตรต่อชุมชน</p><p>-  การทำงานเชิงบูรณาการ</p><p>-  รู้ปัญหาของชุมชน</p><p>-  ความรู้เฉพาะทาง</p><p>ด้านบุคลิกภาพ</p><p>-  ไม่ควรมีหนี้สิน  รุงรัง  และไม่ยืมเงินชาวบ้าน</p><p>-  สุขภาพร่างกาย  สมบูรณ์แข็งแรง</p><p>-  ไม่ติดเหล้า</p><p>-  ยอมรับและสามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน</p><p>                      นี่ก็คือบทสรุปของการเรียนรู้ที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรได้รับถือเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานต่อไป</p><p></p><p>  </p><p></p><p></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 68016เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำประสบการณ์มาแบ่งปัน

พี่พยอม

  • ที่ น่านมีความก้าวหน้ามากมาย
  • ขอบคุณที่เคยถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้ผมหลายกระบวน แต่ก็รับได้จำกัด
  • ขอเข้ามา ลปรร.เรื่อยๆครับ
  • คิดถึงทุกๆคนที่น่าน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท