วัฒนธรรมการเรียนรู้ : วิถีมโนราห์ 1


คณะมโนราห์สมเนตร สืบสานศิลป์

ช่วงบ่ายโมงวันเสาร์  ที่ 16  ธันวาคม  2549  umi เดินทางร่วมกับ คุณครูไสว  นวลพลับ  อายุ  81 ปี  ปราชญ์ชาวบ้านไปรับ  อ. บุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ  ผอ. มหาวิชชาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย 

 แล้วเราทั้งสามก็มุ่งไปสู่บ้านไทรงด  อ. หัวไทร  จ. นครศรี ฯ

เป็นบ้านของหัวหน้าคณะมโนราห์สมเนตร  สืบสานศิลป์  พอไปถึงเราคุยกันที่ศาลาเย็นสบายดี...ร่มรื่น  ปลูกต้นมะขามไว้หน้าบ้านมีธารน้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลาเลยครับ อา ๆ เอิก ๆ...

โนราห์เนตร  นั่งคุยกับเราแบบสบายไม่สวมเสื้อ...หยอกล้อกันฉันมิตรไมตรี...ใช้ภาษาท้องถิ่นคุยกัน  95 %   ถ่ายทอดภูมิปัญญาทางมโนราห์แบบเชิงลึก...ให้ umi  ฟัง  มีภรรยาและลูกสาวของท่านเข้ามาร่วมแจมด้วย...การ ลปรร.  ออกรสมาก 

 เพราะวงสนทนาล้วนเป็นผู้รอบรู้  ร่ำรวยทางภาษา...คำโบราณที่หลุดออกมา...ก็ต้องแปลอีกทอดหนึ่ง...การที่เราลงภาคสนามจริง ๆ  จึงได้ข้อมูลสดและใหม่เสมอครับท่าน...
หมายเลขบันทึก: 68009เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ศาลานี้เองอยู่หน้าบ้านโนราห์เนตร  ในภาพ เสื้อลายคือปราชญ์ชาวบ้าน  อีกท่านคือ ผอ. มหาวิชชาลัย

ตรงนี้ที่ umi  เก็บเกี่ยวเอาความรู้จากท่านผู้รู้นั้นเอง

ครอบครัวโนราห์เนตรที่ร่วมแจมคือภรรยาและลูกสาวซึ่งเก่งทางรำและร้องโนราห์ได้เหมือนคุณพ่อ...ก่อนถ่ายภาพ...โนราห์เนตรขอแต่งหล่อครับ ฮา ๆ เอิก ๆ

ด้วยความเคารพและชื่นชม  ท่านรำโนราห์  เมื่ออายุ 12 ปี  ขณะนี้อายุ 63 ปี แล้วยังไม่ถอยครับ...

สิ่งที่เคารพบูชาของโนราห์เนตร...ครับ

ลูกสาวถ่ายภาพ umiกับคุณพ่อที่เธอบอกว่า  โชคดีที่เกิดมาเป็นลูกสาวของโนราห์เนตร  ครับผม...

  • น่าภูมิใจนะคะ
  • ศิลปะวัฒนธรรมของเรา เป็นเอกลักษณ์ของชาติเราค่ะ 
  • ลูกสาวภูมิใจในตัวคุณพ่อ ดังนั้นแน่นอนว่าเธอต้องสืบสานเอาไว้ต่อค่ะ  คุณพ่อก็คงภูมิใจในตัวลูกสาวเช่นกันค่ะ
เหมือนหมอลำบ้านเราบ่อาจารย์  เห็นแล้วคิดฮอดหมอลำบ้านเรา  หมอลำเคน หมอลำฉวีวรรณ หมอลำชบาไพร หมอลำทองมาก หมอลำบุญเพ็ง ฯลฯ

สวัสดิครับ  คุณ  Bright Lily

ความลุ่มลึกของภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดออกมาจนกลายเป็นวิถีชีวิตติดตัว...อย่างน่าชื่นชมครับ...

umi  ก็เห็นเป็นเช่นนั้นคือเห็นด้วยกับคุณครับ...

ขอบคุณครับ

จาก...umi

สวัสดีครับ  คุณออต

แนวทางเดียวกันครับคือศิลปินพื้นบ้าน...มโนราห์มีพิเศษตรงชื่อก็คือ  แปลว่า  เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ  มนะ  คือ ใจ ครับ  การแสดงมโนราห์  เป็นปริศนาธรรม ล้วนเป็นทางเดินของจิตใจ  ดูเรื่องท้าวสีทนมโนราห์ทางอีสานบ้านเฮาเทียบดูก็ได้ครับ ฮา ๆ เอิก ๆ

หมอลำที่เอ่ยนามมาผมก็ชอบฟังครับ...

ขอบคุณครับ

จาก...umi

นนทกร นน วงษ์สวัสดิ์

ผมเป็นหลานของ พ่อเนตร นะครับ ดีใจมากๆ ที่มาเจอกระทู้นี้ไม่นึกว่าใคร จะสนใจ มโนราห์อีก

ตอนนี้ ผมก็เป็น มือกลอง ในคณะ อ่ะคับ ช่วย พ่อเนตร (พ่อเฒ่า) อะครับ อิอิ

ผมก็ลองค้นหาดูเล่นๆ ไม่นึกจริงๆ ว่า จะมี มีรูปด้วย แล่มมาก ครับ ไงก็ขอบคุณ

ที่ไม่ลืม ศิลป ของคนใต้เรา นะ ครับ ไปและ คับ บายยยย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท