รายงานวิจัยและพัฒนาเรื่อง เกณฑ์ในการชี้วดัคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว


มิติใหม่ของการประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อจึงถูกวางอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของสังคม ทั้งการสร้างทฤษฎีความรู้ ตลอดจน การมีส่วนร่วมในการประเมิน ดังนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นจึงไม่ใช่เพียงแค่ เกณฑ์การชี้วัดเท่านั้น แต่ เป็นการสร้างระบบการประเมินคุณภาพหรือ ทฤษฎ ๖+๑ ที่มีประสิทธิภาพและถูกยอมรับและบังคับใช้ในสังคมได้อย่างแท้จริง

             หลังจากที่โทรทัศน์หรือวิทยุโทรภาพในยุคเริ่มต้นเริ่มต้นแพร่ภาพเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2498  ที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นต้นมา โทรทัศน์ได้กลายเป็นหน้าต่างบานแรกของการศึกษาและเรียนรู้โลกและชีวิตของมนุษย์ในสังคมไทยตลอดมาเป็นเวลากว่า 50 ปี แล้วแต่ทว่า เมื่อกล่าวถึง รายการโทรทัศน์ที่เข้าไปมีส่วนในการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและครอบครัว แล้ว กลับพบว่า รายการโทรทัศน์ประเภทดังกล่าวมีจำนวนลดลง  โดยในปี พ.ศ.2546 มีรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ลดลงจากปี พ.ศ.2536 ถึง 4.75 %  ประกอบกับ หลังจากที่มีการศึกษาวิจัยของคณะทำงานโครงการสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ จนกระทั่งได้กลายเป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสื่อของรัฐเพื่อการศึกษา เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ.2546 และต่อเนื่องจนกลายมาเป็น มติคณะรัฐมนตรี ฉบับวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ในการใช้สื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและครอบครัว

           

         ประกอบกับ มติ คณะรัฐมนตรี ฉบับวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ในการจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการสร้างเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์สังคม ลดทอนสื่อที่ไม่สร้างสรรค์สังคม แต่ในขณะเดียวกัน โจทย์ใหญ่และโจทย์แรกสำหรับการทำงานเพื่อสร้างสื่อสร้างสรรค์ ก็คือ อะไรคือสื่อสร้างสรรค์ อะไรคือเกณฑ์ในการชี้วัดคุณภาพของเนื้อหาของสื่อ

           

          นอกจากนั้นแล้ว หากมีการสร้างเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพเนื้อหารายการขึ้นมาได้แล้วในรูปของสัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ แต่ปรากฏว่าสังคมไทยไม่เข้าใจถึงความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าว การคิดค้นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพก็จะเกิดการสูญเปล่า

         

          ดังนั้น ในเบื้องต้นของการสร้างระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อ จำเป็นที่จะต้องผสมผสานแนวคิดของคนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมนั้นเป็นเจ้าของความรู้ และเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในการประเมินคุณภาพ และจากจุดเล็กๆที่ทรงพลังนี้เอง การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังจากคนกลุ่มต่างๆในสังคมที่มีความเข้าใจถึงการประเมินคุณภาพ และตระหนักถึงความจำเป็นของการประเมินคุณภาพเนื้อหา ก็จะกลายเป็นกลไกที่สำคัญในการทำงานในระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ

           

            นอกจากนั้นแล้ว การประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อ จะต้องไม่หยุดยั้งเพียงแค่การประเมินคุณภาพเนื้อหาแล้วไม่ได้ดำเนินการต่ออย่างใดๆ แต่การดำเนินการต่อไปในเชิงบูรณาการ ทั้ง การชี้ชัดแล้วว่า รายการใดที่มีเนื้อหาทีดี ก็จะต้องได้รับการสนับสนุนต่อไป ดังนั้น การสร้างระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหาจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานของฝ่ายต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก

           

            รายงานวิจัยและพัฒนาฉบับนี้ เป็นรายงานที่ตอบโจทย์เรื่องของการสร้างระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ อีกทั้งกระบวนการในการสร้างห้องทดลองเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆเป็นกลไกที่สำคัญที่ทำให้สังคมไทยจำเป็นได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ในมิติใหม่ ที่ไม่ได้ประเมินคุณภาพเนื้อหารายการเพียงแค่การนับจำนวนตัวเลขของผู้ชม ไม่ได้เน้นการกลั่นกรองเนื้อหา แต่เป็นการผสมผสานแนวคิดในการสร้างระบบการประเมินคุณภาพที่สามารถชี้วัดความรู้ของเนื้อหา สามารถแยกแยะเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มอายุของผู้ชม และสามารถระบุจำนวนตัวเลขของผู้ประเมินในเชิงปริมาณ  และที่สำคัญ ผู้ที่ทำการประเมินก็คือ ภาคประชาสังคมเป็นหลัก

     นอกเหนือไปจากสิ่งอื่นใด คู่มือเล่มนี้การแสดงให้เห็นถึง ช่องทางและพื้นที่ในการส่งเสียงการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ หรือที่เรียกว่า ระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อ เพื่อให้การประเมินคุณภาพเนื้อหาได้รับการส่งต่อไปยังสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะของเจ้าภาพด้านนโยบาย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในฐานะของเจ้าภาพด้านวิชาการ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ในฐานะของเจ้าภาพด้านครอบครัว และกลุ่ม สภาเยาวชน ในฐานะของเจ้าภาพด้านเครือข่ายเด็ก และเยาวชน ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อภาคีเครือข่ายในการทำงานในมิติใหม่แบบประสานมือกัน

     มิติใหม่ของการประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อจึงถูกวางอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของสังคม ทั้งการสร้างทฤษฎีความรู้ ตลอดจน การมีส่วนร่วมในการประเมิน ดังนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นจึงไม่ใช่เพียงแค่ เกณฑ์การชี้วัดเท่านั้น แต่ เป็นการสร้างระบบการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพและถูกยอมรับและบังคับใช้ในสังคมได้อย่างแท้จริง

อ่านต่อ ฉบับสมบูรณ์
หมายเลขบันทึก: 68007เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พ.ต.ท.วิญญู ฉายอรุณ
สื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นเหตุที่จะทำให้เยาวชน ทำตามอย่างในสิ่งที่ดีและไม่ดี หากเยาวชนมุ่งสนใจหรือกระทำตามในสิ่งที่ไม่ดีแล้ว ก็จะกระทบต่อตัวเยาวชนเอง ตลอดจนครอบครัว จากนั้นอาจจะกระทบถึงสังคมส่วนรวมโดยทั่วไปอีกด้วย ดังนั้น หากมีการควบคุมสื่อให้มีการนำเสนอแต่ในสิ่งที่ดีที่ควร ก็จะเป็นการป้องกันมิให้เยาวชนมุ่งสนใจหรือกระทำตามในสิ่งที่ไม่ดีไม่ควร ได้ระดับหนึ่ง และยังเป็นการช่วยรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ดีงามของประเทศชาติให้คงอยู่ต่อไป

ปัญหาสำคัญก็คือ ภาคประชาชนส่วนใหญ่คิดว่า เราเป็นเพียงผู้รับสารเท่านั้น แต่จริงๆแล้วภาคประชาชนมีพลังมากพอที่จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาในสื่อได้ครับ แต่เราขาดทั้งพื้นที่ในการส่งเสิยง  และ เราขาดเสียงของภาคประชาชนด้วยครับ อันนี้ ปัญหาใหญ่ เราจึงต้องตกอยู่ภายใต้ การครอบงำของภาคธุรกิจเพียงฝ่ายเดียว

ขอให้พิธีกรที่รายงานข่าวให้ใช้คำว่า "สมานรายงานครับ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท