กิจกรรมบำบัด OT: Occupational Therapy ชื่อนี้สำคัญไฉน?


ขอบพระคุณโจทย์ที่น่าสนใจจากพี่โอเล่ ผู้นำสุขภาวะมืออาชีพที่เป็นต้นแบบแห่งความภาคภูมิใจของผมท่านหนึ่งครับ

นับตั้งแต่เรียนจบกลับมาจากออสเตรเลียแล้วเดินไปขอหนังสือพิมพ์ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ "นักกิจกรรมบำบัด" ศาสตร์ที่เลือนหายไปในประเทศไทย  และผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ชนัตถ์ และทีมผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยประกอบสร้างหลักสูตรกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ด้วยเสียงสะท้อนจลากบันทึกนี้ ทำให้ผมค้นคว้าหาแนวทางการสื่อสารสู่สาธารณะด้วยความถนัดในบทบาทกระบวนกรพัฒนาทักษะจิตสังคม (เมตตาปัญญา) จนถึงปัจจุบัน เชิญชวนกัลยาณมิตรอ่านบันทึกที่เกี่ยวข้องได้ครับ

ผมลองสืบค้นก็พบกระทู้ที่น่าสนใจ ทำให้เห็นภาพของชื่อนักกิจกรรมบำบัดที่คิดเป็นระบบและมีความสำคัญจริงจากลิงค์นี้ ได้แก่ 

  • OT Aides คือ ผู้ช่วยเหลือนักกิจกรรมบำบัด ทั้ง COTA และ OT 
  • COTA คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและสอบขึ้นทะเบียนเป็นนักกิจกรรมบำบัดผู้ช่วย สามารถเป็นอาจารย์คุมฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกแก่นักศึกษากิจกรรมบำบัด หรือ OTS ภายใต้คำแนะนำของ OT
  • OT คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขากิจกรรมบำบัด
  • OTR คือ ผู้ที่เป็น OT และสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัดผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ระดับชาติ
  • OTR/L คือ ผู้ที่เป็น OTR สำเร็จการศึกษาปริญญาโทและได้ใบอนุญาตให้ทำงานในรัฐหนึ่ง
  • OTD คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกเน้นฝึกฝนทักษะคลินิกและการวิจัยเฉพาะทางเพิ่มเติมจนได้รับใบประกาศนียบัตร 18 ด้าน หรือได้รับวุฒิบัตร 10 สาขา  
  • มีอีกตำแหน่งหนึ่งที่เป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของ COTA และ OTR คือ ผู้สังเกตคลินิกกิจกรรมบำบัด หรือ Occupational Therapy Observer

ปัจจุบันนี้ อาชีพนักกิจกรรมบำบัด มีความสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในทีมการบำบัดฟื้นฟูทางการแพทย์ การศึกษา การพัฒนามนุษย์ตลอดทุกช่วงวัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับสุขภาวะให้มีพลเมืองดีแก่โลกของเรา มีสมาพันธ์นักกิจกรรมบำบัดโลก ที่ทำงานเป็นองค์กรอิสระคู่กับ WHO มาถึง 61 ปี 

คำถามจากคนไทยบ่อยครั้ง คือ นักกิจกรรมบำบัด ต่างจาก นักกายภาพบำบัด อย่างไร 

คำตอบ อ้างอิงจากลิงค์นี้  คือ นักกิจกรรมบำบัด พัฒนาทักษะการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัย เน้น "ภาพรวมของความสามารถของคนหนึ่งคน หรือ Whole Person" เพื่อ รับรู้สึกนึกคิดดี เรียนรู้อารมณ์สังคมดี บริหารจัดการนิสัยที่ดี แสดงบทบาทคนดี มีความอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ว่าจะสุขภาพดี ให้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจป้องกันความเจ็บป่วย หากมีความบกพร่องทางร่างกาย ให้พัฒนาความสุขความสามารถตามศักยภาพให้มีพลังชีวิตและฟื้นคืนสุขภาวะจนถึงลาจากโลกนี้ไปอย่างมีความหมายด้วยจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ ด้วยการประเมินออกแบบวิเคราะห์สังเคราะห์สื่อที่นำมาบำบัดพัฒนาชีวิตรอบตัว ได้แก่ ใช้สติแห่งตน สร้างสัมพันธภาพ เรียนรู้คิดเป็นระบบ ปรับขั้นตอนการทำงาน และปรับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายรอบตัวเรา 

หมายเลขบันทึก: 677254เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2020 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2020 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท