การมีงานทำของบัณฑิต



ในการประชุมสภาวิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๓ มีวาระเชิงนโยบายเรื่อง การมีงานทำของบัณฑิต    ท่านรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ดร. บดินทร์ บือลาเต๊ะ ทำการบ้านมานำเสนอดีมากในเชิงหลักการ    และเสนอข้อมูลที่น่าตกใจว่า อัตราการมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระของบัณฑิตเมื่อเรียนจบ ๑ ปี ลดลงไปเรื่อยๆ    ตัวเลขของวิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เท่ากับร้อยละ ๓๖.๒     บางหลักสูตรพียงร้อยละ ๒๐  

 ผมเสนอประเด็นเชิง implementation หรือ การจัดการให้บรรลุผลที่ต้องการ ทั้งที่หลักการ และที่สมรรถนะของบัณฑิต โดยต้องคิดเชื่อมโยงกับ university transformation   เปลี่ยน platform ของการทำงานของมหาวิทยาลัย    จาก Academic Platform ไปเป็น Engagement Platform    โดยควรเป็นเรื่องของทั้งมหาวิทยาลัย  และทุกมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างที่ดีคือคณะรัฐศาสตร์ ที่ engage กับราชการด้านการต่างประเทศ    หาทางส่งนักศึกษาไปฝึกงานในต่างประเทศ    ทำให้เมื่อเรียนจบบัณฑิตได้งานดีๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ      

ผมเสนอให้เปลี่ยน learning platform  จากรูปแบบแห่งศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐  ที่เป็นการเรียนรู้ขาเข้า  เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ขาออก   คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ตามด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีอย่างลึกและเชื่อมโยง  เป็น pedagogy transformation    และการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้นั้นทำในสถานที่ของ engagement partner เป็นส่วนใหญ่    

มหาวิทยาลัยถึงคราวต้อง Transform working model  จาก diffusion model  สู่ engagement model    ตามที่ระบุในปาฐกถา กษาน จาติกวณิช เรื่อง มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต  

เชื่อมโยงกับการ transform ระบบการทำงานของอาจารย์    ที่ออกไปทำงานในสถานประกอบการในสัดส่วนเวลาที่สูง   เพื่อทำงานวิชาการบนฐานของชีวิตจริงในสถานประกอบการ  

ต้องเอาใจใส่สหกิจศึกษา ว่าสนองการพัฒนานักศึกษาอย่างรอบด้าน (holistic) จริงหรือไม่   ต้องไม่ใช่เพื่อทำเป็น ต้องไปสู่คิดเป็น  เชื่อมโยงสู่งานหรือกิจกรรมแบบอื่นได้   ต้องจัดกว้างกว่ารายวิชา

ดร. ชิดชนก ราฮิมมูลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ เล่าความร่วมมือกับคณะ กก. สิทธิมนุษยชน ในการส่งนักศึกษาไปฝึกงาน    เป็นประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงานและต่อนักศึกษา   ความร่วมมือกับ อบจ.  อบต. ด้านการจัดการขยะ ให้นักศึกษาได้ฝึกงาน    ไม่มีภาระการเงิน ของทางคณะ   และโยงสู่การเสนอโครงการวิจัยต่อ PMU A 

ศ. ดร. ปราณี กุลละวนิชย์  เน้นเรื่อง integration ระหว่างวิชา  

รศ. ดร. ธีระพงศ์ แก่นอินทร์ เสนอว่า ทิฏฐิ (mental model) แนว Peter Senge   ที่สำคัญคือการเป็นคนมีความสุข  

ผมเสนอให้พิจารณาจัดการเรียนข้ามคณะ  แบบ Interprofessional Education    การจัดสาขาของบัณฑิตใหม่    อาจต้องรวมภาควิชา/ศาสตร์       

อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดรายวิชา    เปลี่ยนเป็น CBE (Competency-Based Education)    เปลี่ยน Curriculum platform    รวมทั้งจัดระบบบัตรรับรองใหม่ แนว OpenBadges

สรุปว่า ถึงยุคต้องพิจารณา disrupt วิธีการและ platform ของการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัย    เพื่อให้สอดคล้องรองรับความต้องการของผู้เรียนในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

วิจารณ์ พานิช

๘ ก.พ. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 675522เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2020 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2020 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท