ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

UKM : งานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3 ตอนที่ 3


การเสวนาภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย (UKM) ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ เป็นภาคีเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาแห่งการเรียนรู้
 สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow            จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ที่ผ่านมานั้น UKM  Forum นับว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ผมในฐานะคุณลิขิตมือใหม่ จึงใคร่นำเสนอเพื่อร่วมเรียนรู้ด้วยกันครับ วันนี้เป็นตอนที่ 3
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อะไรจากการเป็นสมาชิกเครือข่าย UKM
3.4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น  นำเสนอโดย รศ.รังสรรค์   เนียมสนิท   รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มนำ KM เข้าไปใช้ในการพัฒนางานเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 โดยท่านอาจารย์จิตเจริญ ได้เริ่มขายแนวคิดให้กับทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย และทีมผู้บริหารเห็นดีด้วยจึงได้มอบหมายให้ รศ.รังสรรค์ เป็น CKO ในการขับเคลื่อน KM ในมหาวิทยาลัย สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการเป็นเครือข่ายของ UKM คือ
1)      ได้เพื่อน โดยส่วนตัวแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นเป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว และหลังจากที่มาเป็นภาคี UKM ทำให้ได้เพื่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานที่ดี
2)      ได้ความรู้ สำหรับในด้านของการจัดการความรู้ (KM) นั้น เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ จึงเป็นเครื่องมือ (Tools) ที่ดีในการที่จะนำไปพัฒนาคน และองค์กรได้อย่างดี
3)      ได้งาน สามารถเอาไปเพิ่มคุณค่าของงาน เพิ่มคุณค่าของบุคลากร โดยที่มหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญที่คนมาก เพราะคนเป็นกลไกลที่สำคัญในการทำงานสำหรับบุคลากรของหาวิทยาลัยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 43 ปี  โครงสร้างของเงินเดือนเพิ่มขึ้น ปีละสองครั้ง และยังมีโบนัสอีกเมื่อสิ้นปี นอกจากนั้นยังมีระบบสองขั้น จึงมีคำถามว่าแล้วบุคลากร อาจารย์ มีคุณค่าสูงขึ้นตามหรือไม่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงพยายามที่จะทำทุกวิถีทางในการที่จะเพิ่มคุณค่าของบุคลากรให้สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงนำ KM เข้ามาในการพัฒนางาน โดยมีเทคนิคในการทำงานคือ
3.1)  การกำหนดเป้าหมายในการทำ KM ต้องชัดเจน
3.2)  การเริ่มกระบวนการจะเริ่มจากจุดที่เล็กๆ ก่อนเพื่อดูความสำเร็จขององค์กร แล้วค่อยๆ ขยาย เป็นวงกว้างออกไป อีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ระหว่างภาคีเครือข่าย แล้วนำผลสำเร็จของชุมชนต้นแบบเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป
3.3)  การทำจะทำให้ KM เนียนอยู่ในเนื้องาน KM Inside ให้ดูเหมือนว่าการทำ KM ไม่ได้ให้เป็นภาระงาน
3.4)     ใช้เครื่องมือให้หลากหลาย ในกระบวนการขับเคลื่อน KM นั้นต้องมีเครื่องมือที่หลากหลาย และมีความยืดหยุ่นสูง รวมทั้งการใช้ Blog ที่เป็นเครื่องมือของตะวันตก และเราก็สามารถเลือกใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยขอนแก่นยังให้ความสำคัญอยู่ที่คน ต้องเข้าใจความเชื่อในคุณค่าของคน  เนื่องจากคนเป็นกำลังหลักในการพัฒนา ดังนั้นจะต้องปรับความเข้าใจของคน และพัฒนาคน โดยใช้กระบวนการ KM เพื่อจะได้พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากเกินไปเพราะเรามีเครือข่ายค่อนข้างมากทั้งหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีแบบอย่างแห่งความสำเร็จที่หลากหลายน่าจะเป็นแบบอย่างในการทำงานด้านการพัฒนาได้อย่างดี
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์
15 ธันวาคม 2549
หมายเลขบันทึก: 67511เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
บันทึกนี้ format แปลกๆ รูปแบบใหม่เหรอคะ...ครบถ้วนดีจังเลยค่ะ คุณอุทัย...เก่งจัง
  •    อาจารย์อุทัยตั้งใจทำให้แปลกหรือมันเป็นเองครับ
  • มาเรียนรู้ กับ เจ้าของ KMทำอะไร แปลกขึ้นมากเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท