ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

UKM : งานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3 ตอนที่ 2


การเสวนาภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย (UKM) ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ เป็นภาคีเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาแห่งการเรียนรู้
 สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow            จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ที่ผ่านมานั้น UKM  Forum นับว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ผมในฐานะคุณลิขิตมือใหม่ จึงใคร่นำเสนอเพื่อร่วมเรียนรู้ด้วยกันครับ วันนี้เป็นตอนที่ 2

3. มหาวิทยาลัยได้อะไรจากการเป็นเครือข่ายของ UKM

3.1 มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอโดย รศ.วีรพงศ์  ปรัชชญาสิทธิกุล รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน กล่าวว่า หลังจากที่มหาวิทยาได้ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายได้ 2 ปี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหาวิทยาลัย นั้น เป็นสถาบันแห่งความรู้ซึ่งทุกคนให้การยอมรับและแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความเป็นมา มีบริบทที่แตกต่างกันไป        ดังนั้นถ้าเราเอาการจัดการความรู้เข้าไปช่วยส่งเสริมการจัดการความรู้นั้นให้แน่นหนา มีบริบทที่จะดำเนินการให้ดีขึ้น จะทำให้มหาวิทยาลัยไทยมีบทบาทในการพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ พัฒนาคนรุ่นเยาว์ ให้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการจัดการความรู้ ซึ่งมีข้อดีดังนี

1) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ ต้องยอมรับว่าการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแต่ละคนจะมีความรู้เฉพาะด้าน แล้วนำความรู้ที่ตนมีมาเล่าสู่กันฟัง จึงเกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะนำความรู้ที่ได้เหล่านั้นไปสอนนักศึกษาที่เราคาดหวังว่าจะให้เป็นคนดีเพื่อไปรับใช้สังคม ที่จะได้มีความรู้หลากหลายสำหรับบูรณาการและปรับใช้ให้อยู่ได้อย่างมีความสุขในสังคมเป็นคนดีมีจริยธรรม คุณธรรม มีความรู้รอบด้าน

2)  เสริมการบริหารในองค์กร  ในการก่อเกิดและบริบทของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน มีผลต่อการบริหาร เช่น มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบุคลากรกว่า 20,000 คน แต่ละคณะจะมีบุคคลากรที่แตกต่างกันตั้งแต่ 30 – 10,000. คน หากเป็นภาควิชาก็จะแตกต่างกันตั้งแต่ 3 – 400 คน หรือ หากเป็นนักศึกษาก็จะมีตั้งแต่คณะละ 10,000 – 40,000. คน ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก การเรียนรู้ และการบริหารจัดการก็จะแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างขององค์กร  ดังนั้นเมื่อหน่วยงานต่างๆ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็จะได้แนวทางในการพัฒนาองค์กรของตนเอง

3) เสริมการบริหารนอกองค์กร การเป็นสมาชิกเครือข่าย UKM สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ของแต่ละชุมชน (มหาวิทยาลัย) ทำให้ได้เทคนิคต่างๆ ในการพัฒนา และแนวทางการบริหารของแต่ละสถาบัน และการเป็นเครือข่าย UKM น่าจะทำประโยชน์อย่างยิ่งต่อบริบทของมหาวิทยาลัยไทย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาของประเทศ เยาวชนอย่างแท้จริง

3.2 มหาวิทยาลัยนเรศวร ผศ.วิบูลย์       วัฒนาธร  รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัย และพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น ได้อะไรที่หลากหลาย เช่น

1) ได้เพื่อนร่วมอุดมการณ์  กล่าวคือการได้เพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการนำสังคมไทยไปสู่สังคมอุดมปัญญาโดยใช้กระบวนการ KM เมื่อเป็นสมาชิก UKM ก็ได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละมหาวิทยาลัย ทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง และความรู้ที่อยู่ในตัวคน ซึ่งในมหาวิทยาลัยมักจะให้ความสำคัญกับความรู้ที่ชัดแจ้ง และมักจะลืมความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งๆ ที่เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มาก  เมื่อมีกระบวนการ KM เข้ามาทำให้เราสามารถเสริมสร้างศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในการนำความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) มาเป็นพลังในการทำงานได้เป็นอย่างดี 

2) มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  มหาวิทยาลัยได้กำหนดทิศทาง และมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (โดยใช้ Model ปลาทู) รู้ว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยควรที่จะเดินทางไปทางไหน ตลอดทั้งการยกระดับความรู้ และการจัดการด้านความรู้ เพื่อสร้างคลังความรู้ ให้เกิดขึ้นในองค์กรอนาคต 20 – 30 ปีข้างหน้า

3) งานในองค์กรดีขึ้น เมื่อคนในองค์กรมีการพัฒนาด้านการจัดการความรู้ก็ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  คุยกันด้วยความเป็นเหตุเป็นผล

4) วัฒนธรรมองค์กรดีขึ้น  คนในองค์กรเป็นกัลยานมิตรต่อกัน ส่งผลต่อการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นอกจากนั้นสภามหาวิทยาลัยนเรศวรยังมุ่งมั่นในการการทำ KM เพื่อให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้า 3 ประการ
1) เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
2) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย
3) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ คือเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถปรับตัวได้กับทุกบริบทในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมามหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินกิจกรรม   3 กิจกรรมหลักๆ ประกอบด้วย
1)      การทำ KM Work Shop ให้กับนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ กว่า 20
2)      การทำ KM Work Shop ให้กับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

3)      การทำ KM Work Shop สำหรับงานวิจัยในมหาวิทยาลัย

3.3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ผศ.พิศมัย   ศรีอำไพ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้นนับเป็นมหาวิทยาลัยน้องสุดท้องของภาคี UKM ครั้งแรกจาก 5 สถาบัน และจากการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านาค่อนข้างมีปัญหาในการดำเนินงานเช่นกัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานค่อนข้างบ่อยจึงทำให้การดำเนินงานสะดุดบ้าง และสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย
1)      ได้เพื่อนที่มุ่งมั่น คือ มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการที่จะขับเคลื่อน KM ในองค์กรเพื่อมุ่งหวังให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2)      รับความรู้ หลังจากที่เราเข้าร่วมในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่าย ทำให้เราทราบว่าความรู้ต่างๆ เป็นประโยชน์ที่จะสามารถในการนำไปพัฒนาองค์กรของตนเองได้
3)      รู้กระบวนการ KM ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้ (KM) มากยิ่งขึ้นหลังจากการเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย
4)      ได้ความมั่นใจ กล่าวคือในสิ่งที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่นั้นก็เสมือนเป็นการทำ KM อยู่แล้วแต่เมื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่าย ทำให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในกระบวนการการทำ KM ที่ดำเนินอยู่นั้น
5)       ได้ KM เป็นเครื่องมือ มหาวิทยาลัยสามารถนำกระบวนการ KM  ไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรได้เป็นอย่างดี
6)       ได้ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยได้นำกระบวนการ KM ไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน QA

ให้ไปสู่การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมการผลิตบัณฑิต และงานวิจัยให้มีคุณภาพ ทั้งระดับคณะและมหาวิทยาลัย

ขอบคุณครับ
อุทัย  อันพิมพ์
15 ธันวาคม  2549
หมายเลขบันทึก: 67507เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท