ชีวิตที่พอเพียง 3595. สิทธิที่จะถูกลืม



ข่าว บีบีซี เรื่อง German murderer wins ‘right to be forgotten’ (1) เตะตาผม    และเมื่ออ่านรายละเอียด ก็ได้เรียนรู้แนวคิดและพัฒนาการของแนวคิดเรื่อง ความเป็นส่วนตัว (privacy) ในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร   

  ผมลองคิดแย้ง ว่าเป็นสิทธิของคนอื่นๆ ในโลก ที่จะได้รับรู้ ‘ความจริง’ หรือ ‘เหตุการณ์’ ที่เกิดขึ้นในโลก     เพื่อการเรียนรู้เท่าทันโลก เท่าทันมนุษย์     ดังนั้นเรื่องราวของฆาตกรรมอำมหิตที่อาชญากรผู้นั้นก่อ จึงไม่ควรถูกลบออกไปจาก archive ของเรื่องราวนั้น   

แต่เหตุผลที่ ‘German murderer’ อ้างต่อศาลก็น่ารับฟัง     เขาอ้างว่า เรื่องราวของฆาตกรรมที่อยู่ในสื่อต่างๆ ระบุชื่อนามสกุลจริง    ทำให้คนสกุลเดียวกันเสียหาย     เขาต้องการให้ศาลสั่งให้แหล่งข้อมูล ออนไลน์ เอานามสกุลของเขาออกจากฐานข้อมูล   

ที่น่าสนใจคือ ในปี 2012 Federal Court ตัดสินให้เขาแพ้    โดยให้เหตุผลว่า สิทธิด้านความเป็นส่วนตัว ไม่เหนือสิทธิของสาธารณชนที่จะรับรู้เรื่องราว  และไม่เหนือหลักความเป็นอิสระของสื่อ    แต่บัดนี้ Constitutional Court กลับคำตัดสินของ Federal Court    และส่งเรื่องกลับไปให้ Federal Court พิจารณาใหม่        

ผมไม่ชอบคำว่า “สิทธิที่จะถูกลืม” มันขัดกันกับหลักการ “ชั่วดีเป็นตรา” ที่คอยกำกับคนเราให้ไม่ทำชั่ว     แต่ก็ถียงได้ว่า คนเราเรียนรู้และ transform ได้     

วิจารณ์ พานิช

๒๘ พ.ย. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 673992เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2019 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2019 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก็เพราะไม่รู้ ไม่สนใจหาข้อมูล เลยมีฆาตรกรต่อเนื่องไหมคะ กรณีตัวอย่างในประเทศไทยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท