วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด: ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและการวัดประเมินผล


การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล

โดย ผศ.ดร.คัทรียา รัตนวิมล

…………………………………………………………………………..

การสะท้อนคิด เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการทำความเข้าใจแยกแยะและอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในเหตุการณ์หรือมีประสบการณ์ ซึ่งการสะท้อนคิดช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับมุมมองของตนเอง และเกิดการวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ  (Gibbs Horton-Deutsch และSherwood)

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

1. ครูมีบทบาทในการชี้หรือเลือกประเด็น เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้

2. การสะท้อนคิดของนักศึกษาจะมีทั้งความคิดเห็นที่เป็นหลักวิชาการต่อเหตุการณ์ (Thinking) และความรู้สึกของนักศึกษาต่อเหตุการณ์ (Feeling) ครูควรตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดการสะท้อนคิดทั้งสองประเด็น

3. การให้นักศึกษาทุกคนในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้มุมมองที่แตกต่างจากเพื่อน ๆ โดยการตั้งวงสนทนาแห่งความไว้วางใจของ Palmer ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

    ขั้นที่ 1 การจัดตั้งวงสนทนา ทุกคนนั่งล้อมวงเพื่อให้ทุกคนเท่าเทียมกันหมด ผู้สอนกล่าวถึงกติกา คือ ทุกคนต้องอยู่กับปัจจุบัน สนใจประเด็นที่สนทนา สิ่งที่นำเสนอเป็นการบอกกล่าวมากกว่าการสั่งให้ทำ ให้ความเคารพต่อการรักษาความลับ พูดความจริง ขณะเดียวกันก็เคารพความจริงของผู้อื่น ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นโดยไม่กล่าวตำหนิหรือขัดแย้ง

    ขั้นที่ 2 กระบวนการสำรวจตัวตนของผู้เรียนและผู้สอน เป็นการพูดคุยเพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถบอกเล่าในสิ่งที่ตนเองเป็น ลักษณะตัวตนของแต่ละคนเป็นอย่างไร เน็น็น็มสสกหดกหหหห   พื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย วางใจ เป็นการเปิดเผยตัวตนในแบบที่ต้องการ  

    ขั้นที่ 3 กระบวนการสื่อสาร เป็นการให้ผู้เรียนได้ทบทวน และบอกเล่าประสบการณ์ที่ได้รับ โดยเน้นที่ด้านบวกของประสบการณ์

    ขั้นที่ 4 การเปิดอภิปราย ให้ทุกคนในวงสนทนาร่วมอภิปรายว่าจะทำสิ่งที่แตกต่างไปได้อย่างไร มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ และหาข้อสรุปว่าสิ่งที่ได้นี้จะนำไปใช้ในการปฏิบัติอย่างไร

    ขั้นที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้ ผู้สอนสรุปสิ่งที่ต้องการเน้นย้ำให้ผู้เรียนเกิดการจดจำและนำไปใช้ได้

4. ครูควรรู้จักตนเอง และรู้จักนักศึกษา โดยอาจใช้ศาสตร์นพลักษณ์ (Enneagram) จำแนกคนออกเป็น 9 ลักษณะ แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้

ศูนย์ที่ 1 "ท้อง" ใช้สัญชาตญาณเป็นหลักในการตัดสินใจ ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้อย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยลักษณะที่ 8 , 9 , 1 

ศูนย์ที่ 2 "ใจ" ใช้อารมณ์เป็นหลักในการตัดสินใจ ประกอบด้วยลักษณะที่ 2 , 3 , 4

ศูนย์ที่ 3 "หัว" ใช้ความคิดเป็นหลัก ค่อนข้างตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ช้า (เนื่องจากใช้ความคิดมาก) ประกอบด้วยลักษณะที่ 5 , 6 , 7

โดยคนทั้ง 9 ลักษณะ มีจุดเด่นและข้อเสียดังนี้  

1) คนสมบูรณ์แบบ เป็นนักปฏิรูป ต่อสู้เพื่ออุดมคติ ชอบวิพากษ์วิจารณ์ตนเองและผู้อื่น ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย  ข้อเสียตัดสินคนอื่น ไม่ยืดหยุ่น ชอบควบคุมสั่งการ โต้เถียง และเอาจริงเอาจังจนเกินไป

2) ผู้ให้ ต้องการความรักและการยอมรับ ทำทุกทางให้คนอื่นรักและชื่นชม น่ารัก อบอุ่น ปรับตัวเก่ง กระตือรือร้น เข้าใจคนอื่น เป็นมิตร ข้อเสีย ไม่กล้า ขี้กลัว อ้อมค้อม เอาใจคนอื่นจนเกินไป บางครั้งจึงกลายเป็นผู้เสียสละจนทำให้ตัวเองลำบาก

3) นักแสดง  สร้างสรรค์ผลงานและความสำเร็จเพื่อให้เป็นที่รัก ชอบแข่งขัน ยึดติดกับการเป็นผู้ชนะ มีพลัง มีประสิทธิภาพ ขยัน มุ่งมั่น เป็นนักปฏิบัติที่ดี ข้อเสีย ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางมากเกินไป หลงตัวเอง เป็นคนผูกใจเจ็บ เจ้าคิดเจ้าแค้น

4) คนโศกซึ้ง มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบ อยากได้ในสิ่งที่ตนไม่มี อยากเป็นในสิ่งที่ตนเองไม่ได้เป็น อารมณ์ศิลปิน อ่อนไหว เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี  ข้อเสียหมกมุ่นกับอดีตและความผิดพลาด

5) นักสังเกตการณ์  มีโลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันกับอะไรเป็นพิเศษ ต้องการแยกตัวจากสิ่งต่าง ๆ รอบข้างที่จะมากระทบ เป็นนักคิด ไว้วางใจได้ สนใจใฝ่รู้ ข้อเสีย เป็นคนที่รู้สึกหดหู่เมื่อต้องผูกมัดตัวเองกับความต้องการของผู้อื่น

6) นักปุจฉา  เป็นคนช่างสงสัย ขี้กลัว จึงมักจะผัดผ่อน เป็นคนคิดมากกว่าลงมือทำ ข้อดี เป็นสมาชิกทีมและเพื่อนร่วมงานที่ดีเยี่ยม มีความจงรักภักดี

7) คนรักสนุก  กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา มีจินตนาการ มีเสน่ห์ สนใจใฝ่รู้ ร่าเริง  ข้อเสีย  เป็นคนหุนหันพลันแล่น เชื่อถือไม่ค่อยได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

8) เจ้านาย มั่นใจในตนเองสูง ตัดสินใจเฉียบขาด ตรงไปตรงมา ซื่อตรง ปกป้องคนอื่นได้ดี ใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย ข้อเสียเจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุม เอะอะโวยวาย แสดงอำนาจและความโกรธอย่างเปิดเผย

9) นักไกล่เกลี่ย วิเคราะห์มุมมองต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ให้ความสำคัญกับความต้องการของคนอื่น เป็นที่ปรึกษาที่ดี และเป็นนักเจรจาต่อรองที่ดี ข้อเสีย ชอบละเลยความต้องการของตนเอง วุ่นอยู่กับเรื่องไม่สำคัญ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริง

5. ครูต้องฝึกตัวเองให้ใจเย็น และใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดตามหลัก 5 w 1 H คือ Who, What, Where, When, Why, How โดยมีตัวอย่างการตั้งคำถามได้แก่

   - อะไรเป็นสาเหตุสำคัญของ..............

   - สาเหตุที่ทำให้คนใช้ชีวิตแบบนี้คือ.....

   - เรามีคำแนะนำ/การพยาบาลอะไรอีกบ้าง........

   - การที่ครอบครัวมีปัญหา ส่งผลต่อการใช้ชิวิตอย่างไร.....

   - การพัฒนาการศึกษา มีความสัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร.....

6. การสะท้อนคิดต่อสถานการณ์หรือตัวนักศึกษาสามารถใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้ครอบคลุมทุกด้านของสถานการณ์

การประเมินการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสะท้อนคิด

1. ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด

2. ประเมินคุณภาพ

3. ประเมินระดับการสะท้อนคิด

แบบประเมินการสนทนาสะท้อนคิด (Reflective Dialogue)

รายการ

คะแนน

ระดับที่ได้    3, 2, 1, 0

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

3

2

1

0

1. การอธิบายประสบการณ์

อธิบายสาระสําคัญ มีการอธิบายเพิ่มเติม และการจัดระเบียบการคิด (การอธิบาย)ที่ดี

อธิบายสาระสําคัญ แต่การจัดระเบียบการคิด (การอธิบาย) ยังไม่ดีนัก

อธิบายประสบการณ์ แต่ขาดสาระสําคัญ หรืออธิบายคลุมเครือ

ไม่สามารถอธิบายประสบการณ์ได้ วกวน ขาดความชัดเจน ไม่รู้ว่าต้องการสื่ออะไร               

1

2. การทบทวนความคิด

ความรู้สึก

อธิบายความคิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ มีการตั้งคําถามที่นําไปสู่การเรียนรู้เพิ่มเติม ในเนื้อหาหรือสาระสําคัญของวิชาที่เรียน

อธิบายความคิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ มีการตั้งคําถามที่นําไปสู่การเรียนรู้เพิ่มเติม แต่ประเด็นของคําถามยังขาดทิศทาง หรือไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาที่เรียน

อธิบายความคิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ ยังไม่มีการตั้งคําถามที่นําไปสู่การเรียนรู้

ไม่สามารถอธิบายความคิดหรือรู้สึกได้ หรืออธิบายในสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กับประสบการณ์

1

3. การวิเคราะห์เหตุการณ์

ประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ วิเคราะห์สาเหตุหลากหลาย ใช้ความรู้จากเนื้อหาวิชาที่เรียนมาประกอบการวิเคราะห์ รู้จักใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาประกอบการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม

ประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ วิเคราะห์สาเหตุที่หลากหลาย ใช้ความรู้จากเนื้อหาวิชาที่เรียนมาประกอบการวิเคราะห์ แต่ขาดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ วิเคราะห์สาเหตุ แต่ขาดความหลากหลาย ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว

ไม่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ได้ หรืออธิบายในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เขียน

2

4. การสร้างความรู้ ความเข้าใจใหม่

สรุปความรู้ความเข้าใจสอด

คล้องกับเนื้อหาที่เรียน มีการใช้

หลักฐานเชิงประจักษ์ มีการ

อธิบายความชื่อมโยงระหว่างความเข้าใจใหม่ ประสบการณ์ และเนื้อหาวิชาที่เรียน

สรุปความรู้ความเข้าใจ สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน มีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ แต่ยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างความเข้าใจใหม่ ประสบการณ์ และเนื้อหาวิชาเรียน

สรุปความรู้ความเข้าใจ สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน แต่สรุปจากความคิดเห็นส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่

สรุปในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน หรือไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่อธิบาย

3

5. การวางแผนการนําความรู้ไปใช้ในอนาคต

อธิบายแผนการนําความรู้ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งบอกสถานการณ์ วิธีการ เหตุผลของการประยุกต์ใช้อย่างชัดเจน

อธิบายแผนการนําความรู้ไปใช้

อย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังขาดการ

อธิบายเหตุผลหรือสถานการณ์ใน

การประยุกต์ใช้

อธิบายแผนการนําความรู้ไปใช้ แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ไม่สามารถอธิบายแผนการนําความรู้ไปใช้ในอนาคตได้ หรืออธิบายในสิ่งไม่เกี่ยวข้อง

3

คะแนนรวม

หมายเลขบันทึก: 673988เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2019 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2020 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)

ทุกวันนี้ใช้เป็นประจำเลยคะ แต่ต้องฝึกเรื่องความใจเย็นรอนศ.เล่า บางคนก็เล่าแบบน่าฟัง บางคนก็เล่าแบบว่ากว่าจะจำใจความได้ อาจารย์ก็ต้องคอยกระตุ้นและต้องคุมตัวเองให้นศ.เล่าต่อ ห้ามสรุปทันที

รูปแบบการเรียนแบบสะท้อนคิดในเหมาะสมการเรียนภาคปฏิบัติ เนื่องจากมีกลุ่มเล็ก สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การสะท้อนคิดช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับมุมมองของตนเอง และเกิดการวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ

เป็นวิธีการที่ดีค่ะ ซึ่งครูต้องใช้คำถามที่ให้เด็กได้สะท้อนคิด

มีความพยายามในการใช้การสะท้อนคิดตลอดทั้งในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน และกับการสอนนักศึกษาทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การจะให้นักศึกษาได้ตกผลึกความคิดและเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด ต้องใช้เวลา และครูต้องทำอย่างต่อเนื่อง และเนียนเข้าไปในการนิเทศ หรือการสอน และมีการประเมินผลลัพธ์ตลอดว่านักศึกษามีการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร ดดยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งจากการถอดบทเรียนครั้งนี้มีสิ่งที่ได้ความรู้เพิ่มคือ การประเมินการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด 3 แบบ คือ ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด ประเมินคุณภาพและประเมินระดับของการสะท้อนคิด และมีตัวอย่างเครื่องมือประเมินให้ด้วย จะนำไปทดลองใช้ ในโอกาสต่อไป ขอบคุณคะ

การสะท้อนคิดเป็นวิธีที่ดีมากสำหรับการนิเทศนักศึกษากลุ่มภาคปฏิบัติคะเพราะกลุ่มเล็กและสามารถพูดคุยกับ นศ. ได้ทุกคน และส่วนตัวได้ฝึกการใช้การสะท้อนคิดกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ แต่ยังต้องพัฒนาต่อไป การมีหัวข้อนี้มาให้แลกเปลี่ยนจึงดีมากคะ

พยายามนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา แต่ปัญหาที่พบคือเวลาในการทำมีน้อย และบางครั้งไม่สามารถทำตามขั้นตอนได้ และได้ไม่ครบทุกคน แต่ก็จะพยายามใช้ทุกครั้งเมื่อมีโอกาส ครั้งนี้ก็รู้สึกเสียดายโอกาสที่ไม่ได้เข้าไปรับฟัง อยากให้จัดช่วงที่ไม่มีการนิเทศบนหอผู้ป่วยค่ะ

เป็นเทคนิควิธีการที่เหมาะสม โดยเฉพาะตอนขึ้นภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยที่มีกรณีให้ศึกษาจริง เมื่อได้พบสถานการณ์ที่สำคัญ หรือเป็นอุบัติการณ์ใหม่ที่พึงระวัง อาจารย์สามารถที่จะนำมาสะท้อนให้นศ. ได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้อาจารย์ผู้สอนและนศ. ได้ทราบมุมมองการสะท้อนคิดของแต่ละคนที่แตกต่างกันในหลากหลายแง่มุม ทั้งเชิงเหตุผลและทั้งด้านอารมณ์ อีกทั้งยังฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนศ. อีกด้วย หลังจากฟังวิทยากรแล้วได้แนวทางที่จะนำไปใช้ได้มากขึ้นค่ะ

เป็นเทคนิควิธีการที่เหมาะสม โดยเฉพาะตอนขึ้นภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยที่มีกรณีให้ศึกษาจริง เมื่อได้พบสถานการณ์ที่สำคัญ หรือเป็นอุบัติการณ์ใหม่ที่พึงระวัง อาจารย์สามารถที่จะนำมาสะท้อนให้นศ. ได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้อาจารย์ผู้สอนและนศ. ได้ทราบมุมมองการสะท้อนคิดของแต่ละคนที่แตกต่างกันในหลากหลายแง่มุม ทั้งเชิงเหตุผลและทั้งด้านอารมณ์ อีกทั้งยังฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนศ. อีกด้วย หลังจากฟังวิทยากรแล้วได้แนวทางที่จะนำไปใช้ได้มากขึ้นค่ะ

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดเหมาะสำหรับการสอนในภาคปฏิบัติมากเลยค่ะ เมื่อนศ.ได้พบกับสถานการณ์จริง อาจารย์ได้กระตุ้นให้ นศ.ได้สะท้อนคิด โดยอาจารย์ต้องสุขุม ใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ขอบคุณวิทยากรและทีมผู้จัด KM ครั้งนี้มีประโยชน์มากค่ะ

ทดลองใช้ในการสอนภาคปฏิบัติอยู่ สนุกสนานและได้พัฒนาตนเองไปพร้อมกับนักศึกษาตามที่วิทยากรบอกจริงๆ ได้ความรู้จากการบรรยายเพิ่มเติมและได้แนวทางการประเมินผลและแบบประเมินที่ชัดเจน จะนำไปทดลองในรอบการฝึกหน้าค่ะ

จากที่ได้ไปอบรมที่ University of Salford, Manchester สหราชอาณาจักร โดยสามารถประยุกต์การใช้ในการนำ Reflective practice ไปใช้ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Part I)1. สร้างนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข การแพทย์แผนไทยบัณฑิต จากในระดับกระทรวงสู่วิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดให้มีการประชุมวิชาการด้าน “Reflective practice and how it improves clinical practice outcomes” จากนั้นในแต่ละวิทยาลัยต้องกำหนดให้มีการใช้ Reflective thinking โดยจัดทำบูรณการลงในหลักสูตรต่าง ๆ โดยใช้หลักการจัดการเรียนการสอนของ Bloom taxonomy ในการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้- นักศึกษาชั้นปีที่ 1: ผลลัพธ์การเรียนรู้จะมุ่งเน้นการรู้จำและเข้าใจ โดยใช้หลักการสะท้อนคิดตามโมเดลของ Driscoll ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ What, so what, และ now what ซึ่งสามารถทำได้ง่าย สั้นเข้าใจง่ายและไม่เสียเวลาในการเขียนและการฝึกการสะท้อนคิด- นักศึกษาชั้นปีที่ 2: ผลลัพธ์การเรียนรู้โดยเน้นความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ โดยใช้หลักการสะท้อนคิดตามโมเดลของ Gibb’ s model ซึ่งเป็นโมเดลที่นิยมที่สุดมีความซับซ้อมมากขึ้นทำให้มีการคิดใคร่ครวญและเกิดกระบวนการสะท้อนคิดที่เป็นรูปธรรมและสามารถใช้ได้ดีมากขึ้นในผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ทางคลีนิค ในระดับความเข้าใจสามารถสะท้อนคิดข้อดี ข้อบกพร่องและนำไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงในการทำงานหรือปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น- นักศึกษาชั้นปีที่ 3: ผลลัพธ์การเรียนรู้โดยเน้นการประยุกต์ใช้และการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการสะท้อนคิดตามโมเดลของ Gibb’ s model (Description, Feeling, Evaluation, Analysis, Conclusion, and Action to plan: DFEACA) ในการเรียนทางวิชาชีพทางการพยาบาลและสาธารณสุข นักศึกษาสามารถอธิบายความรู้สึก วิเคราะห์เหตุการณ์ สามารถบอกเห็นข้อดี ข้อเสีย และสรุปตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น- นักศึกษาชั้นปีที่ 4: ผลลัพธ์การเรียนรู้โดยเน้นการประเมินค่าและการคิดสร้างสรรค์โดยใช้หลักการสะท้อนคิดตามโมเดลของ Gibb’ s model ในปีสุดท้ายของการเรียนทางวิชาชีพทางการพยาบาลและสาธารณสุข นักศึกษาสามารถประเมินค่าในสิ่งที่ได้เห็น ได้รู้สึกและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถสรุปและวางแผนให้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถคิดเชิงสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมได้มากขึ้น2. การเตรียมอาจารย์ผู้สอน โดยการทำ Workshop วิธีการสอนและประเมินผล Reflective thinking และจัดเตรียม Preceptor เพื่อให้ช่วยเหลือ สนับสนุนให้มีการใช้ Reflective thinking ในการเรียนการสอนได้ทั้งในภาคทฤษฎี ภาคทดลองและภาคปฏิบัติ3. พัฒนาแบบบันทึกและประเมินผลการใช้ Reflection thinking ของวิทยาลัยต่าง ๆ 4. สอดแทรกการเรียนการสอนโดยใช้หลัก Reflective practice ใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เช่น วิชา Adult & Elderly nursing ใช้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฎีจะจัดการเรียนการสอนด้วย Simulation-Based Learning (SBL) และใช้ Reflective thinking ในการ Debrief ส่วนภาคปฏิบัติจะใช้ Reflective ในการ Post-conference5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการทำ KM เกี่ยวกับ Reflective thinking6. เมื่อสิ้นปีการศึกษาจะให้นักศึกษา Reflect ตนเอง อาจารย์จะต้องพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการใช้ Reflective thinking เพื่อนำผลไปใช้และนำไปปรับปรุงในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต่อไป - ในวิชาทฤษฎีด้านการพยาบาล จะนำไปใช้ในวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุและวิชาหมวดทางการศึกษา/ วิทยาศาสตร์ ในการเรียนภาคทดลอง (Lab) จะนำไปใช้ในการเรียนวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล [Basic Concept Principal in Nursing (BCPN)] การฝึกปฏิบัติงาน จะนำไปใช้ทั้งในการฝึกในคลีนิคและในชุมชน การฝึกปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ใหญ่บนหอผู้ป่วย Acute care และ ICU ในวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 & 2 [Adult I & II (ICU)] สามารถนำไปใช้ในการฝึก Pre-Clinic โดยการใช้ Simulation Based Learning (SBL) ใช้ในการทำ Debrief (Pre clinic), post conference, clinical rounds, case study, ขณะฝึกปฏิบัติงาน (in & on action), หลังแต่ละการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละตึก การฝึกปฏิบัติงานการพยาบาลผู้สูงอายุ: สามารถนำ Reflective thinking ไปใช้ในการทำ Debrief หลังจากการใช้คน/ผู้สูงอายุจริง [Real SBL] (in & on action) ก่อนฝึกปฏิบัติงานบนตึกผู้ป่วยหรือในชุมชนลักษณะการสอนภาคปฏิบัติของ Salford University โรงพยาบาล Salford Royal Foundation Trust ตึกผู้ป่วยศัลยกรรมชาย (B2)1. การสอนภาคปฏิบัติมีลักษณะการจัดการเรียนการสอน โดยการจัดในรูปแบบ Block เมื่อนักศึกษาเรียนภาคทฤษฎีแต่ละวิชา/module จบจะต่อด้วยการขึ้นปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ
2. สถานศึกษามีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสถานบริการสุขภาพ โดยสถานบริการสุขภาพ มีบุคลากรที่มีบทบาหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริม สนับสนุน และให้การช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาของนักศึกษาในขณะปฏิบัติงาน และสถานศึกษาให้การพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และความรู้ในการสอนภาคปฏิบัติ รวมทั้งการใช้ Reflective thinking แก้พยาบาลในหอผู้ป่วยที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ อาจารย์พยาบาล 1 คน จะรับผิดชอบดูแลนักศึกษา ไม่เกิน 3 คน3. ลักษณะการสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์พยาบาลจะมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, 3 ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่สูงกว่าดูแล coach นักศึกษารุ่นน้อง4. พยาบาลในหอผู้ป่วยมีหน้าที่ในการสอนภาคปฏิบัติ การประเมินในระหว่างการปฏิบัติงาน และเมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงาน โดยสถาบันการศึกษาได้ใช้ระบบฐานข้อมูลที่พยาบาลและนักศึกษาพยาบาลใช้ร่วมกันในการประเมินสรรถนะของนักศึกษา5. อาจารย์พยาบาลในสถานศึกษา (Lecturer) จะพบนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละหอผู้ป่วยอาจารย์จากสถานศึกษาจะใช้กระบวนการ Reflective thinking โดยการพบนักศึกษาแต่ละคน เพื่อพูดคุย สะท้อนประสบการณ์ และให้นักศึกษาได้มีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เกิดการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและบรรลุตามสมรรถนะที่กำหนดข้อคิดเห็นของพยาบาลในหอผู้ป่วยต่อการสอนภาคปฏิบัติที่เน้นการใช้ Reflective thinking1. อาจารย์พยาบาลในหอผู้ป่วยที่ดูแลนักศึกษา จะใช้ Reflection เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่อง 2. ข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่เคยเป็นนักศึกษาและได้รับการจัดการเรียนการสอน Reflective thinking มีความคิดเห็นว่า การใช้ Reflective thinking จะช่วยให้นักศึกษาได้คิดเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของตนเอง แต่การจะช่วยให้นักศึกษาสะท้อนคิดได้มากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับอาจารย์พยาบาลด้วยเช่นกัน อาจารย์บางคนมีทักษะที่จะพูดคุย กระตุ้นนักศึกษา ก็จะช่วยให้นักศึกษาเข้าตนเอง และมีแนวทางในการพัฒนาทางวิชาชีพได้มากขึ้น3. กระบวนการเรียนการสอนที่มีนักศึกษาชั้นปีที่สูงกว่าร่วมดูแลการปฏิบัติงานของรุ่นน้องจะช่วยให้นักศึกษารุ่นพี่เกิดความมั่นใจ

การได้สนทนาระหว่างคณาจารย์ที่ไปอบรม North Carolina University, Chapel Hill, USA และที่ University of Salford, United of Kingdom ได้ข้อแลกเปลี่ยนร่วมกัน คือ Reflect ในส่วนที่เป็น Postsitive thinking จะช่วยให้นักศึกษามีกำลังที่จะปรับให้การทำงาน การฝึกงานให้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปการพัฒนาแนวทางการนำ Reflective thinking ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีขั้นตอน1. เตรียมนักศึกษา1.1 สอนเรื่องกระบวนการเรียนการสอน ทั้งเรื่องการทำ Reflective method, PL, และ PBLฯลฯ1.2 ฝึกการแสดงความรู้สึก1.3 ความสำคัญของการคิดให้เป็นระบบการเริ่ม KM จากครูที่ผ่านการอบรมมาแล้ว และครูต้องเป็น Reflective thinkers 2. เตรียมอาจารย์ผู้สอน: Clip, Visual Thinking Strategy (VTS), Silent listening, Self-directed Learning2.1 ให้ความรู้ครูเรื่อง RF ครูต้องมีทักษะในการใช้ Reflective thinker 2.2 ใช้ KM ในการเตรียมครู โดยให้ครูวิเคราะห์ตนเองว่าขาดอะไร ครูควรจะมีลักษณะแบบไหน ครูผิดได้ หรือไม่รู้ก็ได้ ครูต้องรู้ Resource ในการพัฒนาตนเอง2.3 ทำคู่มือฝึกครู มีการกระตุ้นโดยใช้ VTS (มูลนิธิครูสอนคิด: Socratic thinking/ Listening) เพราะนักศึกษาไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ดี2.4 ให้ครูเข้าฟังทฤษฎีต้องผสานองค์ความรู้ให้ตรงกัน
3. การนำไปใช้3.1 ทำคู่มือครูในวิชาที่สอน เตรียมครูที่ร่วมสอน3.2 Set กิจกรรม อาจใช้วิธีการทำสมาธิ Art SVT 3.3 คิดโจทย์สถานการณ์ โดยปรับจากแบบประเมินและผลการทำ KM กับอาจารย์ที่เคยสอน และโจทย์ควรเป็น content ในเนื้อหา3.4 คิดคำถาม (โดยใช้ทฤษฎีไหนของใครก็ได้)สรุปผลการเรียนรู้การพัฒนาแนวทางการนำ Reflective thinking ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแนวทางในการนำ Reflective Thinking มาใช้ในภาคปฏิบัติขั้นเตรียม1. ระบุ Reflective Thinking ลงใน มคอ. 4 ใน LO 1และ LO 32. เตรียมอาจารย์ในทีมเพื่อให้เข้าใจใน Concept มีการฝึกปฏิบัติสะท้อนคิด3. เตรียมนักศึกษาให้ทราบถึงขั้นตอน Reflective Thinking 4. เตรียมจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ Reflective Thinkingขั้นปฏิบัติ1. การทำ Reflection ในรายวิชาปฏิบัติ 1.1 ทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ 1.2 ใช้คำถามเชิงบวก1.3 Reflective ให้นักศึกษารู้สึกถึงพลังบวกมากขึ้น2. ใช้เมื่อมีการ pre-post conference , Nursing conference3. สอดแทรกกระบวนการสะท้อนคิดในทุกมิติของการฝึกภาคปฏิบัติ4. จัดให้มีวัน Reflection conference เช่น วันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ช่วงบ่าย โดย Reflective ที่ไม่เน้นเนื้อหาความรู้แต่เน้นอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงของนักศึกษา

ซึ่งได้นำมาสอนในระบบ UGI & Cancer ในวิชา Adult 1 นักศึกษาสามารถทำได้แต่ต้องกระตุ้นและใช้เวลาเยอะในการทำสะท้อนคิด น่าจะมีการปูฐาน Reflective thinking ในแต่ละชั้นปีให้มีการเตรียมนักศึกษาก่อนจะดีมากคะ เพราะยังทำได้ไม่เต็มที่

ตนเองได้ทดลองนำ Reflective thinking มาปรับใช้กับนักศึกษาในการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 (ทฤษฎี) พบว่า การสะท้อนคิดจากสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งนักศึกษาไม่เห็นสถานการณ์แบบเดียวกัน ถึงแม้จะใช้คำถามเดียวกัน นักศึกษาจะเกิดภาพ หรือแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนั้น สำหรับตนเองมีความคิดเห็นว่า ควรนำ Reflective thinking มาใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ จะทำให้นักศึกษามีความเข้าใจสถานการณ์ และมีแนวทางนำไปใช้ได้ชัดเจน (ซึ่งตนเองเพิ่งเคยนำวิธีนี้มาใช้) ดังนั้น จากประสบการณ์ที่เจอ และผลจาก KM นี้ ตนเองจะนำแบบประเมินมาทดลองใช้ ในระหว่างฝึกภาคปฏิบัติค้ะ ผลเป็นอย่างไรจะมาแลกเปลี่ยนนะคะ ..จากการอ่านทั้งประสบการณ์ และความคิดเห็นของแต่ละท่านเป็นประโยชน์กับตนเองมากเลยค้ะ (ตนเองยังใหม่กับวิธีนี้) อย่างไรก็ตามเพื่อให้นักศึกษาเกิดประโยชน์ ผู้สอนต้องฝึกตนเองไปเรื่อยๆ ค้ะ …ขอบคุณมากๆค้ะ

ได้นำ reflective มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎีร่วมกับการเรียน PBL โดยการให้นักศึกษาเขียนสะท้อน และครูเขียนคำถามกระตุ้นความคิด โต้ตอบทุกครั้งหลังเรียนไม่ทราบว่าวิธีดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเรียนแบบ reflective ได้หรือไม่

หลังจากได้เรียนรู้วิธีการสะท้อนคิดจากการแลกเปลี่ยนในKMสระแก้ว ได้ลองนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตอยู่นะคะ โดยมีเป้าหมายสะท้อนคิดจากตัวผู้เรียนสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ผลอย่างไร จะนำมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

การสะท้อนคิดเป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจ ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกคิดวิเคราะห์ได้

ได้นำการสะท้อนคิด มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาล ในประเด็นการเรียนรู้การปฏิบัติในบทบาทวิชาชีพการพยาบาล โดยให้นักศึกษาได้เขียนสะท้อน พร้อมทั้งนำเสนอ ครูซักถามถึงสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้ และแนวทางการพัฒนาตนเอง ซึ่งช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของพยาบาลวิชาชีพได้มากขึ้น

ได้แนวคิดเรื่องการนำ SWOT กับการคิดคำถามให้นักศึกษาแสดงความรู้สึก ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นในการสอนแบบสะท้อนคิดจากวิทยากร จะนำไปทดลองใช้ต่อไปนะคะ

ได้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับการประเมินผลการสะท้อนคิด วางแผนว่าจะนำไปใช้ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1

เป็นเทคนิคที่ใช้มากตอนขึ้นนิเทศภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เมื่อได้พบสถานการณ์ที่น่าสนใจ อาจารย์สามารถที่จะนำมาสะท้อนให้ นศ. ได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้อาจารย์ผู้สอนและนศ. ได้ทราบมุมมองการสะท้อนคิดของแต่ละคนที่แตกต่างกันในหลากหลายแง่มุม เป็นการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนศ.

เป็นเทคนิคที่ใช้มากตอนขึ้นนิเทศภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เมื่อได้พบสถานการณ์ที่น่าสนใจ อาจารย์สามารถที่จะนำมาสะท้อนให้ นศ. ได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้อาจารย์ผู้สอนและนศ. ได้ทราบมุมมองการสะท้อนคิดของแต่ละคนที่แตกต่างกันในหลากหลายแง่มุม เป็นการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนศ. จินดาวรรณ เงารัศมี

การจัดการเรียนการสอนเเบบสะท้อนคิดจะช่วยในการพัฒนาทักษะทางการพยาบาล ทำให้เกิดความรู้ ทักษะ และจริยธรรม ในการพยาบาล ทำให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ บริบทที่เกิดขึ้นจริง โดยกระบวนของการสะท้อนคิด จะทำให้ผู้เรียนมีการวิเคราะห์มากขึ้น : สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง

ได้ใช้กระบวนการสอนแบบ reflective ในภาคปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาเลือกประเด็นที่ตนเองสนใจจากการฝึกปฏิบัติในแต่ละวันนำมาบอกเล่าแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการพัฒนา และให้เพื่อนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หลังจากทำซ้ำๆ สังเกตุว่านักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ มากขึ้น ไม่มองผ่านเลยไป ช่างสังเกตุ ช่างสงสัย ใคร่อยากรู้มากขึ้น และมีการวางแผนเพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้น

หลังจากได้เรียนรู้วิธีการสะท้อนคิดจากการแลกเปลี่ยนในKMสระแก้วในปีการศึกษาที่ผ่านมา ช่วงนี้ได้ลองนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตฯ อยู่นะคะ โดยมีเป้าหมายการสะท้อนคิดเพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อไป สรุปผลเป็นอย่างไรจะได้มาแลกเปลี่ยนอีกครั้งค่ะ

[email protected]เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดตั้งแต่ขั้นที่1-5 ทำให้เกิดความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติจากเดิมที่เคยทำมาไม่ค่อยมีลำดับขั้นที่ชัดเจนนัก และแบบประเมินการสนทนาสะท้อนคิด ( Reflective Dialogue)ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินนักศึกษาได้ตรงประเด็นมากขึ้น ดีมากคะ ขอบคุณคะ

นำใช้ได้ดีมากในการฝึกภาคปฎิบัติทั้งอาจารย์และนักศึกศึกษาตกผลึกทางความคิดและได้ยอมรับมุมมองที่ต่างกันซึ่งกันและกัน

โดยส่วนตัวที่ได้เข้ารับการประชุมการจัดการความรู้เรื่องเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด และการได้นำไปใช้กในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ พบว่า การการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิดในการทำ post conference ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก กับ สอนแบบสอนสะท้อนคิดในการเรียนภาคทดลองปฏิบัติ นักศึกษามีการสะท้อนคิดในประเด็นของหลักการพยาบาลมารดทารก ในการทำ post conference ในรายวิชา ปฏิบัติดีกว่าวิชา ทฤษฎี ส่วนตัวเชื่อว่าประสบการณ์ก็มีส่วนช่วยในการสะท้อนคิด เพราะในการวิชาทฤษฎี นักศึกษามีการสะท้อนคิดที่น้อย อีกทั้งอาจารย์ก็มีทักษะในการใช้ข้อคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนได้น้อย

การสะท้อนคิด ครูต้องไม่ติดกรอบตนเอง ตั้งคำถามที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดแสดงความรู้สึกออกมาในสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะในการฝึกภาคปฏิบัติ การสะท้อนคิดจากการเขียนมาส่งจะมีการปรุงแต่งไม่ได้เกิดจากความรู้สึกเสมอไปและอาจทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน

กำลังพยายามนำไปใช้อยู่คะ แต่รูปแบบการทำยังไม่ค่อยเป็นไปตามทฤษฎี เวลานักศึกษาสะท้อนคิด กว่าจะถึงประเด็็็็นที่ี่่่่สำคัญที่ี่ี่ี่ี่ี่ี่ี่เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนใช้เวลานานหมดเวลาก่อน อาจเป็นเพราะครูยังใช้คำถามไม่ค่อยดีเท่าไร จะพยายามต่อไปคะ

ได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดมาใช้ในการสอนรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ในส่วนของการลงเรียนรู้ในสภาพจริงในการให้บริการวิชาการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้สถานการณ์จริง เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยจิตเวช เช่น การพูดคุยคนเดียว การเห็นภาพหลอน รวมถึงอาการของภาวะสมองเสื่อมที่ชัดเจนของผู้รับบริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการประเมินภาวะสมองเสื่อมด้วยแบบประเมิน MMSE การใช้คำถาม การแปลความ รวมถึงการประเมินผล ซึ่งถือเป็นการให้บริการในด้านการคัดกรองผู้มีภาวะสมองเสื่อมให้กับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นักศึกษาได้เรียนรู้การนำผลจากการประเมินภาวะสมองเสื่อมมาวางแผนการในการจัดกิจกรรมฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้รับบริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ว่าผู้รับบริการมีความบกพร่องในด้านใดกิจกรรมที่นักศึกษาจัดให้จะเป็นการฟื้นฟูในด้านนั้นๆด้วยและนักศึกษามีทัศนคติที่ดีและรู้สึกมีความสุขที่ได้จัดกิจกรรมฟื้นฟูให้กับบุคคลไร้ที่พึ่ง เห็นรอยยิ้ม ความสนุกสนาน ของผู้รับบริการ

การสะท้อนคิดจะส่งเสริมความเข้าใจในการเรียนรู้ ทำให้ทบทวนและสร้างความรู้ ความเข้าใจและจดจำได้นาน

การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันจากสถานการณ์จริง ได้เห็นมุมมองที่หลากหลาย เป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาได้ดี

การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันจากสถานการณ์จริง ได้เห็นมุมมองที่หลากหลาย เป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาได้ดี

เป็นแนวทางที่ดีครับเพื่อให้ช่องว่างระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาลดลงและเป็นแนวทางที่จะช่วยให้อาจารย์เข้าใจความคิดและพฤติกรรมนักศึกษาตลอดจนสามารถหาแนวทางการปรับเปลี่ยนทัศนคติบางอย่างของนักศึกษาแต่จุดเริ่มต้นของวิธีการนี้คือจุดที่ท้าทายที่สุดคือการฟัง นศ.อย่างตั้งใจ อดทนและการตั้งคำถามที่ดี เพื่อเป็นจุดสะท้อนให้นักศึกษาหวนคิดยังคงเป็นเรื่องที่ยากแต่น่าจะสามารถพัฒนาได้ครับ

เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอีก 1 วิธีที่น่าสนใจที่เป็นสะพานเชื่อมต่อให้อาจารย์เข้าใจนักศึกษาแต่ละบุคคลทั้งความคิด ความรู้สึก อีกทั้งยังกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ด้วย ซึ่งประเด็นสำคัญคือการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการสะท้อนคิดเป็นสิ่งที่ท้ายทายของอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ดีต่อไป

การสอนสะท้อนคิดเป็นวิธีการสอนที่ดีช่วยให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ได้ดี ครูมีบทบาทสำคัญมาก

เห็นว่าการสะท้อนคิด เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถของนักเรียนเนื่องจากครูสามารถเห็นแยกแยะและเข้าใจผู้เรียน ซึ่งช่วยปรับมุมมองของผู้เรียนได้โดยสามารถใช้ได้ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ขอบคุณวิทยากรและคณะผู้จัดมากๆ

ได้ใช้กระบวนการสอนแบบ reflective. ให้นศแสดงความรู้สึก. กับสิ่งที่ทำ และแนวทางการพัฒนา และให้เพื่อนในกลุ่ม สังเกตุว่านักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ มากขึ้น ไม่มองผ่านเลยไป ช่างสังเกตุ ช่างสงสัย ใคร่อยากรู้มากขึ้น และมีการวางแผนเพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้น

เป็นวิธีการสอนที่ดีค่ะ

เป็นวิธีการสอนที่ผู้สอนใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ มีทักษะการสื่อสาร และการสืบค้นจากสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ที่นำวิธีการสอนนี้ไปใช้ ปัญหามักเกิดนักศึกษาที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น หรือบางครั้งผู้เรียนตอบเพียงสั้นๆ ทำให้ผู้สอนต้องใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนมากขึ้น

ได้นำวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ทำให้ได้เรียนรู้แง่มุมที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันเกิดการแนวทางใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา และยังพัฒนาให้เด็กที่ไม่มั่นใจ ให้ม่ีความเชื่อมั่นมากขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ไขประเด็นสิ่งที่ค้างคาใจของเด็กๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยระยะเวลาในการติดตามเป้นระยะ

เป็นเทคนิคการสอนที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่เหมาะสำหรับการนิเทศนักศึกษาภาคปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้ชี้ประเด็น ตั้งคำถาม เพื่อใหนักศึกษาเกิดการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกคิดวิเคราะห์มากขึ้น

เป็นเทคนิคการสอนที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่เหมาะสำหรับการนิเทศนักศึกษาภาคปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้ชี้ประเด็น ตั้งคำถาม เพื่อใหนักศึกษาเกิดการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกคิดวิเคราะห์มากขึ้น

เป็นวิธีการที่จะช่วยฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ทั้งจากทฤษฏีและความรู้ศึก จะนำมาทดลองใช้กับการพัฒนางานทั้งการเรียนการสอนและการทำงานเป็นทีม

เป็นวิธีการที่จะช่วยฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ทั้งจากทฤษฏีและความรู้ศึก จะนำมาทดลองใช้กับการพัฒนางานทั้งการเรียนการสอนและการทำงานเป็นทีม

เป็นวิธีการสอนแบะการประเมินผลที่เป็นสภาพจริง ทำให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง วิเคราะห์ความรู้สึกของตนเอง ประเมินความรู้ความสามารถจองตนเองทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นของตนเอง และสามารถค้นหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้อว และทำให้อาจารย์ประเมินนักศึกษาได้ตรงประเด็นแบะถูกต้อง ทั้งเข้าใจนักศึกษามากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ประเภทนักศึกษาตาม ที่วิทยากรได้ให้ไว้ นับว่าเป็นประโยชน์ทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ เหมาะสมกับการนำมาใช้กับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติอย่างยิ่ง

เป็นประโยชน์มากค่ะ เป็นการประเมินเชิงคุณภาพที่ได้ออกมาจากตัวผู้เรียน ที่แบบประเมินทั่วๆไปไมสามารถรวบรวมข้อมูลได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท