บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

นาฏศิลป์


                ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน  มีศิลปวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  จนเป็นที่ชื่นชอบของนานาประเทศที่ได้พบเห็นความงดงามในศิลปวัฒนธรรมไทย  แม้ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากต่างชาติกันหลากหลายที่กำลังหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย  แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังสามารถอนุรักษ์

และสืบทอดได้จนถึงทุกวันนี้ก็คือ  นาฏศิลป์  อันเป็นศิลปะประจำชาติที่คนไทยทุกคนควรอนุรักษ์และให้การสนับสนุน  เพื่อให้ศิลปะแขนงนี้ดำรงอยู่สืบไปในอนาคต

ความหมายของคำว่า  “นาฏศิลป์”  

  นาฏศิลป์  มาจากคำว่า  “นาฏ”  กับคำว่า  “ศิลปะ”

          นาฏ              คือ  การร่ายรำและการเคลื่อนไหวไปมา

          ศิลปะ            คือ  การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม  น่าพึงชมก่อให้เกิดอารมณ์

สะเทือนใจ

          เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันมีผู้ให้ความหมายต่าง ๆ กัน  ดังนี้

          นาฏศิลป์        คือ  ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ

          นาฏศิลป์        คือ  การฟ้อนรำ

          นาฏศิลป์        คือ  ความช่ำชองในการฟ้อนรำ

          นาฏศิลป์        คือ  การร้องรำทำเพลง  ให้ความบันเทิงใจ  อันประกอบด้วย

ความโน้มเอียงแห่งอารมณ์และความรู้สึก(สุมิตร  เทพวงษ์.2548 : 1)

          สรุปได้ว่า  “นาฏศิลป์”  คือ  ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผน  ให้ความรู้ความบันเทิง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ยังคงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรืองของชาติได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 673278เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท