ลปรร. เรื่อง FTES


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร คือ การขอรับความรู้จากผู้รู้หรือผู้ปฏิบัติงานเรื่องนั้นโดยตรง ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกองค์กร คือ การศึกษาดูงานต่อยอดจากเรื่องเดิมที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในแล้ว

วันนี้ผมขอเล่าความรู้จากการดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน เรื่อง FTES (Full Time Equivalent  Student)  ซึ่งได้ดำเนินการเชื่อมโยงและต่อยอดทั้งภายในและภายนอกองค์กร

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร คือ การขอรับความรู้จากผู้รู้หรือผู้ปฏิบัติงานเรื่องนั้นโดยตรง  ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกองค์กร คือ การศึกษาดูงานต่อยอดจากเรื่องเดิมที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในแล้ว โดยผมก็ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานเรื่อง FTES ต่อยอดที่มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมขอสรุปประเด็นดังนี้ครับ

1.  การวิเคราะห์ FTES มีวัตถุประสงค์หลักสำคัญ 3 ข้อ คือ

1.1)   เพื่อการวิเคราะห์ FTES และ Teaching Load

1.2)   เพื่อการเปรียบเทียบข้อมูลตามข้อ 1.1) โดยใช้เกณฑ์ภายในและเกณฑ์ภายนอก  เกณฑ์ภายใน เช่น เปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา สาขาวิชา ระบบการศึกษา  เกณฑ์ภายนอก คือ เกณฑ์มาตรฐานของ สกอ.

1.3)   เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร

2.  แนวคิดของการวิเคราะห์ FTES  คือ การใช้รายวิชาที่เปิดสอนเป็นหลักยึด แล้ววิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับรายวิชานั้น

3.  ขอบเขตของการวิเคราะห์ FTES คือ จำนวนนิสิตทั้งหมดที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น อ้างอิงจากฐานข้อมูลระบบลงทะเบียน กองทะเบียนและประมวลผล

4.  เกณฑ์มาตรฐานกำหนดหน่วยกิตเพื่อใช้ในการคำนวณ FTES ใช้อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา จาก สกอ.  แบ่งเป็นดังนี้

4.1)   ระดับปริญญาตรี จำนวน 18 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หรือ 36 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา

4.2)   ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 12 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หรือ 24 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา

5.  การคำนวณ FTES มีสูตรการคำนวณง่ายไม่ซับซ้อน สูตรคำนวณ คือ

จำนวนนิสิตที่เรียนเต็มเวลา เท่ากับ ผลรวมทั้งปีการศึกษาของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนแต่ละวิชา คูณ จำนวนหน่วยกิตของวิชานั้น ทั้งหมดหารด้วย จำนวนหน่วยกิตตามหลักสูตรต่อปีการศึกษา ตาม ข้อ 4.

ในการคำนวณข้างต้นสามารถใช้ข้อมูลรายงาน FTES จากระบบลงทะเบียนได้เกือบทั้งหมด แต่ยังคงต้อง Exports ข้อมูลมาประมวลผลอีกครั้งโดยใช้โปรแกรม MS Excel

6.  ความยุ่งยากซับซ้อนของการวิเคราะห์ FTES มี 2 ประเด็น คือ

6.1)   ในการวิเคราะห์ กรณีที่รายวิชา 1 รายวิชา มีอาจารย์สอนหลายท่าน ต้องเฉลี่ยภาระงานตามสัดส่วนที่เหมาะสม

6.2)   ในการจัดทำรายงานต้องประมวลผลรายวิชาที่มีจำนวนมาก จัดเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มต่างๆ เช่น คณะ ภาควิชา ระดับการศึกษา ระบบ เป็นต้น

7.  จุดแข็งและแนวทางเสริมของการวิเคราะห์ FTES

7.1)   การประมวลใช้ระบบฐานข้อมูล  ทำให้มีความรวดเร็วและแม่นยำ  และควรได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ FTES มากขึ้น 

7.2)   บุคลากรมีความรู้และประสบการณ์ในการวิเคราะห์พอสมควร  และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์   บุคลากรควรได้รับการพัฒนาตามโอกาสและเวลาที่เหมาะสม เช่น การสัมมนา ศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เป็นต้น

7.3)   การวิเคราะห์แนวโน้ม FTES ในอนาคต   ซึ่งจากการศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่ายังไม่มีการวิเคราะห์ในลักษณะนี้  หากมีการพัฒนาระบบการวิเคราะห์โดยการจัดวางผังโครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ และจัดประมวลผลโดยระบบฐานข้อมูลจะทำให้ได้สารสนเทศที่ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจ

8.  จุดอ่อนและแนวทางแก้ไขของการวิเคราะห์ FTES

8.1)   การจัดทำรายงานที่มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การคำนวณเฉพาะระบบปกติ  การแยกกลุ่มรายวิชาศึกษาออกมาคำนวณ  กรณีเช่นนี้ทำให้รูปแบบการจัดทำรายงานสรุปข้อมูลมีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน  แนวทางแก้ไขควรมีการกำหนดรูปแบบรายงานสรุปที่ชัดเจน และพัฒนาปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้มีความยืดหยุ่นในการรายงานผลข้อมูล

8.2)   ระบบฐานข้อมูลไม่สามารถแยกการคำนวณกรณีที่รายวิชา 1 รายวิชามีอาจารย์ผู้สอนหลายท่าน  แนวทางการแก้ไขควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับการคำนวณข้อมูลในกรณีเช่นนี้

8.3)   ข้อมูลบางส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ยังไม่สมบูรณ์  เช่น บางรายวิชาเป็นรายวิชาที่ไม่สามารถระบุประเภทรายวิชาได้ ซึ่งมีผลต่อการจัดกลุ่มรายวิชา แนวทางการแก้ไขควรได้จัดแบ่งรายวิชาทุกรายวิชาให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์

     ขอเชิญร่วมกัน ลปรร. น่ะครับ
หมายเลขบันทึก: 67104เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบคุณครับกล้วยสำหรับ ftes เพราะบางคนจะสับสนกับจำนวนนิสิตหัวจริง
  • ftes จึงถือได้ว่าเป็นตัวเลขที่สามารถบ่งบอกภาระที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย อาจารย์ บุคลากร ในแต่ละภาคเรียน เช่น นิสิตหัวจริง ป.ตรี 1 คน กับ นิสิตหัวจริง ป.โท 1 คน นั้น ภาระงานที่มหาวิทยาลัยต้องรับนั้น ต่างกันครับ
  • อีกประเด็นครับกล้วย ในกรณีที่มีนิสิตออกกลางครันจำนวนมากๆ ในแต่ละภาคเรียน จะส่งผลกับตัวเลข ftes หรือไม่ครับ
  • ขอบคุณสำหรับคำถามครับ
  • เป็นคำถามที่ดีมากครับ 
  • ตอบคำถาม กรณีที่มีนิสิตออกกลางครันจำนวนมากๆ ในแต่ละภาคเรียน  คำตอบ คือ ไม่มีผล ถ้านิสิตที่ออกกลางคัน ได้ดำเนินการลงทะเบียนเรียนแล้วและไม่ได้เพิ่ม-ถอนรายวิชา (ดูข้อ 5 การคำนวณ ประกอบ) ซึ่งในการคำนวณจะดำเนินการภายหลังจากนิสิตลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนเรียบร้อยแล้ว
  • ขอบคุณครับ

เมื่อครั้ง ..อดีตกาล.. ผมเคยทำฐานข้อมูลเพื่อคำนวณเรื่อง FTES ไว้ โดยใช้ฐานข้อมูลจากงานทะเบียนฯ เอา exporting files มาแล้ว Import แล้วออกแบบ Structure ตามที่ต้องการ ...แล้วก็ใส่ตัวแปรเพื่อคำนวณตามสูตร (แต่ไม่รู้ตอนนี้ใช้สูตรอย่างไร?)

วิชิต

  • สูตรยังคงเป็นสูตรเดิม (มาตรฐาน สกอ.) แต่ผู้ใช้ต้องการข้อมูลที่แตกต่างจากที่ระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนฯ ได้ออกแบบรายงานไว้ ซึ่งเป็นข้อกำจัดดังที่กล่าวแล้วในข้อ 8 จุดอ่อนฯ 
  • ขอบคุณครับ

KM น่าจะเป็นทางออกที่ดีอีกทางครับ ..ระหว่าง กองแผนงาน กับ กองทะเบียนฯ สำหรับปรับปรุงระบบการทำงานเรื่องนี้ (FTES & Database) ให้ดีขึ้นครับ ...ลอง ลปรร. สักครั้งสิครับ

วิชิต

ไม่มีอะไรแลกเปลี่ยนจ้า..แต่ขอเรียนรู้เรื่อง FTES ด้วยนะจ๊ะ

ขอถามหน่อยค่ะ

อยากทราบว่าfteของอาจารย์ กับ fte ของนิสิต มันคือตัวเดียวกันไหม๊ค่ะ

รบกวนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท