การจัดการความรู้สู่การพัฒนาการส่งเสริมการเกษตร (5) "การผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย จังหวัดมุกดาหาร”


ส้มเขียวหวาน ปลูกน้อย แต่น่าสนใจ เป็นพืชใหม่ แต่จุดบอดคือ โรคแมลงเยอะ พอมีโครงการนี้ขึ้นมา เรามา ลปรร. ว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย

           เสวนา การผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย จังหวัดมุกดาหาร  

            ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3  เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549  เวลา 15.30 16.30 น. ณ ห้อง MR 225 

ผู้ร่วมเสวนา 

                      1.       นายเฉลิม น้อยทรง  ผู้นำเกษตรกร

                     2.       นายบุญเริง พลายน้อย  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.

ดำเนินการเสวนาโดย               นางศิริวรรณ  หวังดี       

                                                      KM56.jpg

                                                                      เวทีเสวนา

                                                     KM55.jpg  

                                                คุณบุญเริง  อธิบายแก่ผู้สนใจชมนิทรรศการ

                                                          KM59.jpg

                                        คุณศิริวรรณ  กับคุณลุงเฉลิม คนเก่งของเรา                           

 ลุงเฉลิม น้อมทรง เล่าว่า              

                 -เริ่มแรกเกิดจากศึกษาดูงานที่ จ.เลย  และไปดูงานมาหลายครั้ง  เดิมปลูกมะขามหวานราคาตกต่ำ   ได้ไปดูงานสวนผลไม้  แรกๆ  ก็ไม่ได้คิดจะปลูกส้ม                 -ลองนำมาปลูกทดลองดูที่มุกดาหาร  ปลูกทดลอง 100 ต้น ทำเล่นๆ  เป็นคนชอบทดลอง ทำหลายๆ อย่าง   ทดลองปลูกส้ม 100 ต้น ราคา 5,000 บาท  อยู่ๆ ก็ออกดอกเลย พอเห็นลูก ลูกสวย กินอร่อย ก็แจกเพื่อบ้านชิม ใช้ได้  พอปีที่ 2   ก็ดีขึ้น  ปีที่ 4 ออกลูกเยอะ มีคนมาซื้อเยอะ มีคนมาศึกษาดูงานเยอะ   ขายได้ประมาณ 5 ตัน / 1 ไร่   ขาย 20 บ้าง 30 บ้าง แจกฟรีบ้าง   ปีที่ 5  มีประมาณ 8 ตัน ได้เยอะ คุ้มค่าที่ลงทุน  ปีที่ 5  ได้แสนกว่าบาท  ลงทุน หมื่นกว่าบาท / ไร่   ปีที่ 6 ต้นเริ่มโทรม       เริ่มจากการปรับเปลี่ยนต้นตอ โดยลองใช้ต้นพญาญา  ปรากฎว่าใช้ได้ไม่มีโรคไม่มีแมลง   ใช้ต้นพญา ญา เป็นพืชที่อยู่ในหมู่บ้าน มีอยู่ในชุมชนทดลอง 

คุณบุญเริง   พรายน้อย  เล่าว่า               

                 -บทบาทนักส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่เริ่มต้น แรกๆ ต้องเก่ง  บทบาทเป็นนักส่งเสริมที่ส่งเสริมอย่างเดียว  พอไปหาเกษตรกร ตรงนี้ต้องปลูกมะม่วง ต้องปลูกอย่างนี้   มีเรื่องเล่าว่า นักส่งเสริมฯ ขี่จักรยานยนต์เข้าไปในหมู่บ้าน  เห็นเกษตรกรกำลังขุดหลุมอยู่  ก็สงสัยว่าขุดหลุมขนาดนี้เอาไว้ปลูกอะไร   เกษตรตะโกนถามว่า  ลุงจะขุดหลุมปลูกอะไร     เกษตรกรกลับมาตอบว่า  ผมขุดหลุมปลูกมาทุกอย่างแล้วตามที่เกษตรบอก  แต่ไม่เห็นได้ผล    แต่หลุมนี้จะขุดไว้ฝังเกษตร             

                   - ตอนนี้บทบาทเราเปลี่ยน เป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เกษตรกร      ในเรื่อง KM ที่รับนโยบาย Food Safty  มองว่าในพืชที่เสี่ยงมีอะไรบ้าง มีพืชผัก มะม่วง  ตัวหนึ่งที่เสี่ยงคือ ส้มเขียวหวาน ปลูกน้อย แต่น่าสนใจ เป็นพืชใหม่ แต่จุดบอดคือ โรคแมลงเยอะ พอมีโครงการนี้ขึ้นมา เรามา ลปรร. ว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย ของลุงเฉลิม ตอนแรกๆ ก็เป็นความลับ  เราอยากให้คนอื่นรู้ ก็บอก จนท.ไปว่าที่นี่ปลอดภัย  มีการจัดเวที ลปรร. ระหว่าง จนท.  และตามไปดูสวนลุงเฉลิม   และนำเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยี ของจังหวัด                

                -ส้มเขียวหวานส่วนมาก ปลูกด้วยกิ่งตอน ไม่มีรากแก้ว  เป็นโรคกรีนนิ่ง ต้องเปลี่ยนต้นตอ  ต้นที่จะมาเปลี่ยน ใช้ต้นตอจากต่างประเทศ ต้องซื้อเมล็ดมา 8,00 บาท หาซื้อไม่ได้ ลุงบอกต้นมะสังทำได้ ต้นพญาญา ไม่ตายสักที               

                 คำถาม        "ส้มที่ลุงทำมาตรงไหนปลอดภัย"               

                  คุณลุงเฉลิม        "ใช้สารเคมีน้อยมาก  ใช้ก่อนเก็บ 2 เดือน ตอนเพิ่มความหวานนิดหน่อยเท่านั้น ติดผลติดลูกแล้ว ไม่ได้ใช้        เป็นคนชอบทดลอง ทุกอย่างเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา  ทำนอกฤดู "          

                  คำถาม       "ลุงเฉลิมกล้าที่จะทำ ทดลองเพื่อหาคำตอบ            แล้วนักส่งเสริมการเกษตร เข้าไปเสริมหนุนในเรื่องอะไรบ้าง  "        

                คุณบุญเริง    "ปกติลุงเฉลิมจะไม่บอกง่ายๆ   แต่เราอาศัยความเป็นกันเอง  พยายามไปศึกษา ลปรร. กับเกษตรกร ไปคุยให้ความเป็นกันเอง ได้ข้อมูลพวกนี้ แตกต่างจากเมื่อก่อน ที่ จนท.บอกให้ทำอย่างเดียว             ประเด็นสำคัญ ถ้าเราไม่เข้าไปเรียนรู้กับเกษตรกร เราต้องรู้น้อยกว่าเกษตรกร แล้ว เราจะได้อะไรดีๆ จากเกษตรกร "        

                   คำถาม          "เรื่องเด็ดๆ  ของลุงเฉลิมมีอะไรบ้าง"

                    คุณลุงเฉลิม        "เรื่องการเปลี่ยนไม้  การเด็ดยอด  เพื่อนบ้านมักมาถามว่าอย่างนี้ทำได้หรือ  มาทำให้หน่อย           เขาเห็นจากตัวอย่าง ที่เคยทำมา  ตอนนี้กำลังใช้ต้นมะกรูด มะนาว  "          

                  คำถาม         "ตออย่างไหนที่ดีที่สุด ไม่เกิดโรคเน่า       ประสบการณ์นักส่งเสริม มีความรู้อะไรบ้าง ว่าเรื่องนี้เราเป็น      

                คุณบุญเริง       "เป้าหมายเรื่องส้ม นอกจากเป็นโรค อายุเก็บเกี่ยวสั้น          -ตั้งเป้าหมาย  1. อายุเก็บเกี่ยว ปีที่ 3 -4 ของลุงเฉลิม  ยังแข็งแรง    2. ต้องปลอดภัย   ได้รับการตรวจผ่านแล้ว        นักส่งเสริมฯ  ไม่ได้รู้มากกว่าเกษตรกร แต่เป็นกำลังใจสำคัญที่สุด   ถ้าไม่ยังงั้น เราจะไม่รู้อะไรจากเกษตรกร  ต้องให้โอกาสให้ความสำคัญกับเกษตรกร       เริ่มจากตัวเอง มา ลปรร.กัน เพื่อปรับปรุงงานส่งเสริมการเกษตร  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สุดท้ายเกษตรกรจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง      

                  คุณลุงเฉลิม       "ส่วนมากเกษตรกร  เอาแต่ได้  ขาดทุนก็เลิกไป  แต่ผมจะเอาว่าได้ผลจริงๆ ขอให้ได้ทดลอง       -ที่ลุงทำ ส้ม กรอบ ทำอย่างไร  คิดว่าเป็นที่ดิน ที่สกลนคร ไม่เหมือนกัน พอมาวางขาย ไม่เหมือนกัน 

                    สรุป          -ทั้งหมดที่เล่ามาเป็นบริบทของมุกดาหาร     นักส่งเสริมมืออาชีพ ตัวจะเป็นหนอน หูจะเป็นหมา ตาเป็นสับปะรด         

                                      -เป้าหมาย  คือการปรับเปลี่ยนจากการปลูกมะขาม มาเป็นการปลูกส้มเขียวหวานที่ปลอดภัย...........................

นันทา ติงสมบัติยุทธ์

10 ธค. 49  

หมายเลขบันทึก: 66344เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

        ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมา ลปรร. เพราะผมไม่ได้เข้าร่วมฟัง ช่วงเวลานี้อยู่ที่ห้อง Gotoknow.org

  • ขอบคุณคุณสิงห์ป่าสัก ที่เข้ามาทักทาย สบายดีนะค่ะ
ขอบคุณนะค่ะ ที่ถอดบทเรียนได้น่าอ่านค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท