ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

อาชีพชาวนาต้องยืนสง่าบนผืนแผ่นดินไทย


การเป็นชาวนานั้น เราต้องมีความภาคภูมิใจในอาชีพ และเราต้องจัดการความรู้ในอาชีพให้สามารถยืนหยัดได้ด้วยความมมั่นคง

"อาชีพชาวนาต้องยืนสง่าบนผืนแผ่นดินไทย"   เป็นคำพูดของคุณอำนาจ นักเรียนชาวนาจังหวัดพิจิต ที่ผมมีความประทับใจมาก ในคราวการจัดตลาดนัดการจัดการความรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเดือนที่แล้ว จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

"ชาวนากับอาชีพชวนคิด" อาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่มีบุญคุณต่อพวกเราชาวไทย และชาวโลก เนื่องจากอาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเพื่อมาหล่อเลี้ยงประชากรโลก แต่จะมีสักกี่คนที่เห็นอกเห็นใจพี่น้องชาวนาไทย แม้กระทั่งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและร่ำรวยขึ้นทุกวันๆ คือเจ้าของโรงสี จะมีสักกี่รายที่ให้เกียรติชาวนา มีแต่จะคอยกดราคา และกดขี่อยู่ตลอดเวลา คงไม่ได้สำนึกหรอกว่าที่ตนตนเองอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะยืนอยู่บนหลังชาวนา หรือแม้กระทั่งลูกชาวนาเองก็ตามจะมีสักกี่คนเมื่อได้เป็นใหญ่เป็นโตในแผ่นดินแล้วจะเห็นอกเห็นใจอาชีพของบรรพบุรุษ และแล้วจะมีพี่น้องชาวนาด้วยกันเองสักกี่คนที่จะได้เห็นอกเห็นใจคนที่อยู่ในอาชีพด้วยกันเอง ดังนั้นถึงเวลาแล้วครับในการที่จะขับเคลื่อนให้อาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ยืนอยู่ในแผ่นดินไทยได้อย่างสง่างาม กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Manarement -KM) จึงเป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายปลายทางนั้น

 "ชาวนากับการจัดการความรู้"  ครับหลายท่านอาจจะสงสัยครับว่าในการทำนานั้นสามารถทำได้ง่ายนิดเดียวทำไมจะต้องจัดการความรูด้วย "หากท่านคิดอย่างนี้ละก้อ" คิดผิดครับ นั่นแหละคือจุดจบของอาชีพชาวนาไทย หากท่านอยู่ในฐานะชาวนาท่านสามารถตอบผมได้หรือไม่ว่า 

1. ท่านมีพันธุ์ข้าวเป็นของตนเองหรือไม่ รู้ไหมว่าข้าวพันธุ์ใดเหมาะกับที่นาของท่านมากที่สุด

2.  ท่านคัดพันธุ์ข้าวใช้เองเป็นหรือไม่

3. พันธุ์ข้าวที่ท่านปลูกมีอายุเก็บเกี่ยวกี่วัน ปลูกแล้วกีวันออกดอกออกรวง แล้วหนึ่งรวงมีกี่เมล็ด

4. ข้าวที่ท่านปลูกแตกกอได้กี่ต้น กี่รวง

5. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเท่าไหร่

6. ในการทำนา 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์เท่าไหร่ นาดำ นาหว่าน

7. เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัมมีกี่เมล็ด น้ำหนักเท่าไหร่

8. ดินนาท่านเป็นดินอย่างไร มีธาตุอาหารอะไรบ้าง

9. ข้าวต้องการน้ำเท่าไหร่ในฤดูการผลิตหนึ่งๆ

10. ผลิตข้าว 1 ตัน จะต้องใช้ปุ๋ยไปเท่าไหร่ และทำนา 1 ไร่ จะต้องลงทุนกี่บาท

11. เมื่อมีโรค และแมลงศัตรูระบาดท่านจะจัดการอย่างไร

12. ผลิตแล้วท่านจะนำไปขายที่ไหน อย่างไร และกำหนดราคาขายเองได้หรือไม่

13. ฯลฯ

นี่เป็นเพียงคำถามส่วนหนึ่งเท่านั้นในกระบวนการทำนา ท่านสามารถตอบได้ครบทุข้อหรือไม่ และหากเราดูอย่างผิวเผินแล้วอาจจะดูง่ายๆ แต่หากเมื่อเราจะทำให้เป็นอาชีพแล้วเราต้องเข้าใจให้มาก และลึกซึ้งมากกว่านี้ โดยเฉพาะการที่จะเป็นไปได้ตามสโลแกนของคุณอำนาจ นั้นเราต้องมาจัดการเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องของการทำนากันอย่างจริงจัง หรือหากเป็นอาชีพอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการทำการเกษตรแบบประณีตเราต้องเข้าใจในเรื่องของการจัดการ ดิน น้ำ และแสง ว่าจะผลิตอะไร ผสมผสานอะไร เพื่อให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้อาชีพ สมกับเป็นอาชีพอย่างแท้จริง

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

9 ธันวาคม 2549

11.

 

หมายเลขบันทึก: 66239เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เกษตรประณีตเราก็ทำ แต่เป็นบางส่วนของข้อมูลครับ

ทำทำไปแล้วจะเข้าใจปัญหาการทำงานครับ

ขอเพิ่ม ข้อที่ 13  ทำอย่างไรชาวนาผลิตข้าวแล้ว จะได้ขายข้าวเอง  (ไม่ใช่ขนข้าวไปให้เจ้าของโรงสีเป็นทั้งคนซื้อและคนขายเอง)
ชาวนาจะไม่ทุกข์ถ้าทำนาเพื่อมีข้าวไว้กินไม่ใช่มีไว้ขายและมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของเรากล้าที่จะตั้งโรงสีสหกรณ์ของประชาชนขนาดใหญ่ที่รับซื้อข้าว จัดการระบบตลาดข้าวทั้งหมดแทนโรงสีนายทุน รัฐบาลถลุงเงินไปกับอย่างอื่นตั้งมากมายแต่กับข้าวที่เป็นอาหารหลักและสินค้าหลักกับปล่อยให้นายทุนขูดรีดอยู่ได้ แปลกแต่จริงสำหรับสังคมไทย

การทำเกษตรประณีตเป็นสิ่งที่ดีนะ...ถึงแม้เราจะเอาต้นแบบมาจากไต้หวัน...แต่ก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน...การทำเกษตรของบ้านเกษตรกรบ้านเราส่วนมากเขาทำกันด้วยจิตสำนึกความเคยชิน...ไอ้ที่ถาม13ข้อถามว่าจิตสำนัก+ใต้สำนักเขารู้ไหม...ตอบแทนได้ว่ารู้...แต่บางที่ตอบออกมาไม่ได้..แต่ลองให้เขาปฏิบัติดูซิทำได้หมดและทำได้ดีกว่าพวกท่านทั้งหลายด้วยซ้ำ...ทางออกภาคเกษตรบ้านเราด้านการตลาดคงอีกนาน..เพราะคนที่มาคุมอำนาจบริหาร..เป็นตัวแทนจากภาคนายทุน/พ่อค้าคนกลาง...เห็นหลายครั้งเราชอบโทษเกษตรกรเรื่องการร่วมกลุ่ม/สหกรณ์..ทำแทบตายก็คงจะยากที่ต้านการสลายจากอำนาจทุน...ทางออกโดยการตั้งบสภาเกษตร...อาจมาถ้วงดุลอำนาจทุนได้บ้าง...แต่ท้ายที่สุดผู้ที่เขามาบริหารตรงนั้นก็มาจากสายการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์เหมือนเดิม...เหลือความหวังกับคนกลุ่มหนึ่งที่เกษตรกรจะพึ่งได้ก็คือการรสมตัวของนักวิชาการ+อาจารย์..โดยผ่านกลไกอะไรก็ได้เขามาทานอำนาจบริหาร..โดยเปลี่ยนจากในห้องเรียนมาเป็นกลุ่มเดียวกันตามพื้นที่....เพราะหวังราชการคงยากเพราะความมั่นคงขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร...สุดท้ายเกษตรอย่างมีคุณภาพ+ประสิทธิภาพไม่ใช้เรื่องยากสำหรับประเทศไทย..แต่เกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนนั้นซิน่าจะเป็นโจทย์ที่ต้องคิดและทำต่อร่วมกัน

เป็นเว็บไซต์ที่ดีมากๆคับ

ชาวนาคือ...ชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท