ลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด


การทำซ้ำโดยที่ไม่ใช่บรรณรักษ์มีความผิดหรือไม่?

           หลังจากกลับจากการสัมมนา การจัดการความรู้สู่การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่ ด้วยความสวัสดิภาพ

ช้าวันที่ 9 ธ.ค.ก็ต้องมารับกรรม(อยู่เวรห้องสมุด)เหมือนเดิม กะว่าจะนอนยาวซะหน่อย

แต่ด้วยภาระกิจหน้าที่ทำให้ต้องรีบตื่นไปทำงาน ใช้เวลาเดินทางจากบ้านถึงที่ทำงานประมาณ 30 นาที ถึงห้องทำงานก็จัดการภาระงานที่ค้างไว้ต่อ

บังเอิญมีนักศึกษามาขอใช้บริการทำสำเนาแผ่นซีดี ก็เลยจุดประกายเรื่องลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุดขึ้นมาทันที

เข้าเรื่องเลยนะครับ ก่อนอื่นจะยกมาตราที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด จาก พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

                                                           ส่วนที่ ๖

                                      ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

            มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

            ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

            (๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

            (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

            (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

            (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

            (๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

            (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

            (๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

            (๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

            มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง

            มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

            (๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น

            (๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

            มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

            (๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

            (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

            (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

            (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

            (๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย

            (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

            (๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

            (๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้

            (๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

           ที่มา : http://www.pub-law.net/library/act_copyright.html

       

         กระผมติดใจในมาตรา ๓๔ ที่ว่าการทำซ้ำต้องทำโดยบรรณรักษ์เท่านั้น ถึงจะไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในการทำงานจริงๆบรรณารักษ์ไม่ได้ทำงานงานแบบนี้เลย ใช้แต่สายสนับสนุนวิชาชีพทั้งนั้น จะมีบรรณารักษ์ซักกี่คนที่เชี่ยวชาญในงานCopy ทั้งหลาย ซึ่งสื่อพวกนี้พัฒนาไปรวดเร็วมาก ดังจะยกตัวอย่างเช่นแผ่นCD-Rom ธรรมดาก็มีการป้องกันการทำสำเนา หรือแผ่น DVD มีมากมายหลายFormat ทั้งDVD5 DVD9 +/- ชั้นเดียว สองชั้น หรือการประยุกต์ใช้งานต่างๆ การเปลี่ยนสื่อจากAnalog ไปเป็นDigital เอาไว้วันหลังจะมาเขียนเรื่องงานเทคนิคโสตฯต่อ วันนี้ขอความเห็นผู้ที่อยู่ในวงการห้องสมุดว่ามีความเห็นอย่างไรกับพรบ.ลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด

หมายเลขบันทึก: 66234เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บรรณารักษ์เขาไม่ชอบเรียนรู้งานอะไรหรอกครับ เขาไม่ชอบทำงานเกินหน้าที่  ชอบบ่นว่างานยุ่ง แต่พอหัวหน้าไม่อยู่ก็ไป  shopping ไม่ชอบเรียนรู้เทคโนโลยี เขาบอกงานเขาเป็นวิชาชีพเฉพาะ ต้องคนพิเศษถึงทำได้     ก็เข้าใจนะครับว่าคนจบสายนี้ คะแนนสอบไม่ดีเลยเลือกไม่ได้  แต่ควรทำใจให้กว้างหน่อย

บางคนหรอกครับท่านพันศักดิ์ บังเอิญผ่านมาเจอ ล่วงเลยมานานแล้วก็จริงแต่อยากบอกว่าผม เขียนซีดี ถ่ายรูปด้วยกล้องราคาหลายหมื่นซึ่งต้องเรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพและโปรแกรมแต่งรูป ถ่ายทำวีซีดีแล้วนำมาตัดต่อด้วย Ulead ตัดต่อเพลงพร้อมใส่ซาวด์เอฟเฟกซ์ เป็นพิธีกรที่ต้องรู้เรื่องเครื่องเสียงและโปรเจคเตอร์ นี่แค่น้ำจิ้ม

คงเป็นบรรณารักษ์บางคนละมั๊งคะ ที่..

"...เขาไม่ชอบทำงานเกินหน้าที่ ชอบบ่นว่างานยุ่ง แต่พอหัวหน้าไม่อยู่ก็ไป shopping ไม่ชอบเรียนรู้เทคโนโลยี เขาบอกงานเขาเป็นวิชาชีพเฉพาะ ต้องคนพิเศษถึงทำได้ ก็เข้าใจนะครับว่าคนจบสายนี้ คะแนนสอบไม่ดีเลยเลือกไม่ได้ แต่ควรทำใจให้กว้างหน่อย"

คุณพันศักดิ์ ใจแคบไปหน่อยไหม? คนจบบรรณารักษ์ ไม่ใช่ทำเพราะเลือกไม่ได้ คนจบบรรณารักษ์ที่เรารู้จักหลายคน เรียนจบสองปริญญา จบทั้งสายบรรณารักษ์ และ สายวิทยาศาสตร์ทั่วไป คงไม่ถึงกับทำคะแนนไม่ดีมั๊ง

เข้ามาอ่านเจอโดยบังเอิญ ขอตอบคำถามตามความเห็นส่วนตัวนะครับ

ในหมวดของ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีหลายมาตรา มาตรา ๓๔ น่าจะกล่าวให้ครอบคลุมภารกิจในด้าน ILL ของห้องสมุดนะครับ ส่วนการทำซ้ำกรณีอื่น ๆ ก็อ้างอิงตามมาตราอื่นในหมวดนี้ได้(ถ้าสอดคล้องกัน)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท