ชีวิตที่พอเพียง : 3433. โตเกียว ๒๕๖๒ : 11. PMAC 2021 Preparatory Meeting



๕ เมษายน ๒๕๖๒

Co-organizer ของการประชุมคือ UNICEF, WHO, WB, Chatham House   ชื่อการประชุมที่เสนอคือ Global Health in the SDG Era : Words to Action    การประชุมนี้ ต่อเนื่องจากการหารือที่กรุงเทพเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒ ()    โดยที่ UNICEF เป็น lead coordinator ในการยกร่าง concept note   ที่จะหารือในรายละเอียดที่ลอนดอนในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒  

การประชุมในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒  ที่ลอนดอนจะเป็น The 1st PMAC 2021 Preparatory Meeting    การประชุมครั้งที่ ๒ จะเป็นที่โตเกียว เดือนเมษายน ๒๕๖๓    และครั้งที่ ๓ จะเป็นที่มงเทรอซ์ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ 

ผู้แทน UNICEF เสนอ outline ของ concept note   โดยบอกว่า หัวใจคือ ทำอย่างไรจึงจะมีการดำเนินการจริงจัง   ในการประชุมจะจับประเด็นที่ครอบคลุมหลายด้าน รวมทั้งระบบสุขภาพ นวัตกรรม และ disruptive technology    และเสนอให้ใช้หลักการ Global Syndemic    รวมทั้งขับเคลื่อนให้เกิด policy action ให้ได้    จุดเน้นอื่นๆ ที่ระบุไม่ใหม่สำหรับ PMAC ในสายตาของผม 

ข้อเสนอ subtheme

  • Impact of geopolitics : global political economy, global governance, socio-political factors
  • Changes in populations : migration, ageing, life-course approach to UHC
  • Managing externalities : climate change, air pollution, urban environment

ฟังแล้ว ผมตีความว่า UNICEF ในฐานะองค์กรลูกของ UN ต้องการใช้ PMAC 2021 ขับเคลื่อนความสำเร็จของ Agenda 2030 หรือ SDG   

 ในรายงานการประชุมที่กรุงเทพเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒    มีการกำหนด 4 mega factors ที่มีผลต่อ Global Health คือ  (1) Geopolitics  (2) Population change  (3) Technology change  (4) Environmental factors    คราวนี้ตกลงกันว่า ต้องการอาสาสมัครไปทำงานทบทวนความรู้ แต่ละปัจจัยใน ๔ ปัจจัย ในเรื่อง สถานการณ์ปัจจุบัน  แนวโน้ม  การขับเคลื่อนระดับโลก  และปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อ global wellbeing อย่างไรบ้าง     

ตกลงกันว่า UNICEF ทำหน้าที่ยกร่าง 2-page concept note ของ PMAC 2021   โดยทำงานร่วมกับอีก ๔ องค์กร ที่รับผิดชอบทบทวนความรู้    ส่งผลงานให้ฝ่ายเลขานุการภายใน ๑ กันยายน ๒๕๖๒ 

Lead Organization ผู้อาสาทบทวนความรู้ได้แก่  (๑) เรื่อง Geopolitics คือ PHM (People Health Movement)  (David Sanders); (๒) เรื่อง Population คือ UNFPA;  (๓) Disruptive Technology คือ BMJ & BMGF;  (๔) Environment   SIGHT / Swedish MFA & WHO    ขอให้ส่งผลงานภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๒  

การประชุมช่วงสั้นๆ ชั่วโมงเศษๆ นี้    บอกผมว่า การประชุมเตรียมการ PMAC ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว     โดยที่ผู้แทน co-host มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม ต่อการประชุม    จนยินดีทำงานหนักขึ้นไปจากเดิม เพื่อทำให้ PMAC มีพลังขับเคลื่อนสุขภาพโลกยิ่งขึ้น   

วิจารณ์ พานิช

๕ เม.ย. ๖๒

ล็อบบี้  โรงแรม Grand Hill Ichigaya, Tokyo   และบนเครื่องบิน ANA เที่ยวบินที่ NH 1925 จากโตเกียวกลับกรุงเทพ   

หมายเลขบันทึก: 661676เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2019 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2019 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท