ชีวิตที่พอเพียง 3373. PMA 2562 : 1. PMAC IOC 2019/2020


งานแรกในสัปดาห์แห่งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ของผม อยู่ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒    เป็นการประชุมคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติ ของการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC IOC)    ที่แปลกไปจากปีก่อนๆ คือปีก่อนๆ จัดในวันสุดท้ายของการประชุม PMAC ใช้เวลาครึ่งวัน ตอนบ่าย   แต่ปีนี้จัดทั้งวัน และจัดก่อนการประชุม Side Meeting ของ PMAC ซึ่งประชุมในวันที่ ๒๙ และ ๓๐ มกราคม 

 วาระการประชุมในวันนี้มี ๓ เรื่อง คือ (๑) หัวเรื่องการประชุมใน ๕ ปีข้างหน้า   (๒) PMAC 2020  (๓) นัดแนะงานที่ต้องทำต่อไป


หัวเรื่องการประชุมใน ๕ ปีข้างหน้า

Co-host ช่วยกันเสนอหัวข้อการประชุมมาถึง ๖๔ หัวข้อ    และทีม secretariat จัดกลุ่มได้เป็น ๑๖ กลุ่ม ตามในรูปที่ ๑    อ. บุ๋ม (ศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา) เสนอว่า ขอตกลงหัวเรื่องของ PMAC 2020 ก่อน   อีก ๔ ปีค่อยๆ ใช้เวลาปรึกษากัน   

ใช้เวลาทำความชัดเจนต่อหัวข้อสำคัญ และทำความเข้าใจมุมเน้นของเรื่องนั้นๆ ไม่ถึง ๑ ชั่วโมง ก็ได้ข้อยุติว่า PMAC 2021 จะเป็นเรื่องมองไปข้างหน้า    ซึ่งเน้นความกว้าง หรือความครอบคลุม (overarching theme)    ในปีต่อๆ ไปจะลงลึกในแต่ละประเด็น   

ศ. Peter Freiberg จากสวีเดน เอ่ยถึง IPCC Fifth Assessment Report  ที่สะท้อนความน่ากลัวของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่ออนาคตของมนุษยชาติ

เพราะมีเวลา ที่ประชุมจึงอภิปรายลงลึกในเรื่อง overarching theme ของ PMAC 2021    ผมนั่งฟังในฐานะนักเรียน   ในหมวกประธานการประชุม  แต่มอบให้ อ. บุ๋ม ดำเนินการประชุม    ซึ่งท่านทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม    ทำให้การประชุมมีพลังมาก 

ผมชอบบรรยากาศการประชุมมาก  เพราะมีการเสนอข้อคิดเห็นมากมายหลายมุม    ได้บรรยากาศความซับซ้อนสับสน ไม่ชัดเจน    ภายใต้อุดมการณ์หรือคุณค่าร่วมคือ สุขภาวะในอนาคตของโลก (Future Health)    คือในที่ประชุมมีสภาพความไม่ชัดเจนในความชัดเจน    ชัดเจนที่เป้าหมาย ไม่ชัดเจนในการจัดการประชุม  

นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้คร่ำหวอดในเรื่อง Global Health Policy เสนอเชิงสรุปว่า ในอีก ๔ ปีต่อไป ลงลึกในเรื่อง Future Health แต่ละด้าน คือ

  • Geopolitics  / Global Health Governance
  • Health Issues due to population dynamics : demography, migration, urbanization
  • Technology Development
  • Environmental factors : pollution, working environment

ในแต่ละด้านสามารถบรรจุเรื่องย่อยๆ ได้มากมาย ตามความเหมาะสม    ซึ่งจะได้หารือกันต่อไป    ที่ประชุมเห็นด้วยแบบงงๆ

เพราะที่ประชุมงงๆ  อ. บุ๋มจึงขออาสาสมัครองค์กรที่เป็น lead coordinator ทำหน้าที่เขียน first draft ของ PMAC 2021  ได้ UNICEF, WHO และ WB    และได้ co-coordinator คือ Chattham House, IHPP, iDSI, Sweden    สำหรับนำร่างหลักการของการประชุมไปเสนอในการประชุมในเดือนเมษายน ๒๕๖๒ ที่โตเกียว             


PMAC 2020 / 2nd UHC Forum 2020

หัวข้อการประชุมคือ Accelerating progress towards Universal Health Coverage – Life course approach and innovations   ประเด็นที่หารือกันคือ การตั้งโจทย์สำหรับ commissioned work   เพื่อให้การประชุมมีลักษณะ evidence-based   มีการประกาศว่าจ้างเมื่อจำเป็นเท่านั้น  

หัวข้อของ subtheme สำหรับ PMAC 2020 อยู่ใน บันทึกนี้   

รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการจัดการประชุม 2nd UHC Forum 2020   และขอให้เข้าเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับ PMAC 2020   โดยรัฐบาลญี่ปุ่นรับเป็น lead  ในการจัด Plenary 0    โดยทางญี่ปุ่นจะเชิญผู้เข้าร่วมประชุมระดับสูงจากประเทศต่างๆ    สิ่งที่เขาต้องการผลักดันคือ multilateral approach ต่อ UHC   ในที่ประชุมมี GF, WHO, และกระทรวงสาธารณสุขไทย อาสาเป็น co-coordinator ของ Plenary 0   

ขอบันทึกไว้ด้วยความตกใจ (อีกแล้ว) ว่าในวงการสุขภาพโลกของต่างประเทศ เขาเข้าใจองค์ประกอบ หรือเป้าหมายของ UHC (การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า) ต่างจากบ้านเรามาก    คือเขามีแนวโน้มจะเน้นเฉพาะบริการรักษาพยาบาล    ในขณะที่บ้านเราครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ ทั้งด้านสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งดูแลผู้สูงอายุ    การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สาธารณชนในเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องท้าทายมาก     


ปฏิทินการทำงานในปี ๒๕๖๒

มีการปรับปรุงวิธีจัดการประชุมเตรียมการซึ่งจัดปีละ ๓ ครั้ง ในเดือนเมษายน ๒๕๖๒ ที่โตเกียว    เดือนพฤษภาคม ที่มงเทรอซ์ สวิตเซอร์แลนด์   และเดือนตุลาคม ที่ลอนดอน    จะเห็นว่าเราปรับปรุงการทำงาน จากการเรียนรู้ต่อเนื่อง  

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ม.ค. ๖๒

1 รายชื่อ ๑๖ กลุ่มหัวข้อการประชุมใน ๕ ปี

2 บรรยากาศในห้องประชุม

3 คณะกรรมการ ๓ ชุด

4 กิจกรรม ๔ ด้าน

5 กำหนดการประชุมเตรียมการอีก ๓ ครั้ง สู่การประชุม PMAC 2020

หมายเลขบันทึก: 660019เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2019 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2019 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท