ชีวิตที่พอเพียง 3308. นิวยอร์ก ๒๕๖๑ : ๓. การประชุมวันที่ ๒


๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑

วันนี้ฟ้าสว่าง  แดดจ้า  อุณหภูมิตอนเช้า ๒๐  บ่ายขึ้นไปถึง ๒๖  

ช่วงเช้า

ศ. ดร. ปิยะมิตร ศรีธรา เป็นประธาน    หารือกันเรื่อง PMAC 2019 ต่อในเรื่อง พิธีเปิด, ผู้กล่าว keynote speech, PL 0,  คำประกาศนโยบายจากการประชุม

Keynote 

สาระของการประชุมคือ หาทางทำให้การประชุมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ political economy ของโลก    และผู้แสดงบทบาทต้องไม่ใช่แค่คนในสาขาสุขภาพ   มีการเสนอประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) ไม่เน้นบ่นเรื่องโรค และปัจจัยเสี่ยง    ให้เน้นเรื่องความสำเร็จ  และความหวังในการจัดการเป้าหมายต่อไป   (๒) เน้น stories  ไม่เน้น theories  

ตกลงกันว่า จะหาและฝึกคนรุ่นเยาว์มากล่าว keynote เป็นทีม เป็น theme หนึ่ง    และมีบุคคลเด่น และพูดฟังง่าย มากล่าว keynote ด้วย รวมผู้กล่าว keynote สามกลุ่ม  คือ  (๑) ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล  (๒) เยาวชนนักสู้  (๓) บุคคลเด่นด้านการต่อสู้กับปัจจัยเสี่ยงด้าน political economy   มีการเสนอชื่อ ๔ ชื่อ  รวมทั้ง Tom Frieden อดีตผู้อำนวยการ US CDC ผู้มีประวัติผลงานการต่อสู้กับปัจจัยเสี่ยงมากมาย     

PL 0

เน้นที่การบอก political economy ของ NCD determinants   โดยที่เวลา ๙๐ นาที ใช้ในการบรรยายนำเพียง ๒๐ นาที   ใช้อภิปราย ๖๐ นาที    เน้นการทำให้ปัจจัยเสี่ยงด้าน political economy มีความชัดเจน   มีคนเสนอว่า Micheal Reich จาก ฮาร์วาร์ด พูดอธิบายความหมายของ political economy ได้ชัดเจนมาก    

มีการเสนอให้เชิญคนจากบริษัท ที่ส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน   มาร่วมพูด   

มีการเสนอให้เชิญ รมต. คลังมาพูด เน้นที่การใช้มาตรการทางภาษี   และการใช้งบประมาณสร้างสภาพแวดล้อมที่คนออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกาย (physical activities)  

Statement

มีการตั้งคำถามว่า มีคำประกาศจากการประชุม PMAC เพื่ออะไร    คำตอบคือเพื่อสร้าง social commitment ต่อ commercial determinants of health ในขณะที่ statement จาก UN High Level Meeting on NCD (1) เน้นสร้าง  political commitment    จึงเสนอให้คำประกาศจาก PMAC 2019 ใช้ภาษาคนธรรมดา เพื่อสื่อกับคนทั่วไป    มีการสื่อผ่าน social media, BMJ    และผมมองว่า ควรเชิญสื่อมวลชนไทยมาร่วมทำความเข้าใจความหมายของคำประกาศ ต่อชีวิตผู้คนด้วย    โดยอาจนำเอาชิ้นงานศิลปะที่ได้รับรางวัลมาสื่อด้วย   

 Commissioned papers

Exploring the role of framing in NCD governance  โดยทีม Chatham House   เป็นการทำความเข้าใจ framework ในการทำงานควบคุม NCD   หรือในการปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายตน และมีผลร้ายต่อ NCD   ผมนึกถึงกรอบ 4x4, 5x5  

Best Buys, Wasted Buys, and DIYs in NCD Prevention  โดยทีมจาก  HITAP   นำเสนอโดย ดร. วรรณฤดี อิสระนุวัฒน์ชัย (มิ้งค์)   นำเสนอดีจนผู้ร่วมประชุมปรบมือให้    เป้าหมายคือ เสนอ evidence package ประกอบการตัดสินใจของผู้มีหน้าที่ตัดสินใจ    ที่เป็น dynamic evidence source วางไว้บน อินเทอร์เน็ต   ให้ค้นได้ง่าย   ผลงานเบื้องต้นจะนำไปเสนอใน PMAC 2019   เพื่อขอ feedback  นำมาปรับปรุงผลงาน    และจะนำเสนอเป็นผลงานสมบูรณ์ใน PMAC 2020   คำแนะนำสำคัญจากที่ประชุมคือ ในต่างบริบท Best Buy หรือ Wasted Buy อาจต่างกัน    และในสถานการณ์ของ disrupted technology  เทคโนโลยีที่เป็น waste buy ในสถานการณ์หนึ่ง อาจเป็น best buy ในอีกสถานการณ์หนึ่ง    

ช่วงบ่าย

นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน    พิจารณาโปรแกรมของ PMAC 2020 : Accellerating progress towards UHC : Lifecourse approach and innovations

ที่จริงเราเริ่มทำงานพัฒนาการประชุม PMAC 2020 มาตั้งแต่การประชุมที่โตเกียว ()  และที่มงเทรอซ์ () ​    จึงมีข้อมูลความก้าวหน้ามานำเสนอ    โดยมีหลักการว่า ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้   

ทาง WHO เสนอ Subtheme 1 : PHC towards Achieving UHC for Leaving No One Behind    อ. บุ๋มนั่งข้างๆ ผม บ่นว่า ต้องรื้อใหม่หมด    คือที่เสนอเป็นความคิดเดิมๆ ไม่มีอะไรใหม่    ที่จะทำให้เกิด “accelerating progress”    และเป็นการคิดจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน โยงไปสู่อนาคต    ไม่ disruptive หรือก้าวกระโดด    และผมคิดว่า ต้องทิ้ง Primary Health Care   ไปสู่ Local Wellbeing ตามแนวทาง พชอ. ของไทย ()    ซึ่งมีลักษณะการดำเนินการ multi-sectoral  ไม่เป็นไซโลแยกเฉพาะด้านสาธารณสุข

ผมตีความว่าเป้าหมายแท้จริงคือ WFA (Wellbeing for All)  ซึ่งไปไกลกว่า HFA (Health for All)  และส่อนัยยะที่ multi-sectoral     WFA เป็นเป้า    PHC & UHC เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้า     และผมคิดว่า อุปสรรคใหญ่อยู่ที่ political economy ของวงการสาธารณสุขหรือวงการสุขภาพ ที่อาจหลงเอาตนเองเป็นหลัก    คำนึงถึงบทบาทนำของตนเอง ผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก    ไม่ได้เอาชุมชนจัดการตนเองเป็นหลัก    แล้วเอาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการ  ที่ไม่ใช่แค่บริการด้านสุขภาพ เข้าไปหนุน  

ผมได้ความรู้ว่า ในเรื่อง UHC  มีปัจจัยหลัก ๓ ด้าน คือ (๑) ระบบบริการ  (๒) ระบบการเงิน  และ (๓) governance   ในทุกปัจจัยหลักมีประเด็นเรื่อง political economy แทรกอยู่ทั้งหมด    ทำให้ผมต้องค้นทำความเข้าใจคำนี้    ค้นแล้วก็อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง    จับความได้ว่า เป็นวิธีมองความซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อำนาจ กับเงิน    โดยต้องคำนึงถึงมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และความเป็นมนุษย์    หากมองเป็นศาสตร์ ก็เป็นสหศาสตร์หรือสหวิทยาการ    หรือศาสตร์ของความซับซ้อน ()    ซึ่งต้องจับมาใช้ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ซึ่งในที่นี้คือ WFA / UHC  

คิดใหม่   political economy คือศาสตร์ว่าด้วยการค้นหา “เส้นผม” ที่ “บังภูเขา” อยู่   คิดแล้วเถียงตัวเอง    ว่าวิธีคิดแบบนี้ล้าสมัยแล้ว    เพราะมันเป็นวิธีคิดแบบหยุดนิ่ง (static)    โลกสมัยนี้มีลักษณะ hyper-dynamic    ยุทธศาสตร์สำคัญจึงไม่ใช่ค้นหาทฤษฎี    แต่ต้องค้นหาปัจจัยขับเคลื่อนจากสภาพจริง    หากคิดแบบนี้ ต้องจับโครงประเด็นหลัก (concept frame / matrix) ให้มั่น    แล้วเสาะหาเรื่องราวความสำเร็จในระดับต่างๆ   เอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน PMAC 2020          

คิดใหม่อีกที   หากจะทำงานทฤษฎีหรือความรู้ ก็ต้องเน้นทฤษฎีเพื่อหนุนการปฏิบัติ    ซึ่งต้องคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างหลากหลาย และไม่หยุดนิ่ง 

 ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ นี้   องค์การอนามัยโลกจัดประชุม Global Conference on PHC ที่นคร Astana  ประเทศคาซักสถาน    เพื่อฉลอง ๔๐ ปีของกำเนิด PHC / HFA   และได้ยกร่าง Astana Declaration on PHC (5) ไว้    ดังนั้น ในการประชุมเตรียมจัด PMAC 2020 ครั้งต่อๆ ไป    จะมีข้อมูลจาก Astana Conference นี้เอามาดำเนินการต่อ  

ยุทธศาสตร์ของการประชุมครั้งนี้จึงควรเอาบริบทที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต   ที่เป็นตัวส่งเสริมหรือปิดกั้น UHC   มาเป็นตัวตั้ง    คิดหาวิธีใช้ประโยชน์ตัวส่งเสริม (หรือปัจจัยบวก)    และคิดหาวิธีป้องกันไม่ให้ตัวปิดกั้น (หรือปัจจัยลบ) เกิดขึ้นหรือขยายตัว    ผมเรียกว่า ยุทธศาสตร์จัดการบริบท (Context Management Strategy)    คิดอย่างนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ  

เข้าใจว่า เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกเปิดตำรา SDG 3 – Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages  (6)  และเสนอโครงจัดการประชุมตามนั้น    ซึ่งผมมีความเห็นว่า เราต้องไปไกลกว่านั้นในทางหนุนการปฏิบัติ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เป้าหมายคนที่ยากไร้  

Subtheme 2 : Sustainable Financing for Expanding & Deepening UHC  เสนอโดยคนจากธนาคารโลก

Subtheme 3 : UHC Strategy for the Next Decade  

ผมมีข้อสังเกตว่า การประชุมครั้งนี้ ประธานทุกคนทำหน้าที่แบบเดินไปรอบๆ ห้องประชุม    ไม่ใช่นั่งที่หัวโต๊ะ    

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ต.ค. ๖๑

ห้อง ๕๐๑   โรงแรม Hampton Inn, Pearl Street, NY, NY  

1 ห้องประชุมชั้น ๓ กว้างดีกว่า ในรูป ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา กำลังทำหน้าที่ประธาน

2 ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง

3 อีกมุมหนึ่ง

4 ดร. มิ้งค์ เสนอความคืบหน้าของ commissioned paper

5 นพ. สุวิทย์ทำหน้าที่ประธานการประชุม

6 หลังกินอาหารเที่ยงเสร็จ ออกไปเดินริมอ่าว

7 มีคนมาเดินชมวิว

8 อาคาร Pier A Harbor House

9 เดินกลับ Harbor House ผ่านสวนสาธารณะ

10 ทางเดินกลับ

หมายเลขบันทึก: 658048เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท