ชีวิตที่พอเพียง 3183. ไปโตเกียว ๒๕๖๑ ๖. การประชุม 2nd PMAC 2019 Preparatory Meeting Day 1



๑๘ เมษายน ๒๕๖๑

เช้าวันนี้ฝนตก    เราไปยืมร่มจากโรงแรม เดินไปที่อาคารสำนักงาน JICA Ichigaya Office   ใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที    ระหว่างทางคนญี่ปุ่นขอทางเดินขึ้นหน้า    เพราะกลุ่มเราเดินช้า

ห้องประชุมอยู่ชั้น ๖  เจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับบอกให้เราไปขึ้นลิฟท์ได้เลย ไม่ขอดูหลักฐานและทำกระบวนการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดแบบที่ Rockefeller Center ที่นิวยอร์ก ปีที่แล้ว    อเมริกันไปข่มเหงคนไว้มาก จึงต้องระวังตัวมาก 

การประชุมมีคนมากกว่าทุกครั้ง คือ ๓๐ คน    ฝั่งญี่ปุ่นมีผู้ช่วยรัฐมนตรีสาธารณสุขด้าน Global Health, Ms. Chieko Ikeda มาร่วมประชุมด้วย   และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง และกระทรวงต่างประเทศ มาร่วมประชุมด้วย    อ. บุ๋มบอกที่ประชุมว่า  JICA เป็นเจ้าภาพการประชุมเตรียมการณ์แบบนี้ทุกปี   ปีนี้เป็นปีที่ ๙  

ฝั่งไทยมี ๑๒ คน   เราตกลงกันให้คนหนุ่ม คือ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ เป็นประธานการประชุม    

วาระหลักของช่วงเช้าคือ ทำความตกลงกันเรื่อง หัวข้อหลักของการประชุม PMAC 2020       

WB เสนอเรื่อง Innovations for UHC Accelleration  โดยจุดเน้นคือ ต้องหาทางทำงานแบบแตกต่างจากเดิม เพื่อให้บรรลุผลคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าให้ได้    ผู้เสนอคือ Toomas Palu ติดงานอยู่ที่ Washington DC  จึงเสนอผ่าน teleconference จากวอชิงตัน ดีซี    สุ้มเสียงเอียงไปทางใช้เทคโนโลยี   จึงมีคน (ดร. วลัยพร พัชรนฤมล) เตือนว่า การเอาเทคโนโลยีมาขับเคลื่อน innovative UHC ต้องระวังว่าคำนึงถึง affordability, equity, และ PHC   ข้อติงนี้คือ ระวัง digital divide   และ นพ. สุวิทย์ ย้ำว่า innovation มีทั้ง technology innovation  และ social innovation    ควรใช้เทคโนโลยีมาช่วยมนุษย์สร้างนวัตกรรมในการบรรลุ UHC

WHO เสนอเรื่อง Towards UHC : Governance for Health to Enable a Life Course Approach and to Ensure Healthy Aging for All   หัวใจคือ Life Course Approach  เสนอโดย Tea Collins   ที่ลงท้ายว่าอาจใช้ 3 approach ประกอบกันคือ  (1) Life Course Approach,   (2) Health Systems Approach  และ (3) Beyond Health Approach     

คนความรู้น้อยอย่างผม มีความสุขมากที่ได้ฟังผู้รู้อภิปรายประเด็นทั้งสอง จากมุมมองต่างๆ    ได้แก่การพูดถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของเทคโนโลยี   และวิธีใช้เทคโนโลยีให้ได้ผล UHC   ต้องไม่ใช้แบบปูพรม ต้องใช้แบบโฟกัสกลุ่มเป้าหมาย    และค่าโทรศัพท์มือถือลดลงอย่างมากมาย   

คำที่อภิปรายกันมากคือ เทคโนโลยี,  innovation, life course approach   

Tea Collins บอกว่า กว่าจะถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๓  จะมีการประชุมที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นถึง ๓ การประชุม   คือการประชุม Alma Ata เพื่อฉลอง ๔๐ ปี PHC   การประชุม High Level Meeting of UNGA on NCD   และการประชุม PMAC 2019 เอง     ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราคิดวางแผนจัด PMAC 2020 ได้ดียิ่งขึ้น  

อ. บุ๋ม สรุปว่า ข้อที่ตกลงกันชัดแล้วคือ PMAC 2020  เป็นเรื่อง UHC    ขั้นตอนต่อไปคือ หาคำถามใหญ่ของเรื่อง UHC  

ในทุกการประชุมเตรียมจัด PMAC  จะมีคนพูดว่าหัวข้อที่กำลังอภิปรายกัน เป็น crowded issue    ซึ่งหมายความว่ามีการจัดการประชุมนานาชาติในเรื่องนั้นหลายครั้ง     ดังนั้น PMAC จึงต้องเป็นการประชุมที่ add value  ต่อการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ  

ผมคิดกับตัวเองว่า  เรื่องสำคัญๆ ด้านสุขภาพนั้น   มีความรู้อยู่พอสมควรแล้ว    ปัญหาคือการนำความรู้นั้นไปใช้    เป็น know – do gap   ดังนั้น PMAC น่าจะเน้นการเป็นการประชุมแนว Translational Conference   และประเด็นที่จับ อาจมีการดำเนินการต่อเนื่อง    หาข้อมูลแสดงความก้าวหน้า/ไม่ก้าวหน้า    เอามาปรึกษาหาทางส่งเสริมวิธีที่ได้ผล แก้ไขปัญหา    ดำเนินการต่อเนื่อง ๕ - ๑๐ ปี   

สำหรับผม เมื่ออภิปรายกันถึง ๑๑ น. ผมก็ได้ข้อสรุปแล้ว    ว่า PMAC 2020 เป็นเรื่องการทำให้บรรลุ UHC   ขั้นต่อไปขอให้ผู้แทนของ WB และ WHO ไปทำงานด้วยกัน   แล้วนำไปเสนอในการประชุมที่ มงเทรอซ์เดือนหน้า     

การประชุมตอนเช้า สรุปได้ตามข้อสรุปในย่อหน้าบน  

ช่วงบ่าย

เข้าเรื่อง PMAC 2019    เป็นการนำเสนอประเด็นของแต่ละ Subtheme   รวม 3 subtheme  

Subtheme 1 : Critical bottleneck : An integrated response to NCD risk

เสนอโดย Tea Collins, Advisor, The WHO Global Coordination Mechanism on NCDs (GCM/NCD), WHO, Switzerland   เป็นเรื่องการจัดการปัจจัยเสี่ยง    และภาวะผู้นำทางการเมืองในการจัดการปัจจัยเสี่ยง (ซาตานทั้ง ๔ / ซาตานทั้ง ๗)    ซึ่งเรื่องนี้องค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติมีกิจกรรมมากมาย    แต่ผมตีความว่า อยู่ในสภาพ “ทำมาก ได้ผลน้อย”

ที่อยู่เบื้องหลังปัจจัยเสี่ยงโดยตรงคือ ปัจจัยทางสังคม  ปัจจัยทางด้านการค้า  ปัจจัยทางการเมือง  เป็นเรื่องผลประโยชน์ที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง    ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนคิดคำ Political determinants of health, commercial determinants of health    มีการพูดถึงDisruptive regulations เพราะวิธีคิดสร้างกติกาแนวปัจจุบันใช้ไม่ค่อยได้ผล   จึงต้องการวิธีใหม่ที่ทำลายระบบเดิมๆ ซึ่งเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครทราบ     

คำอภิปรายของผู้เข้าร่วมลงรายละเอียดมาก    ในที่สุดก็มาตกที่ว่า subtheme นี้จับเรื่องปัจจัยเสี่ยง (risk) หรือการจัดการปัจจัยเสี่ยง (response to risk) กันแน่    และแตะ risk แบบ bio-medical risk ไม่พอ    ต้องแตะ political economy of risks   ในที่สุดก็พูดกันถึง determinants, drivers   

ศ. นพ. ปิยะมิตร เสนอว่า digital sensor อาจช่วย screening ต่อปัจจัยเสี่ยง  เช่นความดันโลหิต, ระดับ A1C ในเลือดสำหรับตรวจกรองหาผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน    การตรวจวัดปัจจัยเสี่ยงจะง่ายและราคาถูกลงมากมาย

 

Subtheme 2 : Health systems response to NCD

เสนอโดย ผศ. นพ. ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ, ศ. นพ. วิชัย เอกพลากร, และ นพ. ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์     

ผมตีความว่า ประเด็นที่ทีมจากคณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอ เน้นที่การสร้างกลไกขับเคลื่อนพัฒนาการของระบบ (สุขภาพ) เพื่อให้จัดการ NCD ได้อย่างได้ผล   เป็นการมอง ๓ ชั้น   คือชั้นแรกเป็นการทำความเข้าใจระบบ  เพื่อพัฒนาระบบ  โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือปัญหา NCD ลดลง หรือได้รับการดูแลดีขึ้น       

ข้อแนะนำจากที่ประชุม ว่าในระดับภาพใหญ่ไม่ควรจัดการ NCD แบบแยกส่วนออกจากระบบดูแลสุขภาพในภาพรวม   ควรเป็น integrated approach   นอกจากนั้น ควรจับเรื่องการเข้าถึงยาจำเป็นด้วย   

 

Subtheme 3 : Critical barriers and enablers : governance, fianancing, and accountability for the prevention and control of NCDs

เสนอโดย Douglas Webb แห่ง UNDP   ข้อเสนอที่น่าสนใจยิ่งคือเรื่อง กรอบคิดในการทำงาน (framework)   ในการจัดระบบและกำกับระบบ   เขาบอกว่ามีสารพัดกรอบ ได้แก่ technocratic best buys, equity-based responses, human rights, human development / Agenda 2030, poverty reduction, growth management, health service neo-liberization, health security   มีคนเสนอแนะว่า อาจจัด PS ตามแนวนี้  

  ตกค่ำ ทีม secretariat ของไทยก็ส่งข้อสรุปจากการประชุมทั้งวันให้ผู้เข้าประชุมทุกคนทางอีเมล์ ดังต่อไปนี้

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๖๑

ห้อง ๕๖๗  โรงแรม แกรนด์ฮิลล์, โตเกียว 


1 บรรยากาศในห้องประชุม

2 ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง

3 อีกมุมหนึ่ง


หมายเลขบันทึก: 647738เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท