วิธีสอนเรื่อง "มิติใหม่ชุมชนไทยไร้ถัง" แบบ Active Learning โดย ดร.ไพบูลย์ โพธ์สุวรรณ


วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ ทีมอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของคณะนิติศาสตร์ มมส. เชิญ ดร.ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ มาบรรยายพิเศษเรื่อง "มิติใหม่ชุมชนไทยไร้ถัง" จากวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า... ผมติดภารกิจสำคัญ จึงมอบหมายให้เสืออัดเสียงไว้ให้ฟัง ผมมาสืบค้นต่อ พบว่านี่แหละคือวิธีการสอนที่ผมต้องทำให้ได้ ... จึงถอดบทเรียนมาเพื่อให้ตนเองเข้าใจ และทดลองนำไปใช้ต่อไป

๑. เริ่มด้วยการตั้งคำถาม ให้เขียนคำตอบของตนลงในกระดาษ

ท่านตั้งถามให้นิสิตเขียนคำตอบของตนเองลงในกระดาษ โดยให้เวลาค่อย ๆ เขียนไปพร้อม ๆ กันทั้งห้อง ด้วย ๙ คำถาม ดังต่อไปนี้ 

  • ขยะคืออะไร
  • วิธีการจัดการขยะของเราทำอย่างไร
  • ขยะมีกี่ประเภท
  • เพลงที่เกี่ยวข้องกับขยะ เรารู้จักเพลงอะไร
  • ตั้งแต่เกิดมา เราถูกสอนให้ทิ้งลงที่ไหน
  • เราคาดว่าใครจะมาเก็บให้ 
  • ค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บแพงไหม
  • ที่ที่เขาเอาขยะไปทิ้ง มันอยู่ตรงไหน รู้จักไหม
  • รู้หรือไม่ว่าค่าจัดการหรือค่ากำจัดขยะประมาณตันละหรือกิโลกรัมละเท่าไหร่ 
ตอนท้ายของกิจกรรมนี้ ท่านจะบรรยายสรุป เล่าเรื่องให้นิสิตเห็นความรุนแรงของปัญหาขยะ ความสำคัญของการจัดการขยะ และความจำเป็นที่ตนเองต้องลงมือคัดแยกขยะ โดยใช้การเล่าเรื่องที่มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

สืบค้นเพิ่มเติม
ผมสืบค้นพบว่า ข้อมูลที่น่าสนใจได้รวบรวมไว้ใน "รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ดาวน์โหลดได้ที่นี่  ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • ปริมาณขยะของชุมชนในไทยกำลังเพิ่มขึ้น ๆ  ดังตาราง   สังเกตว่า อัตราการก่อขยะต่อคนต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก ๑.๐๓ กิโลกรัม ในปี ๒๕๕๑ เป็น ๑.๑๔ กิโลกรัม ในปี ๒๕๕๙
  • ชุมชนก่อขยะถึงปีละ ๒๗ ล้านตัน 
  • ประมาณนี้ (๒๗ ลต.) เป็นขยะจากเทศบาลต่าง ๆ ที่อัตราการก่อขยะต่อคนไม่เท่ากัน สังเกตว่า ยิ่งเจริญมาก ยิ่งมีคนไปอยู่มาก ยิ่งก่อขยะมาก เมืองพัทยาก่อขยะมากกว่าปกติถึง ๔ เท่า ... ยิ่งเจริญยิ่งเสื่อม 
  • ปริมาณขยะจากชุมชนส่วนใหญ่ ไม่สามารถจัดการได้ กลายเป็นขยะตกค้างจำนวนมากกว่าร้อยละ ๕๐
๒. ระดมสาเหตุปัญหา
  • เราถูกปลูกฝังให้ "ทิ้ง"ขยะลงถัง มาตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ทำให้คนไทยมีขยะในถังเต็มไปหมด เพราะต่างคนต่างทิ้งลงถัง 
  • เราไม่ได้คิดว่า "ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดขยะ" เรามักจะคิดว่า "ทำอย่างไรจะไม่ให้ขยะกระจัดกระจาย" คิดแค่ว่าจะทำอย่างให้มันเรียบร้อย 
  • ทำให้วิธีแก้ปัญหาส่วนใหญ่คือ "การจัดหาถัง" เมื่อจำนวนถึงมากขึ้น จำนวนขยะก็มากขึ้น
๓. เงื่อนไขการเรียน
  • ต่อไปนี้เราจะไม่สร้างทางตัน แต่เราจะหาทางออก
  • เราจะไม่เป็น "นักโทษ" และเราจะเป็น "นักทำ" 
  • เราจะไม่สมมติ แต่จะใช้ข้อเท็จจริง
  • พึ่งตนเองให้ได้ เป็นผู้อธิบาย มากกว่าเป็นผู้ถาม

๔. บรรยายพิเศษ

  • ความหมายของขยะ
    • ขยะคือสิ่งที่หากประโยชน์อะไรไม่ได้ 
    • ขยะอาจารย์แบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามแนวคิดประเทศไทย ๔.๐ ได้เป็น 
      • ยุค ๑.๐  ยุคใบตอง
      • ยุค ๒.๐  ยุคกระดาษ 
      • ยุค ๓.๐  ยุคถุงพลาสติก (ปริโตรเคมี) 
      • ยุค ๔.๐  ยุคอิเล็คทรอนิกส์
    • ขยะหลัก ๆ ของเรา เกิดจากบรรจุภัณฑ์นั่นเอง 
      • ช้อนพลาสติกอยู่ได้นานกว่าช้อนเหล็ก คืออยู่ได้เป็นพันปี 
      • ถุงพลาสติกอยู่ได้ ๔๕๐ ปี 
      • โฟมอยู่ได้ ๑๐,๐๐๐ ปี 
    • วิธีการจัดการหรือกำจัดขยะเขาทำอย่างไรบ้าง 
      • หลุมฝังกลบ ...  เอาไว้ใช้สำหรับสิ่งที่เราใช้ไม่ได้อีกแล้ว 
      • โรงงานจัดการสิ่งที่เป็นพิษ 
      • โรงงานเผาขยะติดเชื้อ 
    • การแยกขยะในปัจจุบันจะแบ่งเป็น ๔ ชนิดคือ 
      • ขยะเปียก
      • ขยะรีไซเคิล
      • ขยะทั่วไป 
      • ขยะอันตราย 
    • จะเห็นว่า วิธีจัดการขยะที่มีอยู่ ไม่สอดคล้องกับวิธีจัดการขยะที่เรามี
    • ดังนั้นขยะต้องเปลี่ยนวิธีแยกใหม่เป็น 
      • ขยะที่ใช้ไม่ได้อีกแล้ว
      • ขยะมีพิษ ได้แก่  แบตเตอรี่ หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง กระป๋องสีสเปรย์ ฯลฯ
      • ขยะติดเชื้อ ได้แก่ ผ้าอนามัย พลาสเตอร์ติดแผล ยา ฯลฯ
    • ปัญหาขยะแท้จริงแล้ว คือ การเอาสิ่งที่ไม่ใช่ขยะ เอาไปไว้ผิดที่... ถ้าเราเอาถุงพลาสติกจากกองขยะออกได้ ทุกอย่างจบ 
      • พลาสติกทุกชนิดเป็นวัสดุรีไซเคิล พลาสติกไม่ใช่ขยะ... จัดการให้จบตั้งแต่ที่บ้าน 
      • เศษอาหาร คืิอวัสดุอินทรีย์ ไม่ใช่ขยะ เอา่ไปเลี้ยงสัตว์ เอาไปทำปุ๋ย ไปทำก๊าซ ฯลฯ
      • ขยะมีพิษและติดเชื้อมีคนมาเก็บไปสู่โรงจัดการที่มีอยู่
    • ดังนั้น เมื่อแทบจะไม่มีขยะ จึงไม่ต้องมีถัง ... "มิติใหม่ชุมชนไทยไร้ถัง" 
    ๕. สาธิตการวิเคราะห์และจัดการขยะ

    เตรียมถังขยะจริง ๆ มาแล้วคัดแยกและจัดการขยะให้ดูทีละชิ้นทีละชิ้น ๆ  เริ่มจากการชั่งก่อน 
    • ถุงพลาสติก ใช้ได้อีก ไม่ใช่ขยะ เป็นวัสดุรีไซเคิล 
    • โฟม ไม่ใช่ขยะ เป็นวัสดุรีไซเคิล 
    • เศษอาหาร ไม่ใช่ขยะ เป็นวัสดุอินทรีย์ 
    • ขวดน้ำพลาสติก ขายได้ 
    • ขวดนมเปรี้ยว ขายได้ 
    • สังกะสี ขายได้ 
    • แบตเตอรี่มอเตอร์ไซด์ ขายได้ 
    • กระป๋องโคก ขายได้ 
    • กล่องนมขายได้ 
    • ฯลฯ 
    สุดท้ายจะเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นพิษและติดเชื้อเท่านั้น ซึ่งจะมีจำนวนไม่มาก  จะเหลือสองส่วนนี้เพียงร้อยละ ๕ เท่านั้น เช่น 
    • ผ้าอนามัย ให้ใช้กระดาษห่อ รวมรวมไว้ให้มิดชิด เพื่อให้รถขยะนำไปส่งโรงพยาบาล 
    โดยสรุปคือ "อย่าทิ้งลงถัง อย่าหวังไปทิ้งบ้านคนอื่น" 

    ความรู้ที่ประทับใจและจำนำไปใช้และเล่าต่อ
    • ขยะมีเพียง ๓ ประเภท คือ ขยะที่นำไปใช้อีกไม่ได้ ขยะมีพิษ และขยะติดเชื้อ นอกนั้นไม่ใช่ขยะ 
    • "อย่าทิ้งลงถัง อย่าหวังเอาไปทิ้งบ้านคนอื่น"
    • ถุงพลาสติกอยู่ได้ ๔๕๐ ปี ถึงจะย่อยสลาย   หากเอาไฟเผาจะได้สารก่อมะเร็ง
    • ถุงพลาสติก ๒,๐๐๐ ถุง ถ้าล้างสะอาด ตากให้แห้ง เอาไปขายจะได้ ๑ บาท
    • โฟมอยู่ได้ ๑๐,๐๐๐ ปี มีสารก่อมะเร็ง หากเอาไฟเผาจะได้สารก่อมะเร็ง
    • กระดาษ ๑ ตัน ต้องใช้ต้นไม้ ๑๗ ต้น 
    • กระดาษกับใบตอง กระดาษเปื่อยง่ายกว่า
    เปิดกะโหลกเลยครับอาจารย์สำหรับผม ขออนุญาตเรียนแบบ "ครูพักลักจำ" นำไปใช้เลยนะครับ 


    หมายเลขบันทึก: 658044เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท