ดีเบตของ Žižek กับ Peterson ในมุมภาษาและเวลา กับการตีความหมายในเชิง "ลำดับกาล": nonlinear orthography vs messianic time


ก็ปีศาจนั้นเล่าแฝงในดวงตาทุกคู่ที่เฝ้าจ้องมองแล้วคิดไปว่าเหล่าภูตผีปีศาจอยู่ล้อมรอบตัวพวกเขา -- เฮเกล

เผอิญนึกอะไรขึ้นได้หลักจากดูดีเบตของ Žižek กับ Peterson เลยอยากบันทึกอะไรเอาไว้หน่อย แต่ก่อนจะไปตรงนั้นขอพูดถึงแก่นความคิดหลักของเรื่อง "เวลา" ในหนังเรื่อง "Arrival" เสียก่อน

ภาพสีน้ำมัน "The Garden of Earthly Delights ของ Hieronymus Bosch" จิตรกรชาวดัชท์ซึ่งถูกเขียนในช่วง 1490 - 1510 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง "เวลาเทวะ" vs "เวลามนุษย์" ได้อย่างแจ่มชัดนัก ตรงกลางเป็นเวลามนุษย์ แต่ภาพก็เตือนให้เราเห็นว่าเวลาเทวะอาจนำมาได้ทั้งยูโธเปีย (ด้านซ้าย) ดินแดนสวรรค์ หรือไม่ก็ดิสโธเปีย (ด้านขวา) ดินแดนนรก
ภาพสีน้ำมัน "The Garden of Earthly Delights ของ Hieronymus Bosch" จิตรกรชาวดัชท์ซึ่งถูกเขียนในช่วง 1490 - 1510 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง "เวลาเทวะ" vs "เวลามนุษย์" ได้อย่างแจ่มชัดนัก ตรงกลางเป็นเวลามนุษย์ แต่ภาพก็เตือนให้เราเห็นว่าเวลาเทวะอาจนำมาได้ทั้งยูโธเปีย (ด้านซ้าย) ดินแดนสวรรค์ หรือไม่ก็ดิสโธเปีย (ด้านขวา) ดินแดนนรก

ในลิงก์บทความในมีเดียมที่พูดถึงหนังเรื่องนี้ "Playing the Non-Zero Sum Game -- The Politics of Arrival" จะพูดถึงปัญหาการร่วมมือผ่านทฤษฎีเกมที่มีลักษณะ "Non-Zero Sum Game" ตัวบทความนี้ยังพูดถึงว่า สภาพ anarchy ที่เกิดขึ้นใน "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" มันมีสาเหตุอยู่ในเชิงทฤษฎีเกมที่ว่าทำไมถึงต้องเป็นแบบนั้น อะไรเป็น incentive ที่ทำให้ทุกคนต้องคิดแบบ Zero Sum แล้วอะไรจึงจะเปลี่ยนจาก Zero Sum ให้เป็น Non-Zero Sum ให้ได้

ประเด็นที่สำคัญอื่นก็คือ "เรื่องภาษา" เนื่องจากภาษาของ "ตัวเจ็ดขา" (Heptapod) (1) ไม่ได้เอาไว้แทนภาษาพูด (2) แต่เป็นระบบคิดทั้งหมด ที่มีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear orthography) ดังนั้นจึง (3) สะท้อนระบบคิดเรื่องเวลาของตัวเจ็ดขาด้วยว่า มีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้นตามไปด้วย (nonlinear time) เรื่องผลกระทบของภาษาที่มีผลต่อระบบคิด (หรือมีผลไปต่อสมอง) มีระบุไว้ในทฤษฎี the Sapir-Whorf hypothesis อย่างตัวผมเองหลัง ๆ พอศึกษาภาษาอังกฤษในระดับ deep มาก ๆ มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีวิธีคิดและการมองโลกที่ต่างจากการใช้ภาษาไทยตามปกติ; อันนี้ขอยกไปพูดในภายหลัง

ดูตัวอย่างผลของภาษาที่มีผลต่อการรับรู้เรื่อง "เวลา" สำหรับชนเผ่าปาปัวนิวกินี สำหรับที่นี่เวลาอดีตจะวิ่งลงไปปลายแม่น้ำบริเวณชายเขา อนาคตจะวิ่งไปต้นสายธารแม่น้ำบนยอดเขา คือการกำเนิดใหม่ การเคลื่อนไหวใหม่ ดังนั้นอนาคตจึงมาจากที่นี่ ในขณะที่ปลายน้ำเป็นอดีตที่ตายหรือผ่านพ้นไปแล้ว (ดูงานวิจัยที่พูดเรื่องนี้จากที่นี่)

nonlinear time นี่แหละจะมีผลต่อพล็อตในหนัง ซึ่งเพื่อไม่ให้ spoil ผมจะขอข้ามไป แต่จะพูดถึงเรื่อง linear time vs nonlinear time นี้โดยตรง

สองคำนี้เป็นคำศัพท์เทคนิคแบบคณิตศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจง่ายในแวดวงปรัชญาการเมืองและสังคมศาสตร์ ผมจะขอ "ทาบ" คำศัพท์ให้เข้าใจง่ายกว่านี้ nonlinear time ก็คือเวลาแบบ "messianic time"; ส่วนเวลาแบบ linear time ก็คือเวลาแบบ "homogeneous, empty time" คำศัพท์ทั้งสองคำนี้ Ben Anderson นำมาใช้ใน Imagined Communities (IC) ซึ่งเขายืมมาจาก "Illuminations" ของ Walter Benjamin อีกทอดหนึ่ง ใน IC นั้น Ben ใช้คำว่า "homogeneous, empty time" คือมีคอมม่า "," อยู่ ตามต้นฉบับแปลของ Benjamin แต่ฉบับแปลภาษาไทยที่บรรณาธิการโดยชาญวิทย์ มีการตัดทิ้งแล้วใช้คำว่า "homogeneous empty time" ไปเลย แล้วถอดเป็นคำศัพท์ภาษาไทยว่า "สุญกาลสหมิติ" (หน้า 42) ซึ่งผมคิดว่าแปลผิด คำภาษาไทยที่ควรใช้คือ "เวลาที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว และไร้ความหมาย" ถ้าจะใช้ศัพท์สันสกฤตผมลองคิดศัพท์ ออกมาในทำนองนี้ "สมภาพ-สุญญตา-กาล" (จะเห็นว่าก็ยังดูไม่ค่อยเข้าท่าเท่าไหร่นัก) ส่วน messianic time ผมขอถอดความหมายแบบลำลองในที่นี้ก่อนว่า "เวลาเทวะ"

ใน Illuminations นั้น Benjamin พูดถึง "messianic time" ในส่วนบทท้าย ซึ่งก็คือ "Theses on the philosophy of history" ทั้ง 18 ตอนและต่อด้วยภาคผนวกอีกสองตอนย่อย ในเว็บ Marxist ก็มีเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่โดยใช้ชื่อว่า "On the concept of history" แต่ว่าการถอดภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษผิดกันมาก ผมแนะนำให้อ่านในหนังสือ Illuminations จะได้ใจความสมบูรณ์และเข้าใจง่ายกว่า เชิงอรรถหมายเลข 33 ในบทที่ 2 ของ IC นั้น Ben อ้างเรื่อง "messianic time" นี้กลับไปที่ Illuminations แต่ Illuminations ฉบับที่ผมมีตีพิมพ์ใหม่กว่า (น่าจะเป็นตั้งแต่ 2007 เป็นต้นไป? ในฉบับนี้เขาระบุว่าไม่ได้พิมพ์หน้าที่ 141-144 เหมือน Harcourt, Brace & World ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1968 Ben ใช้ฉบับ Fontana 1973 อ้างอิง เป็นไปได้ว่ายังคงรักษาต้นฉบับตามฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ปรากฎเรื่องนี้หน้าที่ 263 ไม่ใช่ 265 อย่างที่ IC อ้างอิง ส่วน IC ฉบับภาษาไทยแปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษคืออ้างเป็นหน้า 265

เรื่องการลำดับเวลา ที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน มีการกำหนดจังหวะอย่างเที่ยงตรงไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดหรือจะเคยพบเคยเจอกันหรือไม่ก็ตาม ผ่านระบบสื่อสารมวลชนสมัยใหม่ ผ่านนาฬิกากลไก เรื่องนี้ Ben อธิบายได้ถูกต้องแล้ว (นี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมเวลาแบบนี้ในเชิงเทคนิคจึงเรียกว่า linear time) แต่สำหรับเรื่อง "empty" --ไม่มีความหมายนั้น ผมคิดว่า Ben ยังอธิบายได้ไม่กระจ่างพอ

messianic time ถอดความเข้าใจของคริสต์ศาสนาว่าหมายถึงเวลาปรากฎตัวของพระผู้ไถ่ เป็นเวลาแห่งการตัดสิน (end time) ดังนั้นเวลาแบบนี้จึง "มีความหมาย" และมี "จุดสิ้นสุด" แต่ "homogeneous, empty time" จะเป็นเวลาที่เดินหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นลำดับ ๆ แต่ไม่มีความหมายอะไรที่สลักสำคัญในแต่ละห้วงเวลาแต่ละห้วงที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

ไอเดียแบบมาร์กซซึ่งสืบทอดมาจากเฮเกล ซึ่งก็คือยังคงวิธีคิดของคริสต์ศาสนาแทบทุกประการแม้จะพยายามเคลื่อน (หรือจินตนาการ หรือศัพท์ที่ใช้ใน IC ฉบับภาษาไทยว่า "จินตกรรม" เพื่อแสดงถึงความแตกต่างว่าไม่ใช่แค่นึกเอาเป็นมโนทัศน์ลอย ๆ แต่ concept เหล่านั้นดูราวกับมีอยู่จริงจับต้องได้ และสัมผัสได้ในทุกคน ทั้งที่เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นเพียงความคิดเท่านั้น) สังคมให้ผ่านอิทธิพลของศาสนามาเป็นสังคมแบบฆราวาส ในบทความของผมที่ gotoknow ยิ่งพูดถึงย้อนไปไกลกว่าคริสต์ศาสนาเสียอีก คือสมัยการตัดสินคดีของโสเครตีส ห้วงเวลาแบบนี้นั่นแหละ คือ "messianic time" ในหนังเรื่อง arrival แสดงให้เห็นว่าเวลาแบบ messianic หรือ nonlinear นี้ ที่ตัวเจ็ดขาสามารถคิดได้แบบ nonlinear time ก็เพราะสามารถเห็น อดีต ปัจจุบัน และอนาคต พร้อมกันหมด โดยแต่ละช่วงเวลาสำคัญคือ "การตัดสินใจเลือก" ทางเดินในเส้นทางต่าง ๆ (นี่เป็นการมอง messianic time อย่าง a priori หรือก่อนเหตุการณ์ ในขณะที่ Ben อธิบาย messianic time แบบ posteriori หรือหลังเหตุการณ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ Ben กำลังโฟกัสกับเรื่อง ความเข้าใจพร้อมเวลาเป็นหนึ่งเดียวของผู้คน หรือ "simultaneity" มากกว่าเรื่อง "การไร้ความหมาย" ซึ่ง Ben อ้างถึงเรื่องนี้อย่างจำเพาะกับ "Mimesis: The Representation of Reality in Western Literature" ของ Erich Auerbach*, โปรดดูเชิงอรรถที่ 32 ของบทที่ 2 ใน IC); เพราะอย่างนั้น (1) การปรากฎตัวของ messiah (2) การตัดสินใจของ messiah ที่จะทำให้เกิด end time และ (3) การปรากฎขึ้นของ end time และวันพิพากษา ทั้งหมดนี้จึงคลุมความหมายของ messianic time หรือ "เวลาเทวะ" ทั้งหมด ลักษณะทั้งหมดนี้เองมาร์กซ นำมาใช้ในเรื่องการปฏิวัติของเขา (1) messiah = ชนชั้นกรรมาชีพ (2) การตัดสินใจทำให้เกิด end time = พรรคปฏิวัติ (เสนอโดยเลนิน) และ การปฏิวัติ และ (3) การปรากฎขึ้นของ end time + วันพิพากษา = โลกอันสมบูรณ์แบบของ communism เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับข้อเขียนของฟูกูยาม่า (end of history) ที่ก็ได้รับอิทธิพลจากเฮเกลมาเช่นกัน ก็เสนอเรื่อง end time นี้แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดแบบศาสนา Judeo-Christian belief ที่ยังฝังอยู่ในวิธีคิดของเฮเกลนั้นแม้ว่าเขาจะเสนอการคลี่คลาย end time ไปคนละแบบกับมาร์กซเลย คือฟูกูยาม่ายังเสนอว่าสภาพการปกครองของรัฐแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยว่าเป็น end time นั่นเอง

ตรรกะของมาร์กซจึงเป็นตรรกะของศาสนาอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งที่เจ้าตัว (วิจารณ์ศาสนาในทางที่ complicated กว่า) หรือพวกมาร์ซิสต์ด่าเรื่องศาสนาว่าเป็น "ยาฝิ่น" อะไรทำนองนั้น

ในการดีเบตของ Žižek กับ Peterson (อ่านบทถอดเทปของ จอห์น ลี ได้ที่นี่) ซึ่ง Jacobin (The Fool and the Madman) สรุปไว้ได้ดี (แม้ว่าคนเขียนทั้งคู่ดูจะผิดหวังกับ Žižek ที่ไม่ defend มาร์กซอย่างที่หวังไว้ ดูส่วนที่ผมทำขีดเส้นใต้เป็นตัวเน้นเอาไว้) จึงกลายเป็นการอภิปรายที่ทั้งคู่ก็ไม่สนับสนุนมาร์กซ แต่ก็ยังเห็นว่าระบบทุนนิยมยังต้องมีการแก้ไขอยู่ ผมจดคำพูดเป็นช่วง ๆ ที่น่าสนใจของ Žižek ดังนี้: "neoliberalism is a vague term" (1:11); "happiness is by-product" (1:30); "marx is stupid optimistically" (1:37)

As the debate continued, Peterson kept pushing Žižek on the topic of Marxism, and implored Žižek to clarify his stance with regards to Marx. In response, Žižek made it clear that his embrace of the word “communism” is a provocation, and in fact he does not identify as a communist. Rather, Žižek affirmed the need for a self-limited, regulated capitalism. He did not affirm the self-emancipation of the working class, but instead advocated the need for a master who will “force people to be free.” Here, Žižek came off as a technocratic liberal, since for him, the masses are incapable of achieving freedom for themselves — some kind of “master” is needed to guide them. Peterson did not contradict any of these sentiments; instead, he admitted that capitalism has its problems, and that he does not support fully unbridled markets. He paraphrased Winston Churchill in saying that capitalism is the worst possible system…but still better than all the others.

ความจริงการพูดถึงดีเบตซึ่งเป็นดีเบตที่สำคัญและน่าสนใจนี้ ผมยังต้องใช้เวลาคิดกับมันอีกสักพัก แต่ในที่นี้ผมคิดถึง Žižek ที่พยายาม "ปฏิเสธ" มาร์กซแบบเดียวกับที่ Walter Benjamin ทำใน illuminations ซึ่ง Žižek ทำใน The Parallax View เมื่อเขาพยายามจะถอดย้อนหลังไปถึง Kant และ "Hegelian triad" แต่ก็ยัง "empathy" กับมาร์กซอยู่ ในช่วงหลัง ๆ ผมคิดอยู่เรื่อย ๆ ว่า ทั้ง Ben หรือดีเบตนี้ไม่ว่าจะพูดถึง ระบบทุนนิยม , ชาตินิยม หรืออะไรราว ๆ นี้ ความจริงก็พูดถึงสิ่งเดียวกันทั้งหมดนั่นแหละ คือ interplay ระหว่าง "homogeneous, empty time" (เวลามนุษย์) กับ "messianic time" (เวลาเทวะ) และในที่สุดเราก็ยังต้องอยู่กับทั้งคู่ ไม่สามารถปฏิเสธอันใดอันหนึ่งได้ messianic time ไม่ได้นำ end time หรือจุดสิ้นสุดเวลามาสู่โลกมนุษย์แต่มันนำเอา "homogeneous, empty time" มาให้ หรือ ก่อกำเนิด "ยุคใหม่" ขึ้นมากกว่า

เปรียบเทียบ "homogeneous, empty time" (เวลามนุษย์) กับ "messianic time" (เวลาเทวะ):

Homogeneous empty time is quantitative; messianic time is qualitative.
Homogeneous empty time is a continuous flow; messianic time is fully immediate.
Homogeneous empty time is experienced as anaesthetising, desensitising and meaningless. Messianic time is experienced as emotionally intense, like a drug high. It is filled or fulfilled.
Homogeneous empty time is continuous; messianic time is ruptural.
Homogeneous empty time is meaningless (empty); messianic time is the time of a ‘specific recognisability’ – it means something specific to those who experience it. -- Walter Benjamin: Messianism and Rolutionary -- Thesis on History

ปัญหาใหญ่อันหนึ่งคือ "homogeneous, empty time" เมื่อดำเนินไประยะหนึ่ง ไม่ว่าจะปรับตัวดีแค่ไหนหรือสมบูรณ์แบบแค่ไหน ก็มักจะสร้างความเค้น (tension) ขึ้นในตัวมันเอง ทำให้เกิด rupture และพร้อมจะเกิด "messianic time" ครั้งถัดไป† Žižek พูดเปรียบเทียบเรื่องนี้ได้ดีว่า ฝ่ายขวาจัดทั้งหลายโทษ "Cultural Marxism" ว่าเป็นสาเหตุของความวิบัติในสังคมปัจจุบัน (โปรดดูตัวอย่างการโทษ "Cultural Marxism" เรื่องนี้ตรง ๆ ของ Anders Breivik ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นเอง "2083: A European Declaration of Independence" และนำไปสู่การก่อการร้ายที่ Utøya ในปี 2011, พวกขวาจัดอื่น ๆ อย่าง Alt-Right หรือบล็อก "Gates of Vienna" ก็พูดในทำนองเดียวกันนี้) ไม่ต่างอะไรไปจากฮิตเลอร์ที่เคยโทษยิวว่าเป็นภัยพิบัติสังคมเยอรมันสมัยแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทั้งที่สาเหตุมาจากปัญหาในตัว order ของสังคมนั้นเอง และความหวาดกลัวของชนชั้นนำในสังคมนั้นต่อการปฏิวัติรัสเซียจึงสร้าง "ปีศาจ" ขึ้นมาด้วยน้ำมือของพวกเขาเอง สมดังคำกล่าวของเฮเกล "ก็ปีศาจนั้นเล่าแฝงในดวงตาทุกคู่ที่เฝ้าจ้องมองแล้วคิดไปว่าเหล่าภูตผีปีศาจอยู่ล้อมรอบตัวพวกเขา" (Evil resides in the very gaze which perceives Evil all around itself.)

In the 1920's many Germans experienced their situation as a confused mess. They didn't understand what is happening to them, with military defeat, economic crisis, what they perceived as moral decay, and so on. Hitler provided a story, a plot, which was precisely that of a Jewish plot. We are in this mess because of the Jews. That's what I'd like to insist on. We are telling ourselves stories about ourselves in order to acquire a meaningful experience of our lives. However, this is not enough. One of the most stupid wisdoms, and they're mostly stupid, is anenemy is someone whose story you have not heard. Really? Are you also ready to affirm that Hitler was our enemy because his story was not heard? The experience that we have of our lives from within, the story we tell ourselves about ourselves in order to account for what we are doing is (and this is what I call ideology) fundamentally a lie. The truth lies outside in what we do. In a similar way, the Alt-Right obsession with "Cultural Marxism" expresses the rejection to confront the fact that the phenomena they criticize as the attack of the "Cultural Marxist" plot (moral degradation, sexual promiscuity, consumerist hedonism and so on) are the outcome of the immanent dynamic of capitalist societies. I would like to refer to a classic, Daniel Bell's Cultural Contradictions of Capitalism, written back in 1976, where the author argues that the unbounded drive of modern capitalism undermines the moral foundation of the original Protestant ethics. And in a new afterword Bell offers a bracing perspective on contemporary Western societies, revealing the crucial cultural fault lines we face as the 21st century is here. The turn towards culture as a key component of capitalist reproduction and (concomitant to it) the commodification of cultural life itself are I think crucial moments of capitalist expanded reproduction. So the term "Cultural Marxism" I think plays the same role as that of the Jewish plot in anti-Semitism: it projects, or transposes, some immanent antagonism (however you call it), ambiguity, tension of our social-economic life unto some external cause. In exactly the same way, now let me tell you a different more problematic example, in exactly the same way liberal critics of Trump and Alt-Right never seriously ask how our liberal society could give birth to Trump. In thissense, the image of Donald Trump is also a fetish: the last thing a liberal sees before confronting actual social tensions. Hegel's motto "Evil resides in the gaze which sees evil everywhere" fully applies here. The very liberal gaze which demonizes Trump is also evil because it ignores how its own failures opened up the space for Trump's type of patriotic populism."
1:25:25-1:30:00 April 19th debate with Jordan Peterson


เชิงอรรถ

* ใน Mimesis นั้น Auerbach ได้ขึ้นต้นบทแรก (Odysseus' scar) ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างตัวบทโอดีสซีของโฮเมอร์ กับ ท่อนปฐมกาลตอนที่ 22 ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยที่มีชื่อเสียงและเขาสรุปว่าวรรณกรรมตะวันตกถึงแม้จะดูเหมือนว่าถูกแต่งขึ้น แต่ล้วนสะท้อนความจริงและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ดังต่อไปนี้ (Mimesis, pp. 23)

The two styles, in their opposition, represent basic types: on the one hand [The Odyssey 's] fully externalized description, uniform illustration, uninterrupted connection, free expression, all events in the foreground, displaying unmistakable meanings, few elements of historical development and of psychological perspective; on the other hand [in the Old Testament], certain parts brought into high relief, others left obscure, abruptness, suggestive influence of the unexpressed, "background" quality, multiplicity of meanings and the need for interpretation, universal-historical claims, development of the concept of the historically becoming, and preoccupation with the problematic.

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ Ben พยายามโฟกัสในการเปรียบเทียบเรื่อง "เวลาเทวะ" กับ "เวลามนุษย์" อยู่ใน Mimesis หน้า 73-74 ดังต่อไปนี้:

For example, if an occurrence like the sacrifice of Isaac is interpreted as prefiguring the sacrifice of Christ, so that in the former the latter is as it were announced and promised, and the latter "fulfills" ( the technical term is figuram implere) the former, then a connection is established between two events which are linked neither temporally nor causally­ a connection which it is impossible to establish by reason in the hori­zontal dimension (if I may be permitted to use this term for a temporal extension). It can be established only if both occurrences are vertically linked to Divine Providence, which alone is able to devise such a plan of history and supply the key to its understanding. The horizontal. that is the temporal and causal, connection of occurrences is dissolved; the here and now is no longer a mere link in an earthly chain of events, it is simultaneously something which has always been, and which will be fulfilled in the future; and strictly, in the eyes of God. it is something eternal, something omni-temporal, something al­ready consummated in the realm of fragmentary earthly event.

โปรดดูการเปรียบเทียบระหว่างเวลามนุษย์ (linear time) และ "เวลาพระเจ้า" (nonlinear time) ภายในประโยคเดียวคือ "the here and now is no longer a mere link in an earthly chain of events, it is simultaneously something which has always been, and which will be fulfilled in the future; and strictly, in the eyes of God."

เช่นเคย Mimesis ฉบับที่ผมใช้เป็นการจัดพิมพ์ครั้งล่าสุดกว่าที่ Ben ใช้ซึ่งเป็นฉบับแปลโดย Willard Trask ของ Doubleday Anchor ในปี 1957 ดังนั้น IC จึงอ้างย่อหน้านี้จากเลขที่หน้า 64

อนึ่ง IC พูดราวกับว่าแนวคิดแบบชาตินิยมเกิดขึ้นมาทำลาย "เวลาเทวะ" แล้วก่อให้เกิด "เวลามนุษย์" ขึ้น, เท่าที่ผมตรวจสอบในขณะนี้ ทั้ง Mimesis และ Illuminations ไม่ได้อธิบายความสัมพันธ์ของเวลาทั้งสองแบบว่ามีลักษณะอย่างไร เพียงแต่แยกแยะให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างเวลาทั้งสองชนิดนี้ แสดงว่านี่เป็นความคิดของ Ben มากกว่าของ Auerbach หรือ Benjamin ซึ่งยังคงต้องตรวจสอบกันต่อไปว่าจะใช้ได้จริงหรือไม่

ไอเดียเรื่องเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ของ Benjamin ขอยืมมโนทัศน์มาจากภาพวาด  Angelus Novus ของ Paul Klee เทวดาตนนั้นกางปีกออกในขณะที่หันหลังให้กับอนาคตแล้วพุ่งถอยหลังไปยังอนาคต แต่ใบหน้ากลับจ้องมองอยู่แต่อดีต "Where we see the appearance of a chain of events, he sees one single catastrophe, which unceasingly piles rubble on top of rubble and hurls it before his feet [...] That which we call progress, is this storm."

แต่ในบทความนี้ผมทดลองนำเสนอว่า เวลาทั้งสองแบบเกิดขึ้นมาควบคู่ตลอดประวัติศาสตร์ "เวลามนุษย์" ดำเนินไประยะหนึ่งจนเกิดความเค้น (tension) ขึ้นในสังคม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง จำเป็นจะต้องมีตัวการในการเปลี่ยนแปลงและนั่นคือ "เวลาเทวะ" เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์คลี่คลายลงไปแล้วก็จะนำไปสู่ "เวลามนุษย์​" ครั้งใหม่ ไม่ใช่จุดสิ้นสุดเวลา "end time" หรือ แดนยูโธเปียใด ๆ.

† ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะที่แยกหลักสี่ ในช่วงการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม กปปส เมื่อปี 2557 ที่สำนักข่าว TCIJ ในชื่อ "รอยปริร้าวแห่งนวสมัย" เท่าที่ผมจำได้ ผมคิดถึงสภาพที่เสมือนมีรอยปริแยกออกจากสังคมในกาลเทศะแห่งนั้น แต่อธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงคิดเช่นนั้น นับว่าไอเดียเรื่อง "messianic time" ช่วยทำให้ผมกระจ่างแจ้งขึ้นมากว่าทำไมในช่วงนั้นผมจึงเกิดความคิดทำนองเช่นนั้นขึ้นมา เรื่องบังเอิญเช่นนี้ก็บังเกิดขึ้นอีกตอนผมเขียนบทความ "ความเป็นมาของระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ยุคเอเธนส์" พอมาถึงช่วงที่ต้องอธิบายเหตุการณ์ที่ทำไมโสเครตีสจึงต้องทำเช่นนั้นในเหตุการณ์แก้คดีต่อศาลเอเธนส์ ผมเขียนไปว่า "แต่หากผู้มีดวงจิตอันยิ่งใหญ่และมีความกล้าหาญอยู่ในกาลเทศะอันสำคัญ และเพราะเป็นกาลเทศะอันสำคัญต่อให้เขาขัดสน ทรัพยากรอันจำเป็นก็จะมาชุมนุมเข้าด้วยกันเอง สิ่งที่เขามีนั้นไม่มากไม่น้อยไปกว่าเครื่องมือสำคัญ (techne) และวิจารณญาณของตนเอง และการตัดสินใจลงมือกระทำโดยมิอาจให้เวลาผ่านเลยไปนั้นสำคัญกว่าทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียงเกียรติยศ และแม้ชีวิตของตนเอง" ข้อความในช่วงนี้ผมก็เขียนอย่างเป็นไปเอง แล้วจึงมาทราบภายหลังว่าถ้อยคำในแมทธิว 6:33 มีความหมายคล้ายกันดังนี้ "But seek you first the kingdom of God, and his righteousness; and all these things shall be added to you." — Mathew 6:33 (ดูคำอธิบายฉบับภาษาไทย มัทธิว บทที่ ๖ ข้อที่ ๑-๓๔)


คำสำคัญ (Tags): #messianic time#homogeneous, empty time
หมายเลขบันทึก: 661348เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2019 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2019 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท