มุมมองต่อ Meta R2R และ Meta Analysis


สไลด์นี้เขียนไว้หลายปีแล้ว

เป็นการทบทวนการทำงานของเราอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นจนจบจะทำให้เรามองเห็นว่า อะไรที่เราได้ทำ อะไรที่เรายังทำไม่ได้ และอะไรที่เราไม่ได้ทำ

การมองเป็นภาพทำให้เห็น GAP ต่างๆที่เกิดขึ้น

เมื่อเห็น GAP หรือปัญหาอุปสรรคนั้นๆ จะทำให้เราเริ่มใคร่ครวญหาสาเหตุว่ามาจากอะไร มีหลักฐานหรือข้อมูลอะไรสนับสนุนว่าสาเหตุนั้นเป็นจริง ซึ่งวิธีการเช่นนี้ทำให้เราได้ฝึกทักษะของการคิดใคร่ครวญ

จากนั้นเราต้องมาพิจารณาว่า GAP หรือปัญหาดังกล่าวนั้น จะแก้ไขอย่างไร -> How to เพราะนั่นหมายถึงว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบันมันยังไม่เวิร์ค ยังใช้ไม่ได้ เราจึงต้องพัฒนากระบวนการบางอย่างเพิ่มเติมหรือคิดขึ้นมาใหม่เพื่อที่มุ่งเป้าหมายไปปิด GAP ในสายธารการทำงานนั้นๆ และเพื่อการพิสูจน์สิ่งที่ขึ้นมาใหม่นี้เป็นที่น่าเชื่อถือ เราจึงต้องอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่าวิจัยเข้ามาใช้ และเป็นการทำวิจัยที่มุ่งเป้าไปเพื่อตอบคำถามปัญหาหน้างานหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานนั้นๆ เราจึงเรียกว่าวิจัยในงานประจำหรือ R2R (Routine to Research)

เมื่อการทำ R2R ที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่เป็น Issue base หรือประเด็นปัญหาเดียวกันจำนวนเรื่องขึ้นไป ทาง Core team R2R ประเทศไทยจึงได้เรียกลักษณะงานนี้ว่าเป็น Meta R2R ซึ่งแตกต่างกับ Meta Analysis ซึ่งถือว่าเป็น Research Method อีกแบบหนึ่ง แต่ Meta R2R ไม่ใช่ โดย Meta R2R นี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานแบบรอบด้าน อย่างเป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง โดยนักพัฒนางานประจำนั้นเป็นคนทำวิจัย(ผู้วิจัยเป็นทีมเดิม/คนเดิม) เป็นการทำงานวิจัยเล็กๆ ที่แก้ไขปัญหาทีละจุดเมื่อผลรวมของเนื้อในวิจัย R2R ทั้งหมด จะช่วยทำให้เกิดสายธารแห่งคุณภาพในการทำงาน Issue หรือประเด็นนั้นๆ อย่างเป็นระบบ

ส่วน Meta Analysis เป็นการนำผลการวิจัยมาสังเคราะห์ในเนื้อหาเดียวกันแต่ไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผลงานของผู้วิจัยเดียวกัน และมีกระบวนการทาง Research Design ที่จะออกแบบอย่างเป็นระบบเพื่อลงมือในการทำ Meta Analysis

การทำ Meta R2R เมื่อเราเข้าใจเราจะรู้สึกสนุกกับการพัฒนางาน และที่สำคัญเป็นการสร้างคนทำงานให้เป็นผู้มีกระบวนการคิดและทักษะในเรื่อง System Thinking  มากขึ้น ฝึกการมองและพิจารณาปัญหาอย่างรอบด้าน และค่อยๆ แก้ไขปัญหาไปทีละจุด เกิดการเชื่อมต่อและปิดช่องว่างของการทำงานได้เป็นอย่างไร

ถือว่าเป็นกระบวนการแห่งการเรียนรู้ที่ท้าทายอย่างยิ่ง

คนทำงานตัวเล็กๆ ก็สามารถสร้างผลงานวิจัยที่เป็นระบบได้ จนสามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเชิงระบบที่สำคัญเชิงนโยบายได้ด้วย

#Noteความคิด

19-02-62

รีวิว

[1] https://www.gotoknow.org/posts...
[2] https://www.gotoknow.org/posts...

[3] https://www.gotoknow.org/posts...

บันทึกที่มีคำสำคัญ Meta R2R https://www.gotoknow.org/posts...

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#meta r2r
หมายเลขบันทึก: 660005เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2019 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2019 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท