ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

หอยในระบบเกษตรประณีต & กับความเชื่อในการเดินทาง


หอยเป็นสัตว์สะเทือนน้ำ สะเทือนบก เป็นอาหารชั้นเยี่ยมของพี่น้องคนอีสาน และคนลาว แต่หอยก็ถูกกีดกันการเดินทางโดยรถยนต์โดยสาร เพราะเป็นความเชื่อ

เรื่องเล่าสบาย สบาย เช้านี้ที่กรุงเทพมหานครอากาศสบายๆ และมีเพื่อนโทรมาจากจังหวัดยโสธรสอบถามว่ากินข้าวเช้าหรือยัง ถ้ายังไม่กินให้มากินอ่อมหอยด้วยกันนะเพราะวันนี้มีเมนูเด็ดแกงอ่อมหอยขม (อีสานเรียกหอยจูบ)  อร่อยมาก ซึ่งผมก็ได้แต่กลืนน้ำลายอร่อยกับเพื่อน

หอยขมกับเกษตรประณีต  ช่างบังเอิญเหลือเกินครับพอพูดถึงเรื่องหอยก็นึกขึ้นมาได้ทันทีครับว่าหอยเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาเลี้ยงในระบบเกษตรประณีตได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากหอยจัดเป็นสัตว์///สะเทือนน้ำสะเทือนบก/// (ผิดครับ) ขอแก้ เป็น สะเทินน้ำ สะเทินบก เพราะอยู่ในน้ำก็ได้ อยู่ในดินที่ไม่มีน้ำก็ได้ (เข้าไง) เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารพวก Planktons  ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร จึงทำให้ต้นทุนค่าอาหารต่ำ มีทั้งที่ออกลูกเป็นไข่ และเป็นตัว  แต่หอยขมจะออกลูกเป็นตัวนะครับ ครั้งๆหนึ่งๆ ก็ราวๆ 20 – 30 ตัว ขึ้นกับความสมบูรณ์พันธุ์ ซึ่งเดิมทีเดียวหอยจะเป็นอาหารโปรตีนชั้นเยี่ยมที่มีราคาถูก ของพี่น้องชาวอีสานมาอย่างยาวนาน แต่ทุกวันนี้กลับตรงกันข้ามแล้วครับเพราะหอยเริ่มหากินยากขึ้นและมีราคาแพง ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งที่พี่น้องที่ทำการเกษตรแบบประณีตเราจะเอามาเลี้ยงเพื่อกินและขายต่อไป หากสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่พ่อขาน บ้านสว่าง ต.สำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร เพราะเราทำการศึกษาร่วมกันมาเมื่อปีที่แล้ว

หอยกับความเชื่อในการเดินทาง  แปลกแต่จริงครับ พอพูดเรื่องหอยชักมันส์  เราบอกว่าหอยเป็นอาหารของคนอีสาน และพี่น้องคนลาว แต่ก็มีเรื่องเล่าอีกเช่นกันครับ คือว่า เมื่อวานผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) กับเพื่อนนักศึกษาด้วย ซึ่งเพื่อนผมเป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว แต่มาเรียนต่อที่เมืองไทย และเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเพื่อนผมก็เล่าแบบ Dialoged  มาก และผมก็ได้นั่งฟังอย่างตั้งใจ (Deep listening) เช่นกัน อีกทั้งนั่งกินข้าวไปด้วยซึ่งเพื่อนก็ได้เล่าหลากหลายเรื่องมากแต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าน่าที่จะได้มาเล่าสู่กันฟัง ในบรรยากาศแบบหอยๆ เผื่อพี่น้องชาว GotoKnow  จะได้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ (ลาว) อย่างสบายใจ เพื่อนผมเล่าให้ฟังว่าในการเดินทางโดยเรือ และรถยนต์ในประเทศลาวนั้นเขาห้ามผู้โดยสารเอา หอย และเต่า ขึ้นรถโดยสารไปด้วย เนื่องจากเขามีความเชื่อ (Believe) ว่ามันไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล (เป็นกาลิกิณี) ซึ่งผมก็พยายามถามเหตุผลว่าทำไมถึงเชื่อเช่นนั้น เพราะทั้งสองก็เป็นอาหารชั้นเยี่ยมเลยไม่ใช่หรือ ก็ได้คำตอบว่า น่าจะเป็นการเปรียบเปรยว่าถ้าหากเอาหอย และเต่าไปด้วย จะทำให้การเดินทางถึงจุดหมายปลายทางได้ล่าช้าเหมือนกับพฤติกรรมการเดินของหอย และเต่า นั่นเอง ดังนั้นหากไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่นะครับ (เพราะเป็นความจริง)

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

8 ธันวาคม  2549

หมายเลขบันทึก: 65904เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แต่เต่า...เขาเดินอย่างระมัดระวังนะคะ...

เขาน่าจะเป็นตัวแทนของความสุขุมนะคะ...

ว่ามั๊ยคะ...คุณอู๋....

(^____^)

กะปุ๋ม

ตามมาอ่านค่ะ...เขาว่าคุณอุทัยเชี่ยวชาญ ด้านเห็ดกับหอย...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับทั้ง ดร.กะปุ๋ม และคุณพี่เมตตา

ในประเด็นแรกของ ดร.กะปุ๋ม ผมก็เห็นด้วยครับ แต่คิดว่าเป็นความเชื่อที่เขาว่ากันมาแต่โบราณน้อ

ประเด็นที่สอง คงไม่ถึงกะนั้นหรอกครับพี่เมตตา แต่ก็พอเล่าสู่กันฟังได้ครับ

ขอบคุณ และขอเป็นแรงใจนะครับ

 

จริงๆแล้วผมไม่อยากแซว

 แต่อดไม่ได้จริงๆ

บิดเรื่องเต็มที่แล้วได้เท่านี้หรือเปล่า

ที่จริงแล้วเกษตรประณีตมีพื้นที่น้ำด้วยอยู่แล้ว

แต่ประเด็นที่พยายามบิดเข้าหา ยังไม่เข้าประเด็น มีชัดกว่านี้อีกตั้งหลายกรณี

อาจารย์อุทัยค่ะ  ถ้ามีหอยบ่งบอกถึงความยั่งยืนและความสมบูรณ์ค่ะ  ถ้าแปลงเกษตรประณีตมีน้ำท่าอุดมสมบรณ์ เกษตรกรสามารถเลี้ยงหอยได้หลายชนิด เช่น หอยขม หอยปัง หอยกาบ( ยกเว้นหอยเชอรี่ที่สังคมรังเกียจมากหน่อย)  ถ้ามีหอยเหล่านี้รับรองการพึ่งตนเองในเรื่องอาหารจากหอยจะให้ประโยชน์ทั้งแก่คนและสัตว์แน่นอนค่ะ

มาอีกรอบคะ...

แวะมาดู Advisor คุยกับ Advisee คะ...

....

(^____________^)

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท