ชีวิตที่พอเพียง 3331. ความหมายของอัตราว่างงานต่ำในโลกยุคใหม่



ในโลกยุคใหม่นี้ ความหมายของสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนความหมายในสมัยก่อนหน้านี้    นี่คือสาระจากบทความเรื่อง Full Employment? The Economy Isn’t Acting Like It โดย Geoff Colvin ในนิตยสาร Fortune ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑  

คำว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป ในหลากหลายเรื่อง เพราะบริบทมันเปลี่ยนไป     

จากสถิติระยะยาว ในเชิงประวัติศาสตร์เมื่อไรก็ตามที่อัตราว่างงานต่ำมาก    จะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และภาวะเงินเฟ้อ    ดังนั้น สภาพที่อัตราว่างงานของสหรัฐอเมริกาลดลงไปต่ำสุดในรอบ ๖๐ ปี    คือเหลือเพียงร้อยละ ๓.๗    เขาก็ระวังตัวทันที ว่าเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจตกต่ำจะตามมาหรือไม่   

คำตอบคือ “ไม่น่าจะเกิด”   เพราะในยุคนี้โครงสร้างแรงงานได้เปลี่ยนไปแล้ว     และตัวเลข ๓.๗ ก็เป็นตัวเลขที่หยาบมาก    มี “ความจริง” ที่ซ่อนอยู่มากมาย   

“ความจริง” อย่างหนึ่งที่ใหม่สำหรับผมคือ prime working age    หรือช่วงชีวิตที่ทำงานเก่งที่สุด   เขาบอกว่าคืออายุช่วง ๒๕ – ๕๔ ปี    หากเชื่อตามนี้ ช่วงชีวิตของคนเราช่วงที่ทำงานเก่งสั้นมากนะครับ แค่ ๒๙ ปี    แต่ผมเถียงครับ    เถียงจากประสบการณ์ส่วนตัว (n = 1) ว่าผมทำงานเก่งที่สุดในช่วงอายุ ๓๐ – ๖๕ ปี เป็นเวลา ๓๕ ปี   ซึ่งผมผ่านช่วงนั้นมานานมากแล้ว   

เขาบอกว่า ตัวเลขสำคัญคือ อัตราการทำงานของคนในช่วงทำงานเก่งที่สุด    ซึ่งในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2000 เท่ากับร้อยละ ๘๒   ขณะนี้ร้อยละ ๗๙.๓          

วิจารณ์ พานิช

๒๔ พ.ย. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 658862เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2018 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2018 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท