TMI2006-เวชสารสนเทศ (2) ภาพรวม-ทำไมมันยาวกว่าเมื่อวาน


วันที่สองครับ ผมเริ่มจับจิกซอร์ต่อทีละตัวจนเริ่มมองเห็นภาพรวมแล้ว

วันก่อนมาดูบันทึกตัวเองรู้สึกว่าบันทึกย้าวยาว จะมีคนอ่านไม๊นี่ แต่มองดูอีกทีก็คิดว่าดีแล้วครับที่รวมทีเดียวไม่ต้องทำลิงค์ให้เหนื่อย อิอิ ใครเข้ามาอ่านก็เหนื่อยหน่อยนะครับ วันนี้วันที่ผมเริ่มจับจิกซอร์ต่อทีละตัวจนเริ่มมองเห็นภาพรวมแล้ว

เป็นเพราะหลักสูตรเรียนรู้วันนี้มาจากหลายหน่วยมาก แต่ผมฟังแล้วมันมีบางอย่างที่ร่วมกันอยู่ นั่นคือเป้าหมายสุดท้ายของแต่ละโครงการนั่นเอง

พอแต่ละอันแย้มเปิดออกมาทีละนิด ทีละนิด ผมเองก็ตื่นเต้นที่ได้เห็นเป้าหมาย (กรุณาอย่าคิดลึกนะครับ)
 

ยกตัวอย่างนะครับ
คนแรกที่เปิดให้ผมเห็น คือ
นพ.ทวีทอง กออนันตกูล จากรพ.ทรวงอกและท่านทำให้ผมรู้ว่าท่านเองเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มทำ HOMEC มาให้พวกผมได้ใช้ แถมเป็น Open source software (คือทำให้ฟรี+ให้โค้ดข้อมูลอีกต่างหาก) ส่วนที่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกวันนี้คือ ค่าดูแลรักษาจากบริษัทที่เราจ้างมา (จริงดิ) 

ท่านเองก็รับตำแหน่งหลายอย่างควบด้วย อย่างหนึ่งคือ เกี่ยวกับการดูแล+สนับสนุน Open source software ที่เกิดใหม่นี้เอง ด้วยท่านมองว่า คนทำโปรแกรมรพ. มีการเอาเปรียบภาครัฐมากพอควร กล่าวคือ ชาร์จค่าโน่น ค่านี่บานตะไท แถมพอให้ไปลงที่ใหม่เพิ่มก็ชาร์จเท่าเดิมอีก (ทั้งๆ ที่ไม่ได้แก้ไขอะไรเลย มาลงอย่างเดียว) แทนที่จะมีลดอะไรมั่ง 

ท่านจึงได้หาทางโดย พยายามรวมเหล่านักคิดพัฒนาซอฟแวต์จากในวงการเดียวกันมาช่วยกันและสนับสนุนพวกเขาให้สร้างขึ้นมาเองและแจกจ่ายให้ทุกที่ๆ มีความต้องการเดียวกันได้ใช้ 

ผมฟังแล้วขนลุกเลยครับที่มีเหล่าพวกท่านอยู่ ที่เจียดเวลาว่างมาทำงานเพื่อส่วนรวมจากงานประจำที่เหนื่อยอยู่แล้ว แถมทำให้ฟรีๆ อีก.... 

ที่ผมพูดบันทึกที่แล้ว กล่าวถึงพี่ชัยพรที่เป็นผู้พัฒนา HOSXP ขึ้นมา วันนี้ผมได้คุยกับพี่อู๋ เขาบอกว่าถ้าเอาไปขายนั่นเอาไปขายได้เป็นล้าน/รพ.เลยนะนั่น...ผมอึ้งไปนิดนึงครับ คนที่สามารถทำเงินได้ขนาดนั้น เขามาทำให้ 100 กว่ารพ. แต่เขากลับทำโดยไม่ได้หวังค่าอะไรเลย เขาทำไปเพื่ออะไร เขายอมเหนื่อยเช่นนี้เพราะอะไรยิ่งช่วงแรกๆ ได้ข่าวว่าพี่เขาวิ่งจากงานประจำมาลงโปรแกรมให้ที่ต่างจังหวัด โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอะไร ผมตอนนั้นคิดในใจว่าเรื่องจริงหรือ

เอ่อ..เดี๋ยวจะไปไกลครับ 

พูดถึงเรื่องมุมมองอยู่นะครับท่านอาจารย์มองงี้ครับ การให้คนในวงการหันมาใช้โปรแกรมพวกนี้เพราะเพื่อจัดการให้ทุกหน่วยได้ทำงานได้ง่ายขึ้น และถ้าคนในวงการมาทำเองแล้วด้วยมันก็จะง่ายไปอีก คือ สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ซ่อมแซมบำรุงเองได้ โยไม่ต้องไปง้อต่างประเทศหรือเอกชน เข้าหลักเศรษฐกิจพอเพียงเลยครับ 

แพทย์ทำ

แพทย์ใช้

แพทย์ซ่อม/ปรับปรุง

เงินไม่ไหลออกนอกระบบ 
(จริงๆ ไม่มีเงินจะให้ไหลเท่าไหร่ด้วย)

ซึ่งในงานเช้านี้มีอาจารย์มาพูดถึงโครงการตนเอง 7 คน ด้วยกัน แต่ละท่านมีไอเดียที่ทำลงมือแล้ว ได้ผลแล้ว ซึ่งย่าทึ่งทั้งนั้นครับไม่ว่าจะเป็น

  • · ซอฟแวต์ช่วยอ่านเอกสาร ซึ่งคาดว่าจะนำไปใช้ตรวจสอบข้อมูลแทนคนอัตโนมัติ ซึ่งต่อยอดไปใช้ได้หลายอย่าง หลายวงการ โดยเฉพาะพวกครูคงไม่กังวลเดี่ยวกับ A-net อีกแล้วใช่มะครับ
  • · เครื่องวัด EKG ส่งข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งมีโอกาสพัฒนาอีกมากไม่ว่าจะส่งจากรถฉุกเฉิน ผ่านมือถือ ผ่าน PDA ผ่าน Notebook โดยตอนนี้มีแววจะพัฒนาให้เล็กลง กินไฟน้อยลง น่าทึ่งมากครับ จากท่านหนึ่งในงานทราบว่าเครื่องนี้หากซื้อหลักแสนแน่ครับ แต่เมดอินวงการเราต้นทุน 8,000 บาทครับ (รวมเมมโมรี่เซฟผลด้วยไม่งั้นก็ราว 4,000 บาท ครับ)
  • · โปรแกรมสลับจอโปรเจคเตอร์ เพื่อลดปัญหาเสียบแจ็คต่อเข้าๆ ออกๆ เครื่องจากวิทยากร
  • · อิ่นๆ อีกมากครับเดี๋ยวจะยาวเกินลิมิต 

จบช่วงเช้าแล้วครับ พักสายตานิดนะคร้าบ......  

ช่วงบ่ายเริ่มจากโปรแกรมต่ออีกแล้วครับเริ่มด้วย

KPbook เอกสารไร้พรมแดน+paperless

เป็นโปรแกรมส่งจดหมายอิเล็คโทรนิคในหน่วยงานครับวิทยากรมี 2 ท่านแหนะครับ
ท่านหนึ่งเป็นสสจ.ขอนแก่น อธิบายผลดีจากการใช้โปรแกรมดังกล่าว ผลลัพธ์คือ ลดการซีร็อกเอกสาร+ใช้กระดาษลงมาก
อีกท่านที่มาให้อีกมุมคือ ท่านมาจากรพ.ชุมชนที่รับเรื่องจากส่วนกลาง พบว่าการที่ส่วนกลางลดงานพิมพ์ลงแต่กลายมาเป็นปลายทางพิมพ์แทน ท่านเลยหาทางแก้อยู่ครับเพราะกลายเป็นให้ข้างล่างแบกภาระไป...(เอ..รู้สึกเข้าตัว แฮะ)

ท่านก็หาวิธีแก้อยู่ครับ แต่ไม่ได้มีข้อไม่ดีอย่างเดียวนะครับการรับส่งแบบนี้จะทำให้การจัดเอกสารทำได้ง่าย ลดพื้นที่ๆ ใช้เก็บ เวลาหาก็สะดวกด้วยครับฟังแล้วได้ไอเดียหลายอย่างครับ เกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสาร 

ต่อมา นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ มาพูดเรื่อง
โปรแกรมระบบงานหน่วยบริการปฐมภูมิ (
e-care-1) ที่ทำให้ท่านได้รางวัลมาแล้ว
คือ การนำ PDA มาบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทั้งในและนอกสถานีอนามัยทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานสะดวกไม่ต้องรื้อ+แบกแฟ้มบันทึกไปไหนมาไหนเอาไปบันทึกด้วย
นอกจากนี้ท่านยังทำให้มีการส่งข้อมูลไปยังส่วนกลางเพื่อไปอัพเดตข้อมูลและที่ส่วนกลางนี่เองที่เป็นฝ่ายดูแลข้อมูลแทน+ทำให้มีการใช้ข้อมูลได้ทั่วทุกฝ่ายผ่านทางเว็บดังนี้ครับ
 

เช้า-สถานบริการอัพเดตข้อมูลจากส่วนกลาง ลงข้อมูลคนไข้ที่มารักษา
บ่าย-เจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมชุมชน บันทึกอาการ/การดูแล+อื่นๆ เช่น ที่อยู่(ถ่ายรูปบ้านด้วย)
เย็น-เจ้าหน้าที่เอาข้อมูลลงคอมพิวเตอร์และส่งต่อที่ส่วนกลาง 

ท่านทำให้ผมมองเห็นว่านี่แหละคือ สิ่งที่พวกท่านอาจารย์ทั้งหลายพยายามทำมา เพราะท่านทำสำเร็จมาแล้วขั้นหนึ่ง ขั้นต่อไปคือ การแชร์ข้อมูลการรักษาจากรพ.มาร่วมด้วย และรวมทั้งจากสสจ. มารวมไว้ด้วยกันเป็นฐานข้อมูลการแพทย์ขนาดใหญ่ที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปดึงมาใช้ได้ โดยท่านพัฒนาเป็น
e-care-2 สำหรับ รพ.
e-care-3 สำหรับ สสจ. 
ท่านยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ที่น่าทึ่งครับ เช่น
ถ้าเราระบุพิกัดที่อยู่ครบเราก็จะสามารถจิกตามได้ครับว่า คนไข้ป่วยโรคระบาดอยู่จุดไหน ถ้าแถบไหนมากอาจต้องจัดหน่วยแพทย์ลงไปดู, หรือถ้าใครมีหมู่เลือดหายากอาจเข้าไปขอความร่วมมือบริจาคเลือดได้เลยแทนที่ต้องไปป่าวประกาศโท่งๆ ขอบริจาค
 

แฮ่กๆ พักยกดูดนมก่อนครับ (ไม่น่าเชื่อ 3 หน้ากระดาษแล้ว)  

ต่อมาคุณนภดล มาแนะนำการใช้ PHP มาทำประโยชน์ในการวิจัยโดยทำให้สามารถคำนวณสูตรต่างๆ ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ SPSS แต่ท่านบรรยายด้วยเวลาอันรวดเร็วมากจนผมตามไม่ทันเลยได้แค่นี้ครับ (5นาทีจบเป็นได้ไงเนี่ย)  

ช่วงท้ายครับ บ่ายสามโมง เรื่องสุดท้าย
การพัฒนา Electronic Medical Records ในโรงพยาบาล
โดย พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ จากรพ.บำรุงราษฎร์

เนื่องจากผมเริ่มเหนื่อยแย้ว ขอสรุปสั้นๆ นะครับท่านบรรยายถึงความเป็นสากลของการลงรหัสโรคและยาและอื่นๆ ครับว่ามันยังตกลงพัฒนาต่อยอดกันอยู่รวมทั้งความยากลำบากในการแปลงข้อมูลทุกอย่างมาเป็นดิจิตอล ว่ายากเย็นแสนเข็ญยังไง กว่าจะได้แบบทุกวันนี้สุดท้ายท่านโชว์โปรแกรมที่จะใช้ในอนาคตครับว่ามันยอดเยี่ยมกระเทียมดองแค่ไหน เป็นระบบให้แพทย์ติ้กครับว่าตรวจอะไรบ้าง ได้ผลยังไง
แพทย์ไม่ต้องคีย์เลยครับแค่ติ้กๆๆๆๆ เสร็จ
ตรวจหมดติ้กต่อว่าตรวจแล็บหรือสั่งยาต่อ (มันจะยอดไปแล้วนะ)เป็นการเข้าดูด้วยความอิจฉาตาร้อนจริงๆ ครับ ที่ได้เห็นรพ.ที่มีไอทีเพียบพร้อม
แต่ท่านสอนผมอย่างหนึ่งครับ
การสอนคน(ผู้ใช้) นั้นยากเย็น โดยเฉพาะแพทย์นี่แหละ ท่านบอกหลักให้ดังนี้ครับ

· ผู้นำต้องชัดเจน ชี้ขาด ไม่หวั่นไหว
· Comunication ให้เข้าใจว่าทำไมเราทำอย่างนี้
· Training โดยคนสอนต้องเตรียมพร้อมที่จะสอนตลอดเวลา 24 ชม. 365 วัน... (ท่านว่าถ้าไม่ทำยังงี้เดี๋ยวแพทย์จะอ้างว่าไม่มีคนสอน)
· Comunication ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนจำได้ 


 สุดท้ายนี้ ผมขอสรุปตัวเองจากที่ได้วันนี้ครับ

ทุกอย่างในการทำงานเรากำลังทยอยกลายเป็นข้อมูลดิจิตอล เพราะมีข้อดีดังนี้ครับ

· การจัดเก็บค้นหาสะดวก
· ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล(งาน)
· การส่งต่อเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่าย
· ข้อมูลครบถ้วน อัพเดตใหม่เสมอ
· ทำให้ทุกหน่วยทำงานได้เร็วขึ้น+มีประสิทธิภาพมากขึ้น
· คนทำงานมีเวลาไปพัฒนางานของตน+ค้นข้อมูลทำวิจัยได้ง่ายขึ้น ข้อเสียไม่ใช่ว่าไม่มีครับเพียงแต่ประโยชน์มันมากกว่ามากลองนึกภาพเล่นๆ นะครับ

คุณหมอถามพยาบาล
-ขอดูข้อมูลคนไข้ปอดบวมปีนี้หน่อย
...3 นาทีผ่านไปได้คำตอบ
-ขอดูหน่อยสิว่าเคสไหนตายบ้างในปีนี้
....5 นาทีผ่านไปจากการเปิดดูแฟ้มตะกี้ทุกอัน
-ช่วยดูหน่อยสิว่าคนไข้ที่ตายอยู่ที่ไหนบ้าง ที่ไหนพบบ่อยสุด
.......10 นาทีผ่านไป จากการนั่งจดข้อมูลทีอยู่ทุกคนมาให้ดู+นั่งนับให้
ซึ่งหมอคงจะไม่อยากถามต่ออีก ถ้าเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ 

แล้วถ้าระบบดังกล่าวจะช่วยคุณได้ โดยคุณเพียงเปิดเน็ตแล้วคลิ้กหาเหมือนหาจาก google ตั้งค่าที่ต้องการหา ปอดบวม”,”ที่อยู่,ช่วงวันที่ค้นเรียงลำดับจากชื่อ จำนวน ตามใจชอบ แล้วเซพงานหรือจะพิมพ์ออกมาก็ได้ในเวลาไม่ถึงนาที ถ้าเป็นคุณจะเลือกวิธีไหนครับ 

ทั้งนี้ระบบนี้เหมือนง่ายแต่ไม่ง่ายเลยต้องมีการเชื่อมข้อมูลทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งตอนนี้มีระบบแปลงข้อมูลให้เข้ากันได้อยู่ที่ส่วนกลางแต่ที่ยากที่สุด คือ คนครับ
ทุกวันนี้ซอฟแวต์ เทคโนโลยีไปไกลแล้ว แต่คนละครับก้าวตามทันหรือยัง ตามไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานตนเอง รวมทั้งต่อยอด+แก้ปัญหาได้คนใช้ที่บันทึกข้อมูลต้องใส่ข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลจึงจะน่าเชื่อถือและนำไปใช้ได้จริง 

แล้วระบบในฝัน (ที่เคยเห็นในหนัง) จะเป็นจริงขึ้นมาได้ซะที 

ปล.ผมยังมองภาพของหน่วยงานตัวเองไม่ออกครับว่าจะเอามาโยงยังไง ต้องตั้งสตินึกดีๆ 

บันทึกนี้ยาวกว่าเมื่อวานอีกครับ 1 ชั่วโมงครึ่งกับความยาว 4 หน้าเต็ม...บรื๋อ 

หมายเลขบันทึก: 65804เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เป้าอะไรครับ ฟังไม่ถนัด
  • แวะมาขอบคุณครับ
  • อ่า มาเร็วจังครับ กำลังแก้ย่อหน้าอยู่ครับ ยาวสะใจข้าน้อยมาก เอิ้กๆ
  • ขอบคุณท่านลุงที่มาเยี่ยมแวะ
  • คารวะท่านด้วยชาอูหลงหนึ่งจอก (ถ่าอ่านจบได้ขอคาวะท่านหนึ่งไห อิอิ)
  • ขอเป็นกาแฟไม่ได้หรือครับ
  • หิวอีกแล้ว
ได้ครับ แต่คุณลุงอย่าใส่ครีมเทียมนะ หุๆ
  • ตามมาเป็นกำลังใจครับ
  • ตกลงผมได้ หนึ่งไห ครับ
อาจารย์ธวัชชัยก็ไปร่วมงานนี้ด้วยนะค่ะ ได้เจอกันอ่ะเปล่าค่ะ

มาให้กำลังใจอีกคนค่ะ เห็นด้วยค่ะว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จอยู่ที่ คน จริงๆ

พี่ไมโต

  • ขอบคุณที่ตามอ่านจบขอรับ
  • เอาไปเลยหนึ่งไห (ค้างมาหนึ่งวันแล้ว)

อ.จันทวรรณ

แหะๆ ไม่เจอขอนับแต่ได้เห็นอ.แวบๆ พอดีต้องไปเข้าห้องอีกห้องครับเรื่อง opensource พลาดมา 2 รอบแล้วผม ฮือๆ

พี่ปิ่ง

  •  เห็นด้วยกับพี่ปิ่งครับ
  • วันนี้ผมคิดได้อย่างครับว่า "คน" นี่จะผลักให้เขาก้าวไปกับเรานี่ท่าทางยากเหมือนกันนะครับ

 

  • เข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจค่ะ
  • P'mom ไปประชุมเรื่องตัวชี้วัดและ PMQA ของปี 2550 มา จะพูดถึงเรื่องข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญประกอบการทำงานมากขึ้นทุกทีๆ เลย
  • ติดตามอ่านบันทึกของน้อง "จันทร์เมามาย" มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับไอทีของเรา และกำลังพัฒนาระบบงานห้องบัตรอยู่ด้วย เห็นใจคนทำงานจริงๆ ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท