กายภาพบำบัดกับ EBP ตอนที่ 2 ความสนใจและความรู้


นักกายภาพบำบัดรุ่นใหม่ๆที่อายุน้อย หรือถือใบอนุญาตน้อยกว่า 10 ปี ตอบว่าได้รับการฝึกฝนความรู้และทักษะด้าน EBP มาจากตอนเรียนปริญญาตรี ซึ่งน่าจะแสดงว่าระยะหลังนี้มีการสอนเรื่องการใช้ EBP ในการปฏิบัติในหลักสูตรกายภาพบำบัด

ตอนที่ 2 ความสนใจและความรู้

ภูมิหลังการศึกษาเกี่ยวกับ EBP

        มีคำถาม 6 ข้อที่ถามเกี่ยวกับภูมิหลังการศึกษาความรู้และทักษะที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงกับการแปลผลข้อมูลจากงานวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตอบว่าตนเองมีประสบการณ์หรือรับการศึกษาเกี่ยวกับ EBP มาแล้ว โดยมากกว่าร้อยละ 90 มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองที่จะหางานวิจัยเพื่อตอบคำถามทางคลินิกของตนเอง มากกว่าร้อยละ 80 รายงานว่าตนเองเคยเรียนรู้พื้นฐานของ EBP ในช่วงที่เรียนหลักสูตรกายภาพบำบัด ได้รับการฝึกอย่างเป็นทางการในวิธีการค้นหาสำหรับหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และมั่นใจในความสามารถของฉันที่จะทบทวนวรรณกรรมทางวิชาชีพแบบเชิงวิพากษ์ได้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากว่าร้อยละ 75 รายงานว่า ได้รับการฝึกอย่างเป็นทางการในการประเมินเชิงวิพากษ์ของวรรณกรรมงานวิจัยในช่วงที่เรียนหลักสูตรกายภาพบำบัด และคุ้นเคยกับเครื่องมือค้นหา (search engine) ด้านการแพทย์ (เช่น MEDLINE, CINAHL)

        เมื่อวิเคราะห์ต่อก็พบว่า อายุหรือเวลาที่ถือใบอนุญาต (ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กัน) มีผลต่อภูมิหลังการศึกษา โดยนักกายภาพบำบัดรุ่นใหม่ๆที่อายุน้อย หรือถือใบอนุญาตน้อยกว่า 10 ปี ตอบว่าได้รับการฝึกฝนความรู้และทักษะด้าน EBP มาจากตอนเรียนปริญญาตรี ซึ่งน่าจะแสดงว่าระยะหลังนี้มีการสอนเรื่องการใช้ EBP ในการปฏิบัติในหลักสูตรกายภาพบำบัด ทำให้นักกายภาพบำบัดจบใหม่ตอบว่ามีความรู้และได้รับการฝึกมามากกว่ารุ่นเก่าๆ นอกจากนั้น คนที่เคยเรียนหลังปริญญาก็มีแนวโน้มมากกว่าที่จะตอบว่าเคยฝึกการค้นหางานวิจัย คุ้นเคยกับเครื่องมือที่ใช้ค้นหางานวิจัยทางการแพทย์ เคยฝึกการวิพากษ์และประเมินงานวิจัย และมีความมั่นใจในความสามารถของตนที่จะค้นหาและวิพากษ์งานวิจัยเพื่อตอบคำถามทางคลินิก

         

เมื่อเราถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ EBP จำนวน 10 คำ เพื่อตรวจสอบความรู้เกี่ยวกับ EBP เบื้องต้น โดยให้ผู้ตอบประเมินว่าตัวเอง เข้าใจทั้งหมด เข้าใจบ้าง หรือไม่เข้าใจเลย ได้ผลว่า คำที่มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจมากที่สุด คือ “systematic review” (43.9%) รองลงมาคือ “publication bias” (32.9%)   และ“meta-analysis” (30.7%)  “confidence interval”(23.1%)    “odds ratio” (17.9%)   “relative risk” (24.1%) “absolute risk” (26.4%)  “Heterogeniety”(14.2%) ผู้ตอบแบบสอบถามที่อายุน้อย เรียนหลังปริญญา และจำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์น้อยกว่า มีแนวโน้มจะตอบว่าตนเข้าใจศัพท์เหล่านี้มากกว่า

การเข้าถึงข้อมูลที่ส่งเสริมการใช้  EBP

        มีคำถาม 5 ข้อที่ถามถึงการเข้าถึงข้อมูล  ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 80  รู้ว่ามีและสามารถเข้าถึงแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ทางออนไลน์ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและอินเตอร์เนตในที่ทำงาน บ้านหรือที่อื่นที่ไม่ใช่ที่ทำงาน แต่มีเพียงร้อยละ 21เข้าถึงงานวิจัยที่ทันสมัยได้จากวารสารทางวิชาชีพที่มีอยู่เป็นรูปเล่มได้

        ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่อายุมากกว่า ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์มากกว่า และมีนักกายภาพบำบัดในที่ทำงานน้อยกว่า มีแนวโน้มจะตระหนักว่ามีและสามารถเข้าถึงแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ทางออนไลน์ คนที่ไม่ได้เป็น CI มีผู้ป่วยต่อวันน้อยกว่า และทำงานในเขตเมือง มีแนวโน้มมากกว่าที่จะตอบว่าสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและอินเตอร์เนตในที่ทำงาน


ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของการใช้ EBP จริงๆในคลินิกของนักกายภาพบำบัดไทย และอุปสรรคของการใช้ อ่านได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts...

หรืออ่านตอนที่ 1 ความเชื่อความเห็น ที่ https://www.gotoknow.org/posts...

หมายเลขบันทึก: 657790เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2018 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2018 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท