รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๑ (๓) ทฤษฎีภาวะผู้นำ


การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ของรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ  เน้น Learning Outcome แบบรู้จำ เกี่ยวกับ “ผู้นำ” และ “ภาวะผู้นำ” บรรยายโดย ผศ.ดร.ธรินธร นามวรรณ และ ผศ.ดร.กานจน์ เรืองมนตรี ซึ่งสอนโดยให้ท่านทั้งสองสลับกันบรรยายประมาณ ๑ ช.ม. ก่อนที่ ผมและ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ วรฉัตร จะช่วยกันอำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active Learning) ก่อนจะสรุปเลิกคลาส

บันทึกนี้ขอนำเอา “ทฤษฎีภาวะผู้นำ” ที่นิสิตที่เรียนวิชานี้ควรรู้จำเพื่อจะได้รู้จักและนำไปใช้ได้ในการทำโครงการด้วยกันต่อไป



  • ภาวะผู้นำที่ท่านบรรยายในการเรียนการสอนวันนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ได้
    • เรียนรู้จากทฤษฎี 
    • เรียนรู้จากผู้ใช้ทฤษฎี หรือเจ้าของทฤษฎี โดยวิเคราะห์ชีวประวัติหรือผลงาน 
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลป.ร.ร.) และนำเสนออภิปรายกัน 




  • ท่านเสนอสมการของภาวะผู้นำคือ   Leadership = Leader + Leading คือ ภาวะผู้นำ = ตัวผู้นำ + อาการนำ 
    • ภาวะผู้นำ คือ พฤติกรรมการนำของ "ตัวผู้นำ"   
    • ผู้นำคือ ตัวตน ตัวตนของคนที่เป็นผู้นำ  "ผู้" คือประธานของการกระทำ
    • หากมีเฉพาะ "ตัวผู้นำ" แต่ไม่ได้แสดงอาการแห่งการนำ หรือพฤติกรรมการนำ ก็ถือว่า ไม่มีภาวะผู้นำในขณะนั้น 
    • หากมีแต่ "อาการนำ" มีแต่ "พฤติกรรมการนำ" แต่ไม่รู้ว่า ใครคือ "ผู้นำ" ก็ไม่รู้ว่านั่นเป็นภาวะผู้นำ
    • ดังนั้น การศึกษาต่อไปนี้จึงเป็นการศึกษาคำสองคำคือ "ผู้นำ" และ "่อาการนำ" นั่นเอง  



  • โดยจะเริ่มตั้งแต่ ความหมายของผู้นำ เป็นเบื้องต้น 
  • ทฤษฎีภาวะผู้นำต่างๆ ได้แก่
    • ผู้นำตามวิวัฒนาการ
    • ผู้นำตามสถานการณ์
      • ผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler Countingency Theory)
      • ผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และบลานชาร์ด (Hersey & Blanchard 's Situational Theory)
    • ผู้นำไปสู่เป้าหมายของ House & Mitchell (Path- Goal Theory)
    • ผู้นำแบบมีส่วนร่วมของ Vroom and Jago  
  • การพัฒนาภาวะผู้นำ 
  • วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ 

๑) ผู้นำ


  • Leader คือ  ผู้นำหมู่คณะให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปรารถนาดี ด้วยความเต็มใจ มีศรัทธาความเชื่อถือ ซึ่งแตกต่างกับการบังคับบัญชา



  •  ความแตกต่างของผู้นำจากบุคคลทั่วไป ได้แก่
    • ผู้นำจะมีความพยายาม (Drive) ...  ตอนนี้กระแสเรื่องนี้คือ GRIT
    • ผู้นำจะมีความปรารถนาที่จะนำ (Desire to Lead) 
    • ผู้นำจะมีความซื่อสัตย์และมั่นคง (Honest and Integrity)
    • ผู้นำจะมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)
    • ผู้นำนั้นฉลาด (Intelligence) 
    • มีความรู้เกี่ยวกับงานนั้นๆ (Job-relevant knowledge)



  •  ผู้นำโดยทั่วไป อาจแบ่งได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่ 
    • ผู้นำแบบเผด็จการ 
    • ผู้นำแบบมีส่วนร่วม 
    • ผู้นำแบบประชาธิปไตย
    • ผู้นำแบบเสรีนิยม 



  • แสดงว่าผู้นำมีได้หลากหลายแบบ ตั้งแต่ผู้นำเป็นศูนย์กลางของทั้งหมด ยึดเอาความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ ไปถึงผู้นำแบบเสรีนิยม ที่ปล่อยให้สมาชิกของกลุ่มตัดสินใจทุกอย่าง 
ผมนึกถึงผู้นำ ๙ แบบ ที่ รศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร ที่เคยถอดบทเรียนตอนท่านมาบรรยายครั้งก่อนโน้น (อ่านได้ที่นี่)

๒) ภาวะผู้นำ


  • Griffin บอกว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อคนอื่น
  • Gibson และทีมบอกว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง ความพยายามที่จะใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจบุคคล เพื่อทำให้เกิดการบรรลุตามเป้าหมาย




  • Certo บอกว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการในการควบคุมคนอื่น เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 
  • Robbins บอกว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ผมเคยถอดบทเรียนเรื่อง ความหมายและลักษณะของภาวะผู้นำจากหนังสือของ รศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร ไว้ที่นี่  ... ที่น่าสนใจคือ  ชื่อของเจ้าของทฤษฎีต่างๆ ไม่ค่อยซ้ำกัน ... ยิ่งยืนยันว่า แล้วแต่ใครจะมองจะเขียนจริงๆ 

๓) ทฤษฎีภาวะผู้นำ

๓.๑) ทฤษฎีภาวะผู้นำตามวิวัฒนการ


  • แบ่งออกเป็น ๔ ทฤษฎี ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ ด้านพฤติกรรม ด้านสถานการณ์ และด้านบูรณาการ 
๓.๑.๑) ทฤษฎีเชิงคุณลักษณะ



  • คือเรียนรู้ผู้นำจากการ "ดู" ด้านคุณลักษณะ 
    • ดูคุณลักษณะทางร่างกาย เช่น อายุ รูปร่าง ส่วนสูง หรือน้ำหนัก ฯลฯ  เมื่อพิจารณาจากผู้นำต่างๆ ที่เคยมีมา จะพบว่า  ลักษณะเหล่านี้ไม่ใช่ตัวชี้วัดของผู้นำ
    • ดูภูมิหลังทางสังคม เช่น ครอบครัว การศึกษา สถานภาพทางสังคม หรือความคล่องตัว ... เหล่านี้ก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดผู้นำโดยเด็ดขาด
    • ดูสติปัญญา  ความสามารถ ดุลยพินิจ ความรู้ ความเด็ดขาด การพูดคล่องแคล่ว  ... ข้อนี้ต่างหากที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผู้นำ 




    • ดูบุคลิกภาพ เช่น ความกระตือรือร้น ความเป็นตัวของตัวเอง ความสนใจ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ 
    • ดูคุณลักษณะทางงาน เช่น การต้องการความสำเร็จ ความรับผิดชอบ การริเริ่ม ความเพียร ความใจกล้า การมุ่งงาน ฯลฯ
    • ดูคุณลักษณะทางสังคม เช่น ดูความนิยม ความดึงดู ความร่วมมือ ความมีเกียรติ ความมีไหวพริบ การชอบสังคม เป็นต้น 



  • วิธี "ดู" อาจดูได้ ๒ แบบ คือ 
    • ดูทั้ง ๖ ด้านนั้น เปรียบเทียบกันระหว่าง คนที่เป็นผู้นำ และ คนที่ไม่ได้เป็นผู้นำ 
    • ดูทั้ง ๖ ด้านนั้น เปรียบเทียบกันระหว่าง ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จ และผู้นำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ



  • แต่การดูด้วยทฤษฎีนี้ มีผู้แย้งว่า การ "ดู" คุณลัษณะนั้น ไม่สามารถหาคุณลักษณะที่ดีที่สุดที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับททุกสถานการณ์ได้ 
๓.๑.๒) ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม



  • ขอนำเสนอ ๓ กรณี ได้แก่ การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท (Ohio State Studies) ระบบการบริหารของไลเคิร์ท (Likert's system of Managment) และแบบจำลองกริดของการบริการ (Management grid model)  



  • การศึกษาของโอไฮโอสเตท มองไปที่ ๒ แบบ คือ 
    • แบบ "มุ่งคน" คือ เน้นความใกล้ชิดทางจิตใจระหว่างผู้นำผู้ตาม 
    • แบบ "มุ่งงาน" คือ เน้นกำกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างกระตือรือร้น เพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ
  • ทำให้สามารถแบ่งภาวะผู้นำออกเป็น ๔ แบบ  ได้แก่ 
    • มุ่งคนต่ำ มุ่งงานต่ำ .. บริหารแบบปล่อยตามสบาย
    • มุ่งคนต่ำ มุ่งงานสูง ... บริหารแบบมุ่งประสิทธิภาพงาน
    • มุ่งคนสูง มุ่งงานต่ำ ... บริหารแบบบันเทิงสโมสร 
    • มุ่งคนสูง มุ่งงานสูง ... 



  • แนวคิดนี้สามารถลงรายละเอียดในการวิเคราะห์โดยใช้กริด (Grid) ดังสไลด์ด้านบน โดยสื่อสานผ่านภาพหรือคู่อันดับ เช่น (1,9), (9,1) เป็นต้น 







  • (๕,๕) มุ่งงานปานกลาง มุ่งคนปานกลาง ... บริหารแบบทางสายกลาง ... ผมชอบอันนี้ 
  • (๙,๙) มุ่งงานสูงและมุ่งคนสูงด้วย  ... บริหารแบบทำงานเป็นทีม  
๓.๑.๒) ทฤษฎีการเป็นผู้นำตามสถานการณ์



  •  ดูที่ องค์ประกอบ ๓ ประการได้แก่
    • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก ... ดูว่า ดี หรือ ไม่ดี
    • โครงสร้างงาน ... ดูว่า ชัดเจน หรือไม่ ชัดเจน
    • อำนาจในตำแหน่ง ... ดูว่า มาก หรือ น้อย 



  • ความสัมพันธ์ดี โครงสร้างชัดเจน สถานการณ์เอื้ออำนวยมาก แม้จะมีอำนาจมากหรือน้อย  ผู้นำแบบมุ่งงาน จะส่งผลการดำเนินงานดีกว่า
  • ความสัมพันธ์ดีแต่โครงสร้างไม่ชัดเจน หรือความสัมพันธ์ไม่ดีแต่มีโครงสร้างงานชัดเจน ถือว่า สถานการณ์เอื้ออำนวยปานกลาง ผู้นำแบบมุ่งคนจะมีผลการดำเนินการดีกว่า 
  • ความสัมพันธ์ไม่ดี โครงสร้างงานไม่ชัดเจน  ถือว่า สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย  



  •  Hersey & Blanchard แบ่งภาวะผู้นำออกเป็น ๔ รูปแบบ คือ 
    • ผู้นำแบบสั่งงาน (Telling : S1)
    • ผู้นำแบบชักจูง (Selling : S2)
    • ผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participation : S3)
    • ผู้นำแบบมอบหมายงาน (Delegating : S4) 



  •  Hersey & Blanchard แบ่ง ผู้ตาม ออกเป็น ๔ กลุ่ม เช่นกันตามวุฒิภาวะ (Maturity) ซึ่งหมายถึงความสามารถ และความสมัครใจ (Willingness) ในการทำงาน ได้แก่
    • ไม่มีความสามารถ ไม่สมัครใจ (M1)
    • ไม่มีความสามารถ สมัครใจ (M2)
    • มีความสามารถ ไม่สมัครใจ (M3)
    • มีความสามารถ และสมัครใจ (M4) 



  • หากผู้ตามเป็น M1 ให้นำแบบ S1 โดดๆ เลย คือสั่งงานโดยไม่ต้องชักจูง
  • หากผู้ตามเป็น M2 ให้นำแบบ S1 และ S2  คือ สั่งงานและชักจูง
  • หากผู้ตามเป็น M3 ให้นำแบบ S4 โดดๆ เลย คือ มอบหมายงานโดยไม่ต้องให้มีส่วนร่วม
  • หากผู้ตามเป็น M4 ให้นำแบบ S3 และ S4  คือ ทั้งมอบหมายงานและให้มีส่วนร่วม



  • ผู้ตาม ความสามารถต่ำ ไม่สมัครใจ ต้องได้ผู้นำแบบ สั่งการ ควบคุม นิเทศ ตรวจตราอย่างใกล้ชิด
  • ผู้ตามความสามารถต่ำ สมัครใจ ต้องได้ผู้นำแบบ สั่งการ และจูงใจ คือ ทั้งออกคำสั่ง ควบคุม นิเทศพร้อมกับการให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก สนับสนุน คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ 
  • ผู้ตามความสามารถสูง ความใส่ใจงานต่ำ ต้องได้ผู้นำแบบมีส่วนร่วม คอยให้คำชม ให้กำลังใจ รับฟัง คอยช่วยสนับสนุน อำนวยความสะดวกและร่วมตัดสินใจ 
  • ผู้ตามความสามารถสูง ความใส่ใจงานสูง สามารถนำแบบมอบหมายงานได้ ให้เกียรติ ให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจ ในความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบ จึงกระจายงานให้ทำอย่างอิสระ และให้ตัดสินใจเองโดยไม่เข้าไปก้าวก่าย 



  •  ภาวะผู้นำแบบวิถีทางสู่เป้าหมาย จะต้องทำสิ่งต่อไปนี้
    • กำหนดเป้าหมาย
    • ทำวิถีทางให้ชัดเจน
    • เคลื่อนย้ายอุปสรรค
    • ให้การสนับสนุน



  •  เพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้ตาม



  •  ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย มีองค์ประกอบ ๔ ประการ ได้แก่
    • พฤติกรรมผู้นำ
    • คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตาม
    • คุณลักษณะของงาน
    • การจูงใจ 



  •  บทบาทของผู้นำตามทฤษฎีนี้เน้นทำ ๒ อย่างคือ 
    • ทำให้วิถีทางชัดเจน ... เห็นเป้าหมายชัด 
      • กำหนดเป้าหมายให้ผู้ตามเห็นชัด
      • แจ้งบทบาทในงานให้ชัด
      • ทำให้ผู้ตามได้รับความรู้และความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่างานจะสำเร็จ
    • การเพิ่มรางวัล
      • เรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้ตาม
      • จัดรางวัลที่ผู้ตามต้องการ โดยให้เข้าคู่กับผลงานที่ทำได้ 
      • เพิ่มคุณค่าของผลงานให้แก่ผู้ตามมากขึ้น 


  •  ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย แบ่งภาวะผู้นำออกเป็น ๔ แบบ ได้แก่
    • แบบสนับสนุน 
    • แบบสั่งการ
    • แบบมุ่งความสำเร็จ
    • แบบให้มีส่วนร่วม



  • ถ้าผู้ตามมีความต้องการด้านความรักใคร่สูง ผู้นำควรเป็นสนับสนุน
  • ผู้ตามประเภทหัวดื้อรั้น ให้ใช้ภาวะผู้นำแบบสั่งการ



  •  ลักษณะของงาน เป็นอีกตัวแปรที่ส่งผลต่อภาวะผูนำที่เหมาะสม 



  •  สรุปแล้ว สถานการณ์ที่แตกต่าง ต้องการภาวะผู้นำที่แตกต่าง 


  • ผู้นำเผด็จการ จะใช้การตัดสินใจแบบใช้อำนาจ ตัดสินใจก่อนแล้วค่อยแจ้ง



  • การตัดสินใจแบบปรึกษาหารือ เป็นการตัดสินใจโดยผู้นำเพียงคนเดียว แต่ตัดสินในภายหลังจากได้การปรึกษาหารือ ดูข้อมูลต่างๆ ก่อน



  • การตัดสินใจด้วยกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม มีการลงมติกัน จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกยอมรับเหตุผลและการตัดสินใจของกลุ่มในท้ายที่สุด 



  • การพัฒนาภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการขยายความสามารถของบุคคลทั้งด้านการนำและการบริหารงาน  
    • เป็นการพัฒนาความสามารถของบุคคลแต่ละบุคคล



    • เป็นการพัฒนาประสิทธิผลในบทบาทของผู้นำและกระบวนการนำ
    • บุคคลทุกคนสามารถพัฒนาความสามารถการเป็นผู้นำได้



  •  MacCauldy เสนอวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ ๔ วิธี ได้แก่
    • การเรียนรู้จากการทำงาน 
    • เรียนรู้จากคนอื่น 
    • เรียนรู้จากความผิดพลาด
    • เรียนรู้จากการฝึกอบรม




  •  แนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาภาวะผู้นำด้วย ๔ วิธีข้างต้น ให้ใช้สัดส่วน เรียนรู้จากการลงมือทำ:เรียนรู้จากผู้อื่น:เรียนรู้จากการฝึกอบรม ควรเป็น 70:20:10







  • คนแต่ละยุคสมัยเปลี่ยนไป ดังนั้น ภาวะผู้นำต้องเปลี่ยนไปด้วย  



  •  การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงกำลังมา ... ท้าทายการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างยิ่ง




  • ทักษะใหม่ๆ ที่ผู้นำสมัยใหม่ต้องมี ได้แก่
    • ทักษะเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ตาม คือ ฉับไวต่อความรู้สึกของกลุ่ม
    • ทักษะด้านการสื่อสาร สื่อความหมาย
    • ทักษะในสมภาพ หรือความเสมอภาค 
    • ทักษะในการจัดการ จัดดำเนินงาน 
    • ทักษะในการตรวจสอบตัวเอง 


  • ผศ.ดร.กานจน์ ท่านเน้นย้ำก่อนจะเริ่มบรรยายว่า สิ่งที่เรา (ผู้กำลังพัฒนาภาวะผู้นำ) ควรจะเรียนรู้ ก็คือ การเรียนรู้จากผู้นำสำคัญของโลก 



  •  ท่านแต่งหนังสือไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙  สืบค้นได้ในสำนักวิทยบริการ  ท่านแต่งกลอนเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีของผู้นำได้ ดังสไลด์  ซึ่งผมจับประเด็นได้ ๑๐ ข้อ ได้แก่
    • มีคุณธรรม
    • บุคลิกองอาจ
    • มีเชาว์ปัญญา ไม่ขลาดเขลา
    • มีสติ 
    • กล้าตัดสินใจ
    • สม่ำเสมอ
    • สุขุม
    • สุจริต
    • ยุติธรรม
    • รับฟังคนอื่น
  • ตอนท้ายของการบรรยาย ท่านเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาตนเองให้นิสิตเป็นผู้มีบุคลิกภาพการเป็นผู้นำที่ดี ดังสไลด์ต่อไปนี้ 


 









  • สุดท้ายท่านจบการบรรยายด้วย การเน้นย้ำ ดังต่อไปนี้ 
    • ผู้นำ Do the thing right.  คือ ทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกให้ควร   ผู้บริหารเพียง Do the right thing. คือ ทำสิ่งที่ถูก
    • Leader is made. ความเป็นผู้นำ สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ 
  • ผู้นำที่ดีต้องมี คารวะธรรม ปัญญาธรรม และ สามัคคีธรรม  (ศ.ดร.สาโรจ บัวศรี) 
หมายเลขบันทึก: 654171เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2018 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2018 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท