สโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) : องค์กรเอกชนคนรุ่นใหม่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน


สยชช. เน้นหนักในเรื่องการทำงานในประเด็นสื่อ วิจัย สุขภาพและสวัสดิภาพ โดยไม่เพียงแต่ทำงานในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า แต่ต้องสามารถเชื่อมประสานเป็นเครือข่ายกับกลุ่มแกนนำเยาวชนในอำเภอต่างๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้อีกด้วย

 สโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) 

·       ความเป็นมา สโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (สยชช.) ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า The Youth Leader Club for Education and Community Development (YECD)

สยชช. เป็นองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 จากการรวมกลุ่มของผู้นำเยาวชนจำนวน 41 คนจากโรงเรียนมัธยมต่างๆ 5 โรงเรียนในอำเภอปางมะผ้าที่ผ่านการเข้าค่ายเยาวชนผู้นำการพัฒนาชุมชน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ โรงเรียนบ้านวนาหลวง, โรงเรียนบ้านแม่ละนา, โรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์, โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 34, และ โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า โดยเยาวชนที่เป็นสมาชิกเข้ามาร่วมกันทำงานเป็นอาสาสมัคร

ปัจจุบัน สยชช. มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 70 คน กำลังอยู่ในช่วงร่างกฏระเบียบข้อบังคับสโมสร และเตรียมจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยมี นายวิสุทธิ์  เหล็กสมบูรณ์ นักวิจัยอิสระ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้ประสานงานสโมสร 

   <p>·       วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง สยชช.</p><p>1.      เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง</p><p>2.      เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน</p><p>3.      เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ วัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอปางมะผ้า</p><p>4.      เพื่อฝึกทักษะกระบวนการ การทำงานเป็นผู้นำเยาวชน เพื่อการศึกษาพัฒนาชุมชน</p><p>5.      เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ด้านอาชีพและมีรายได้ระหว่างเรียน</p><p>6.      เพื่อให้เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ได้ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชุมชน</p><p>7.      เพื่อให้เยาวชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ </p><p></p><p>·       ยุทธศาสตร์ / แนวพัฒนาในระยะ 3 ปี (2549 - 2551)</p><p>สยชช. เน้นหนักในเรื่องการทำงานในประเด็นสื่อ  วิจัย  สุขภาพและสวัสดิภาพ โดยไม่เพียงแต่ทำงานในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า แต่ต้องสามารถเชื่อมประสานเป็นเครือข่ายร่วมกับกลุ่มแกนนำเยาวชนในอำเภอต่างๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้อีกด้วย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กิจกรรม/โครงการส่วนใหญ่ของ สยชช. ได้รับงบสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา สถาบันวิชาการ และความร่วมมือจากสถานศึกษา และหน่วยราชการในพื้นที่ โดยอาศัยอาสามัครจากเยาวชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>  ·       กิจกรรมที่ทาง สยชช. ได้ดำเนินการมา (เสร็จสิ้นแล้ว)  ได้แก่</p><p>1. ค่ายผู้นำเยาวชนเพื่อการพัฒนาชุมชน (ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของ สกว. ในพื้นที่ปางมะผ้า)</p><p>2. การทัศนศึกษาด้านการจัดการทรัพยากรและประชุมสัญจร ณ หมู่บ้านเมืองแพม (ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของ สกว. ในพื้นที่ปางมะผ้า) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 27pt; text-indent: -27pt; text-align: justify" class="MsoNormal">3. ทัวร์นำร่องมัคคุเทศก์น้อย บ้านแม่ละนา (ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของ สกว. ในพื้นที่ปางมะผ้า)</p><p>4. โครงการสรรค์สร้างภาพยนตร์สารคดีประเพณี-พิธีกรรมกลุ่มชาติพันธุ์แบบมีส่วนร่วมโดยกลุ่มเยาวชนในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) </p><p><div style="text-align: center"></div> </p> <p>5. โครงการฝึกอบรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันภัยทางเพศสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแห้ง โดยความสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมอำเภอปางมะผ้า และวัดมิ่งเมือง อำเภอปางมะผ้า</p><p>6.   ส่งตัวแทนเยาวชนร่วมเป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน</p><p>7.  โครงการหนังสือทำมือ สื่อรีไซเคิล (โดยความร่วมมือจากห้องสมุดประชาชนอำเภอปางมะผ้า และโครงการ ก่อตั้งลานวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้แม่ฮ่องสอน )  </p><p align="center"></p><p>·       กิจกรรมที่ สยชช. กำลังดำเนินงานอยู่   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">1.      โครงการฝึกอบรมศิลปะการต่อสู้ (ไอคิโด) สำหรับเด็กวัยรุ่น (โดยความร่วมมือจากโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า, โรงเรียนศูนย์ปางมะผ้า และชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p>  </p>2.      โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิเด็กในโครงสร้างและระบบครอบครัว-เครือญาติของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆภายใต้บริบทการจัดการทรัพยากรบริเวณลุ่มน้ำลาง-น้ำของ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2550 ภายใต้การสนับสนุนจาก สกว. สำนักงานภาค)  <div style="text-align: center"></div>

   ·       กิจกรรมที่ สยชช. จะเริ่มดำเนินการเร็วๆนี้

</span></strong><p>1.      โครงการหนังสือทำมือ สื่อเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์สัมพันธ์ (กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาโครงการกับแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)</p><p>2.      โครงการ นวดสานสายใย เยาวชนใฝ่กตัญญู” (กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาอนุมัติโครงการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปรส) )  </p><p> </p><p>สนใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายหรือสนับสนุนกิจกรรมเด็กและเยาวชนของ สยชช. สามารถติดต่อได้ที่ นายวิสุทธิ์  เหล็กสมบูรณ์ (ครูยอด) โทร. 086-9169486, 0-5361-7128 หรือที่อีเมล์ [email protected] ครับ </p>

หมายเลขบันทึก: 65213เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียนครูยอด พ่อน้องออมสิน

ภาพไม่โชว์ครับ ลองเช็คดูนะครับ

ขอแสดงความยินดีในการก้าวไปอีกขั้นของ

The Youth Leader Club for Education and Community Development (YECD) สยชช.

ตอนที่คุณจตุพรให้ข้อคิดเห็นมา ผมกำลังแก้ไขบันทึกอยู่ อาจจะไม่เห็นภาพ ตอนนี้ ภาพน่าจะโชว์ได้แล้วนะครับ

 

สยชช. เป็นผลผลิตของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว. ในพื้นที่ พวกเรากำลังเพิ่งเตาะแตะ แต่ไม่ต๊อแต๊ ถ้ามีผู้ใหญ่ใจดีช่วยกันฟูมฟักกัน เด็กๆก็พร้อมจะสู้นะครับ

มีเด็ก/เยาวชน กลุ่มไหนที่ดำเนินการกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยที่เยาวชนคิด และทำกันเอง     โดยผู้ใหญ่เพียงแค่แนะนำ และดูอยู่ห่างๆ บ้างไหมครับ     กรุณานำมาเล่าเรื่องได้ไหมครับ    ยิ่งให้เยาวชนเป็นผู้เล่าเอง ยิ่งดี

วิจารณ์ พานิช

เป็นเกียรติอย่างสูงครับที่อาจารย์วิจารณ์เข้ามาเยี่ยมชมบันทึก ถ้าเด็กๆรู้ก็คงภูมิใจไม่น้อย

สิ่งที่อาจารย์วิจารณ์กรุณาถาม เป็นสิ่งที่ทางเราพยายามผลักดันกันครับ การรวมกลุ่มของเด็กที่แม่ฮ่องสอนนี้ อาจจะจำแนกเป็นสามรูปแบบใหญ่ๆ

แบบแรก ผู้ใหญ่กำหนดโครงการมาและวางเงื่อนไจกฏกติกาให้เด็กเข้าร่วม   แบบนี้มีเยอะ เป็นแนวที่ อบต. ก็ดี โรงเรียนก็ดี ประชาคมหมู่บ้านก็ดีนิยมใช้อยู่

แบบที่สอง เด็กรวมกลุ่มกันเองมาก่อน แล้วมาหาผู้ใหญ่เพื่อขอความสนับสนุน เท่าที่ผมรู้มา ที่แม่ฮ่องสอน ยังไม่ถึงขั้นนี้นะครับ ถามว่าเด็กๆรวมกลุ่มกันตามธรรมชาติบ้างไหม ก็มีการรวมกลุ่มเหมือนกันครับ แต่ออกไปในแนวเป็นเครือข่ายเพื่อนฝูงไว้ปรับทุกข์ หรือบริโภคนิยมตามกระแสมากกว่า และเป็นกลุ่มเล็กๆไม่ได้มีพลังในการศึกษาเรียนรู้หรือจัดการปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นยังรวมกลุ่มกันเสพยา ทะเลาะวิวาท มั่วสุมในสิ่งไม่ดีก็มีมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง

แบบที่สาม ผู้ใหญ่คิดโครงการร่วมกับเด็ก โดยไกด์นำในหลักการก่อน แล้วให้เด็กมีส่วนในการพิจารณาเห็นชอบ รวมถึงพิจารณาจัดกระบวนการ ผู้ใหญ่ยังคงบทบาทอยู่ในฐานะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาการเขียน การลงพื้นที่ การประสานกับหน่วยราชการ และให้ความรู้ต่างๆที่จำเป็นในการทำงาน อันนี้เป็นรูปแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ สยชช.ทำอยู่ และใช้เป็นแนวทางการทำงานโครงการต่างๆด้วยครับ

เหตุที่เราเลือกใช้แนวทางแบบที่สองนี้ เพราะบริบทของพื้นที่ และประสบการณ์ของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่คุ้นเคยต่อการรวมกลุ่มในลักษณะนี้ ทักษะการพูด การอ่าน การเขียน และการสื่อสารกับคนวงกว้างยังจำกัดอยู่มาก รูปแบบของ สยชช. พยายามจะประสานเอาจุดดีของการที่ผู้ใหญ่คิดโครงการร่วมกับเด็ก กับการรวมกลุ่มตามอัธยาศัยของเด็กมาร่วมกันทำโครงการต่างๆ โดยมีกรอบการทำงานอยู่บนฐานความสนใจ การมีส่วนร่วมของเด็ก และผลประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ เด็กๆสามารถปรับรูปแบบกิจกรรมได้ถ้าพวกเขาเห็นว่าน่าเบื่อ หรือไม่สร้างสรรค์ หรือแม้แต่จะขอยุติบทบาทตัวเองกลางคันหากไม่พร้อม อันนี้เรายืดหยุ่นมากครับ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ที่เราอยากจะสร้างให้พวกเขาเข้มแข็งและยืนได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับการรวมกลุ่มแบบใดแบบหนึ่ง แต่สามารถใช้กลุ่ม/องค์กรทำฝันที่สวยงามของเขาให้สำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเหล่านี้จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยการสร้างปัญญาและการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับชุมชนและอัตลักษณ์ของพวกเขาเป็นสำคัญ นี่เป็นสิ่งที่เราอยากเน้นย้ำ

ปลายเดือนนี้ เด็กๆสยชช.ซึ่งอยู่ในทีมโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น-สิทธิเด็กฯ ของอำเภอปางมะผ้า จะรวมกลุ่มกันทำหนังสือทำมือ (handmade book) เล่าถึงประสบการณ์การทำงานกับโครงการวิจัยของ สกว. ในช่วง 3 เดือนแรก อาจจะมีบางแง่มุมที่ไขความเห็นของอาจารย์วิจารณ์ได้ หากอาจารย์จะกรุณามีข้อแนะนำอื่นใดอีก ทางเราก็ยินดีรับไปหารือกันครับ

หายากครับ คนทำงานเพื่อสังคม และยิ่งทำงานเพื่อเด็กด้วยแล้วยิ่งหายาก ... หายากในที่นี้ หมายถึง หาได้ยากที่จะเจอคนทำงานได้ลงตัวและกลมกลืน + เข้าถึงกับเด็กได้ ถึงแม้จะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เต็มที่กับสิ่งที่ทำ เป็นกำลังใจให้คนทำงานเสมอครับ

ว่างๆ ก็แวะมาเยี่ยม blog ผมบ้างนะเพ่ http://supanat.bloggang.com

ขอบคุณน้องหล้า ที่อดทนต่อความไม่ประสีประสาของผมและทีมงานในการตั้งใจทำโครงการกับเด็กๆ

รวมถึงทีมงานของ สกว. และเครือข่ายชุมชนคนวิจัยทุกคนที่คอยติดตามครับ

 

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองย้อนไปในอดีต เขาเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวเมื่อ ๑๑ ขวบ ยังช้าไป แล้วเยาวชนไทยที่มีอีเมลของตนเองแล้ว จะีโอกาสดีกว่า วอร์เรน ไหม http://www.ainews1.com/article112.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท