ศิษย์เก่านักกิจกรรม (5) : ศิลปะและใจอันเป็นหนึ่งเดียว


นเหย้าฯ ครานี้ ผมไหว้วานพี่ๆ น้องๆ มารังสรรค์สิ่งนี้ร่วมกัน ด้วยการนำบทกวี (วรรณศิลป์) เพลง -ดนตรี (ดุริยางคศิลป์) ภาพวาด (ทัศนศิลป์) มาประยุกต์เป็นกิจกรรมแสดงบนเวทีร่วมกันบนฐานคิด "ศิลปะทะลุมิติ" เป็นหนึ่งเดียว หรือ "ใจเชื่อมประสานใจเป็นหนึ่งเดียว"

ล่าสุดกิจกรรมคืนเหย้าศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันที่  29 กรกฎาคม 2561  ผมออกแบบกิจกรรมหลังพิธีเปิดในแบบที่ตนเองชอบ - ใช่ครับ ยืนยันว่า "ในแบบที่ตนเองชอบ"  

เชื่อไหม - ผมพยายามชวนใครๆ นำศิลปะมาบูรณาการเป็นการแสดงร่วมกันมาร่วม 10 ปี  แต่ก็เกิดขึ้นไม่ได้เลยในวิถีกิจกรรม  จะด้วยทีมงานไม่เข้าใจ  นิสิตไม่เข้าใจ หรือทุกภาคส่วนไม่ "อิน" ด้วยกับผมก็เถอะ

คืนเหย้าฯ ครานี้  ผมไหว้วานพี่ๆ น้องๆ มารังสรรค์สิ่งนี้ร่วมกัน  ด้วยการนำบทกวี (วรรณศิลป์)  เพลง -ดนตรี (ดุริยางคศิลป์) ภาพวาด (ทัศนศิลป์) มาประยุกต์เป็นกิจกรรมแสดงบนเวทีร่วมกันบนฐานคิด "ศิลปะทะลุมิติ"  เป็นหนึ่งเดียว  หรือ  "ใจเชื่อมประสานใจเป็นหนึ่งเดียว"

เชื่อไหม - พยายามตั้งโต๊ะปรับจูนแต่งความเข้าใจในค่ำคืนก่อนงาน  แต่ไม่สำเร็จ  เพราะ "ไม่ครบองค์"  กล่าวคือ  น้องๆ แต่ละคนเดินทางมาถึงไม่พร้อมกัน  บ้างมาหัวค่ำ  บ้างมาถึงดึกดื่น  รวมถึงมาถึงเช้่ารุ่งเลยก็มี -

ด้วยเหตุนี้  ผมจึงทำดีที่สุดคือการทำความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ที่ว่าด้วยกิจกรรมดังกล่าว   พร้อมๆ กับการนัดหมายว่า “พรุ่งนี้เช้าค่อยว่ากันอีกที” 


ครั้นรุ่งเช้า  -  ผมและน้องๆ ก็พบปะพูดคุยกันในแบบครบองค์  เป็นการพูดคุยก่อนงานเริ่มไม่ถึงครึ่งชั่วโมง  พูดคุยแนวคิดสั้นๆ  จากนั้นก็ปล่อยให้ทุกคนได้ซักซ้อมร่วมกัน 

ใช่ครับ- เราต่างใช้เวลาปรับจูนแต่งความเข้าใจกันในรุ่งเช้าก่อนขึ้นเวทีไม่กี่นาที  เป็นไม่กี่นาทีแต่ลงตัวอย่างน่าประทับใจ 

เป็นไม่กี่นาทีที่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้ปรับจูนถึงบางสิ่งที่ต่างคนต่างพร้อมที่จะเทใจทำร่วมกันในนิยามเดียวกัน

โดยส่วนตัวผมมองว่า  ในบรรดาเหตุผลอันมากมายนั้น  หนึ่งในนั้นคงเนื่องเพราะศิลปะไร้พรมแดนนั่นเอง  จึงทำให้ทุกอย่างกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวอย่างแสนวิเศษ  หรือแม้แต่เป็นเรื่องของหัวใจที่ไร้พรมแดนด้วยก็เป็นได้ที่ทำให้อะไรก็เกิดขึ้นอย่าง "ง่ายดาย"  และในความง่ายดายที่ว่านั้น ในมุมคิดของผมก็คือความ "ง่ายงามที่แสนงามและแสนวิเศษ" 

ผมดีใจที่กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นและดำเนินการไปได้ด้วยดี   หรือกระทั่งจบลงอย่างงดงาม

แน่นอนครับ  ฟังดูผมอาจสรุปเองว่าดี  แต่ก็อยากเชื้อเชิญทุกท่านได้ลองเสพสัมผัสดูว่า “ง่ายงาม –แสนงานและแสนวิเศษ”  เหมือนที่ผมรู้สึกหรือไม่

แต่ที่แน่ๆ นี่คือการคืนเหย้าของเหล่าบรรดาขุนพลกิจกรรมในแบบใจนำพาศรัทธานำทาง  หรือบันเทิงเริงปัญญาที่แอบอิงอยู่กับความงามของศิลปะ และเป็นการบอกเล่าเก้าสิบที่อ้มอวลด้วยอุดมคติ และอุดมการณ์ที่ควรค่าต่อการเปิดใจเรียนรู้-สัมผัส

หมายเลขบันทึก: 649552เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2018 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2018 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีอะไรที่ให้เราเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจริง ๆ ;)…

สวัสดีครับ อ.วัส Wasawat Deemarn

สารภาพกันตรงๆ งานนี้จะว่าสนองกิเลสส่วนตนก็ไม่ผิด แต่ก็ยังมองบวกว่าสิ่งที่ทำนั้น จะเป็นข้อมูลในการให้คนอื่นๆ ได้ทบทวนในเชิงกระบวนทัศน์ว่าด้วยที่มาที่ไปของการจัดกิจกรรมและการขับเคลื่อนในครั้งถัดไป ทั้งในงานนี้โดยตรงและงานอื่นๆ ที่จำต้องใช้ศิลปะเข้ามามีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ

เพียงแต่ว่าผมชอบแนวนี้ กวี เพลง ดนตรีอีสานและสากล ภาพเขียน/ภาพวาด นำมาประยุกต์เข้าด้วยกัน -

ถ้าสนองกิเลสตน แล้วคนอื่นชอบบ้างก้ถือว่าสำเร็จค่ะ

ครับ พี่ แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

จะว่าไปแล้ว หากไม่มองว่าเข้าข้างตนเองเสียมากมาย คนก็ชอบมากโขนะครับ นิ่งเงียบ ปรบมือเป็นระยะๆ ตอนต้นที่แต่ละคนได้แสดงบทบาทตนเองบนเวที ไลด์สดกันก็เยอะ ส่วนหนึ่งคงเพราะเป็นกิจกรรมแปลกใหม่ที่เพิ่งจัดขึ้นได้

และที่สำคัญภาพที่วาดสดๆ นั้นก็ประมูลนำเงินมาเป็นทุนการศึกษา/กองทุนของน้องนิสิตที่เป็นศิษย์ปัจจุบัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท