RADIO TELEPHONY การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ(อนาล็อค)


การสื่อสารโทรคมนาคมด้วยคลื่นวิทยุ(Radio Telephony)อย่างหนึ่งได้แก่วิทยุสื่อสาร(Radio Communication)

RADIO TELEPHONY การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ(อนาล็อค)

......แต่เดิมเราใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความถี่ย่าน HF, VHF ซึ่ง HF เป็นคลื่นความถี่ที่มีช่สงคลื่นยาวเดินทางไกลๆข้ามทวีปได้ดี ส่วน VHF เป็นคลื่นความถี่สูง ช่วงคลื่นสั้นเดินทางทะลุทะลวงสิ่งแวดล้อมได้ดี จึงมีการนำมาใช้งานด้านการบิน ไม่ว่าจะเป็น...

1. การสื่อสารด้วย สัญลักษณ์(Message Communication) เช่น เครื่องส่ง-รับรหัสมอร์ส-โทรเลข(แต่ก่อนการรถไฟใช้สายสลิงวางตามทางรถไฟแล้วใช้การสบัดสายขึ้นลงให้เป็นคลื่นวิ่งไปเหมือนการสบัดแซ่ ตามจังหวะรหัส มอร์ส) เครื่องปรุกระดาษ-โทรพิมพ์(ที่กรมการบินพาณิชย์ บพ.เดิมเคยมีใช้งานที่ ฝทพ.ฝ่ายโทรพิมพ์ ก่อนจะเข้ายุคดิจิตอลที่อาคาร SMSS)

2.การสื่อสารด้วยเสียง(Voice Communication) ได้แก่

2.1 วิทยุโทรศัพท์(Radio Telephone) มักเรียกว่า hotline สายตรงต่อเตรียมไว้ ยกหูพูดได้ทันทีไม่ต้องกดเลขหมาย หรือยกหูโทรศัพท์กดติดต่อกับนักบินด้วยเสียงผ่านความถี่ต่างๆที่ได้กำหนดใน AIP

2.2 วิทยุสื่อสาร(Radio Communication) ใช้ติดต่อสองทิศทาง Twoway Comm.แบบมือถือ Mobile 5 วัตต์รับส่งได้ไกล 8-10 กม. และแบบตั้งสถานีภาคพื้น 30++ วัตต์รับส่งได้ไกล 50 ++ กม. โดยมีวิทยุการบินทุ่งมหาเมฑ และหอบังคับการบินเป็นแม่ข่ายการสื่อสารการบินในประเทศไทย แบ่งเป็นการสื่อสารแบบ

  • (GND) Ground to Ground (3 ความถี่ 4 ช่องสื่อสาร ได้แก่ 160.500 MHz 161.500 MHz 163.850MHz) ,
  •  ความถี่ Tower(TWR) A to Ground ,  Ground to Air นักบินติดต่อกับหอบังคับการบิน , 
  • ความถี่ Approach(APCH) เมื่อเข้าเขตควบคุมการจราจรทางอากาศเตรียมที่จะบินลง-ขึ้นในพื้นที่ๆแบ่งZoneการควบคุมไว้แล้ว ได้แก่ย่าน 121.500-122.500Mhz และ
  • ความถี่ฉุกเฉิน 121.500 MHz สำหรับภารกิจการบินพลเรือน และความถี่ 235.000 MHz สำหรับภารกิจการบินทหาร ,

        ด้านการบิน วิทยุการบินก็ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (เสาดาวแดง) ตั้งเสาวิทยุสามต้นที่ทุ่งมหาเมฆ ใช้ติดต่อ A/G G/A กันมาช้านาน ส่วนตึกส่ง ที่กรมการบินพาณิชย์ ก็ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2510 ที่อเมริกาทำข้อตกลงกับไทยจัดให้มีขึ้นในโครงการ USOM ที่ทุ่งมหาเมฆ บางปิ้ง บางปลา ติดต่อกับอเมริกาผ่านคลื่น ShotWave (HF) ก็สามารถสื่อสาร ประเภทต่างๆและรับเสียงจากสถานีวิทยุในอเมริกาได้ โดยมีศูนย์เก็บเครื่องมือกลที่บางจาก เป็นต้น .....

3.การสื่อสารด้วยภาพ โทรทัศน์ ใช้ย่าน VHF UHF เป็นแบบอนาล้อคผสมคลื่นเข้าไปตรงๆกับคลื่นพาหะ(Carrier Wave) หรือที่เรียกว่ากระบวนการ Modulation ผ่านอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ (ไม่มีการเข้ารหัสไบนารี ส่งเป็นแพ็คเป็นชุดๆแบบดิจิตอล)

4.การนำร่อง บ. ด้วยคลื่นวิทยุ ผสมคลื่นเสียงเข้าไปสองเสียงเครื่องบินจะบินตามคลื่นที่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง (เปรียบกับบินตามradianของ VOR)

เมื่อเครื่องเบี่ยงออกไปทางไหนก็จะทราบจากเสียงที่ต่างกัน และเมื่อถึงจุดตัดกันของเส้นทางการบินในอากาศ ก็มีเสียงรูปแบบต่างๆกันออกไปให้นักบินทราบ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตนอยู่ในแผนที่การเดินอากาศได้ เป็นต้น

.......นับเป็นการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ และผสมสัญญานต่างๆด้วนสัญญานทางคลื่นไฟฟ้าแบบอนาล็อคในยุคเริ่มต้น

การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ 

หมายเหตุ การสื่อสารด้วย การพิมพ์ดีด AFTN ปัจจุบันเป็นการสื่อสารผ่านคลื่น VHF จากกรมการบินพาณิชย์ไปที่จานรับของกรมไปรษณีย์เดิมที่หัวลำโพง แล้วส่งผ่านดาวเทียมสื่อสารที่กรมไปรษณีย์โทรเลข ไปตามสนามบินทั่วประเทศ เรียกกันว่าตึกสวิทชิ่ง คือ ศูนย์สื่อสารการบินกรุงเทพ SMSS Sending Message Switching System ซึ่ง สามารถส่ง เสียง ข้อความ วีดีโอ ได้ในยุคแรกๆของการโทรคมนาคมแบบระบบดิจิตอล....

............

1        Introduction

The AMC Panel has an action (ANC Task No. CNS-7402) to review the Annex 10 radiotelephony procedures to include AMS(R)S and digital communications.  At AMCP/7 this task was assigned to Working Group C. 

 

The AMS(R)S and digital communications environment differs from VHF only in the fact that it is a point-to-point directed communications environment rather than the point-to-multipoint or broadcast network environment.  Operation in this new environment is similar to everyday telephone operation in which a direct circuit is established between the calling and called parties.  Communications after call establishment is full duplex.

 

2             Background documentation

It is worth noting that the ICAO radiotelephony procedures under consideration include International Standards, Recommended Practices, and Procedures for Air Navigation Services (PANS).  PANS for Communications appear in Annex 10, Volume II.  ICAO Procedures (including those with PANS status) covering radiotelephony phraseology are contained in Procedures for Air Navigation Services – Rules of the Air and Air Traffic Services (PANS-RAC) Doc 4444.  Guidance Material, including industry guidelines, is published in a number of places, some of which are indicated below.

 

In 1990 the ICAO Secretariat published the second edition of the Manual of Radiotelephony, Doc 9432-AN/925.  The examples contained in this manual are intended to be representative of radiotelephony phraseology in common use.  They are based on the procedures in Annex 10.  While the procedures and phraseology specifically reflect the situation in an environment where VHF is in use, they are equally applicable in those areas where HF is used.  It now appears to be timely to review the content of this manual to determine whether any changes are required in the light of the emerging use of satcom and other digital voice systems.  As this is an ICAO Secretariat publication, it appears to be appropriate for this task to be undertaken by the Secretariat.

  • การสื่อสารโทรคมนาคมด้วยคลื่นวิทยุ(Radio Telephony)อย่างหนึ่งได้แก่วิทยุสื่อสาร(Radio Communication) ปัจจุบัน ITU กำหนดให้ใช้คำว่า Telecommunication แทน Telephony
  • พนักงานสื่อสาร รุ่นแรกๆที่ต้องสอบ พิมพ์ดีดสัมผัส สอบรหัสมอร์ส สอบphasologyรูปแบบการพูดติดต่อสื่อสารการบิน สอบพนักงานวิทยุของกรมไปรษณีย์ ผ่านจนได้เป็น จนท.สื่อสารการบิน radio telephony ปัจจุบันงานสื่อสารการบินโอนไปให้วิทยุการบิน แต่ชื่อไทยก็ยังเรียก จนท.สื่อสารการบิน ภาษาอังกฤษเปลี่ยนไปใช้ Communication ชื่อเตมๆเดวถามพี่สาวให้นะครับ CO27 สมัยศูนย์ฝึกการบินพลเรือน

...........................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 649031เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2018 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2018 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท