จากระบบสุขภาพอำเภอ (DHS)ยกระดับมาเป็น พชอ.(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ)


นิยมยั่งยืน ไทยนิยมไม่ทันปิดโครงการ งานใหม่เข้ามาแต่งตั้งอีกแล้ว เป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

      


   ปีพศ. 2561นี้มีงานของทางอำเภอ มาให้ขับเคลื่อนหลายโครงการ เริ่มจากแต่งตั้งให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านในโครงการไทย

นิยมยั่งยืน  ไทยนิยมไม่ทันปิดโครงการ งานใหม่เข้ามาแต่งตั้งอีกแล้ว เป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

 พชอ.ซึ่งตัวย่อนี้ สับสนกับงานอาสาที่ขับเคลื่อนในจังหวัดภายใต้การสนับสนุนของ พอช. (พัฒนาองค์กรชุมชน องค์กรมหาชน) 

        คณะกรรมการ พชอ.ใช้สูตร 6 -6- 7 

 คือผู้แทนหน่วยงาของรัฐในอำเภอ 6 คน 

ผู้แทนภาคเอกชน 6 คน 

ผู้แทนภาคประชาชน 7 คน 

     มีนายอำเภอเป็นประธาน สาธารณะสุขอำเภอเป็นเลขานุการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ระดับพื้นที่ พศ. 2561  ข้อ 7 วงเล็บ 1-3   และมีอำนาจหน้าที่ ตาม ข้อ 12 ตั้งแต่ วงเล็บ 1- 7     

 ในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปากพะยูนตามสูตร หกหกเจ็ด มีดังนี้  

นายอำเภอปากพะยูน                             ประธานกรรมการ 

ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานปกครอง           รองประธาน 

ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรปากพะยูน            กรรมการ

 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากพะยูน           กรรมการ

 นายปรีชา มากมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคารเป็นกรรมการ 

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปากพะยูน เป็นกรรมการ

 นายรื่น แจ้งกระจ่าง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ตำบลหารเทา   กรรมการ 

นางอทิติ เมฆสุวรรณนายกเทศมนตรีเทศบาลอ่าวพะยูน  กรรมการ 

นายใจ สุวรรณกิจ ตัวแทนภาคประชาชน                    กรรมการ 

 นาย อุทัย หนูวาดประธานชมรมผู้สูงอายุปากพะยูน      กรรมการ 

 นางเอื้อมพรชนะเทพ ประธานชมรม อสม ปากพะยูน    กรรมการ 

 นายเรวัตร รุ่งเรือง ประธานสภาวัฒนธรรม                   กรรมการ

 นาย วิเชียร มณีรัตนโชติ ตัวแทนภาคประชาชน          กรรมการ  

นายอำนวย ทองหนูนุ้ย                                         กรรมการ

 นายนเรศ หอมหวล                                              กรรมการ 

 นายไพทูรย์ เวชสิทธิ์                                           กรรมการ  

นายณรงค์ ศักดิ์ยิ่งยง                                            กรรมการ 

สาธารณะสุขอำเภอปากพะยูน                                รรมการเลขานุการ 

นายกำพล เมืองแก้วนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  กรรมการเลขานุการร่วม

 ปลักอำเภอปากพะยูนรับผิดชอบงานสำนักงาน     กรรมการเลขานุการร่วม....

        ซึ่งในการประชุมนัดแรก วันที่ 18 มิถุนายน2561 ณ.ห้องประชุม อำเภอปากพะยูน ได้กำหนดประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิต 

ไว้ 3 ประเด็นคือประชารัฐสามัคคี ไม่ทอดทิ้งกัน 

เรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

 และการดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียง..

    .ซึ่งใน 3 ประเด็นนี้จะทำคุณภาพชิวิตดีขึ้น  ลดความเลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งตามตรงหลักการ เนื้อหาเจตนารมณ์ของการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้าน ให้มากกว่าระบบสุขภาพอำเภอ ที่ผ่านมา....

พชอ..ปากพะยูนสู้สู้ ภาคประชาชนนำ ภาครัฐหนุน ผู้ประกอบการภาคเอกชนคืนกำไรพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน คนปากพะยูนไม่

ทอดทิ้งกัน..  

 บ้าน วอญ่า 19 มิย ุ61

หมายเลขบันทึก: 648367เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คณะทำงานที่เป็นแกนหลักน่าจะเป็นทีมจากภาคประชาชนเพราะมีส่วนได้เสียกับนโยบายโดยตรง ตัวแทนจากภาครัฐคงได้แค่ทำตามภาระหน้าที่เรื่องที่คิดริเริ่มหวังยาก ส่วนตัวแทนจากภาคเอกชนมองกำไรเป็นตัวตั้งก่อนที่จะรับผิดชองต่อสังคม หรือ CSR

เรียนอาจารย์ จำรัส สัดส่วนของภาคประชาชนมีมากในโครงการนี้ สำคัญที่ภาคประชาชน กล้าหาญชาญชัย ในการออกความเห็น ในการมีข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แค่ไหน ซึ่งต้องพัฒนาความคิดและทักษะของคุณภาพชีวิตกันอย่างเต๋มที เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท