โภชนาการสำหรับมารดาหลังคลอด


  • สตรีที่ผ่านการคลอดไม่ว่าจะเป็นการคลอดทางช่องคลอดหรือการคลอดโดยการผ่าตัด  มีความเหนื่อยล้าจากการเจ็บครรภ์ การเบ่งคลอด หรือการผ่าตัด รวมทั้งการสูญเสียเลือดจากการคลอด สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพของมารดาหลังคลอดเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นร่างกายของมารดาหลังคลอดจึงต้องการการฟื้นฟู เพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติ นอกเหนือจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอภายหลังคลอดแล้ว โภชนาการสำหรับมารดาหลังคลอดก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการรับประทานอาหารหลังคลอดที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีคุณค่าจะช่วยในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย การสูญเสียน้ำและเลือด  และทดแทนพลังงานที่สูญเสียไประหว่างการคลอด 
  • การรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและมีคุณค่าครบถ้วนภายหลังคลอด คือการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง อาหารที่ไม่สุก อาหารที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ และชา กาแฟ
  • อาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นอาหารที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับมารดาหลังคลอด เนื่องจากโปรตีนมีหน้าที่ช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอของร่างกายภายหลังคลอด โปรตีนยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้พลังงานสำรองแก่ร่างกาย รวมไปถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และทำให้รู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลา
  • แหล่งของโปรตีนจะอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อไก่ ไก่ดำ นม ไข่ และถั่ว ที่อยู่ในอาหารที่กินในแต่ละวัน
  • มารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาควรได้พลังงาน 2,500-2,700 cal/day  เพื่อใช้ในการผลิตน้ำนม  สำหรับคนที่ต้องการโปรตีนเป็นพิเศษคือมารดาหลังคลอดโดยเฉพาะมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ปริมาณโปรตีน 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 48 – 60 กรัม ต่อวัน
หมายเลขบันทึก: 648359เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท