​ มิติสำคัญของ Service Learning



ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ของ มจธ. เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑    เกิดการอภิปรายวิธีดูผลงานของอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบ service learning    ซึ่งวงการศึกษามักเผลอมองผิดจุด

เรามักมองที่ผลที่โครงงาน หรือกิจกรรมที่นักศึกษาดำเนินการ    หากผลงานได้ผลดีมาก เช่นชุมชนมีการพัฒนาอย่างดี    เราก็มักจะหลงตัดสินว่าเป็นความสำเร็จของ service learning นั้น    นั่นคือการหลงทาง

เป้าหมายที่แท้จริงของ service learning คือการเรียนรู้ หรือพัฒนาการของนักศึกษา     นักศึกษาได้อาศัย service learning ในการพัฒนา ASK ของตนเอง   

 A = Affective domain  หรือ attitude   ซึ่งเป็นมิติด้านจิตใจ จิตวิญญาณ

S = Skills   มิติด้านการพัฒนาทักษะที่เป็นเป้าหมาย

K = Knowledge   มีติการเรียนรู้ด้านเนื้อหาความรู้  

การเขียนเสนอผลงานเพื่อรับรางวัล ควรเขียนให้ชัดว่า เป้าหมายการเรียนรู้คืออะไร    ใช้ service learning เป็น means สู่เป้าหมายการพัฒนานักศึกษาอย่างไร    และในที่สุดนักศึกษาเกิด competency ต่างๆ ตามเป้าหมายอย่างไร

ผมมีความเห็นว่า service learning ที่มีพลังต้องมีกระบวนการตั้งเป้า ที่นักศึกษามีบทบาทสำคัญ    รวมทั้งนักศึกษาได้ทำความเข้าใจว่ากระบวนการ service learning นั้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้นั้นๆ อย่างไร   แล้วระหว่างทำกิจกรรม service learning  นักศึกษาได้ร่วมกันทำ reflection เป็นระยะๆ อย่างไร   

Reflection เป็นกระบวนการช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงความรู้ปฏิบัติกับความรู้ทฤษฎีเข้าหากัน   ช่วยให้มีความเข้าใจที่ลึกและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น 

วิจารณ์ พานิช        

๑๓ พ.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 648078เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2018 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2018 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต นำไปให้ CoP KM บริการวิชาการ นะครับ บางแห่ง บริการ เพลิน ไใ่ได้เชื่อมกับ service learning ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท