๖๘๓.. สงสารเด็ก ป.๑


เป็นบทเรียนให้เข้าใจได้ว่า..เมื่อเปลี่ยนแปลงระบบไม่ได้ ก็จงเตรียมรับมือ..โดยดูที่ปัญหา..เด็กอ่อนจุดไหน? ก็แก้จุดนั้น และให้เวลากับการซ่อมเสริมมากๆ เพราะธรรมชาติของเด็ก วิชาและการวัดผล..ถ้าไม่แก้ไข ผลก็จะออกมาแบบเดิมๆ...

        วันนี้ได้แนวคิดและบทเรียน..ที่จะต้องคิดและวิเคราะห์ต่อไป ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วจะต้องทำอย่างไร?..เพื่อรับมือในเรื่องนี้..

        ในภาวะการณ์..ของการศึกษาที่เริ่มจะตึงเครียด ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดประเมินผล ที่ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับช่วงวัยและความสนใจของเด็ก..

        ความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นตั้งแต่ มีการรับสมัครนักเรียนสอบเข้า ป.๑ แม้จะเกิดขึ้นในโรงเรียนชั้นนำ แต่โรงเรียนในระดับรากหญ้า..ก็ต้องรู้เท่าทัน..

        ผม..ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน วิพากษ์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เสมอ โดยเฉพาะ..หลักสูตรระดับ ป.๑ – ป.๓  มีเนื้อหาวิชาที่อัดแน่น  เด็กแทบจะไม่มีเวลาได้พักผ่อน..

        ป.๑..เรียนแบบรอบรู้ เหมือนจะให้เด็กรู้กว้างและลึก..ที่เคยพูดกันว่า เป็นชั้นที่เตรียมความพร้อม..ปัจจุบันนี้..ไม่ใช่แล้ว..

        ป.๑..ทุกวันนี้..บรรยากาศการเรียนรู้..เหมือนเด็กโตเข้าไปทุกที..หลายสาระวิชาเหมือนจะให้เด็กจดจำและนำไปใช้ จึงให้เนื้อหาและกิจกรรมที่เข้มข้น..จนเด็กแทบไม่เป็นตัวของตัวเอง..

        ผมมองเรื่องนี้มานาน..และมองหลักสูตรขั้นพื้นฐาน(ประถม) กับปฐมวัย..มีความไม่สอดคล้องกันเลย..หากครูอนุบาล..ไม่ปรับตัวและไม่นำเด็กออกนอกทางบ้าง..อนาคตคงลำบาก..

        หลักสูตรปฐมวัย..ไม่เน้นอ่านเขียน แต่เน้นการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดพัฒนาการด้านร่างกาย สังคมและสติปัญญา มีการพัฒนากล้ามเนื้อมือและมีการพักผ่อนนอนหลับ..เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต..

        ขณะที่ชั้น ป.๑..ให้อ่านออกเสียง ให้เขียนคำและประโยค ตั้งแต่ภาคเรียนแรก..ดังนั้น..ถ้าในชั้นอนุบาลไม่จัดหนัก..ด้านการสอนภาษาไทยมาบ้าง..รับรองได้..เด็กจะอ่อนยวบยาบ..ไปจนถึง..ป.๖..อันนี้เรื่องจริงครับ

        ผมเริ่มให้ครูสอนอ่านสอนเขียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลมานานแล้ว..ไม่ได้แตกต่างจากโรงเรียนเอกชน เพียงแต่..ไม่ได้กดดันเด็ก ถ้าเขายังทำไม่ได้ และไม่มีการประเมินผล..

        จริงๆแล้ว..การศึกษาไทย ต้องให้ความสำคัญกับหลักสูตรปฐมวัย..แล้วไปลดความเข้มข้นที่หลักสูตร ป.๑ – ป.๓ เรียนรู้ไม่ต้องมาก..เน้นภาษาไทย คณิตศาสตร์และทักษะชีวิตขั้นพื้นฐานก็พอ..

        ปัจจุบัน..ยิ่งหนักหนาสาหัสขึ้นทุกวัน..อย่างวันนี้..มีการสอบระดับชาติด้วยข้อสอบจากส่วนกลาง ให้ชั้นป.๑..”สอบอ่าน.”.โดยใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบและมีการอ่านออกเสียง..มีกรรมการคุมสอบ ๒ คน มาจากโรงเรียนอื่น ๑ คน

        ข้อสอบไม่ยากก็จริง..แต่เด็กต้องเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องและนานพอ ตลอดจนต้องอ่านคล่องพอสมควร..จึงจะได้คแนน..

        ผมจึงบอกว่า..การจัดประสบการณ์ในชั้นอนุบาลแบบผิวเผิน..เมื่อเด็กขึ้นป.๑ จะเจออะไรที่หนักๆ ในบรรยากาศการสอบเหมือนเด็กโต..ยังสงสัยว่า จะรีบเร่งให้โตไปไหน ในเมื่อในวัยของเขายังเล็กนัก และยังรักการเล่นที่สนุกและซุกซน..

        ผมยังคิดอีกว่า..ถ้าจะให้เด็ก ป.๑ อ่านคล่องเขียนคล่อง..ถึงขนาดสอบวัดกันเป็นวาระแห่งชาติ แบบนี้..หลักสูตรต้องลดเนื้อหาสาระชั้น ป.๑ ในรายวิชาอื่นๆ ให้น้อยลง เพื่อเปิดโอกาสให้ครูและเด็กได้เต็มที่กับทักษะทางภาษา..

        ด้วยเหตุดังที่ผมกล่าวมานี่แหละ..ที่ทำให้คะแนนการสอบอ่านของชั้น ป.๑ ไม่ดีเท่าที่ควร จากจำนวนเด็กที่เข้าสอบ ๑๐ คน...

         ๘ คนอ่านค่อนข้างดี มีเด็ก ๒ คน คนหนึ่งเรียนรู้ช้าและตกซ้ำชั้นมาก่อน อีกคนหนึ่งย้ายมา ยังขาดความพร้อม..คะแนนเฉลี่ยอ่านออกเสียงจึงอยู่ที่ ร้อยละ ๘๐

        แต่พอไปดูคะแนนในฉบัยที่ ๒ ที่เรียกว่า..การสอบอ่านรู้เรื่อง ประกอบด้วยรู้เรื่องคำ ประโยค และข้อความ..ปรากฎว่านักเรียนป.๑ ทำคะแนนได้ไม่ดี และเด็ก ๒ คนก็ช่วยฉุดคนเก่งให้ต่ำลงไปด้วย..

        อย่างไรก็ตาม..ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นบทเรียนให้เข้าใจได้ว่า..เมื่อเปลี่ยนแปลงระบบไม่ได้ ก็จงเตรียมรับมือ..โดยดูที่ปัญหา..เด็กอ่อนจุดไหน? ก็แก้จุดนั้น และให้เวลากับการซ่อมเสริมมากๆ เพราะธรรมชาติของเด็ก วิชาและการวัดผล..ถ้าไม่แก้ไข ผลก็จะออกมาแบบเดิมๆ...

        การสอบอ่านรู้เรื่อง..หรือการประเมินการอ่านคำ ประโยคและข้อความ ก็คือการให้อ่านเป็นเรื่องเป็นราวแล้วตอบคำถาม..ท่านผู้อ่านลองคิดดูเถิด เด็กเพิ่งผ่านอนุบาลมาไม่ถึงรอบปี..ประเมินกันถึงขนาดนี้เลย..

        ป.๑..ของไทย..จึงถือว่า..เรียนหนักที่สุดในโลกแล้วล่ะครับ...

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๒  มีนาคม  ๒๕๖๑

 


 




หมายเลขบันทึก: 645212เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2018 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2018 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับแนวความคิดของท่าน ผอ.ชยันต์ ปีนี้ครูคุณค่าท่านเคยสอนและเกษียณมาช่วยเทอมหนึ่ง เราได้มาสัมผัสแล้วกับเนื้อหาที่หนักอึ้ง.ของป.๑ ผมสอน ป.๕-๖ และก็ ป.๑ ด้วยจากที่ขาดแคลนหลังจากท่านลาออกไป ถึงรู้ว่า ป.๑ เน้นที่อ่านออก คิดเลขได้ก่อน.และความคิดเขาจะวิเคราะห์อย่างอื่นได้..สาระอื่นๆควรให้ความสำคัญน้อยลง..ของผมเด็ก ๗ คน ออฯ ๑ คน ld ๒ คน คนเก่งก็เก่ง แต่พออ่านรู้เรืองก็คะแนนไม่ดีหนัก..

คิดถึงหลักสูตร   ๒๕๐๓  

หลักสูตรที่สอนคนให้เป็น..ผู้ใหญ่ผู้โต

หลายต่อหลายคนในปัจจุบัน

I wonder if schools are trying too hard to obtain high ranking (by some MOE performance measures) and children are made to bear the blunt of this ambition? Similar things can be seen from 'nations around the world try to advance xyz... and people - the taxpayers bear the burden'.

By the way, I notice (in pictures) neon lights blazing in (class)rooms and sun light shining and casting shadows on the floor. I wonder if electric lighting is necessary and if so why not reduce electricity cost by some 60% (and save the world) with LED lighting? 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท