mackyandfluteเล่นดนตรีให้มีสุขใจ


.เมื่ออายุเราเพิ่มขึ้นสิ่งที่จะพัฒนาสมองเราไห้ได้จดจำสิ่งต่างๆนั้น ความเห็นผมว่า การที่เราสามารถจำบทเพลงในวัยเด็กๆได้แม่นยำ เวลาเรานึกถึงเพลงที่เราเคยฟังเราจะฮัมทำนองเพลงได้ก่อน แสดงว่าสมองซีกขวาที่ใช้คิดสร้างสรรค์ ทำงานได้ก่อน ทำงานได้ดีมากๆ ต่อมาจึงนึกเนื้อเพลงได้ทีหลัง แสดงว่าสมองส่วนความจำทำงานได้ทีหลังเสียอีก..

Sotthithat Music : ==>>> mackyandflute

........ 

.........การได้เล่นดนตรี หรือได้สดับตรับฟังเพลงมาร์ชปลุกใจให้พลังใจ จากประสบการ์ณที่ได้ฝึกฝนขณะอยู่วงโยธวาฑิต และเพลงจำขึ้นใจ สามารถจะสร้างกำลังใจแก่ข้าราชการไทย ให้มุ่งมั่นปฏิบัติตามคำสัตย์ที่ได้ให้ไว้กับพ่อหลวงแห่งไทยนั่นเอง ขอให้ดนตรีช่วยให้เกิดความสุขร่วมกันครับ....

ที่มา : คุณธนวัต กตาธิกรณ์ นักเขียนรับเชิญ

ความสุขของดนตรี... อยู่ที่ใคร ?

เราคงไม่ปฏิเสธว่าการเล่นทุกชนิดนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนเป็นเวลานาน เพราะฝีมือและความเก่งกาจนั้นจะช่วยให้ศิลปินสามารถควบคุมเครื่องดนตรีของตนเองเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกออกมาได้ นักดนตรีหลายคนจำเป็นต้องฝึกฝนเครื่องมือของตัวเองตั้งแต่ยังเด็ก มีหลายคนเติบโตขึ้นมาเป็นนักดนตรีที่เก่งกาจในขณะที่บางคนอาจจะค่อยๆ ถอยห่างออกไปจนดนตรีกลายเป็นแค่งานอดิเรกหรือความสุขในวัยเด็กเท่านั้น

แน่นอนว่าดนตรีหรือศิลปะทั้งหลายนั้นเกิดมาเพื่อยกระดับจิตใจมนุษย์ ดังนั้นผู้ที่เลือกเส้นทางที่จะเป็นนักดนตรีอาชีพต่อไปก็คงต้องเลือกเพราะรักและมีความสุขที่จะอยู่กับมัน เพราะถ้าไม่มีความสุขที่จะเล่นดนตรีแล้ว ผลงานก็จะเป็นตัวสะท้อนออกมาเองว่าผู้เล่นนั้นเป็นอย่างไร นักดนตรีอาชีพเหล่านี้จึงต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตฝึกฝนตัวเองให้เก่งขึ้นเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด เพราะนอกจากตัวเองจะมีความสุขกับการทำงานแล้ว ผู้ฟังก็จะมีความสุขกับเพลงที่พวกเขาเล่นด้วย

         แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่นักดนตรีอาชีพเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เล่นดนตรีแล้วมีความสุข หลายคนไม่ได้ยึดดนตรีเป็นอาชีพหลัก แต่ก็สามารถมีความสุขได้ เด็กวัยรุ่นหลายคนเล่นดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ผู้สูงอายุบางคนก็เลือกเรียนร้องเพลงเพียงแค่ทำให้ชีวิตบั้นปลายไม่น่าเบื่อจนเกินไป 

คนเหล่านี้ไม่ได้คาดหวังว่าจะเล่นดนตรีไปเพื่อให้ได้งานดีที่สุดเพื่อผู้ฟัง แต่ฝึกฝนดนตรีเพื่อหล่อเลี้ยงจิตใจตัวเองให้ไม่แห้งแล้งจากการงานหรือชีวิตในด้านอื่นมากเกินไปนัก

         เพราะฉะนั้น 

ไม่ว่าจะเล่นดนตรีไปเพื่ออะไรก็ตาม ผู้เล่นดนตรีก็ควรจะเล่นด้วยความสุข 

มนุษย์อาจจะขาดศิลปะหล่อเลี้ยงจิตใจไม่ได้ แต่มนุษย์ก็ไม่จำเป็นต้องเล่นดนตรีได้ทุกคน (เว้นแต่จะโดนใครบังคับ ซึ่งก็คงไม่ได้ผลงานที่ดีเท่าไหร่) 

เพราะการเล่นดนตรีเป็นก็ไม่ได้เป็นหน้าที่ของมนุษย์อะไรขนาดนั้น ใครไม่อยากเล่นก็อย่าเล่น ใครที่มีความสุขกับดนตรีก็เพลิดเพลินกันไป

และเมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางเฟซบุคของอาจารย์ดนตรีท่านหนึ่งก็ได้นำข้อความของตัวเองที่ทางโรงเรียนสอนดนตรียกไปติดกระจกเป็นคำคม ข้อความนั้นมีอยู่ว่า 

“เล่นดนตรีให้มีความสุขเถิด ส่วนเรื่องเก่ง-ไม่เก่งปล่อยให้คนอื่นเขาทุกข์ไป” อ.ไก่ จิรัฏฐ์ นักเปียโนแจ๊ส

และลงท้ายด้วยชื่อของอาจารย์ท่านนั้น

แน่นอนว่าคำพูดนี้ดูทั่วไปก็จะปกติดี เพราะเป็นการบอกว่า

จงเล่นดนตรีให้มีความสุข อย่าไปเทียบฝีมือกับคนอื่น เอาตัวเราเป็นหลักว่าเรามีความสุขไปกับมันก็น่าจะเพียงพอแล้ว 

และยิ่งลงท้ายด้วยชื่อของอาจารย์ท่านนั้นก็ยิ่งทำให้ประโยคนี้ดูน่าเชื่อถือเข้าไปอีก

แต่ถ้าสมมติว่าประโยคนี้ถูกเอาไปพูดต่อโดยนักดนตรีคนอื่นที่ไม่ได้มีคำว่าอาจารย์นำหน้าล่ะ สมมติว่ามีเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งหัดเล่นดนตรีจำคำนี้ไปพูดต่อ ก็คงจะโดนมองอีกแบบหนึ่ง เพราะคนฟังสามารถตีความได้ว่าเด็กคนนี้เล่นดนตรียังไม่เก่งแต่ก็ดันมาทำตัวองุ่นเปรี้ยวมะนาวหวาน ทำเป็นปากดีบอกว่าแค่เล่นให้มีความสุขแค่นั้นเองหรือ

หรือถ้าลองเปลี่ยนตัวละครเป็นคุณลุงคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมาทั้งชีวิต เป็นเจ้าของกิจการระดับร้อยล้าน และพูดประโยคนี้ในงานเลี้ยงที่ตัวเองไปร้องเพลงการกุศล ทุกคนก็คงมองว่ามันก็สมเหตุสมผล คนแก่ขนาดนี้ ประสบความสำเร็จมากมายก็คงไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องมาฝึกหัดดนตรีให้เก่งอีก เอาแค่พอร้องได้และมีความสุขกับการร้องก็พอแล้ว

แน่นอนว่าทั้งหมดนี้เป็นแค่การสมมติ ในฐานผู้เขียนบทความ เราก็ยังเชื่อว่าอาจารย์นักดนตรีเจ้าของข้อความนี้ก็คงอยากให้ทุกคนเล่นดนตรีกันอย่างมีความสุขนั่นแหละ แต่ที่ลองยกตัวอย่างให้ดูนั้น ก็เพียงเพราะอยากให้เห็นว่าข้อความแต่ละข้อความนั้นไม่ได้มีความหมายในตัวของมันเองเพียงอย่างเดียว แต่ความหมายของมันย่อมถูกตีความตามผู้พูดไปด้วย

ซ้ำร้าย ในกรณีของข้อความนี้ยังมีโอกาสถูกตีความไปในทางที่ขัดกันโดยสิ้นเชิงกับความหมายของมันไปอีก เพราะถ้าคนที่เล่นดนตรีไม่เก่งพูดประโยคนี้ออกไป ก็จะโดนตีความไปในทางลบ เหมือนเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งสมมติไปนั่นแหละ และมันก็ขัดแย้งกับความหมายของประโยคเองด้วย เพราะความหมายของมันคือไม่ว่าคุณจะเล่นดนตรีเก่งหรือไม่เก่งก็ควรจะมีความสุขกับดนตรีมิใช่หรือ

ในฐานะผู้รับสารบางครั้งเราก็ไม่ได้รับข้อมูลจากสารเพียงอย่างเดียวหรอก เพราะเราก็อาจจะเผลอใช้อคติเชื่อหรือสร้างความหมายบางอย่างตั้งแต่รู้ว่าใครพูดด้วยซ้ำ

นี่เป็นสิ่งที่เราทุกคนในฐานะผู้รับสารควรระมัดระวัง เพราะบางครั้งการตีความสารโดยไม่ได้แยกตัวผู้ส่งสารออกจากสารนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา เพราะเราอาจจะไม่ได้เข้าใจสิ่งที่เขาต้องการสื่อ แต่ดันไปมองเปลือกของเขาที่เราสร้างเองครับ

บทความนี้เีขียนโดย ธนวัต กตาธิกรณ์ นักเขียนรับเชิญ

ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนการแสดงให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เป็นนักแสดง ทำงานแอคติ้งโค้ช พัฒนาบุคลิกภาพ กำกับละครเวทีมาก็หลายเรื่อง และยังเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์อีกด้วย เขียนได้ตั้งแต่บทละคร บทภาพยนตร์ บทความ บทวิจารณ์ เรื่องสั้น และอื่นๆ

..........................................................................................

Mackyandflute

..........................................................................................

1มาร์ชราชวัลลภ_MackyDS.Band08 เพลงทหารรักษาพระองค์ นายทหารราชวัลลภผู้พิทักษ์ราชวงศ์จักรีที่ในหลวงทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง ประกอบการเดินบรรเลงวงโยธวาฑิตที่สง่างามยิ่ง

http://m.youtube.com/#/watch?v=HsVUvT-uIzQ&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3DHsVUvT-uIzQ

2.The Star and Stripe Forever_Macky DS.Band08 ดวงดาวและแถบสียังคงอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ เพลงสดุดีธงชาติอเมริกันที่เสียงโซโล พิคโคโลดังติดหูทุกคนตลอดกาล

http://m.youtube.com/watch?v=JyKV6TMnCk8

3.Father of Victory March(Solo Piccolo) เพลงชัยชนะของพ่อ

http://m.youtube.com/watch?v=bjzxr26Bkq8

4.Washington Post March มาร์ชที่ทำการไปรษณีย์กรุงวอชิงตัน

http://m.youtube.com/watch?v=FZLFyk8dp50

5.เพลงมาร์ชเรือดำน้ำ(าKunkan March)

http://m.youtube.com/watch?v=YfLpgVUxFHE

6.Anchors Aweigh เพลงที่ชนะการประกวดเพลงมาร์ทหารเรือเมริกัน แต่งโดยเรืออากาศตรี ชาร์ล ซิมเมอร์แมน ปี 1906(กำลังหาโน้ตเพราะมีโน้ตที่จำไม่ได้แยะ)

http://m.youtube.com/watch?feature=plcp&v=C19BoknUe3w

7.National Emblem March(กำลังหาโน้ตมาเล่นน่าจะทำได้ดีกว่านี้)

http://m.youtube.com/watch?feature=plcp&v=9rv8--72GRg

6.จำขึ้นใจข้าราชการกรมการบินพลเรือน(โสตถิทัศน์ ร้องนำ/Flute) Reccommended

http://m.youtube.com/watch?v=fSBHobeFfk0

7.จำขึ้นใจข้าราชการไทย(กรมการบินพลเรือน)VDOรวมภาพสไลต์ Reccommended

http://m.youtube.com/watch?v=IMzHSEyYm1M

8.รวมเพลงFlute

.................................................................

Sub.L.T.Eng. Sotthithat Eamlumnow

ว่าที่ร้อยตรีวิศวกรโสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา

พ.ย. - ม.ค. 2560 มอบหมายให้ปฎิบัติงานในส่วนการเดินทางออกตรวจออดิตสนามบิน บางกอกแอร์ ทอท. และสนามบิน บพ. และรับพิจารณาเรือ่งการแก้ไขข้อบกพร่องผลตรวจออดิตที่พบ และบันทึกแจ้งผลการตรวจฯในแบบฟอร์มออดิต กลับไปที่สนามบิน ที่สำนักงานการบินพลเรือน ในตำแหน่งพนักงานกองตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน AS  (Aerodrome Safety Inspection Group) ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน AGA (Aerodrome Ground Aids)

1 ม.ค. 2559 มีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (องค์กรอิสระ-องค์กรของรัฐ) ในฐานะ รก.หัวหน้ากองตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน (Acting Chief of aerodrome safety inspection group)

1 ต.ค.2558 - 31 ธ.ค. 2558 มีคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติราชการ ณ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

ปี 2558-2559 ดำรงตำแหน่ง วิศวกรไฟฟ้าระดับชำนาญการพิเศษ (วิศวกรไฟฟ้า 8 วช.) หัวหน้ากลุ่มเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ กรมการบินพลเรือน คำสั่งแต่งตั้งย้อนหลังถึงวันที่ส่งเอกสารประเมินครบวันที่ 25 พ.ค. 2558 

ปี 2550-2558 ดำรงตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าระดับชำนาญการ (วิศวกรไฟฟ้า 7 วช.) หัวหน้างานมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง วันที่ 27 ธ.ค.2550

ปี 2542-2550 ดำรงตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าระดับปฏิบัติการ (วิศวกรไฟฟ้า 3-5 วช.) เจ้าหน้าที่งานมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ กลุ่มเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า 3 เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2542
ว่าที่ร้อยตรี รุ่นที่ 57 จบหลักสูตรภาคพื้นนักบินส่วนบุคคล(PPLรุ่นที่30จากTGAT)และหลักการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน(IRรุ่นที่33จากTGAT)

คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่ง พรบ.การเดินอากาศ ฉบับที่ 11 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปฏิบัติการตรวจสอบออดิตสนามบินสาธารณะดอนเมือง สุวรรณภูมิและสนามบินในประเทศทั่วภูมิภาคเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ และตรวจสอบมาตรฐานด้านเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม

[email protected] (OFFICE MAIL)

[email protected] (GMAIL PRIVATE)

บทความที่เขียน จำนวน 57 เรื่อง บทความแปล 12 เรื่อง วีดีทัศน์ 4 เรื่อง รวม 73 เรื่อง (02/05/2557)

ก)เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนางาน: วิธีคิดและปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยและลดความเสี่ยงด้านการดำเนินงานสนามบินและระบบการจัดการความปลอดภัย 30 เรื่อง

ข)เรื่องที่ชุมชนนักปฏิบัติสนใจร่วมกัน 27 เรื่อง

ค)เรื่องการพัฒนาการจัดการความรู้ภายในและภายนอก : ตามรอยเท้าพ่อ.การระเบิด วิธีการความรู้และการปฏิบ้ติที่ดี จากชุมชนสู่โลกเครือข่ายออนไลน์ บล้อคและบุ้ค 16 เรื่อง

ง)ฟังเพลงมาร์ชปลุกใจให้พลังใจ จากประสบการ์ณที่ได้ฝึกฝนขณะอยู่วงโยธวาฑิต และเพลงจำขึ้นใจ ให้กำลังใจข้าราชการไทย ให้ปฏิบัติตามคำสัตย์ที่ได้ให้ไว้กับพ่อหลวงแห่งไทย และขอให้ดนตรีช่วยให้เกิดความสุขร่วมกันนะครับ

Sotthithat Music 8 บทเพลง

หมายเลขบันทึก: 644281เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2018 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2019 05:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท