สังคมศาสตร์ไทย 4


         กรณีฟูโกต์ ( Michel Foucault ) สามารถหาอ่านหนังสือ คิดอย่างฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ ของธีรยุทธ์ บุญมี , จามะรี เชียงทอง และของอานันท์ กาญนพันธุ์ ได้ด้วยฟูโกต์นี้ผสมหลักคิดของเวเบอร์ + มาร์กซ์ ได้นำศัพท์ วาทกรรม Discourse มาใช้นั่นคือย่อ KPT K = KnowledgeP = PowerT = Truthหมายถึง การสร้างความรู้ที่มีอำนาจในการนิยามความจริง  

        ด้วยการพัฒนาในไทยนั้นเป็นแค่วาทกรรมเท่านั้น เพราะเรายังทำสงครามกับความจนอยู่ เราพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของการทำลาย เช่นป่าหมดไปปีละ 1% = 3 ล้านไร่ต่อปี นี่วิเคราะห์แบบฟูโกต์ คือไทยเราไม่พัฒนามาตั้งแต่เจคอบส์ว่า เป็นแค่ Modernization without Development มาถึงแนวคิดฟูโกต์จึงว่า อย่าหลอกกันดีกว่า คือไม่รู้พัฒนาใคร ใครได้ประประโยชน์ เพราะการพัฒนาเป็นเพียงแค่วาทกรรมเท่านั้น ด้วยการพัฒนานั้นสร้างคนจนมากขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและสูญเสียการดูแลตนเองด้วย ทำให้ต้องพึ่งพาเช่นพึ่งพาเทคโนโลยีเต็มที่ เราทำเองไม่เป็น คนทำอะไรไม่เป็นจะพัฒนาได้ยังไง

         การเรียนศาสตร์ต่าง ๆ นั้นต้องรู้เบื้องหลังที่หนุนหลังอยู่เหมือนรู้ก้อนน้ำแข็งทั้งที่โผล่และที่จมอยู่ใต้น้ำ ในตอนท้ายยุค พ.ศ. 2510-2535 แนวความคิดฟูโกต์เริ่มโผล่ในสังคมไทย มี อ. ศรีศักร วัลลิโภดม นักมานุษยวิทยาที่พยายามเชื่อมโยงสังคมศาสตร์ในและนอกสถาบันเข้าด้วยกัน ต่อมาเป็นยุคเชื่อมต่อสังคมศาสตร์ไทยกับสังคมโลกเริ่มจาก กระแสท้องถิ่นนิยม Localism มี ศ. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ท่านเกิดมุมคิดการสืบโยด สาวย่าน ท่านกล่าวว่า ต้นทางและปลายทางไม่สำคัญเท่าระหว่างทาง 

         ถ้าเข้าใจคำกล่าวนี้นี่คือฉิ่งฉับทัวร์สนุกมากพอไปถึงที่ก็สลบ หรือไปเที่ยวทะเลพอไปถึงก็อยู่แต่ในห้องแอร์เล่นไพ่กัน นี่ละฝรั่งว่า In Between แนวคิดนี้ไปตรงกันกับนักปรัชญาการตีความชื่อ ไฮเดกเกอร์ ชาวเยอรมัน ( Martin Heidegger ) คือระหว่างกลางเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเป็นสิ่งจริง เหมือนสิ่งอยู่ในมือขึ้นกับว่าคุณเอาไปทำอะไร มันสำคัญในระหว่าง เช่น จะเรียกว่าค้อน เมื่อเอาไปตอกตะปู เอาไปทุบกระจกก็เป็นอาวุธ นี่คนเราถ้าไม่ฝึกให้เชี่ยวชาญจะมีความชำนาญได้อย่างไรละ เหมือนนักดนตรีฝึกจนพลิ้วไหวไปได้ทุกท่า แต่ถ้าไม่ฝึกฝนถึงเก๋าอย่างไรก็ไม่เก่งนะสิบอกให้.

...................................

 คำขอบคุณ เก็บมุมคิดนี้จากการฟัง ศ. ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ เมื่อ วันที่ 13 – 14 ม.ค. 2561 ณ ม. ทักษิณ สงขลา.

หมายเลขบันทึก: 644082เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2018 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2018 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท