สังคมศาสตร์ไทย 1



        เราอาจแบ่งมุมมองเป็น 2 ข้อ คือ 1.สังคมศาสตร์นอกห้องเรียนคือชาวบ้านทำกันอยู่   เป็นสังคมศาสตร์ท้องถิ่น เช่นบทเพลงที่ว่า  พ.ศ. 2504  ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม  ชาวบ้านต่างมาชุมนุม  มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ก่อเกิดเป็นกระแสรอง

 2. สังคมศาสตร์ในห้องเรียนคือมีเรียนในมหาวิทยาลัย  ก่อเกิดเป็นกระแสหลัก

        ในกระแสหลักแบ่งเป็น  3 ยุค คือ

 1.ยุคบุกเบิก พ.ศ. 2490 – 2510

 2.ยุคสร้างตน พ.ศ. 2510 – 2530

 3.ยุคเชื่อมสังคมโลก พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน

        ก่อนไทยรับสังคมศาสตร์ตะวันตกนั้นเริ่มในสมัย ร. 5  ดังนี้

1.ชนชั้นนำมี พระยา  เสนาบดี  เมื่อไปอยู่ประจำตามหัวเมืองก็เก็บข้อมูล  บันทึกการเดินทาง  มีบันทึกใน  วารสารสยามสมาคม  Journal  of  The  Siam  Society  มีชาวตะวันตกเน้น  ความมีอารยธรรม  ไทยเน้นความมีศิวิไลซ์  Civilization  กรณีการนำเงาะป่าไปโชว์ที่กรุงเทพ ฯ ก็เพื่อบอกว่าในสังคมชั้นสูงก็มีศิวิไลซ์เหมือนทางตะวันตก  และแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ 1. ชาวกรุง ถือว่ามีศืวิไลซ์  2.ชาวนา ถือว่าบ้านนอก และ 3.ชาวป่า

2.ปราชญ์ชาวบ้าน  มีผู้รู้ท้องถิ่น  คนอิสระ  นักเขียนกลอน  เขียนหนังสือ ( ยังไม่มีชนชั้นกลาง )  การศึกษาอาจแค่ ป. 4 สูงสุดแค่ ม.ศ. 5

        ต่อมาเกิดจุฬา ฯ ธรรมศาสตร์ ก็เป็นเพียงอบรมเพื่อสอนคนให้ไปเป็นข้าราชการ  เมื่อเดินทางก็เขียนบันทึกเล่าไว้เช่น  1.บุญช่วย  ศรีสวัสดิ์  ไปพม่า  จีน ก็เขียนคนไทยในพม่า  คนไทยในสิบสองปันนา  สามสิบชาติในเชียงราย 2.กุหลาบ  สายประดิษฐ์  ถือว่าเป็นคนอ่านหนังสือเยอะมาก  และชี้ว่า  สังคมไทยมีหลายชาติพันธุ์  คนต่างกันด้านวิถีชีวิต  ที่อยู่อาศัย

แง่คิด  อะไรอยู่นอกห้องเรียนมักมองว่าไม่ใช่วิชาการ  ถ้าวิชาการต้องอยู่ในห้องเรียน ในมหาวิทยาลัย  เราดูถูกความรู้นอกห้องเรียนว่าโง่  มองแคบ  ความจริงเราอาศัยความรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวไม่ได้ดอกมันจะเป็นความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

        เมื่อมองสังคมโลก  ฝรั่งมาปกครองคนพื้นเมือง  เราไปเรียนแบบโดยชนชั้นนำไปปกครองหัวเมือง  นั้นก็คือ  อาณานิคมจากภายใน  Internal  colonialism  เพราะในสมัย ร. 5 มีการส่งคนไปดูงานที่อินเดีย  ชวา  พม่า ( กรมป่าไม้ )  ก็ไปเรียนวิธีการปกครองอาณานิคมนั้นเอง  นี่คือเกลียดตัวกินไข่  ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง  เป็นอันว่า  มีการรวบรวมข้อมูลแบบปกิณกะ  คือ  เขียนแบบคละกันเป็นข้อมูลที่กระจายปะปนไป  เขียนสิ่งละอัน  พันละน้อย  เจออะไรก็บรรยายไป  ต่างจากชาวตะวันตกเขามีวัฒนธรรมการเขียน  ทางตะวันออกไม่มีวัฒนธรรมการเขียนแต่อยู่ในรูปอื่น เช่น  ภาพวาด  สถาปัตยกรรม  หัตถกรรม  พิธีกรรม  นี่คือความรู้ชาวบ้าน

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2491-2 เกิดสังคมศาสตร์ขึ้นในห้องเรียน  แต่สังคมศาสตร์ท้องถิ่นยังคงดำเนินอยู่  ด้วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ปี  พ.ศ. 2485  เริ่มมีสังคมศาสตร์ตะวันตกปรากฏขึ้นมา  และวิชารัฐศาสตร์ถือเป็นสาขาแรกของสังคมศาสตร์ที่เข้ามาในเมืองไทย  โดยเปิดเรียนที่ธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2491  และจุฬา ฯ เปิดตามมาปี พ.ศ. 2492  ในช่วงแรกรับแนวคิดมาจากฝรั่งเศส  อังกฤษ  ทฤษฎีดังที่สุดตอนนั้นคือ  ทฤษฎีของอีมิล  เดอร์ไคหม์ ( Emile  Durkheim ) เขาเป็น 1 ในนักคิดทางสังคมวิทยา 3 คนที่ยิ่งใหญ่คือ 1.อีมิล  เดอร์ไคหม์ ( Emile  Durkheim ) เป็นคนฝรั่งเศส เขาเขียนหนังสือชื่อ  Division  of  Labour  in  Society  การแบ่งงานกันทำในสังคม  เป็นทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่  แนวความคิดนี้โด่งดังในอังกฤษ  มีนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษเอาไปใช้ชื่อ  อัลเฟร็ด  เรจินัลด์  แรดคลิฟฟ์-บราวน์  ( A.R. Radcliffe-Broown  ) เขาทำวิทยานิพนธ์ ป. เอก ชื่อ ชาวเกาะอันดามัน  The  Andaman  Islander  ในเล่มนั้นเน้นทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่  คือ ทุกสถาบันมีหน้าที่ในการจรรโลงให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีสมดุล

2.คาร์ล  มาร์กซ์  ( Karl  Marx ) เป็นคนเยอรมัน  3. แมกซ์  เวเบอร์ ( Max  Weber  ) เป็นคนเยอรมัน

............................................................

คำขอบคุณ  เก็บมุมคิดนี้จากการฟัง ศ. ดร. อานันท์  กาญจนพันธุ์ เมื่อ วันที่ 13 – 14 ม.ค. 2561 ณ  ม. ทักษิณ สงขลา.

หมายเลขบันทึก: 644050เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2018 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2018 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท