ตลาดนัดนวัตกรรมสังคม ณ เชียงใหม่ (๓)


ต่อจาก  ตลาดนัดนวัตกรรมสังคม ณ เชียงใหม่ (๒)  นะคะ

ร้านหรือบูธที่ ๒. ที่กลุ่ม สุขสดใส นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม

สถาบันพัฒนาชราบาล  เทศบาลตำบลสิเกา  

อ.สิเกา  จ.ตรัง

—เริ่มจากนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว  Longterm Care (LTC) ที่ชัดเจน ไปดำเนินการในการดูแลผู้สูงอายุ  เริ่มปี ๒๕๕๖  ,


นายกไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีอันจะกิน แต่ติดบ้าน  ทำอย่างไรจะมีคนดูแล


  จึงเริ่มโครงการนี้ —จุดเด่น คือ ไม่ใช้งบ ใช้การบริจาค และผลิตของเอาไปขาย


  ทำอาหารทำเองมากินร่วมกัน —เทศบาลไปรับผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรม  (ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง)


กลุ่มติดสังคมไปดูแลกลุ่มติดบ้าน  ติดเตียง  


ปลูกผัก เอาผักไปเยี่ยมกลุ่มติดเตียง —


ผู้สูงอายุที่มาไม่ได้ เทศบาลเอารถไปรับ —เน้นดูแลซึ่งกันและกัน สร้างสุขภาพจิต

^_,^

กลุ่ม สวนสี่ภาค นำเสนอผลงาน

หนองแขมโมเดล  กทม. (พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ)

—เป็น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) ไม่มี อสม. เป็น อสข.

—มีกระบวนการ PIRAB มีชุมชนเป็นคนก่อตั้ง มีทีมที่ปรึกษาเป็นราชการ มหาวิทยาลัย 

โครงสร้างชุมชนแข็งแรง มีการลงทุนดอกเบี้ยร้อยละ ๖  กำลังเงินมี ๓๐ ล้านบาท  ประชากร ๓,๐๐๐ คน 

—เริ่มต้นที่ผู้สูงอายุ  ติดสังคม  อยู่ได้ด้วยเงินลูก  ไม่เดือดร้อน

ทุกคนมีกิจกรรม  เสียสละทำงานเพื่อชุมชน  มีสินค้าทำโดยผู้สูงอายุโดยชุมชน น้ำพริก ไข่เค็ม ขนมเปียกปูน ขายได้ดี

—อาสาสมัครเข้มแข็ง  ผู้สูงอายุเยอะ  จึงเลือกชุมชนที่มีความแข็งแรงก่อน 

เริ่มจากชุมชนที่จะมีความสำเร็จก่อน  เมื่อสำเร็จแล้วจึงขยายผล —กองทุนหมู่บ้าน มีคนในพื้นที่ มีการเจริญสติ สวดมนต์ในชุมชน มีโซนที่จัดสวดมนต์  มีการเปิดตลาดนัดสุขภาพ (ขายของข้างต้น)
—

มีข้อกำหนดชุมชน  —มีโครงสร้างที่แข็งแรง  —ความเชื่อถือของชุมชนดีมาก (ผู้นำชุมชนเคยทำงานแบ็งค์)  —ผู้สูงอายุมีกิจกรรมเพื่อพึ่งตนเอง  —มี application สูงวัยสุขภาพดี

^_,^

กลุ่มสราญรมย์รวมกลุ่มดาวกระจาย  นำเสนอผลการเรียนรู้จาก

  "ไทนาป่าแซง บ่ ถิ่มกัน"  

ตำบลนาป่าแซง  อ.ปทุมราชวงศา  จ.อำนาจเจริญ

—ทำปี ๒๕๔๒-๒๕๕๓ — ปี ๒๕๕๓ เริ่มทำแผนที่ ๕ กลุ่มวัย
—ทำ SRM อย่างต่อเนื่อง ตอนนี้มี output ๑๕๗ ศูนย์การเรียนรู้
—มีการคุยกันในชุมชน  เอาปัญหามาแลกเปลี่ยน จัดลำดับ เลือกขึ้นมา จัดเจ้าภาพ และคืนข้อมูลกลับไปสู่ชุมชน ๕ ด้าน ดูแลตั้งแต่เกิด

—สังคม (นวัตกรรม) เศรษฐกิจ (มีปราชญ์ชุมชน) สุขภาพ (๕ กลุ่มวัย แรกเกิด-เสียชีวิต) สิ่งแวดล้อม (คุณภาพดิน ปุ๋ยพืชสด จัดการขยะชุมชน) การเมืองการปกครอง (ให้เทศบาลมาช่วย)

—ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน  ทำงานแบบไร้รอยต่อ  ไปถามได้ทุกเรื่อง ๕ ด้าน  —มีจิตอาสาหน้าเมรุ  และมีจิตอาสาทุกเรื่อง
—

ปัจจัยความสำเร็จ  คือ ทุกคนเป็นเจ้าของ  ไม่ทิ้งกัน เป็นเจ้าของร่วมรับผิดชอบ เวลากำหนดปัญหามาจากทุกคน เป็นปัญหาร่วมกัน แก้ไขร่วมกัน

เสริมแรง  —พองานสำเร็จ ระดับแรก ๆ ต้องเสริมแรง ให้รางวัล เชิดชูให้เกียรติ

^_,^

กลุ่มอย่าลืมฉัน  นำเสนอผลการเรียนรู้จาก  

"Benefits with นมแม่

แม่ให้นม ชุมชนให้สวัสดิการ"

ตำบลพลงตาเอี่ยม   อ.วังจันทร์   จ.ระยอง

—จนท.รพ.สต. ดูงานตามนโยบายแม่และเด็กไม่ครบตามเป้า (แรกเกิดน้ำหนักไม่ต่ำ , เด็กกินนมแม่, ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์และการเยี่ยมหลังคลอด)  สำรวจปี ๕๖-๖๐ ต่ำกว่าเป้าหมาย

จึงนำเข้าที่ประชุม ODOD และ พชต.  แล้วมาประสานงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีประชาคม  รพ.สต./สสอ./อสม.เชี่ยวชาญนมแม่ /นอภ./กรรมการสถานศึกษา/เกษตรอำเภอ (มีพืชกระตุ้นน้ำนม) 

ระดมความคิดเห็นผ่านภาคี ก็จะมีการดำเนินการเรื่อง ๔ ประเด็น หวังผลถึงเป้าหมาย ๔ อย่าง  เพราะแม่ไม่มีเวลาในการดูแลลูก  ทำอย่างไรให้หารายได้และมีเวลาดูแลลูก  

แก้ไขโดยให้เงินสวัสดิการ ๕๐๐ บาท เป็นเวลา ๖ เดือน เงินจากการบริจาค และรณรงค์ปั่นจักรยาน กฐิน (และเงินที่ได้มาจากทุกสิ่ง) —

คนที่อยู่ในโครงการ  บุตรสามารถเข้า ศพด.ฟรีแบบไม่เก็บเงิน แม่มีสิทธิ์กู้เงินดอกเบี้ยถูก  มี miss นมแม่ 

—มีการสรุปผลการดำเนินงานพบว่าปัญหา ๔ เรื่อง บรรลุตามเป้าหมายตามนโยบาย

มี ๕ กระบวนการตาม UCCARE มาตรการทางสังคม คือ เด็กที่คลอด ที่ผ่านการสมัคร  แม่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงจะได้สวัสดิการ ๖ เดือน 

หลังประสบความสำเร็จ ก็มีการสรุปและเพิ่มเงื่อนไข คือ ให้ผ่านเงื่อนไขอีก ๓ ข้อที่เป็นปัญหา ก็จะได้เงินครบ ๓๐๐๐ บาท  เป็นนวัตกรรม  นอกจากนี้ยังได้ใช้น้ำประปาฟรี ๖ เดือน

หลัง ปี ๕๖-๖๐ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด  (จากปี ๕๕ ตกเกณฑ์หมด) 


^_,^

กลุ่มสุขคูณสาม  นำเสนอผลการเรียนรู้จากบูธ

"ขยับกาย  ขยายสมอง  พลิกมุมมอง  สู่ยอดเพชร"

โรงเรียนเทศบาลตำบลงิม  จ.พะเยา

——

ประสบความสำเร็จ รร.ส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชร (อยู่ระดับ ๒ ของประเทศไทย)

—มาจากเด็กมีสมาธิสั้น สนใจการเรียนน้อย  กศธ.สนใจเรื่อง Brain gym, cup song นี้อยู่แล้ว 

(นโยบาย) —ต.งิม  เทศบาลตำบล ส่งเสริม  ครูเห็นปัญหาด้านการเรียน  รร.สร้างการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนตามบริบท  ผู้ปกครองเห็นความสำคัญ  นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

—ทำไมต้องเป็นแก้ว  เพราะเด็กถือประจำอยู่แล้ว  ใช้วัสดุไม่เป็นอันตราย
—ต่อยอด ไปยังเด็กอนุบาล เสริมพัฒนาการเด็ก  ศพด.และผู้สูงอายุ ใช้ brain gymได้ 

^_,^

กลุ่มส่งความสุข  นำเสนอผลการเรียนรู้จากบูธ  

"ตำบลจัดการสุขภาพ"

รพ.สต.หนองมะจับ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

—นวัตกรรม ๓ อย่าง คือ ๑) สังฆทาน สุขภาพ  ใช้ชะลอมเอาผักปลอดสารพิษ ถวายพระ, ๒) ประชาร่วมใจ ป้องกันไข้เลือดออก  มีการปรับเงิน  ผู้นำปรับแพงกว่า, ๓) คลินิกชุมชนเพื่อคนรักสุขภาพ NCD

—ผู้มีส่วนร่วม  อสม. ผู้นำ อปท.

จุดเริ่มต้น จาก ๕ ประเด็นหลักจากตำบลจัดการสุขภาพ

พัฒนาทีมตำบล เกิดสิ่งสำคัญ มีการทำ SRM มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ  ทำได้เป็นรูปธรรมชัดเจน  วัดผลได้  —จุดประสงค์ชัดเจน ทำเรื่องนี้ต้องพัฒนาเป็นตำบลต้นแบบ (เป้าหมายร่วม)

ผลลัพธ์ มีกลุ่มออมทรัพย์ทุนหมุนเวียน ๑๗ ล้านบาท
—ตำบลไม่มีปัญหายาเสพติด  เนื่องจากวิสาหกิจชุมชน ดึงกลุ่มวัยรุ่น มาทำงาน ทำอาหารปลา ทำข้าวเกรียบปลา  —

มีบุคคลต้นแบบเรื่องสุขภาพ  ทุกครัวเรือนมีผักสวนครัวอย่างน้อย ๕ อย่าง  มีตลาดผักปลอดสารพิษ  สวัสดิการในชุมชน “กินดี อยู่ดี มีสุข มีตังค์ ยั่งยืน” เป็นสโลแกน
—

การต่อยอด  จะขยายตำบลจัดการสุขภาพ ไปสู่ตำบลอื่น มีเป้าหมาย อ.สันทรายจะเป็นอำเภอจัดการสุขภาพ

^_,^

กลุ่มสวนแสนสุข

"สานพลังชุมชน  สร้างสังคมวัดขวาง  สุขภาพดี  วิถีธรรม  วิถีไทย"

จ.พิจิตร

—ทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒  คนไข้เยอะมาก  ชาวบ้านไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำคัญ เวลามีไข้เลือดออกก็ให้หมอทำ สุดท้าย ชาวบ้านมาบอกว่า เป็นปัญหาของชาวบ้าน

—นวัตกรรม คือ แผนที่สุขภาพ  ตาราง ๑๑ ช่อง  ใครรับผิดชอบ  ชาวบ้านทำเอง
—สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะ เยอะ  เขาจึงดูแลโดยใช้แผนที่ —เริ่มที่ทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะวัยอนุบาล ถึงวัยชรา เอาเรื่องไข้เลือดออกในทุกกลุ่ม  เด็กต้องรู้ว่า ยุงลายเกิดจากอะไร ทำลายอ่างไร ปลูกฝังแต่เด็ก
—

เครือข่าย เริ่มจากวัด  ครู  การรวมพลังของสังคม สร้างสรรค์สังคม เป็นพลัง
—มีจิตอาสา ช่วยกันแก้ปัญหาเอง ทำเอง  อสม.ไม่ต้องมายุ่ง ชาวบ้านจะทำเอง
—มีกติกาชุมชน  มีการปรับบ้าง  —ยุงบินสูง  ผสมพันธุ์กันกลางอากาศ

^_,^

กลุ่มรวมมิตร  นำเสนอผลการเรียนรู้จากบูธ

"Start up Like HAPPEN"

อ.ดอนสัก  จ.สุราษฎร์ธานี

—อสม.สามารถรวมภารกิจของผู้สูงอายุ และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน 

—เริ่มจาก อสม.ไปเยี่ยม ผู้ป่วยติดเตียง  จะหาเงินมาช่วยเรื่อง ผ้าอ้อม  จะหาเงินจากที่ไหน ช่วงเยี่ยมบ้าน เห็นขยะตามบ้าน จึงเริ่มจัดการปัญหาขยะ เปลี่ยนขยะเป็นเงินให้ผู้สูงอายุ  —

อสม.นำเข้าที่ประชุม อสม. เชิญแกนนำ  มาคุยกัน  จากปัญหาขยะและผู้สูงอายุ  เปลี่ยนขยะเป็นเงิน

เริ่มกองทุนขยะ  เอาเงินซื้อของแพมเพอร์ส  ทำมาได้ดีมีเงินไปซื้อวัสดุ ผู้ป่วยติดเตียง  จาก ๗ คน ตอนนี้เหลือ ๔ คน 

จึงเพิ่มเติมกิจกรรม  ให้ทุนการศึกษาของ นักเรียน “กองทุนสุขภาพ”  งบจากขยะ  เริ่มการจัดการขยะที่ต้นทาง

—ขยะที่สามารถดำเนินการต่อคือ ขยะเปียก 

^_,^

กลุ่มพืชสวนโลก  นำเสนอผลการเรียนรู้จากบูธ

"นวัตกรรมสังคมตำบลออนใต้  เพื่อความรอบรู้สุขภาพ  สู่ประเทศไทย ๔.๐"

อ.สันกำแพง  จ.เชียงใหม่

—

ความสนใจของผู้นำเสนอมาจาก โครงการสร้าง กฎหมาย มี พชอ.แล้ว  แต่ตอนขับเคลื่อนจะทำอย่างไร 

ที่ออนใต้มีคำตอบ  —นวัตกรรม สังคม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นวตกรสังคม (มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง)

—กระบวนการ คือ ต้องค้นหาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน  แล้วสร้างสัมพันธภาพ ว่าเขาสนใจเรื่องอะไร จะทำให้เขาเกิดความเป็นเจ้าของ 

แล้วเอาข้อมูลที่เราอยากทำ เช่น พัฒนาการเด็ก ไปคุยกับเขา  แต่ต้องไปสร้างภาพฝันของชุมชน  (เช่น เป้าหมายของชุมชน)  แล้วคืนข้อมูล  ดูว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง

ไม่ปิดกั้นความคิดเขา  เอาทุกความคิดเห็นมาทำแผนงานแก้ไขปัญหา  ให้ผู้นำชุมชนจัดลำดับความสำคัญ และมองหาทรัพยากร  ใครต้องมาร่วมทำ  และแผนแต่ละระยะ  จะต้องทำอะไร —

หลังจากทำสำเร็จ  เขาจะมีความเชี่ยวชาญแล้วก็เปลี่ยนประเด็น
—บทบาทของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ต้องเปลี่ยนจากผู้ให้ความรู้ เป็นกระบวนกร
—

สิ่งที่แม่ออนใต้ทำสำเร็จแล้ว คือ  เกษตรกร  ที่มีการใช้รางจืด และใช้สารอินทรีย์มาปลูกพืช  ไม่ใช้สารเคมี

^_,^

^_,^

สรุปภาพรวมของทุกร้าน  โดย ทพญ.สุรัตน์  มงคลชัยอรัญญา  สำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย

—เห็นพลังของการทำงานร่วมกัน

—เริ่มต้นได้จากทุกจุด  ไม่ว่าจะเป็นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ ชุมชน
—ต้องปรับบทบาทใหม่  ตามบริบทใหม่  ภาคประชาชนต้องเป็นผู้ดำเนินการมากขึ้นเรื่อย ๆ  เป็นเจ้าของสุขภาพ หรือเจ้าของโครงการ ริเริ่มงาน 

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ถอยออกมาเป็นผู้จัดกระบวนการ  —

ต้องพยายามตอบเรื่องบูรณาการ

^_,^

ตลาดนัดใกล้ปิดแล้ว  ให้ผู้ร่วม  Shopping 

สะท้อนผลการร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตลาดนัด

—(สสจ.ชลบุรี) ประทับใจนวัตกร กระบวนการ ชื่นชมชุมชน  เป็นคนนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 

วันนี้เห็นคนนำสิ่งดี ๆ ในชุมชนมาให้ดู  เห็นการเคลื่อนงาน SRM

ชื่นชมกระบวนการจัดสัมมนา  ไม่ต้องให้ทุกคนพูดเหมือนกัน เราสามารถเติมเต็มจากสิ่งที่เห็น 

ชื่นชมกับบอร์ดทุกบอร์ดที่นำเสนอ  ชื่นชมกับ อสม. ซึ่งแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ 

ประทับใจการลงชุมชน  ไม่ได้เริ่มจากความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่  เริ่มจากสัมพันธภาพ  ไปเจอคนเลี้ยงไก่ก็คุยเรื่องไก่ 

วันนี้จะปรับปรุงหลายอย่างเรื่องการทำงาน

^_,^

—(ศอ.๗) ประทับใจที่ได้ร่วมสัมมนา  ดีทุกบูธ  มีโอกาสฟังของออนใต้

ประทับใจที่บอกว่า  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ต้องชวนคิด ชวนทำ ชวนพูด ชวนคุย  ต้องลงให้ถึงคนที่รับผิดชอบงานจริง ๆ ไม่เน้นปริมาณ  ต้องคืนข้อมูลให้คนทำงานจริง  

มีการสรุปประเมินผล และตั้งเป้าหมายร่วมกันในชุมชน  ใช้เวลาสั้นๆ ในการประเมิน เป้าหมายสั้น ๆ ก่อน  และต้องค้นหานวัตกร  คือ คนในชุมชน

และที่ประทับใจมากคือ การฟังบรรยายของ อ.อมร  เรียนรู้ตลอดชีวิต

^_,^

—(สสอ.เอราวัณ) ชายวัย ๙๐ ปี  มาสื่อสารเรื่อง ๔.๐ และ niche market ผู้ประกอบการด้านสุขภาพ  ทำงานร่วมกับภาคี  ให้ภาคีเป็นผู้จัดการ  

น้องพยาบาลเดินตามรอยอาจารย์อมร นนทสุต  มีการทำแผนที่สุขภาพในหมู่บ้าน   —

คนที่นำบูธมา เป็นคนสำคัญ  กระบวนการ  ที่ไม่ยุ่งยากสามารถทำให้จับต้องเนื้อหาได้ 

วิวัฒนาการของ พชอ. มาจาก DHS ระบบสุขภาพอำเภอ  ต่อมาจะเปลี่ยนเป็น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชท.) —

ขอบคุณผู้จัด  และ อธิบดีกรมอนามัย

^_,^

เจ้าภาพหลัก  สำนักส่งเสริมสุขภาพ  กรมอนามัย  กล่าวปิดเวทีเรียบร้อย

พวกเราก็แยกย้ายกันด้วยมิตรภาพที่ได้จากการสานเครือข่าย  ได้เพื่อนใหม่  กระชับสัมพันธ์เพื่อนเก่าไม่มากก็น้อย

ได้แรงบันดาลใจจากบรรยากาศและสาระที่คนต้นเรื่องนำมาเล่า 

ยิ่งเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของเพื่อน  ของกลุ่ม  บวกกับประสบการณ์ของเราเอง ... ฟรุ้งฟริ้ง ๆ จินตนาการบรรเจิด

คงค่อย ๆ ตกผลึก  ปรับเงื่อนไข  ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตัวตน  คนที่เราร่วมทีม  บริบทพื้นที่ของเรา

ต้นไม้แห่งความหวัง  สรรค์สร้างความคิด  ค้นหา  ลงมือทำ  ขยายผลนวัตกรรมสังคมใหม่ ๆ  เรื่องเล็กน้อย  เรื่องใหญ่

ตั้งแต่แรกเกิดถึงเชิงตะกอน  รวมสิ่งแวดล้อมทุกมิติรอบตัวเรา  ครอบครัวเรา  สังคมของเรา ... ด้วยมือของคนในพื้นที่เราเอง

เราจะค่อย ๆ สานพลังกัน พื้นที่ที่โน่น  ที่นั่น  ที่นี่  ที่ชุมชนหมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัดของเรา

เพื่อคนไทยในประเทศไทยที่รักยิ่งของพวกเรา

แค่คิดก็เริ่มสุข  ลงมือทำอาจจะโลกสวยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ 

แต่เรามีเป้าหมายปลายทางที่ความสุข  ที่คุณภาพชีวิตของชาวไทย  ควบคู่คนลงมือทำอย่างพวกเราก็ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีสุขไปทุก ๆ วัน ทุกขณะด้วย

จึงจะสุขและสำเร็จพอดี ๆ   ทั้งระหว่างทางและปลายทางนะคะ

ขอบพระคุณคณะผู้จัดที่อำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง 

ขอบพระคุณพี่สุรัตน์  พี่ฝน  พี่ธานินทร์  ทีมวิทยากรกลุ่มที่ช่วยกันออกความเห็น  และร่วมกันทำงานประสานดี  ทั้งสำนักส่งเสริมสุขภาพ  สำนักทันตสาธารณสุข  ศูนย์อนามัย  กรมอนามัย

ขอบพระคุณ  ชาวอำเภอสระใคร ทีมงาน คปสอ.สระใคร/ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระใคร/นายอำเภอสระใคร  ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคายที่อนุญาตให้คณะเพื่อนร่วมเดินทาง ได้เดินทางมาราชการ

พบกันอีกเมื่อโอกาสเหมาะนะคะ  ขอคุณงามความดีคุ้มครองทุกท่าน

สวัสดีค่ะ

^_,^

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรมสังคม#ปฏิรูประบบสุขภาพชุมชน#ประเทศไทย ๔.๐#กรมอนามัย#สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา#สำนักส่งเสริมสุขภาพ#สำนักทันตสาธารณสุข#วรางคณา อินทโลหิต#สสจ.หนองบัวลำภู#ธิรัมภา ลุพรหมมา#โรงพยาบาลสระใคร#๘-๙ มกราคม ๒๕๖๑#โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่#ตลาดนัดวิชาการ#บูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิต#สถาบันพัฒนาชราบาล#เทศบาลตำบลสิเกา อ.สิเกา จ.ตรัง#หนองแขมโมเดล กทม.#ตำบลนาป่าแซง อ.ปทุมราชวงศา อำนาจเจริญ#อ.วังจันทร์ จ.ระยอง#โรงเรียนเทศบาลตำบลงิม จ.พะเยา#ตำบลจัดการสุขภาพ รพ.สต.หนองมะจับ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่#ตำบลวัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตร#อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี#ตำบลแม่ออนใต้ อ.สันกำแพง เชียงใหม่
หมายเลขบันทึก: 643959เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2018 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2018 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตลาดนี้มีเคสให้ได้เรียนรู้มากมายเลยนะครับ

-จั่งซี่คือสิบ่ถิ่มกัน 55

-วันนี้วันครู 

-นึกครื้มใจ อยากลองไปเป็นครูสอนเด็กๆ 

-คงจะสนุกไปอีกแบบนะขอรับ...

-ก็เค้าออกใบอนุญาตให้แล้วไงนี่ อิๆ

-เปิดโรงเรียนสอนเด็กๆ ที่บ้านไร่ ก็น่าจะดี เอิ๊กๆ 

ขอบคุณคร้า .๙๙ นึกถึงกระโปรงสั้นเชียร์ลีดเดอร์  อิ อิ

ขอบพระคุณมากค่ะที่คุณครู JJ มาเยี่ยมยามบันทึกนะคะ

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย  ดลใจให้คุณครู JJ และคุณครูด้วยจิตวิญญาณทุกท่าน  ดูแลรักษาสุขภาพดีไปนาน ๆ สุขกาย  สบายจิต  คิดและสร้างบันดาลใจต่อเนื่องให้ผู้คน  ลูกศิษย์  ไปอีกนาน ๆ นะคะ

ว้าว !!!  คุณครูบุญส่ง  เปิดโรงเรียนหลักสูตรพิเศษ  Hi Hug House Farmschool เชียร์ ๆ ๆ ๆ ๆ  คร้า

เน้นสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ  รักการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ  ปลูกผัก  ทำเกษตรกรรม  ทำอาหารด้วยสองมือของเรา 

แล้วค่อยสะท้อนจากใจว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง 

โหย ... แค่คิดก็น่าสนุกอ่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ขอบคุณสำหรับแนวคิดเรื่อง FarmSchool ด้วยนะครับ

-ได้ไอเดียแล้ว...คิดตั้งนานว่าน่าจะเป็นอะไรดี..

-รอนักเรียนมาเรียนรู้ด้วยกันที่นี่ Hi Hug House Farmschool นะครับ

-ก่อนอื่นก็ไปเรียนรู้เรื่องการปั้นเตาอบพิซซ่ากันก่อนครับ

-ทีมงานบอกว่าคิดไม่แพงหากมารับไปปั้นให้ก็ได้นะคร้าบ..

-กินฟรี อยู่ฟรี เท่านี้ก็พอใจแล้วล่ะครับ 555

กินฟรี  อยู่ฟรี  สบายมาก ... คิดหนักตรงไปรับมานี่ละ  ๕ ๕ ๕

อาจต้องอบ Pizza ขายด้วย  จึงจะพอค่าน้ำมันรถ  อิ อิ

แต่สนใจจริง ๆ นะคะ  อบฟักทอง  อบมัน (ปลูกไว้เอง)  อบไก่  อบปลา ... คงหอมน่ากินมากกกกกก ^_,^

ดีใจที่เป็นส่วนนึงของการสัมมนา. ชุมชนเก่ง. ไม่ทิ้งกัน คนสรุปภาษาสวย. วันนั้นอากาศหนาว แต่ใจอบอุ่นมากค่ะ

ดีใจที่เป็นส่วนนึงของการสัมมนา. ชุมชนเก่ง. ไม่ทิ้งกัน คนสรุปภาษาสวย. วันนั้นอากาศหนาว แต่ใจอบอุ่นมากค่ะ

ดีใจและขอบคุณที่พี่เบ็ญแวะมาเยี่ยมนะคะ   ทีมงานสรุปไม่ยาก  เพราะผู้นำเสนอสรุปเนื้อหาชัดเจน   กลั่นแก่นความคิดมาทั้งนั้นนะคะ

การสัมมนาแบบ  Human KM      ที่ผู้คนเข้าร่วมเป็นศูนย์กลางแบบนี้  อาศัยความรู้และประสบการณ์ตรงของคนเก่ง  คนดี   จอมยุทธ์มาจากทั่วประเทศช่วยกันนำสิ่งดีงาม  มาเสนอ  มาแลกเปลี่ยนกัน  โดยเฉพาะจิตใจ ... ดีพร้อมจะให้และรับซึ่งกันและกัน

เป็นบุญตาที่ได้ชม  เป็นบุญใจที่มีโอกาสเข้าร่วมเช่นกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท