องค์แห่งฌาน ๒


            องค์ฌาน ทำให้เกิดฌานได้อย่างไร

            สิ่งที่ต้องพิจารณาหรือวินิจฉัยต่อไปก็คือ องค์ฌาฌทั้ง ๕ องค์นี้ มีอยุ่อย่างไร และสัมพันธ์กันในหน้าที่อย่างไร ในขณะแห่งปฐมฌาน เป็นต้น

           ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือมีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ข้อนี้ย่อมหมายความว่า ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น สิ่งทั้ง ๕ นี้ ย่อมมีอยุ่ และสัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน คือ ปฐมฌาน ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป ว่า ถ้าจิตที่เป็นสมาธิ เป็นสิ่งที่มีอารมณ์อันเดียวและมียอดสุดอันเดียวคือเป็นเอกัคคตา ทั้งไม่มีคามนึกตรึกตรองอะไรแล้ว จะมีความรู้สึกถึง ๕ พร้อมกันได้อย่างไร ปัญหานี้ เป็นปัญาที่ถ้าสางไม่ออกแล้วก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าสมาธิในขั้นปฐมฌานได้เลย

        ในขั้นแรกจะต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่เรียกว่า องค์-องค์นั้นนเป็นเพียงส่วนประกอบหรือองค์ประกอบ คือเป็นสิ่งที่รวมกันปรุงให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ในฐานะเป็นสิ่งๆ เดียว เช่นเชือกเส้นหนึ่งมี ๕ เกลี่ยว เราเรียกว่าเชื่อกเส้นเดียว หรือขนมบางอย่างประกอบด้วยเครื่องปรุง ๕ อย่าง เราเรียกว่าขนมอย่างเดียว นี้คือความหมาขของคำว่าองค์ หรือองค์ประกอบ สำหรับในกรณีของปฐมฌานนั้น หมายวามว่า เมื่อจิตกำลังเป็นสมาธิถึงขึ้นนี้ จิตย่อมมีสัมปยุตตธรรม คือส่ิงที่เกิดขึ้นพร้อมกันแก่จิต ถึง ๕ อย่างแต่ละอย่างๆ ก็เป็นความั่นคงในตัวของมันเองด้วย สนับสนนุซึ่งกันและกันด้วย จึงตั้งอยู่อย่างมั่นคงขึ้นไปอีก เปรียบเหมือนไม้ ๕ อัน แต่ละอัน ๆ ก็ปักอยู่อย่างแน่นแฟ้นแล้วยังมารวมกลุ่มกันในตอนยอดหรือตอนบน เป้นอันเดียวกัน ก็ยิ่งมีความมั่นคงขึ้นไปอีก ข้อนี้ฉันใด ในขณะที่ปฏภาคนิมิตปรากฎแล้วตั้งอยู่อย่างมั่นคงจิตหน่วงเอาความเป็นอัปปนา คือความแน่วแน่ได้ องค์ทั้ง๕ นี้ ซึ่งมีความสำคัญแต่ละองค์ก็รวมกันเป็นจุดเดียว เป็นส่งิที่รเรียกว่า "ฌาน" หรือสมาธิที่แน่วแน่ขึ้นมาได้

         สำหรับองค์ที่เรียก่าวิจารก็เป็นอย่างเดียวกน คือมีเหลืออยุ่ในลักษณะสุขุมมาตั้งแต่เรกจนกระทั่วถึงขณะแห่งฐปนา ก็ทำหน้าที่รู้สึกอย่างทั่วถึงในปฏิภาคนิมิต ทำหน้าที่พร้อมกันกับวิตกดังที่เป็นมาแต่ต้น เป็นอันว่าในขณะแห่งปฏิภาคนิมิต ก็ยังมัวิจารเหลืออยุ่เต็มสัดเต็มส่วน

        ปีตินั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ ในฐานะที่เป็นปฏิกริรยาอันออกมาจากวิตกและวิจารอย่างประปราย ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก แม้ในขณะแห่งอนุพันธนา หรือผุสนาก็ตาม เมื่อวิตกวิจารเป็นส่ิงที่มั่นคงอย่างละเอียดสุขุมยิ่งขึ้นทุกที ปีติก็ยังคงมีอยู่อย่างละเอียดสุขุมย่ิงขึ้น ในฐานะที่เป็ฯปฎิกริรยามาจากวิตกและวิจารไปตามเดิม ฉะนั้นปีติจึงมีอยู่ด้ยวย แม้ในขณะแห่งฐปนา หรือ ปฏิภาคนิมิต สำหรับความสุขน้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยละจากปีติ ปัญหาจึงไม่มีความที่จิตเป้นฐปนาเหรือกำหนดอยู่ในปฏิภาคนิมิตได้ถึงที่สุด แน่วแน่ไม่หวั่นไหวนั่นเอง จัดเป็นเอกัคคตม จึงเป็นว่าสิ่งทั้ง ๕ นี้ ได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว ในขณะแห่งปฏิภาคนิมิตโดยสมบูรณ์

       เมื่อจิตได้อาศัยปฏิภาคนิมิตแล้วหน่วงเอาอัปนาสมาธิได้อย่างสมบูรณ์ถึงขั้นฌานแล้ว สิ่งทั้ง ๕ นี้ จึงตั้งอยุ่ในฐานะเป็นองค์แห่งฌานด้วยกันและกัน ในคราวเดียวกัน โดยไม่ต้องทำการกำหนดนิมิตอีกแต่ประการใด เพราะองค์แห่งฌานชเข้าไปต้้งอยู่แทนที่ของนิมิต คงเหลืออยู่แต่การควบคุมแน่วแน่ไว้เฉยๆ ด้วยอำนาจขององค์ทั้งห้าที่สมัคคีกันดีแล้ว เหมือนนายสารถีที่เพีีงแต่นั่งถือบังเหรียนเฉยๆ ในเมือม้าที่ลากรถได้หมดพยศแล้ว และวิ่งไปตามถนนอันราบรื่น ฉันใดก็ฉันนั้น ผุ้ศึกาาไม่พึงเข้าใจ่าองค์ท้เง ๕ นี้ เป็นควมคิดนึกที่ต้องทำอยู่ด้วยเจตนา แต่ละอย่างๆ โดยทีแท้มันเป็นเพียงผลของการปฏิบัติ ที่ได้ทำมาอย่างถูกต้องจนเข้ารูปแล้ว ก็ย่อมเป้นไปได้เองโดยไม่มีเจตนา เหมือนการกระทำของนายสารถีที่กุมบังเหียนอยู่เฉยๆ แม้ไม่มีเจตนาในขณะนั้น สิงต่างๆ ก็เป็นไปด้วยดี ครบถ้วนเต็มตามความประสงค์

       อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ชื่อต่างๆ ของฌานทั้ง ๕ ชื่อนี้ ย่อมเป็นเชนเดียวกับชื่อแปลกๆ ของอาการต่างๆ หลายอย่าง ที่เกิดอยู่กับสิ่งๆ เดียว แล้วแต่ว่าเราจะมองในแงไหน เฉาพะในความมหายที่สำคัญเป็นแง่ๆ ไป ชื่อ ๆ เดียวกันอาจหมายความถึงกิริยาอาการที่ต่างกันในเมือเวลาได้ล่วงไป พร้อมกับความสำเร็จของงานที่ทำเป้นขันๆ ไป ความแจ่มแจ้งข้อนี้จักมีได้ด้วยการอุปมาในเรื่องการฝึกลูกวัวอีกตามเคย

      สมมติว่าในขณะนี้ ลูกวัวได้หมดพยศ มีความเชื่อฟังเจ้าของถึงที่สุดและลงนอนสบาย ติดอยู่กับโคนเสาหลักนั้นแล้ว ลองพิจารณาดูกันใหม่ว่า มีอาการที่เป้นองค์สำคัญๆ อะไรบ้างที่ยังเหลืออยู่ นับตั้งแต่ต้นมาจนกระทั่งถึงในขณะนี้ อาการของลูกวัว ที่เแรียบกันได้กับคำว่า วิตกและวิจารในขั้นแรกจริงๆ นั้น อยู่ในลักษณะที่มันถูกผูก แล้วกระโจมไปกระโจนมา ดิ้นรนวนเวียอยู่รอบๆ เสา แต่บัดนี้อาการของลูกวัย ส่วนที่จะเปรียบกันได้กับวิตกวิจารนั้นได้เปลี่ยนมาอยุ่นลักาณะจนอนเบียดอยู่โคนเสาอย่างสบาย อาการถูกผูกซึ่งเปรยบกนได้กับวิตก ก็ยังม่ีอยู่ อาการเคล้าเคลียกับเสา ซึ่งเปรียบกันได้กับวิจารก็ยังคงมีอยุ่ หากแต่ว่าเปลี่ยนรูปไปในทางสุภาพเท่านั้น ส่วนความหมายยังคงอยุ่ตามเดิม

       ก่อนนี้ลูกวัวดื้อดึง ไม่ชอบเจ้าของ ยินดีในการไม่ทำอะไรตามใจเจ้าของเสียเลย บัดนี้ลูกวัวพอใจในความเป็นเช่นนี้ คืออาการที่มีความคุ้นเคยกับเจ้าของ ยินดีที่จะทำตามเจ้าของด้วยความพอใจ ย่อมเปรีบเก็บได้กับปีติอาการที่ลูกวัวนอนเป็นสุข ไม่ถูกเบียดเบียนด้วยการเฆี่ยนตี หรือด้วยการดึงของเชือกเมื่อดัวเองดิ้น เป็นต้น เปรียบกันได้กับสุข

        ข้อที่ลูกวัวไม่ละไปจากเส้ กลับยึดเอาเสาเป็นหลักแหล่งนี้ก็เปรียบกันได้กับเอกัคคตา เป้นอันว่าลักาณะทั้ง ๕ ของลูกวัวนั้น เป็นองค์สำคัญแห่งความสำเร็จ ในการที่ได้รับการฝึกจากเจ้าของ และอาจเปรยบกับได้กับองค์ทั้ง ๕ แห่งปฐมฌาน ซึ่งเป็นความสำเร็จแห่งการเจริญสมาธิในขั้นนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น

         อีกอย่างหนึ่ง ผุ้ศึกษาพังสังเกตให้เห็นว่า องค์แห่งฌานทั้ง ๕ นี้ ไม่ใช่ตัวการปฏิบัติที่จะต้องแยกทำด้วยเจตนาที่ละอย่างๆ หากเป็นเพียงผลของการปฏิบัติอันหนึ่ง กล่าวคือฌานที่มีลักาณอาการให้เห็นในเหลี่ยมที่ต่างๆ กัน เป็น ๕ อย่างดังนี้เป็นต้น

        ด้วยเหตุนี้เอง องค์แห่งฌานซึ่งเป็นความรู้สึก ๕ ประการ โดยลักษณะที่กล่าวแล้ว จึงเป็นสิ่งที่มีได้ในจิตดวงเดียวพร้อมกันและไม่ต้องมีการคิดนึกหรือเจตนาแต่อย่างใด เป็นการตัดปัญหาที่ว่า ความคิดนึกทั้ง ๕ อย่างจะมีอยู่ในฌานได้อย่างไร ให้สิ้นไป 

        ต่อแต่นี้ไปจะได้วินิจฉัยในข้อที่ว่า องค์แห่งฌานแต่ละองค์ๆ ได้ทำงานใหหน้าที่ที่ของตน มีผลในทางกำจัดนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้หมดไปได้อย่าง สืบไป...

        - อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

       

คำสำคัญ (Tags): #องค์แห่งฌาน ๒
หมายเลขบันทึก: 643953เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2018 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2018 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท