สื่อใหม่ศึกษา New media studies : (1) พัฒนาการของสื่อใหม่ในประเทศไทย



สื่อใหม่ (New media) เป็นทั้งพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสื่อและผลสืบเนื่องของพัฒนาการหลายด้านของสังคม จึงมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ทั้งต่อการดำเนินงานด้านสื่อและการสื่อสาร ตลอดจนแนวการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันของประชาชน เนื้อหาของบทความนี้ จึงมุ่งศึกษาถึงสภาวการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อใหม่ พัฒนาการของสื่อแบบดั้งเดิมสู่สื่อใหม่ ปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการสื่อใหม่ แนวการพิจารณาสื่อใหม่จากลักษณะจำเพาะที่สำคัญ และประเด็นการพัฒนาในอนาคตที่เกี่ยวข้อง  

พัฒนาการของสื่อใหม่ในประเทศไทย

ในช่วงต้นทศวรรษ 2560 ประชากรของประเทศไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป มีผู้เข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดประมาณ 60 ล้านคน โดยกลุ่มผู้ใช้และเครือข่ายที่มีส่วนในการนำการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก ได้แก่ เครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานก่อตั้งขึ้นใหม่ของรัฐทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร และกลุ่มบุคลากรในสถาบันการศึกษาขั้นสูง จากนั้น จึงเกิดพัฒนาการ ขยายตัวไปสู่หน่วยงานสาธารณะทั้งในภาครัฐและเอกชน และแพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณกว่า 38 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของประชากรทั้งหมดกว่า 68 ล้านคน ซึ่งกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 38 ล้านคนนี้ ทั้งหมดเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงและใช้งานสื่อสังคมหรือ Social Media ด้วย อีกทั้งครอบครองจำนวนเบอร์มือถือและลงทะเบียนซิมการ์ดจำนวนมากกว่าจำนวนของประชากรทั้งหมด หรือหมายความว่า คนไทยสามารถใช้สื่อออนไลน์และใช้สื่อมือถือติดตัวเคลื่อนที่ไปกับตนเอง (Mobile devices) จำนวนมากกว่าคนละ 1 เครื่องและมากกว่า 1 เลขหมาย (โดยเฉลี่ยคนละ 1.76 เครื่องและเลขหมาย) (สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทย,VEEDVIL. 2012) (Social media, 2016) สื่อ การสื่อสาร เทคโนโลยีสื่อและการสื่อสาร เสมือนเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ในสังคมยุคใหม่ ข้ามพรมแดนความแตกต่างเหลื่อมล้ำแบบในอดีตทั้งในภาคชนบท ภาคเมือง แต่ก็ก่อเกิดภาวะความเหลื่อมล้ำอย่างใหม่อันสืบเนื่องกับการจัดความสัมพันธ์ของมนุษย์และแบบแผนการรวมตัวกันแบบใหม่ของมนุษย์ ตลอดจนกระบวนการเชิงสังคมวัฒนธรรมบนเทคโนโลยีและเศรษฐกิจสังคมซึ่งความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล ตลอดจนการไหลเวียนทางความคิดและการรับรู้ปรากฏการณ์รอบด้าน มีบทบาทสำคัญและพลวัตรอย่างใกล้ชิดไปกับสื่อใหม่และพัฒนาการของการสื่อสารในบริบทใหม่ของทั้งโลก

กล่าวโดยภาพรวมได้ว่า พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและการสื่อสารของประเทศไทย จากการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตและสื่อดิจิตัลในรูปแบบต่างๆ ได้มีความแพร่หลายและส่งผลครอบคลุมคนส่วนใหญ่มากยิ่งขึ้นเป็นลำดับเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2560 หรือเมื่อ 10-15 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการและความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิดแรงกดดันที่ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดผลสืบเนื่องในหลายลักษณะต่อสื่อ เทคโนโลยีสื่อ และการสื่อสาร รวมทั้งกระบวนการทางสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีสื่อและการสื่อสาร

...................................................

หมายเหตุ :

ข้อเขียนนี้ เป็นเอกสารประกอบการบรรยายของผู้เขียน ในรายวิชาสื่อใหม่ สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนทำงานและผู้สนใจ รวมทั้งเป็นความรู้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งแวดล้อมด้วยความรู้และวิทยาการ ที่ต้องอาศัยการเข้าถึงด้วยความฉลาดรู้สื่อ ตลอดจนต้องบันทึกบทเรียนให้พลวัตรไปกับวิทยาการและเทคโนโลยีสื่อซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงนำมาเผยแพร่และบันทึกรวบรวมไว้ในนี้ด้วย

....................................................

บรรณานุกรมและเอกสารประกอบการเขียน  

สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทย,VEEDVIL, (2012). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review/)  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์ , การวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้ : เวทีชุมชนออนไลน์ ... การวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จากhttps://www.facebook.com/%E0%B...  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์, กลุ่มเรียนวิชาสื่อใหม่_กลุ่ม 1_ 2560: สื่อเตรียมสอบกลางภาค รายวิชาสื่อใหม่, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก https://www.facebook.com/group... 128026001246447/  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์, กลุ่มเรียนวิชาสื่อใหม่_กลุ่ม 2_ 2560: สื่อเตรียมสอบกลางภาค รายวิชาสื่อ, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก https://www.facebook.com/group... 1756021141358936/  
Social media, (2016) สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก http://www.9tana.com/node/thai... 

หมายเลขบันทึก: 643852เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2018 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2018 06:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบแสงและเงาของสื่มากๆครับ

ดีใจที่ได้ข่าวอาจารย์ครับ

แวะมาเรียนรู้ครับ ท่านพี่ ;)...

ขอบพระคุณครับอาจารย์ขจิต ขึ้นไปทางเหนือ แวะไปพานักศึกษาผมเวิร์คช็อปเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้สนุกๆสไตล์อาจารย์ กับอาจารย์บ้างนะครับ จะเลี้ยงข้าวนึ่งกับเผาข้าวหลามให้ทานครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ Wasawat Deemarn อาจารย์แข็งขัน มีพลังการเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่เสมอแบบไม่ต้องชาร์จแบตบ่อยเลยนะครับ มีความสุขมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท