เรียนรู้มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร ๑๐. เชื่อมโยงนักมนุษยศาสตร์กับหุ้นส่วน


  

แผ่นปลิวของโครงการ TORCH ภายใต้ The Oxford Centre in the Humanities มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด   www.torch.ox.ac.uk ที่แจกในงาน Engage Conference 2017 บอกว่า “Launched in May 2013, TORCH provides an important opportunities for Oxford’s humanities scholars to collaborate with researchers across a wide range of disciplines and institutions; work with academics across all stages of their academic careers; develop partnerships with public and private institutions; engage with wider audiences; and bring together academic research, diverse industries, and the performing arts.”   ผมตีความว่า TORCH เป็นกลไกช่วยสร้างบทบาทของนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์  ให้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย   ผ่านความร่วมมือที่หลากหลาย    กิจกรรมหุ้นส่วนสังคมช่วยสร้างหรือฟื้นความมีชีวิตชีวาของศาสตร์ที่ทำท่าจะตาย  ผ่านการทำงานเชื่อมโยงศาสตร์อื่น  และเชื่อมโยงชีวิตจริง

   แผ่นปลิวดังกล่าวสรุปผลงานว่า “20+ research networks, 9 major research programmes, 10+ knowledge exchange fellows, 30+ early career fellows, 350+ research-lad events with over 13,000 attendees”

 หน้าหลักของเว็บไซต์ของ TORCH (http://www.torch.ox.ac.uk/about)  สรุปผลงานที่ผ่านมาว่า “TORCH hosted a range of interdisciplinary projects, collaborating with all 9 humanities faculties, departments in the sciences, and cultural organisations. Some of the highlights included the launch event for its headline series Humanities and Science ‘Narrative and Proof’ …”   ยืนยันสมมติฐานของผม   เพราะในตอนถัดมาเว็บไซต์ระบุว่า “Since its creation, TORCH has raised £1.2million in grants and philanthropy so far to develop research projects.”

ศาสตร์ใดรู้สึกว่าชักจะได้รับความนิยมน้อย  มีบทบาทน้อยในสังคม   น่าจะแสวงหาลู่ทางสร้าง “ชาลา” (platform) การทำงานใหม่   ให้สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนที่เหมาะสมในสังคม   เพื่อให้ความรู้ในศาสตร์นั้นได้เป็น “ทุนทางปัญญา” (intellectual capital) ให้แก่วงการที่เข้าไปเป็นหุ้นส่วน  

จะทำเช่นนั้นได้ คนในศาสตร์นั้นต้องพัฒนา “กระบวนทัศน์ที่เปิดออกสู่ภายนอก” (outward-looking mindset)   และมุ่งสร้างสรรค์วิชาการบนฐานชีวิตจริงในปัจจุบันและอนาคต   เพิ่มจากที่บางศาสตร์ทำงานวิชาการบนฐานเอกสารหรือเรื่องราวแห่งอดีต   การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องการ “ตัวช่วย” คือขบวนการเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคม   ที่มีกลไกต่างๆ ตามที่เล่าในบันทึกชุด เรียนรู้มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร  นี้

ศาสตร์ที่แข็งตัวเคลื่อนไหวน้อย เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ก็จะไม่มี    เพราะจะมีการ “ผสมพันธุ์” ข้ามศาสตร์ ข้ามพรมแดนหุ้นส่วน   บังเกิดสิ่งใหม่ (emergence) ขึ้นจากความซับซ้อนและเป็นพลวัต   ทำให้ศาสตร์นั้นมีวิวัฒนาการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๖๐  เพิ่มเติม ๒๘ ธ.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 643844เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2018 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2018 06:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท