เอื้อยอ้ายฮ่วมใจ ฯ : อัตลักษณ์เขื่องในพิทยาคาร และการแบ่งปันประสบการณ์


สิ่งสำคัญที่สุดของกิจกรรม คือการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ผ่านการถ่ายทอด บอกเล่า ถือเป็นบทเรียนหรือแหล่งเรียนรู้สำหรับการเติบโต และการเรียนต่อสำหรับรุ่นน้อง จากผองพี่

เอื้อยอ้ายฮ่วมใจ ฯ : อัตลักษณ์เขื่องในพิทยาคาร  และการแบ่งปันประสบการณ์

            เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560  ที่ผ่านมา  ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม “เอื้อยอ้ายฮ่วมใจ สานสายใยสู่เขื่องในพิทยาคาร”  วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเน้นไปที่น้องที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เปิดโลกทัศน์  รับรู้ข้อมูลข่าวสารของสาขาวิชา  คณะและมหาวิทยาลัย  ที่ตนเองมีความสนใจ  พร้อมทั้งสามารถเลือกสายการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับความถนัดของตนเอง  ก่อนเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงเป็นแนะแนวและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง  เช่น การสอบสัมภาษณ์  การยื่นคณะในระบบทีแคส   เราจัดกันขึ้นในวันที่ 28  ธันวาคม 2560  เวลา 13 . 00 – 16.00 น.  ณ  หอประชุมมณีเทวา  โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี           

            กิจกรรมนี้ไม่ได้เน้นที่ความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว  แต่เราได้พยายามเปิดประเด็นในการพุดคุยให้มากที่สุด  แต่ก็อาจมีความบกพร่องไปบ้างในเรื่องของเวลาที่น้อยเกินไป  ทำให้เราออกแบบกิจกรรมเน้นที่การบรรยายระหว่างพี่น้องมากกว่า  กระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  แต่ก็ใช่ว่าการบรรยายแบบนี้จะไม่มีข้อดี  เพราะเนื้อหาการบรรยายค่อนข้างเป็นวิชาการ  ดังนั้นเราจึงเน้นไปที่การบรรยาย และตอบข้อสงสัยของน้อง ๆ ให้มากที่สุด

          สำหรับกิจกรรมหลัก ๆ เราเน้นไปที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  แต่แน่นอนน้อง ๆ ระดับชั้นอื่นก้สามารถเข้ารับฟังได้  ไม่เสียหายหากจะรู้เอาไว้

  • TCAS คืออะไรรู้ไหมเธอจ๋า ?

          กิจกรรมแรกมาในชื่อ “TCAS คืออะไรรู้ไหมเธอจ๋า ? ”  วิทยากรโดย ลิฟต์ (นันทิพัฒน์  พวงเพ็ชร) นิสิตคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ โดม  (วายุพล  บุญภักดี)  นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดยของเขตเนื้อหาของทั้งสองคน  เป็นการแนะนำระบบTCAS  รวมถึงการคำนวณคะแนนเพื่อเข้าคณะที่ตั้งใจไว้  เทคนิคการอ่านหนังสือ  เพื่อเตรียมตัวในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 

          สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการพุดคุยครั้งนี้  คือน้อง ๆ หลายคน  ยังไม่เข้าใจระบบการศึกษาในปัจจุบันมากนัก  ประเด็นคำถามจึงค่อนข้างหลากหลายและต้องการรายละเอียดในการสอบแต่ละสาขาของตัวเอง

          สิ่งที่ลิฟต์กับโดมย้ำ  กับน้อง ๆ ก่อนปิดกิจกรรมของตนเอง  ผมค่อนข้างประทับใจในประโยคที่ว่า “อยากติดต้องอ่าน  อ่านหนังสือให้หนัก  แล้วเราจะไมม่กลับมาเสียใจภายหลัง”

  • สัมภาษณ์อย่างไรให้ติด ?

          “สัมภาษณ์อย่างไรให้ติด ?” ผู้รับผิดชอบในการออกแบบกระบวนการคือ  โย (โยธิน  หมายมั่น)  นิสิตคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  โดยเราเป้าประสงค์ของกิจกรรมไปที่การแนะแนวเทคนิควิธีการในการสอบสัมภาษณ์เข้าในคณะต่าง ๆ รวมถึงการทำ PORTFOLIO เพื่อให้สะดุดตากรรมการ  ผ่านประสบการณ์ที่ได้รวบรวมจากพี่ ๆ หลายคน  มาบอกเล่าให้กับน้อง ๆ ได้รับฟัง

         แน่นอนว่าการสัมภาษณ์เป็นสิ่งสำคัญ  อาจเนื่องด้วยเป็นสิ่งตรวจสอบบุคลิกภาพ  ลักษณะนิสัยใจคอ ที่ตรงกับสาขาที่จะเข้าเรียน  ดังนั้นการตอบคำถามสำหรับตัวเองและพร้อมตอบคำถามผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ  สำหรับการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย

         สิ่งหนึ่งที่โยได้เน้นย้ำน้อง ๆ ทุกคนคือ “ความสวยงามไม่ได้มีผลมากมาย  ต่อการติดมหาวิทยาลัย  แต่กิจกรรมและวิชาการนั่นแหละ  คือหัวใจสำคัญของคะแนนสอบสัมภาษณ์ของเรา”  ดังนั้นสิ่งสำคัของการสอบสัมภาษณ์ที่ผมสรุปได้เป็นบทเรียน   นั่นคือเราต้องสามารถตอบใจตัวเองให้ได้  ว่าเราถนัดอะไร  อยากเรียนอะไร  เพื่อไปประกอบอาชีพอะไร

  • เวทีเสวนา “ประสบการณ์ชีวิต  ผลผลิตเขื่องในพิทยาคาร”

                   สำหรับตัวเวทีเสวนา  เรามีประเด็นหลักสำคัญที่อยากแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดจากพี่ ๆ  หลายคน  หลากหลายสาขาวิชา ในการเลือกทางเดินของตนเอง   กิจกรรมนี้จึงเสมือนเป็นเก้าอี้เล็ก ๆ ที่เรามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  โดยประเด็นหลัก ๆ สำหรับการเสวนาก็คือ

  1. พี่ ๆ มีวิธีการสำรวจตัวเองอย่างไรในการเลือกคณะเลือกสาขาที่อยากเรียน  รวมถึงมีการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีการวางแผนการอ่านหนังสืออย่างไรต้องศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง  ที่จะนำไปใช้ในการสอบ
  2. เมื่อเข้าไปอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยมีการจัดการชีวิตตนเองอย่างไรในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่และมีการวางเป้าหมายชีวิตด้านการเรียนมาอย่างไร
  3. สิ่งที่ได้จากโรงเรียนเขื่องในพิทยาคารและสามารถนำไปใช้ในชีวิตมหาลัยได้คืออะไร           ประเด็นทั้งสามนี้  ถูกแลกเปลี่ยนผ่านมุมมองของนิสิต และนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย  แต่เป็นลูก

            ประเด็นทั้งสามนี้  ถูกแลกเปลี่ยนผ่านมุมมองของนิสิต และนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย  แต่เป็นลูกศิษย์เขื่องในพิทยาคารร่วมกัน  ดังนั้นตอนที่เราจัดกิจกรรมจึงคิดว่า  น่าจะเป็นจุดร่วมระหว่างพี่และน้องมากที่สุด  สิ่งที่ผมเก็บได้จากการเสวนาครั้งนี้  นั่นคือทุกคนรู้จักการเรียนรู้โลกภายนอก  โดยมีโรงเรียนเขื่องในพิทยาคารเป็นแกนหลักในการต่อเติมแนวคิดและรูปแบบกระบวนการของความคิดก่อนออกไปสู่โลกภายนอก

  • ตลาดนัดความฝัน

                    ตลาดนัดความฝัน เป็นกิจกรรมสุดท้ายที่เรานำมาฝากน้อง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกันอย่างใกล้ชิด  เพราะแน่นอนว่าในช่วงการบรรยายหรือบอกเล่าผ่านเวที  เป็นคนหมู่มากดังนั้นการที่ให้พี่น้อง  ได้พบกันตัวต่อตัวจึงเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด  โดยเราแบ่งเป็นฐานตามคณะ  และสาขาวิชาชีพ  เพื่อให้น้อง ๆ ที่สนใจได้รับฟัง ซักถาม และแลกเปลี่ยนสิ่งที่ขาด  เพื่อเติมเต็มผ่านการบอกเล่าประสบการณ์ของรุ่นพี่

  • ข้อเสนอแนะ

                   สำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้น  แน่นอนว่าค่อนข้างออกมาดี  แต่ก็มีอะไรหลายอย่างที่ผู้จัดกิจกรรมอาจต้องนำมาปรับปรุงในการจัดกิจกรรมในครั้งหน้า เช่น

  1. การติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน
  2. รูปแบบกิจกรรมที่ชัดเจนแน่นอน
  3. การให้น้อง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับพี่ ๆ มากกว่านี้  เช่น  ควรมีตัวแทนน้อง ๆ เข้าร่วมเวทีเสวนาด้วย
  4. ควรมีการประสานงานกับคณะกรรมการนักเรียนของรุ่นนั้น ๆ

          กิจกรรม “เอื้อยอ้ายฮ่วมใจ สานสายใยสู่เขื่องในพิทยาคาร” โครงการนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจตัวเองมากขึ้น  แลเห็นภาพของมหาวิทยาลัย  ผ่านการบอกเล่าประสบการณ์จากรุ่นพี่   ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณขอขอบคุณ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร   พร้อมด้วยพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ทุกคน ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวให้ผ่านพ้นไปด้วยดี  และคิดว่าคงจะมีในปีการศึกษาหน้าต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 643661เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2017 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2017 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท