GotoKnow

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องพัฒนาตนเองด้วยหรือ?

ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2548 13:50 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:04 น. ()
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

เกริ่นนำ
          สืบเนื่องมาจากครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์) เป็นผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาดังนั้นบุคคลดังกล่าว เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จากคุรุสภาแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพ ฝีมือ และเป็นประโยชน์ในการขอต่อใบอนุญาตทุกๆ ๕ ปี


หลักคิดในการพัฒนาบุคลากร/ ทรัพยากรมนุษย์
โดยปกติหน่วยงานหรือองค์การต่างๆมักจะมีฝ่ายบริหารงานบุคคล หรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเจ้าภาพในการรับผิดชอบ ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้  ดังนั้นจึงขอนำเสนอหลักการเพื่อเป็นแนวทางพอสังเขป
1. หลักการมีส่วนร่วม (participation)
2. หลักการกระจายอำนาจ  (decentralization)
3. หลักความยินยอมพร้อมใจ (concensus)
4. หลักความเสมอภาค (equity)
5. หลักคุณภาพ (quality)
6. หลักเอกภาพ (unity)

1. หลักการมีส่วนร่วม (participation)
           การพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความร่วมมืออร่วมใจจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการร่วมคิด ร่วมพัฒนา

2. หลักการกระจายอำนาจ  (decentralization)
           นอกจากจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว หน่วยงาน องค์การที่รับผิดชอบควรมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ทำงานอย่างคล่องตัว สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

3. หลักความยินยอมพร้อมใจ (concensus)
          การพัฒนาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอยู่ที่การตกลง เห็นพ้องต้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาบุคลากร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นพ้องต้องกันเสียทุกอย่างโดยไม่มีเหตุผล

4. หลักความเสมอภาค (equity)
         บุคลากรทุกคนควรมีหลักประกันขั้นพื้นฐานในด้านความเสมอภาคที่จะได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถให้สูงขึ้น

5. หลักคุณภาพ (quality)
          เป้าหมายหลักของการพัฒนา มุ่งไปสู่ "คุณภาพของคน/ทรัพยากรมนุษย์" เป็นสำคัญ

6. หลักเอกภาพ (unity)
          การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แม้ว่าจะมีเจ้าภาพร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดหลายหน่วยงานแต่จำเป็นจะต้องมีเจ้าภาพหลักที่ทำหน้าที่ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานให้เกิด "เอกภาพ"


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย