เรื่องของจิตใจและน้ำตาลในเลือด


ถ้าจิตใจเบิกบาน การคุมน้ำตาลในเลือดก็ง่าย

รศ.วลัยพร นันทศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าให้ดิฉันฟังถึงโครงการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ระหว่างชุมชนท่าขอนยางและชุมชนขามเรียง กับคณะพยาบาลศาสตร์ โครงการมีกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั่วไป และการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเนื้อหาเรื่องการออกกำลังกาย (บรรยายและฝึกปฏิบัติ) การดูแลสุขภาพทั่วไป การดูแลสุขภาพเมื่อเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยให้ผู้สูงอายุมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ฝึกวัดความดันโลหิต ฝึกเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นผู้สูงอายุ ๑๕ คน เยาวชน (นักเรียนชั้นประถม-มัธยม) ๑๕ คน ให้เป็น buddy ดูแลซึ่งกันและกัน

ในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณยายน้อย บอกว่าตนเองก็ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน แต่ทำไมน้ำตาลยังสูงกว่าคนอื่น (สูง ๒๗๐) คุณยายน้อยอาศัยอยู่กับลูกชาย ต้องเลี้ยงหลานเล็กๆ ไม่ค่อยได้ออกไปพูดคุยกับเพื่อนๆ เมื่อถามว่าชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างไร คุณยายก็บอกว่าไม่เบิกบานใจ ตนเองเป็นคนคิดมาก

ส่วนคุณยายมี น้ำตาลในเลือดไม่สูง เพียง ๑๐๐ กว่าๆ บอกว่าฉันเป็นคนสนุก ชอบร้องรำทำเพลง ชอบไปพูดคุยกับเพื่อนๆ เวลาเดินผ่านไปบ้านใคร เขาก็จะคว้ามือเรียกว่าให้มาแวะคุยก่อนค่อยไป

คุณยายคนอื่นๆ ในกลุ่มต่างก็สนับสนุน บอกว่าใช่แล้ว ยายมีเป็นคนสนุก ร้องเพลง ร้องหมอลำก็ได้

อาจารย์วลัยพรได้ข้อคิดว่า ถ้าจิตใจเบิกบาน การคุมน้ำตาลในเลือดก็ง่าย ถ้าจิตใจไม่เบิกบาน เป็นทุกข์ น้ำตาลในเลือดมักจะสูง

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

คำสำคัญ (Tags): #ผู้สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 6382เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2005 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท