โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2560)

ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตร พัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รุ่นที่ 3)

(ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 9 กันยายน 2560)

 

วันที่ 25 กรกฎาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

การร่วมประชุมเพื่อนำเสนอโครงการ

Innovative Project : PSU Value Diversity Project Designing and Action Plans </p><p>
โครงการรุ่นที่ 3 มีเป้าหมายคือ Sustainable  PSU 8 </p>

คือทำ ม.อ.สู่ความยั่งยืน

1. โครงการรุ่น ทำ Sustainable Funding

2. โครงการย่อย กลุ่มละ 10 คน แยกย่อยเป็น 10 กลุ่มที่ชัดเจนแน่นอนว่าจะทำเรื่องอะไร

แยกย่อยเป็น 10 กลุ่ม ดูว่าทำอะไรที่หลากหลาย

โครงการรุ่นเป็นเรื่อง Sustainable Funding  ซึ่งมี 7 แนวทางที่ตอบโจทย์ Sustainable PSU

- มีกลุ่มกลยุทธ์ที่จะเป็นวงล้อกลิ้งไปข้างหน้า มีกลุ่มอื่นช่วยกันทำและเติมเต็ม

- สร้าง Google Drop ในไลน์แล้วแชร์ร่วมกันได้

1. Alumni ศิษย์เก่า

2. Teaching มี Short Course on Line Course

3. Research & Innovation

4. บริหารจัดการทรัพย์สินให้เกิดมูลค่า

5. PSU Staff ให้บุคลากรในวิทยาลัยผลิตรายได้ได้ด้วย มีการสร้างโครงสร้าง และบริหารทรัพย์สิน

6. เชื่อมโยงการบริการอาทิ บริการทางวิชาการ ศิลปะ สุขภาพ

7. ผู้ประกอบการ โดยเชื่อมโยงกับงานบริการด้วย

มีแกนกลุ่มเป็นกลุ่มหลักแล้วกลุ่มอื่นที่สนใจก็สามารถไปทำงานได้อย่างอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มีการ Share เอกสารร่วมกัน เติม Digital Economy การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 11 และ Life Long Learning  และเชื่อมโยงกับ Thailand 4.0 และทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยคิดถึงพื้นที่และสามเหลี่ยมเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย

          ในรุ่นนี้จะทำเป็นหนังสือ เขียนร่วมกันทั้งโครงการรุ่นและกลุ่มย่อยทั้ง 10 กลุ่ม

1. Sustainable Funding

          มีกลไกอยู่ 7 กลไกที่เป็นวงล้อ 7 เหลี่ยม สู่แกน Funding

          มี 10 กลุ่มที่รับผิดชอบใน Alumni Management

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          รุ่นนี้เป็นรุ่นที่เลือกมาจากผู้บริหารระดับ 1 แล้วเป็น Young Ph.D เป็นรุ่นผสม เห็นความสามารถรุ่นนี้ รู้สึกมีความภูมิใจ

          เห็นด้วยในการทำเรื่อง Rest Fund เพราะถ้าไม่ทำจะมีปัญหา

สิ่งที่ฝากไว้คือ

          1. ใช้เชคสเปียร์โมเดลให้ดี กำหนดตัวละครให้ดีทั้งข้างในและข้างนอก (อย่าเอาตัวเราเป็นหลัก) ปัจจุบันเป็น Network Intelligent เราต้องคิดว่าตัวละครข้างในคือใครแล้วเราต้อง Invest ใน Entrepreneurship ตัวละครมีทั้งข้างในและข้างนอก Intelligent ทางการเงิน ไม่ได้อยู่ข้างใน แต่อยู่ข้างนอก ให้นำตัวเลขเหล่านี้มาดู

          2. ความต่อเนื่อง แล้ว Execution Overcome Difficulty คือชนะเล็ก ๆ ในเรื่อง Funding เช่นวางแผนใน 10 ปีข้างหน้า แล้วแต่ละเดือนวัด Progress แล้วโครงสร้างผู้บริหาร ม.อ.ใครกำกับดูแล

          ถ้าเราจะร่างแผนเรื่อง Funding ต้องมี Timeframe และมีแผนปฏิบัติการเป็น Ownership ของเรา

แผนต้องมี Incentive ด้วยคือใครที่ทำสำเร็จใน ม.อ. ต้อง Reward และ Honor เขา ดังนั้นการบริหารจัดการของเราคือจะทำอะไรที่เป็นสาระ หรือ Real Work

          แผนของเราต้องเป็นแผนที่เหนือกว่ามหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือใครเป็น Ownership กลุ่มไหนที่จะมีอิทธิพล

          ทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ Entrepreneurship

1.Alumni

          ตอบโจทย์ในหลาย ๆ เรื่อง ศิษย์เก่า จบไปก็จากไป บางคนสำเร็จ บางคนไม่สำเร็จ แต่ไม่ได้ศึกษาว่าอยู่ที่ไหนบ้าง จะเพิ่มศักยภาพศิษย์เก่าอย่างไร ทำอย่างไรให้เป็น PSU Family ให้ดูว่าบัณฑิตที่จบไปมีทั้งความรู้ ทั้งอาชีพ ทั้งจิตวิญญาณของสงขลา

          ได้คิด Module

          1. Alumni Management System – สร้างการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า

          2. Alumni Empowerment – มองเรื่องไอน้ำ เป็นหยดน้ำ มี การ I Share Learn มีการเพิ่มประสิทธิภาพศิษย์เก่า และ Staff

          ศิษย์ปัจจุบันจะสามารถค้นหาข้อมูลศิษย์เก่าเจอหมดเลย อาจมีกิจกรรมเป็น 100 บู้ท ให้เห็นการเรียนอย่างมีเป้าหมาย

          3. Activity Data Pool Center – เห็นกิจกรรมร่วมกันหมดเลย ทำให้เกิดความสัมพันธ์กัน

          4. มีระบบ Alumni Specialist / Expert –

          5. PSU Channel เป็นสื่อกิจรรม ศิษย์เก่านักศึกษา และ Staff

          6. PSU University for all เป็น Support System สามารถเกื้อหนุนกันระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน

          7. มีสำนักศิษย์เก่าที่ทำให้เกิดความต่อเนื่อง มีเจ้าหน้าที่ทั้งหลายทำงานเชิงรุก

          8. Research & Innovation

          9. เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าให้เห็นชัดเจน มองประโยชน์มนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ยกคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ

          สรุป ให้ทำให้เห็นศักยภาพที่สามารถนำมาได้ อาจไม่ได้เป็น Funding โดยตรง

 

          ดร.จีระ ฝากไว้เรื่องคนที่ได้รับโล่ หรือดุษฎีกิตติมศักดิ์ไว้ด้วย เช่น คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ คุณวิชา มหาคุณ คุณสมชาย ศรีสุทธิยากร  อยากให้หาคนเจ๋ง ๆ เป็น Key 4-5 คน แล้วคนกลุ่มนี้ไปดึงคนอื่น ๆ มาด้วย

          อยากให้มีโครงการที่คณะต่าง ๆ Honor ศิษย์เก่า เชิญศิษย์เก่ามาพูดให้ฟังแล้วทำให้สม่ำเสมอ ให้ Alumni กับ นักเรียนรุ่นใหม่ มีความภาคภูมิใจ

          การมี Target Group จะทำให้ภาพชัดขึ้น อย่างรุ่นนี้เรื่อง Alumni ถ้าได้ผลิตบุคลากร เพราะว่าเราไม่ได้ดูแลเฉพาะ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ที่เดียว ขอชื่นชม และให้เป้าหมายชัดเจนขึ้น

           สิ่งที่ชื่นชมมากคือการทำหนังสือ โดยอยากให้ขอให้ อ.สมชาย อ.ไกรฤทธิ์ เขียนคำนำร่วมกัน  และอยากให้ตีพิมพ์แบบมีคุณค่า มีคุณภาพ


หัวข้อ สอนทำ Clip VDO เพื่อการนาเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม

<p>โดย อาจารย์ธีระพล ยนตรพันธ์ </p><p>คอมพิวเตอร์ไฟน์เดอร์บิสซิเนส แอนด์ ดีไซน์ </p>

 

 

1. Content ดึงส่วนที่สำคัญ

          - ตัวหนังสือ

          - รูปภาพสวย ๆ  หาภาพที่แทนคำพูดเราได้ เป็น Inspiration เป็นความรู้สึก

          - ภาพเคลื่อนไหว จะใช้กล้องมือถือ หรือวีดิโออะไรก็ได้ทำเป็น Production

 

วิธีการเลือกรูปภาพ

1. เลือกรูปที่ไม่มีลิขสิทธิ์

2. ภาพ Background เลือกที่เรียบง่าย

3. ดูขนาดภาพ

 

การดู Resolution คอมพิวเตอร์

วิธีการ

1. คลิ๊กที่เม้าส์ด้านขวา เลื่อนมาตรง Screen Resolution

HD                1366*768

Full HD          1080*

2. การเลือกรูปภาพ

          คลิ๊กขวา ให้หาภาพที่หาเท่ากับจอเราหรือใหญ่กว่าจะทำให้ได้ภาพที่ Full หรือเต็ม ๆ สวย ๆ

          1. หาภาพไม่ต่ำกว่าหน้าจอของเรา

          2. เตรียมภาพเท่ากับจอของมนุษย์ทั่วไปในโลกนี้

          3. หาภาพจาก Google ดูขนาดโดยเลื่อนไปที่ข้างล่างรูปภาพ

          4. คลิ๊กที่ภาพ ดู View Image แล้วดูว่าภาพที่เราเลือกมาสวยหรือไม่ มีรอยแตกหรือไม่

          5. Save ภาพที่ Save Image as

3. หารูปฟรี

          1. เลือกรูปที่เป็น Inspiration หรือแรงดึงดูดออกมา 

4. Copy Files จาก VDO ให้ Copy URL แล้วเปิด Youtube in MP4 แล้วไปวางเพื่อดาวโหลด


Story ที่เป็นประโยชน์

1. Titled

2. Header

3. Normal

4. Content อื่น ๆ

5. Link / Contact

 

Download เพลง  คลิ๊กที่ InstaMp3

 

สรุปขั้นตอน

ใส่หนังสือ ใส่รูป ใส่วีดิโอ ใส่ Effect ใส่เสียง

วันที่ 26 กรกฎาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

วิชาที่ 24 Group Assignment & Presentation

Lesson learned– Share and Care: บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 3)      

เรื่อง อ่านหนังสือเล่มที่ 3 เรื่อง The Alliance

• Managing Talent in the Networked Age

Harvard Business Review Press

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

……………………………………………………………………………………………………………………………..

 

กลุ่ม 1 : Chapter 1: Employment in the Networked Age     (น. 1-20)

 

กลุ่ม 2 : Chapter 2: Tours of Duty     น. 21-55

Chapter 3: Building Alignment in a Tour of Duty     น. 57-74

 

กลุ่ม 3 :  Chapter 4: Implementing Transformational Tours of Duty     น. 75-95

 

กลุ่ม 4 :  Chapter 5: Employee Network Intelligence     น.97-107

Chapter 6: Implementing Network Intelligence Programs     น.109-125

 

กลุ่ม 5 :  Chapter 7: Corporate Alumni Networks     น. 127-142

Chapter 8: Implementing an Alumni Network     น.143-152

 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยกตัวอย่างเรื่องศูนย์วิจัยที่ Stamford จะเน้น 4 เรื่องคือ

1. Imagination

2. Creativity

3. Innovation

4. Entrepreneurship

 

          ใน ม.อ. ต้องคิดว่าอนาคตจะมีการทำงานแบบไหน ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มองว่าเป็นลูกจ้าง นายจ้าง เขามองเป็นพันธมิตรกัน

          Networking อยู่ที่ Information , Attitude กับ Opportunities

          หนังสือเล่มนี้จะทดสอบเรา

          Funding อยู่ที่พวกเราทุกคนไม่ได้อยู่ที่ใคร บรรยากาศวันนี้จึงน่าจะเป็นการปะทะกันทางปัญญาที่ดีที่สุดครั้งหนึ่ง ให้ปะทะกับความจริง และหาประเด็นที่ Relevance กับ ม.อ.ของเรา

 

กลุ่ม 1 : Chapter 1: Employment in the Networked Age     (น. 1-20)

การจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างต่างคำนึงถึงความมั่นคงในอาชีพตัวเอง และคำนึงถึงงานที่ทำอยู่มีความมั่นคงขนาดไหน

          ให้นึกถึงครั้งแรกที่เราเข้ามาทำงาน เราเจอกับเจ้านาย แล้วเจ้านายต้อนรับเราด้วยความอบอุ่น แล้วจูงมือไปที่ฝ่าย HR และอธิบายรายละเอียดว่าเราทำอะไรบ้าง ในช่วงแรกจะอยู่ในช่วงทดลองงาน 3 เดือน หลายคนจึงคิดว่าความมั่นคงอยู่ตรงไหน เพราะอยู่ในสถานะที่จะถูกไล่ออกได้ตลอดเวลา หรือแม้ว่าทำงานดีแต่ถ้าเจ้านายไม่โอเคเราก็จะถูกไล่ออกได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

          ดังนั้นความมั่นคงจะอยู่ตรงไหน เพราะทุกคนจะคิดว่าไม่ค่อยมีความมั่นคง

          ลักษณะการจ้างงานเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สมัยก่อนเป็นการจ้างงานตลอดชีวิต เหมือนข้าราชการ มีพันธสัมพันธ์ อยู่ด้วยกันจนเกษียณ เป็นลักษณะการทำงานจ้างกันแบบสมัยก่อน เป็นการทำงานที่ให้ลูกจ้างมีความมั่นคง และทำให้บริษัทมีรายได้ด้วย  ลักษณะงานที่ทำเป็นงานมั่นคง ถาวร เป็นข้อผูกมัด ที่จะทำงานร่วมกันจนตายไป แต่พอโลกเปลี่ยนมีการศึกษามากขึ้น ธุรกิจเปลี่ยน พันธะระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเปลี่ยนตามกาลเวลา บริษัทใหญ่เป็นเป็นบริษัทขนาดเล็กลง และ Focus ใน Short Term Financial มีลักษณะเป็น Entrepreneurship เป็นตัวให้บริษัทมีความยั่งยืนมากขึ้น ทำให้การจ้างงานในยุคหลัง ๆ คือบริษัทให้ความสำคัญกับลูกจ้าง

 

Employees : The Most Valuable Resource

          Employee เป็นลักษณะที่มีการทำงานที่สร้างคุณค่าให้บริษัท ลูกจ้างมีส่วนสำคัญที่ให้มีส่วนช่วยกันคิด

          ในที่สุด บริษัทใหญ่จะมองว่าลูกจ้างเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ที่จะกระตุ้นลูกจ้างอย่างให้เพิ่มงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญ

องค์ประกอบ

1. พันธมิตร

2. ขับเคลื่อนคนในหน่วยงาน ที่เป็นครอบครัว ทำงานเป็นเป็นทีม

3. การสร้างคุณค่า คือนำคนเก่งที่มีศักยภาพเพียงพอ ทำคนเก่งให้มีเป้าหมายเดียวกัน มองงานที่ทำให้บรรลุมาได้เป็นFounder Mindset

กุญแจที่ 1 การสร้างพันธมิตร

          สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่าง ลูกจ้าง นายจ้าง และผู้ดูแลงาน และต้องมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมร่วมกัน การลงทุน ลงแรงร่วมกัน สร้างความเชื่อมั่น ให้มีความเสถียร และถ้าเขามีความมั่นใจจะทำให้ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ

พันธมิตรกับทีมทำงานร่วมกันอย่างไร

          1. Trust คือความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

          2. Mutual Investment

          3. Mutual Benefit

Alliance ประกอบด้วย คนที่จบไปแล้ว และจบใหม่ ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีความเชื่อมโยง มีทีมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

กุญแจที่ 2 การเปลี่ยนครอบครัวเป็นทีมในการทำงาน

          เนื่องจากคนในครอบครัวมีสายใยที่ตัดไม่ขาด เนื่องจากไล่ออกจากงานไม่ได้ ยังคงเห็นใจ ให้ความเคารพ ให้ทำต่อ แต่การผลักดันให้ครอบครัวเป็นทีม ทุกอย่างต้องมีความสมดุลระหว่างความเห็นอก เห็นใจ และทำงานในการผลักดันทำงานร่วมกัน

กุญแจที่ 3 การส่งเสริมให้คนเก่งเป็นผู้ริเริ่มคิดทำอะไร

          เริ่มต้นจากความมั่นคงทางจิตใจ มั่นคงทางการทำงาน จะเริ่มมีความกล้าในการคิดทำอะไรได้ต่อ ยกตัวอย่าง ซิลิคอนวัลเล่ย์ เป็นย่านหนึ่งทางใต้ของซานฟรานซิสโก เป็นแหล่งรวมผู้ผลิตทางด้าน IT

          ทำไมหลายคนอยากเข้าไปอยู่ที่นี่เพราะอะไร บริษัทดึงคนเก่ง ๆ

          1. อัตราเงินเดือนสูง

          2. สวัสดิการเจ๋ง มีการลาพักร้อนพิเศษ เปิดให้ซื้อหุ้น มีกิจกรรมสัมพันธ์ที่ดี มีโบนัสให้ โดยวุฒิการศึกษาเริ่มต้นจากปริญญาโทขั้นต่ำ

          ซิลิคอนวัลเล่ย์ จะรวบรวมคนเก่งมา และคนเก่งเหล่านี้จะมีความคิดเป็นผู้ประกอบการ

          บริษัทพิซ่า ที่ผลิตการ์ตูน เสนอไอเดียให้กับดิสนีย์สตูดิโอว่าจะเปลี่ยน การ์ตูนเป็น Annimation ตอนแรกดิสนีย์ไม่ได้ทำ จึงได้นำไปขายให้กับ จอร์ช ลูคัส  ซึ่งรับซื้อ และต่อมาดิสนีย์ได้ขอไปซื้อต่อมาอีกที

          ให้สนับสนุนความเก่ง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และทำอะไรที่สนับสนุนเขา

          สรุป มือทุกมือต้องประสานร่วมกัน มีการนึกถึงศิษย์เก่า มีความซื่อสัตย์ เชื่อมโยงเครือข่าย ทำงานเป็นทีม ส่งเสริมคนที่เป็น Talent ให้สร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพต่อไป

          Stability on the job ในมหาวิทยาลัยเราต้องคิดถึง Talent ที่มาเสริมด้วยนอกจากที่จบมาเท่านั้น

เสริมเพิ่มเติม

          Employee ของมหาวิทยาลัยคือใคร และทุกคนที่ทำงานอยู่วันหนึ่งเขาจะเป็นศิษย์เก่าในอนาคตของมหาวิทยาลัย ต้องเป็นผู้ที่รักองค์กร และพร้อมช่วยเหลือองค์กรอยู่ สังเกตได้จาก กฟผ. คนที่เกษียณไปจะรักองค์กรมาก

          Alumni ถ้าทุกคนเป็น Alumni และขับเคลื่อนองค์กรได้ไม่ว่าปัจจุบัน หรืออนาคตจะทำให้เราเดินต่อ และขับเคลื่อนได้ ทำให้เราไม่ตาย และเราต้องเดินไปร่วมกัน

          ลูกค้าคือพระเจ้า และเวลาทำกิจการใดก็ตามให้ทำ 3 Win คือคนซื้อพอใจ คนขายพอใจ และส่วนร่วมมีความสุข และต้องทำการขับเคลื่อนไปแบบ 4 Win

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ เสริมว่า ในช่วง 10 ปีก่อน ถือว่าอาชีพอย่างคนที่ที่ทำอยู่ใน ม.อ. มั่นคงมาก แต่ความมั่นคงเป็นอันตรายอย่างหนึ่งเนื่องจากไม่ชินกับความเปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้พูดถูกใจคืออนาคตของคนที่อยู่ในห้องนี้ไม่มี One Job anymore ต้องมีการเปลี่ยนงานตลอดเวลา ต้องเตือนลูกศิษย์ด้วย ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่เช่นนั้นจะปรับตัวไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะกลายเป็นแก่แล้วไม่มีคนจ้าง ไม่เช่นนั้นจะใส่ที่สวัสดิการคนจ้างงาน  โลกเปลี่ยนเร็วมาก

กลุ่มนี้จับประเด็นหลักได้แล้วว่าไม่มี Job Security ในโลกนี้อีกต่อไป และไม่มีใครเลี้ยงเราตลอดชีวิต เพราะถ้าใครทำงานประมาทก็จะล้มเหลว อยากพูดหนังสือเล่มนี้ในวิทยุของดร.จีระด้วย

สิ่งที่ ดร.จีระ เขียน มาจาก 2 R’s ที่ได้จากการทำงาน และอ่านหนังสือ

Talent ใน ม.อ.มีมาก แต่อย่าลืมว่าการบริหาร Talent ไม่ง่าย  

Talent ต้องได้รับการสนับสนุนองค์กร ทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำร่วมกับคนอื่น ซึ่ง Talent เหล่านี้ทำงานแบบ 20 % ได้ 80% ใครก็ตามที่ Outstanding ในมหาวิทยาลัยขึ้นมา มหาวิทยาลัยต้องดูแลและปกป้องเขา เราต้องมีความร่วมมือและมีความมุ่งมั่น ต้องพยายามทำตัวให้มีคุณค่าเพื่อที่จะถึงมาตรฐานเหล่านี้

ทุกอย่างมีตัวเชื่อมอยู่ และหลักสูตรนี้ดีเพราะอะไร ความสำเร็จคือการทำงานร่วมกัน และยิงไปที่ตัวเรา แต่ปัญหาคือความสามารถจะยั่งยืนในอนาคตจริงหรือไม่

Talent ของ ม.อ. ไม่ได้อยู่ใน ม.อ. แต่อยู่ข้างนอก ปัญหาคือ ถ้าอยู่ข้างนอกจะดึงมาได้หรือไม่ ต้องใช้นโยบาย Divine the rule

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 2

ม.อ.จะไปได้อย่างไร ทุกคณะทุกคนมีเป้าหมายของตัวเอง เราอาจหาเป้าหมายที่แม้ไม่ได้เยอะมากมายของแต่ละคนเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ เบื้องต้น อย่างชนะเล็ก ๆ

          ประเด็นคือทำอย่างไรให้ทุกคนเข้ามาร่วมในทีมเป็นเครือข่าย Network ให้เขาอยู่กับเรา ทำให้เขาตระหนักในคุณค่าขององค์กร เขามีคุณค่าต่อองค์กรอย่างไร และสำคัญอย่างไร แต่ไม่ใช่สำคัญเยอะจนแบบทะนงตนว่าไม่มีเราและจะอยู่ไม่ได้ แต่ให้เป็นลักษณะรักองค์กร และร่วมสร้างองค์กรในระยะยาว

 

กลุ่ม 2 : Chapter 2: Tours of Duty     น. 21-55

Chapter 3: Building Alignment in a Tour of Duty     น. 57-74

 

เรื่องนี้เมื่อค้นหาทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นเรื่องการหมุนเวียนมอบหมายภารกิจทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามองในการเชื่อมโยงทางการศึกษาจะหมายถึงการจัดคน และการหมุนเวียนตำแหน่งคน ต้องมองในประเด็นการทำงานว่าการจัดคนและการหมุนเวียนคนให้เหมาะสมกับภารกิจเป็นสิ่งที่ดี และทำให้คนของเราเองไม่หยุดนิ่ง และการทำงานของเราบางครั้ง มีผู้ใหญ่หลายคนพูดถึงคนทำงาน Routine ว่าทำงานสักแต่ว่าทำ ดังนั้นการเป็น Tours of Duty ทำให้การทำงาน Active ขึ้น

1. Building Trust through Honest Conversation

เป็นการสร้างความเชื่อมั่น หลายคนที่ทำงานแบบไม่ให้ใจในการทำงานเชื่อใจกัน

เป็นประเด็นแรกสุด และมีความสำคัญ องค์กรจะขับเคลื่อนไม่ได้ถ้าบุคลากรไม่เชื่อใจกัน จะทำให้องค์กรไม่แข็งแรง มีโอกาสพังได้ทุกเมื่อ

Tours of Duty ประกอบด้วย

          1. Rotational การหมุนเวียนคนในองค์กร

          2. Transformation เป็นการ Inside ข้างในคน คือระหว่างแต่ละอาชีพจะเป็นไปได้อย่างไร เป็นการสร้างความรู้ให้เขาเกิดองค์ความรู้ ให้เขาดึง Tacit ออกมาให้ได้

3.  Foundational เป็นการวางรากฐานตั้งแต่เริ่มจนออกจากองค์กรไป เพราะความมั่นคงเป็นเรื่องที่สำคัญของคน ถ้าเขามองว่าองค์กรไม่มั่นคง เขาจะเริ่มมองหาที่อื่นที่มีความมั่นคง

สรุปคือ ให้เพิ่มศักยภาพความรู้กับคนในองค์กร ในขณะเดียวกันต้องเพิ่มความมั่นคงและให้สวัสดิการที่ดีกับเขา ให้เขาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพให้ได้

ปัญหาคือการ Rotate ของคนที่ล้มเหลวหน่วยงานหนึ่งไปอยู่อีกหน่วยงานหนึ่ง แต่ในอนาคตข้างหน้าจะไปสร้างปัญหาให้อีกหน่วยงานอื่น ดังนั้น การ Rotate ควรเป็นการ Put the right man on the right job ให้เขาทำงานมีความสุข เต็มศักยภาพมากกว่าเพื่อแก้ปัญหา

Tours of Duty ทั้ง 3 ตัว จะอยู่ในองค์กรทั้งหมดจะเลือกใช้แบบไหนขึ้นกับความเหมาะสมขององค์กร เพราะบริบทของแต่ละที่ไม่เหมือนกัน และบางครั้งอาจไม่สามารถเลือกในแบบใดแบบหนึ่งได้  ดังนั้นการทำตรงนี้คือ บริษัทระดับโลกจะมีทั้ง 3 โมเดลอยู่ในรกระบวนการทำงาน

2. A Broadly Applicable Framework

ทำอย่างไรให้คนในองค์กรเห็นความก้าวหน้าในการทำงาน จะทำให้เขาทำงานมีความสุข ไม่เช่นนั้นคนอื่นจะเอาตัวไป

3. Tours of Duty for the Corporate Middle Class

กลุ่มคนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือคนที่อยู่ตรงกลาง องค์กรที่ดีควรมีแผนพัฒนาคนทุกระดับ

4. Long- Term Alliance

คือทำอย่างไรให้อยู่กับเรานาน ๆ ทำอย่างไรให้คนใหม่เรียนรู้ได้เท่ากับคนเก่า ในหลายคณะพบว่า องค์ความรู้ที่สะสมมาทั้งงานวิจัย การเรียนการสอน การพัฒนาการศึกษา การรู้จักวัฒนธรรมองค์กร

ค่านิยมองค์กร ม.อ.

เราจะรักษาคนดี คนเก่ง ให้อยู่กับเราได้นานที่สุดได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นเรามีคนเก่งแต่ไม่ใช่คนดีจะพาให้องค์กรล้มเหลว

เราตั้งค่านิยม และวิสัยทัศน์อย่างไร เราต้องทำให้คนในองค์กรไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ และการเล่นต้องเป็นทีม

ดังนั้นการทำงานตัวใครตัวมันจะไม่ทำให้องค์กรสำเร็จในอนาคตจึงต้องให้วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ พันธกิจ ไปร่วมกันให้ได้

3 ขั้นตอนสร้างให้คนทำงานร่วมกัน

1. การวางโครงสร้างพื้นฐาน

2. บุคคล

3. ภาพรวมขององค์กร

คนในองค์กรต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน  ทุกคนในองค์กรมีคุณค่าและศักดิ์ศรีร่วมกัน

การสร้างความเชื่อมั่น

1. การสั่งงานจาก Top Down ขาดตอนตรงกลาง ทำให้เกิดช่องว่าง การทำงานไม่ไปด้วยกัน

2. Define Personal Value one on one

3. สร้างให้คนเชื่อใจเรา

 

การทำงานที่มั่นคงและก้าวหน้าไม่ใช่ทำงานแค่ต่างคนต่างก้มหน้าทำงานตนเองเท่านั้น แต่ต้องมีความร่วมมือกับการทำงานในทุกหน่วย การทำงานเป็นทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความสัมพันธ์ยุคต่อไปใม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างในยุคต่อไปต้องเป็น Rotational และ Transformation   และ Foundational ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อย่างในมหาวิทยาลัยเราไม่ค่อยมีการ Rotate งานกันมากนัก ส่วน Foundation หมายถึงเราต้องมีพื้นฐานที่แน่น ดังนั้น Tours of Duty ในฐานะเป็น Employee ที่เป็น Alliance ประสบการณ์เหล่านี้จะไป Fit กับบทบาทที่สำคัญอย่างไร ประเด็นอยู่ที่ทำเป็นหรือไม่ ถ้าทำไม่เป็นอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา ต้องเป็นการจัดการเชิงรุก

Transformation เป็นการ Transform ให้เกิด Value ขึ้นมาแล้วไปหาความรู้เพิ่มเติม เป็นทาง Finance และโอกาสอื่นเพิ่มเติม และถ้ามีโอกาสใหม่ ๆ จะทำอย่างไร  เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง 3 V คือ  Value Added, Value Creation, Value Diversity เป็นการกระโดดไปอีกแนวหนึ่งที่สำคัญ แต่อย่ากระโดดไปตอนที่เราไม่พร้อมไม่เช่นนั้นจะล้มเหลว

เราจะต้องดูศักยภาพคนในองค์กรด้วย Foundation บางเรื่องอ่อน อาจต้องยืม Network ข้างนอก และคาดว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีคนเก่ง ๆ มาทำงานที่ ม.อ.มากขึ้น อย่านึกว่าทำไม่ได้ เราควรจะมีนโยบายย้ายไป ย้ายมา คนจะได้มีความสุข

          การ Rotational ไม่ใช่ในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว สามารถข้ามวิทยาเขตได้ Tours of Duty เป็น Skill ของคนที่เป็น Alliance

          ระบบในอนาคตไม่มีใครเลี้ยงใครแล้วแต่อยู่ที่ฝีมือเป็นต่อ

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 3

          เป็นเรื่องความสำคัญในเรื่องการสื่อสาร ที่เหลื่อมไปในเรื่อง Leadership ผู้นำต่าง ๆ ที่ทำให้คนเชื่อใจเขา และผู้นำต้องใช้คนเป็นว่างานนี้ใครควรจะไป อย่างเช่น ทหารไปเดินป่าต้องหาคนเก่ง การนำคนไม่เก่งไปทำงานที่ไม่ถนัด ต้องมีตัวช่วยหรือไม่  

          การเป็นทหารได้อย่างหนึ่งคือต้องมีทักษะอะไรบางอย่าง

          สรุปคือ เป็นเรื่องการสื่อสาร และการมีภาวะผู้นำที่ต้องเข้าใจลูกน้อง และลูกน้องต้องมี Skill บางอย่าง

          เรื่อง Rotation บางครั้งอาจไม่ต้อง Rotate ระหว่างองค์กรหรือมหาวิทยาลัย บางครั้งอาจออกไปทำงานกับองค์กรเอกชน ได้ด้วย จะทำให้ได้ความรู้และทักษะต่าง ๆ มาสอนเด็ก อาจารย์ต้องหาข้อมูลและเรียนรู้ตลอดเวลา และผู้ประกอบการก็จะ Win และสังคมก็จะ Winด้วย

          กลุ่ม 2 เสริมว่า สิ่งที่ทหารถูก Assign งานไปไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มีคือความเชื่อใจกัน เพราะทุกคนฝากไว้ แต่ถ้ามองที่ตำแหน่งจะเกิดการแบ่งแยกการทำงานเป็น 2 ฝ่าย

ดร.จีระ เสริมว่า ยุคใหม่ของ ม.อ. ต้องมีการเช็คข้อมูลใน Link in ซึ่งอาจมีข้อมูลวิชาการด้วย  การทดแทนต้องมีความสูสีคือ 1 แทน 1 ไม่ใช่ 1 แทน 0.1 สิ่งสำคัญคือประสิทธิภาพในการทำงานยังคงมีอยู่หรือไม่

สิ่งที่พูดมาทั้งหมดของกลุ่มนี้ สามารถนำไป Apply กับ ม.อ.ได้เลย

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ฟัง 2 เรื่องนี้ เป็นเรื่องพันธะ และพันธมิตร ต้องมีความผูกพัน พันธะ ต้องมีสัญญา ส่วนพันธมิตรเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ผูกพันกัน

          การอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในการนำไปใช้

          1. จัดการกับตัวเองคือใคร อาทิ ลูกศิษย์ การมองไปที่ลูกศิษย์คือต้องเตรียมที่จะปั้นลูกศิษย์ให้ขึ้นไปที่ Alliance การเป็นครูหรืออาจารย์รุ่นใหม่ต้องมองไปที่ลูกศิษย์

          2. การสร้างความเข้าใจให้รู้ถึงปัญหาของการจ้างงานยุคใหม่ คืออะไร และนำมาเปรียบเทียบกับ ม.อ. อย่างหนึ่งคือคนดีและคนเก่งที่อาจไม่อยู่กับเรายาว แต่ถ้าหลุดออกไป อาจสูญเสียความเก่ง และเรื่องวิจัยที่อยู่ในตัวอาจารย์ท่านนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องสร้าง Alliance

          3. การวิจารณ์หนังสือเหมือนการเรียนวิชาหนึ่ง ที่คนเขียนได้นำทักษะในการทำงาน การศึกษา การวิจัยที่เป็นกรอบแนวคิด มาเขียนเป็นกรณีศึกษา

          4. ทหารเหมือนกันทำไมต้อง Tours of Duty เพราะสมรภูมิต่าง การรบต่าง ยุทธศาสตร์ต่างการรบต่าง ยุทธวิธีเปลี่ยน เช่นเดียวกับอาจารย์ ที่การสอนลูกศิษย์ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่เหมือนกัน 

          5. เรื่อง Talent เป็นการบริหารที่ต่างจากทีม ทักษะในการวิ่งของคนไม่เท่ากัน บางคนไม่ใช่ Talent แต่อยู่ในระยะยาว  บางคนเป็น Talent อาจให้ไปทำงานสำคัญ

          6. Rotational คือการหมุนเวียนสับเปลี่ยนที่ทีม แต่ต้องไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนมาก ที่ไปลงสมรภูมิที่แตกต่างมากแล้วตาย แต่คนที่เป็น Talent อาจเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถ Transformational ได้

          7. Foundational เป็นการวางแผนระยะยาว ซึ่งความจริงอาจเป็นทั้งระยะสั้นก็ได้ และระยะยาวก็ได้ เช่น กลุ่มศิษย์เก่าเมื่อหลุดไปแล้วจะสามารถสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ร่วมกันได้

กลุ่ม 3 :  Chapter 4: Implementing Transformational Tours of Duty     น. 75-95

 

คำถามคือ ลูกจ้างกับนายจ้างจะทำงานเป็นทีมได้อย่างไร ?

          1. นายจ้างคือผู้บริหารที่กำหนดนโยบายลงมา ส่วนลูกจ้างคือผู้ที่ปฏิบัติงาน เป็นเรื่องความร่วมมือ การสื่อสาร การทำความเข้าใจกันมากขึ้น

          2. ลูกจ้างกับนายจ้างมีวัฒนธรรมในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้บริหารที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงจะมีความรู้สึกเหมือนกัน ทำงานไม่ได้แตกต่างกัน แต่พอใส่หัวโขนจะหลงประเด็น และลืมพันธกิจที่ว่าเมื่อมีโอกาสจะทำแบบนี้ โดนวัฒนธรรมองค์กรกลืนไป ในมุมมองของฝ่ายสนับสนุน ในห้องเราวิกฤติเป็นโอกาสในการขึ้นสู่ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในอนาคต การซึมซับ และปฏิบัติในการเรียนการสอน ผู้ปกครองสำคัญ ศิษย์เก่าสำคัญ แต่ที่ไม่ยิ่งหย่อนคือฝ่ายสนับสนุนที่ทำงานคู่กัน

          การสนับสนุนจะมีหัวหน้างานหรือผู้อำนวยการกองที่จะสัมผัสอาจารย์ตอบโต้การมีส่วนได้ส่วนเสีย ในอนาคตจึงอยากให้มองการทำงาน 2 ส่วนในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในอนาคตไปด้วยกันในลักษณะเพื่อนร่วมงาน ร่วมคิดร่วมทำ ไม่ใช่ตัดความคิดเห็นของคนจะขาดประเด็นสิ่งที่ดีไป

          3. ลูกจ้างกับนายจ้างมีบทบาทเท่า ๆ กัน ในมหาวิทยาลัย นายจ้างเปรียบเหมือนผู้บริหารที่จะชักนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ แต่ถ้าหัวหน้างานกับลูกน้องไม่สามารถไปทางเดียวกันไม่สามารถเดินไปได้ ส่วนหนึ่งคือถ้านายจ้างไม่สามารถทำงานร่วมกับลูกน้องได้จะเดินยาก ดังนั้นการบริหารคนในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนเด็กสมัยใหม่เข้ามาไม่สู้งานหลักอาจหาทางอื่น ในขณะเดียวกันนายจ้างต้องพิจารณาด้วยว่าเขาอยู่ไม่ได้เพราะเราหรือเพราะเขาไม่ได้ตั้งใจทำงานจริง

          ดร.จีระ เสริมว่าในระบบของ ม.อ. จะพบว่าผู้บริหารหรือนายจ้างแตกต่างกับธุรกิจเพราะไม่ได้มีความเป็นเจ้าของ บางครั้งความเป็นเจ้าของขึ้นกับทัศนคติที่จะทำประโยชน์ในระยะยาวของมหาวิทยาลัยหรือไม่ และผู้นำที่ดีต้องเอาความเป็นเลิศของคนในองค์กรที่จะ Motivate และ Encourage ให้เกิดความเป็นเลิศได้อย่างไร ดังนั้นการบริหารจัดการยุคต่อไปต้องไม่มองเขาเป็นลูกน้อง ต้องมองเป็น Partner เป็น Alliance และโดยแท้จริงไม่มีคำว่าลูกน้องแล้วเป็นแค่พันธมิตรของเรา อาจให้มีการ Rotate เป็นช่วง ๆ ต่ออายุ เป็นต้น

 

1. ในบทนี้พูดถึงการจ้างงานในอนาคตเป็นอย่างไร

การพูดคุยในองค์กรในเรื่องการสื่อสารให้ชัดเจนถึงพันธกิจหลักของตนเองและองค์กร ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จไปพร้อม ๆ กัน ยกตัวอย่างเรื่องบริษัทหนึ่งที่พูดถึงพันธกิจว่ามีความชัดเจนหรือไม่ พูดถึง Individual Need ที่แตกต่างกันไป เราต้องสร้างแรงจูงใจ และคุณค่า (Value)

          ต้องดูว่าองค์กรประสบความสำเร็จดูจากอะไร ลูกจ้างประสบความสำเร็จดูจากอะไร

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในอนาคตความสำเร็จของ ม.อ. ไม่ใช่ความสำเร็จของอธิการบดีหรือนายกสภาฯ เท่านั้น และ Trend ใหม่ของผู้นำคือผู้ที่รับใช้เรา แต่บางที่ติดนิสัยการเป็นขุนนางคือมีตำแหน่งไปแสดงพฤติกรรมเหมือนเจ้านาย ก็จะไม่ได้รับความรัก และในที่สุดลูกศิษย์ทุกคน จะมีความรักเพราะทำตัวเป็นพันธมิตร

          ผู้นำเหล่านี้เกิดได้อย่างไร ต้องไปหาผู้นำที่เป็น สมถะ ที่เขารับใช้เรา อย่างคนในห้องนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

 

2. Set up a System of Regular Checkpoints for Sides to Exchange Feedback with Each Other

          1. เป็นการเช็คระบบในเชิง Performance สิ่งที่เป็นปัญหาคือการ Set Goal คือควรที่จะชัดเจน บางครั้งอาจทำอะไรที่ไม่ตรงกับ Manager ก็ได้ ดังนั้นการทำอะไรก็ตามควรมี Timeline ชัดเจนให้ลูกน้องไปถึงเป้าหมายให้ได้

          2. ควรมีการสื่อสาร 2 ทางคือให้ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นทั้ง 2 ฝ่าย

          3. ก่อนเสร็จสิ้นโครงการเก่าเราควร Set up โครงการใหม่ให้คิดต่อ

          ภารงานมีระยะสั้น ระยะยาวขึ้นกับ Goal ที่จะไป แต่พนักงานที่มีประสบการณ์สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นไปได้ที่ความสัมพันธ์ระหว่าง Manager และลูกน้องค่อนข้างแย่ ผู้เขียนบอกว่าถ้าบริษัทใดมีสิ่งนี้เกิดขึ้นอยู่ ให้เรา Set up Timeline ของ Goal หรือเคลียร์สิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อน เพื่อ Set up ว่าเราเดินไปตาม Timelineที่วางไว้หรือไม่

 

3.การเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในองค์กร

          จะทำให้พนักงานเกิดความท้าทายมากขึ้น เกิดแรงบันดาลใจมากขึ้น ถ้าพนักงานยังอยู่ในตำแหน่งเดิม ๆ ใช้คำว่า Succession ในระบบคือ ระบบอุปถัมภ์ อาจมีปัญหาที่ไม่เกิด Initiate ในองค์กร โครงสร้างอุปถัมภ์อาจก่อให้เกิดประชานิยมได้เช่นเดียวกัน แล้วจะฝังรากลึกที่แก้ยากกว่าเดิม

          การพูดถึง Mission ถ้าไม่ชัดเจน จะพายเรือในอ่าง คือสิ่งที่เกิดขึ้น

          ถ้าพนักงานหรือลูกน้องอยากเผชิญโลกกว้าง ผู้ใหญ่ในโลกอาจไม่อยากเสียคุณค่า พนักงานที่เก่งอยากเผชิญโลกกว้าง เพราได้เงินสูงกว่า แต่ผู้จัดการไม่อยากเกิดขึ้นเพราะต้องฝึกพนักงานใหม่ตลอดเวลา และเสียเวลาในการทำงาน  บริษัทคาดหวังไม่ให้ลูกน้องออกเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ควรทำคือ ถ้าเห็นว่าเขาไปได้ได้ควรให้เขาไป

 

การประยุกต์กับ PSU

          Tacit กับมุมมองของคนใหม่ ๆ ถ้ามีการนำมาผสมกันจะมีความหลากหลาย

1. ความเป็น Conservative ที่เปลี่ยนยาก ที่อื่นทำอย่างไร ผู้บริหารทำอย่างไร

          - Trust

          - เปลี่ยนจากครอบครัวเป็นทีม

          - มั่นคง

          เราจะหยิบอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ องค์กรต้องฉลาดในการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมที่สุด เราต้องสร้างภูมิและความรู้ของเราให้เกิดการยอมรับ

          ดังนั้นการทำงานด้วยใจทุกอย่างก็จะมา เราต้องทำอย่างไรให้เป็นการทำงานแบบถวายชีวิต

2. นำ Tacit ที่มีอยู่ขึ้นมาเป็นการบริหารจัดการเป็นอย่างไร ยิ่งผู้บริหารระดับสูงมีประสบการณ์ที่รับปรัชญาจากผู้มีคุณวุฒิทั้งหลาย อาจต้องมีการมาแปลต่อ

          การเปลี่ยนอาจต้องมีการเปลี่ยนแบบ Transactional ไม่ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ค่อย ๆ เปลี่ยน เนื่องจากมี Tacit ที่อยู่ในตัว มีความคิดที่ฝังไว้ เปลี่ยนไม่ได้แล้ว เป็นปัญหาในความเชื่อที่ถูกฝังรากไว้ 

          ให้มีความจริงจริงคือ Trust ซึ่งถ้ามีความจริงใจทุกอย่างจะมา

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ถ้าความสัมพันธ์ไม่ชัดเจนและมีปัญหาต้องพยายามพูดและสื่อสาร แต่ถ้าทำไม่ได้จะเกิดปัญหาที่เป็นความเครียดและรุนแรงต่อไป และบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาได้ อาจใช้ตัวแทนในการออกความเห็น เพราะแต่ละคนในองค์กรไม่เหมือนกัน บางคนชอบพูดตรง บางคนพูดอ้อม บางคนต้องการพันธมิตรเล็ก ๆ

          ลูกน้องมี 3 ชนิดคือชนิดไม่เอาไหน ปานกลาง กับชนิดเก่ง เพราะบางครั้งเก่งแต่ไม่ฟิตกับสิ่งที่เราต้องมีปัญหา ส่วนเรื่องปานกลางจะค่อนข้างง่ายคือจะเป็น Flexible ในวันนี้ต้นทุนองค์กรแพงที่จะรัน ดังนั้นคนที่จะทำงานในองค์กร ถ้าผู้นำสร้างให้คนมีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่ ขนมเค้กก็ใหญ่ขึ้น แล้วผู้นำเหล่านั้นจะสบายขึ้น

          ในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า Trust บางครั้งไม่ต้องคุยกันก็ไว้ใจกันได้ แต่ถ้าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เกิดความตึงเครียดก็ต้องคุยกัน อย่างไรก็ตาม ลูกน้องเหล่านี้ต้องพัฒนาตนเอง คือต้องพัฒนาในเรื่องอ่าน ให้อ่านให้ออก  วิชาหนึ่งที่ต้องเรียนคือมองโลกในแง่บวกในองค์กร

          ใน ม.อ. พบว่าการเสียคนเก่งเกิดขึ้นเสมอ ในยุคต่อไปต้องมองเป็น Alliance และ Alliance ไม่จำเป็นต้องเป็น Full Time ยุคต่อไปการเปลี่ยนอาจเป็นเพราะเรื่อง Finance ดังนั้นคนที่เป็น Deadwood อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าคนเก่งออกไปแล้วทดแทนด้วยคนไม่เก่งต่อไปอาจจะยุ่ง ดังนั้น ต้องมี Talent ข้างนอกต้องรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน และต้องบริหารจัดการเขา ต้องมี Flexibility การใช้ Talent นอกมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในรุ่นนี้ เกิดขึ้นแน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้ทันกับสถานการณ์ การเก็บคนเก่งไว้ ประสบการณ์และ Network ต่าง ๆ เป็นอย่างไร

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 4

          การจ้างงานในอนาคต นายจ้างและหัวหน้างานต้องเห็นเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้บริหารไม่ใช่แค่นาย ผู้บริหารต้องเป็นเฟืองหนึ่งเฟืองในการขับเคลื่อนด้วย นายสามารถเป็นเพื่อนร่วมงาน ประเมินมีการสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาทีมงาน และเมื่อทำได้ดีต้องมีการยกย่องส่งเสริม มีการ Rotate งานกัน

          การทำงานต้องมีการสื่อสาร สร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจกัน และขณะเดียวกัน คนเก่งเมื่อเขาเก่งเขาจะไป เราควรสนับสนุนให้เขาไป และให้มองเขาเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนงานในอนาคตได้

          การ Fix Mindset ให้ปรับเป็น Growth Mindset ทุกคนจะขับเคลื่อนได้

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

          ความเปลี่ยนแปลง แรก ๆ ที่เรามา เราจะไม่กลล้าพูด จะให้แต่คนที่เคยพูด พูด สิ่งที่เห็นคือจะเห็นความมีภาวะผู้นำที่ชัดเจนขึ้น สิ่งที่อาจารย์จีระทำเริ่มได้ผล แต่เราจะนำไป Implement ในหน่วยงานได้หรือไม่ เป็นส่วนที่เราจะต้องไปท้าทายไปปรับปรุงหน่วยงานตนเอง นำความรู้ไปปรับปรุงงานให้ดีที่สุด

          ดร.จีระ เสริมว่า ในหลักสูตรนี้จะมี Moment จุดบางจุดที่ไป Impact ต่อเรา อย่างคำว่า Mojo หรือ โป๊ะเช๊ะ

กลุ่ม 4 :  Chapter 5: Employee Network Intelligence     น.97-107

Chapter 6: Implementing Network Intelligence Programs     น.109-125

 

1. จะสร้างให้เพื่อนร่วมงานสร้างเครือข่ายที่ชาญฉลาดและประยุกต์ใช้อย่างไร

2. การประยุกต์ใช้เป็นอย่างไร

 

การสร้างเครือข่ายอย่างชาญฉลาด

          โยงใยบางอย่างที่ทำให้เกิด Key บางอย่าง ทำอย่างไรให้คนมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ ทำอย่างไรให้มีศักยภาพมากขึ้น ให้มีการเรียนรู้กับคนใหม่ ๆ มากขึ้น The People we know is the skill we have

          ความสำคัญขอบการสร้างเครือข่ายในชาญฉลาด

          1. แหล่งข้อมูลหรือการปะทะกันทางปัญญา ซึ่งจะเกิด Transformation หรือการเปลี่ยนผ่าน

          เมื่อมีเครือข่ายจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ Transformation

          อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่เรามีเครือข่าย เราต้องสร้าง Trust ให้ลูกน้องลดความเสี่ยง และเข้าใจ

          1. Linked in – เครือข่ายที่สร้างการทำงานร่วมกัน องค์กรสมัยใหม่จะเน้นการทำงานเป็นทีมและเครือข่ายมากขึ้น

          และเมื่อไหร่ที่มี Network Intelligence จะทำให้รู้ข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อน สร้างโอกาสสิ่งใหม่ ๆ การเรียนรู้ใหม่ ๆ และเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาด ยกตัวอย่าง E-bay จะประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทที่จะมาทำงานร่วมกับเขา คือ BillPoint และ PayPal พบว่า E-Bay เลือกความสัมพันธ์กับ PayPal เพราะมีเครือข่ายที่มากขึ้นทำให้ E-Bay เป็นที่รู้จัก

          หัวใจการทำงานฉลาด

          - จริงใจ

          - ไม่โกง

          - การรักษาความลับในการทำงานร่วมกัน

          เราจะดึงดูดคนเก่งคนมีความสามารถได้อย่างไร ดังนั้นการคัดเลือกคนต้องสำคัญเช่นเดี่ยวกัน

          - คนที่ใช่

          - ความสามารถเป็นประโยชน์ให้องค์กร

          - เพื่อนและเครือข่ายย้อนไปที่ประโยชน์ขององค์กร

          ผู้บริหารจะทำอย่างไรให้เขาเห็น

          - ความรักองค์กร เราจะสร้างความไว้วางใจอย่างไร

          - การตั้งคำถาม หรือการสร้าง Empowerment กับเขา เช่น เป็นอย่างไรบ้างกับบริษัทที่เราไปคุย และบริษัทเหล่านี้ก้าวผ่านวิกฤติได้อย่างไร จะได้บทเรียนให้เราเรียนรู้ และก้าวผ่านไปด้วย

          - การสนับสนุนในการสร้างเครือข่าย เช่น กินข้าว การนำเสนองาน การประชุมต่าง ๆ

          ทั้ง 3 ส่วนจะทำให้เกิด Transformation

          - การก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน ประกอบด้วย KM เช่นการ Report ทานอาหาร การได้จากผู้เชี่ยวชาญ แบ่งปันประสบการณ์

โมเดลใยแมงมุมของ PSU

          1. ศิษย์เก่าAlumni

          2. ชุมชน

          3. มหาวิทยาลัย

          4. องค์การภาครัฐ

          5. องค์กรภาคเอกชน

การสร้างเครือข่าย

แมงมุมขยุ้มหลังคา มาจาก การมีความจริงใจ 

แมวกินปลาคือ มีประโยชน์ร่วมกัน

หมากันกระพุ้งก้น คือกัดไม่ปล่อย เอาจริง เอาจัง

         

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 4

          The People we do = The skill we have ยิ่งรู้จักคนมาก เรายิ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์มาก

          การมองเครือข่ายในการทำ Stakeholder เราต้องค้นหาคนที่เกี่ยวข้องมีผลกระทบกับเราที่สุด เราต้องวิเคราะห์ Stakeholder คือจะช่วยเขาอย่างไร และเขาจะมาช่วยเราอย่างไร

          การใช้บริหารจัดการทีมคือครอบครัว พยายามหา Family ในคณะยากมาก และเมื่อมองไปที่ Family จะมองไปที่ Loyalty แต่ละคนมอบให้กับคณะมากน้อยแค่ไหน เราอาจยังข้ามจาก Loyalty ไปเป็น Family ยังไม่ได้ เราอาจยังไม่สามารถก้าวข้าม Family ไปสู่ทีม

          Walking the Walk คือการเดินไปด้วยกัน รู้จัก เข้าใจกัน อย่างน้อยจะเป็นครอบครัวเป็นทีมร่วมกัน

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่า Information และ Opportunities จะไปด้วยกัน อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับท่าทีของเราด้วย

          Networking เป็นยุทธวิธีสำคัญของ ม.อ. เนื่องจากต้นทุนไม่มาก ได้จากการมี Information และ Opportunities  และอยู่ที่ Mutual Benefit และ Mutual Trust ต้องมีการบริหาร Networking in the Long Run ด้วย

          การพึ่ง Stakeholder ไม่ใช่พึ่งข้างในอย่างเดียว แต่ต้องพึ่งข้างนอกด้วย

          การมี Network ต้องเป็น Effective Networking ด้วย ต้องเป็นต่างตอบแทน ต้องมี Mutual Benefit ให้ได้

 

กลุ่ม 5 :  Chapter 7: Corporate Alumni Networks     น. 127-142

Chapter 8: Implementing an Alumni Network     น.143-152

 

ทำอย่างไรที่จะได้ Alumni Network ที่มีประสิทธิภาพ

ความล้มเหลว

1. ไม่เล็งเห็นความสำคัญ

2. ไม่ได้สร้าง Strategy ของการสร้าง Network

          หลายคนไม่อยู่เนื่องจากไม่มีภาพและเป้าที่ชัดเจน การทำ Alumni ให้เข้มแข็งต้องได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ต้องมี Mutual Trust , Mutual Investment และ Mutual Benefit

          ความสำเร็จไม่ได้มีรูปแบบทางการ ไม่ได้ Fit ตามตัว แต่เกิดจากความสนใจของคนมากกว่าเช่น P&G จะมี Alumni และคนที่มาร่วม Alumni ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทเลยแต่มาอยู่ร่วมกันเพราะต้องการ Share บริษัททำหน้าที่ในการเอื้อเฟื้อ ผลประโยชน์คือ Helping each other ภายใต้ Alumni ต้องการให้บริษัทสนับสนุนอะไรบ้าง และเมื่อไหร่ก็ตามที่ Alumni ก้าวไปสู่จุดหนึ่งให้สร้างเป็น Invest แต่ให้เป็นการลงทุนน้อยที่สุด

          การลงทุนในที่นี่  พบว่าบริษัทใหญ่ทั่วโลกถ้าจะลงทุนจะลงทุนในเรื่องคน โดยเฉพาะคนที่เป็นเครือข่ายขับเคลื่อน ประสานงาน และเชื่อม Network ด้วยกัน

          มีการทำเป็น Army  of staff

          1. การสร้าง Alumni อาจมีการสร้าง Return ทั้งจับต้องได้ เช่น ตัวเงิน หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น เป็นกระบอกเสียงให้เรา

          2. ตัว I มีการลงทุน 2 ระดับ

ระดับแรกให้เพิกเฉย คือเราต้องการ Network ที่เป็นอัจฉริยะ อย่าสนใจ Network ย่อย ๆ ไม่เป็นสาระ

ระดับสอง การสนับสนุนเล็ก ๆ น้อย ๆ

ระดับสาม คือการลงทุน ถ้าเป็นระบบใหญ่ให้มองในเรื่องระบบที่สามารถแพร่กระจายไปเยอะขึ้นแล้วทำให้เกิดการลงทุนที่คุ้มที่สุด

3. การนำไปใช้

คนที่อยู่ใน Network มีหลายระดับด้วยกัน ให้แบ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม ๆ ก่อน

          - Star มีตำแหน่งหน้าที่ ความมั่นคงในชีวิตสูง

          - Middle Class

          - Junior

          คนที่ไม่ควรดึงเข้า Network คือคนปากเสีย คนติดคดีจะทำให้เสียภาพลักษณ์ด้วย

4. การวางสิ่งที่คาดหวังให้ชัดเจน

          - ทำให้กลุ่มที่มาร่วมกับAlumni ได้ประโยชน์เช่นการให้โบนัส ดูว่ามี Cultural กับองค์กร มี Natural Fit หรือไม่ รู้ว่า Job แนวไหน รู้ว่าบริหารเป็นอย่างไร จะทำให้เราได้คนทำงานที่มุ่งเป้า และเมื่อใช้เครือข่าย Alumni ได้คนมาทำงาน แล้วจะให้เงินคืนกลับไป หรืออาจเป็นส่วนลดผลิตภัณฑ์ อาจให้เครือข่าย Alumni ทดสอบ Feedback กลับมาจะได้ส่วนลดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          - การจัดกิจกรรมเพื่อให้ Alumni มีสายสัมพันธ์แน่นขึ้น มีกิจกรรม Face to Face มากขึ้น เช่นกิจกรรม Reunion ให้คนเข้าร่วมกิจกรรม หรือ PSU เป็นต้น เอาสิ่งที่องค์กรคาดหวังเกิดเป็นเครือข่าย สร้างให้เกิด Connection เป็นต้น

          - อย่ามองแค่ว่าคือศิษย์เก่า แต่ว่าคือทุกคน คนที่อยู่ต้อง Joint Alumni คนที่ไม่ใช่ก็ไม่สามารถร่วมกับ Alumni อย่ามองคนที่จบไปแล้วเท่านั้น

          - อายุงานจบได้ แต่ต้องสร้างความสัมพันธ์ให้นานที่สุด ต้องมีการจับกลุ่มให้ได้ ว่าคนที่ออกไป เราต้องสามารถเก็บ Contact Information ให้มากที่สุดเพื่อให้ Support ใน Alumni

           - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนจบไปแล้วกับคนปัจจุบัน โดยสร้างกิจกรรมที่สร้างความเป็นคุณค่าในการสร้างความสัมพันธ์

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          พื้นฐานของคนในห้องนี้ดี Foundation ดี ที่เหลือคือ Rotation และ Transactional

          Alumni อันหนึ่งที่เราต้องคิดให้ดีคือ Digital Alumni ให้ส่งไปว่ามีอะไรที่จะร่วมมือกัน เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นพลังการตลาดให้เรา แต่ว่าเราจะบริหารจัดการอย่างไร ทำแล้วให้เกิด Impact มากที่สุด

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 1

          ทำให้ทุกคนเห็นว่าสามารถอยู่ใน Alumni เกิดเป็นเครือข่ายที่หลากหลาย และสามารถนำไปสู่การขยับต่อในอนาคตด้วย ที่ผ่านมามีเครือข่ายหลากหลายแต่ไม่ได้นำมาผสมใน PSU Alumni

          ต้องมีการวิจัย เป็น Formal Network มีการส่ง Alliance ไปขยายต่อได้มากขึ้น และถ้าทำให้เข้มแข็ง จะเกิดเป็น Wisdom และ Community ได้

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          วันนี้เราได้มาเรียนรู้เรื่องใหม่

1. Network intelligent and Knowing Understanding

          เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน รู้ประโยชน์ขององค์กรที่มาเรียนรู้ร่วมกันคือการมี Core Vision มีการศึกษา Company Call

          หัวใจคือ Line Business เป็นธุรกิจที่ขยายต่อไป อาทิ Product line ที่ต้องมีการทำเพิ่มขึ้น อย่าง ม.อ.จะขยายแบบไหน

2. Employee

          ม.อ.แบ่งเป็น 3 สาย 1. ฝ่ายบริหาร  2. คณาจารย์ เป็นคนทำงาน สอนหนังสือ ทำวิจัย 3. สายสนับสนุน ดังนั้น 3 กลุ่มได้โยงมาที่สมรภูมิ

          ความจริงที่ได้จากการนำเสนอคือการเปลี่ยนแปลง เพราะแม้สมรภูมิไม่เปลี่ยน สภาวะแวดล้อมก็เปลี่ยน

          ปัญหาของคนมีทั้งปัญหาและโอกาส แทนที่จะสูญเสีย Talent  แต่ Alliance จะเป็นตัวบอกเราในการดึงเขามา คือ Turn Family เป็น Free Agent  สร้าง Intelligent Network ในสถานะในภาพนั้น ในขณะที่สูญเสียไป ต้องมีการเตรียมการแก้ปัญหา มีการ Planning เพื่อ Turn Family สู่ Free Agent

          เครือข่ายที่ชาญฉลาด เราจะบริหารจัดการอย่างไร Tour of Duty คือการเสริมทักษะให้คนธรรมดากลายเป็นคนเก่ง แทนที่จะมองเป็นปัญหา เราจะเห็นโอกาส เมื่อเห็น Alliance จะพบว่าเป็นทักษะ เป็น Skill ใหม่ ๆ ที่ได้รับ

          ทีมเป็นพันธกิจ Alliance เป็นพันธมิตร ส่วน Networking คือพันธจิต เมื่อเราลงไปสมรภูมิที่หลากหลาย  มีเรื่องมิตรไมตรี มีเรื่อง Win-Win และเรื่อง Executing ที่ต้องทำให้สำเร็จคือสร้างคนให้มี Efficiency ด้วย และเมื่อเราลงไปในสมรภูมิที่หลากหลาย สามารถทำให้ไปทำ 2 เรื่องได้คือ 1. Rotational สู้ได้ทุกสนาม และ 2. Transformation เช่นอาจข้ามไปเป็นอาจารย์ หรือสายสนับสนุน

          ดังนั้น ถ้าเราเป็นบุคลากรที่จะให้ทำงานเป็นพนักงานในการถวายชีวิต เพราะอะไร

          1. เข้าใจความเปลี่ยนแปลง รู้ว่ามีความหมายกับองค์กร

          2. ท้าทายและสนุกกับการเปลี่ยนแปลง

          3. ทักษะ ประสบการณ์ และเรียนรู้ตลอดชีวิต  ซึ่งถ้าเรามีความเป็น Life Long Learning จะเติมเต็มเรื่อย  ๆ แต่อย่างไร ต้องนำไปทำด้วย

          อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชา ต้องสนับสนุน ว่าจะส่งเขาไปในสนาม แล้วถ้าพลักเขาไปในสนาม ถ้าพลาดขึ้นมา จะช่วยเขาแบบไหน สิ่งนี้คือ Alliance ของภาครัฐ และสุดท้ายเราต้องให้กำลังใจ และให้แรงบันดาลใจ ในฐานะผู้บริหาร เราต้องดูแลพนักงานให้ดี เพราะมองลูกน้องว่าไม่ว่าจะออกไปที่ไหนก็ตาม เขาสามารถเป็น Alliance ของเราได้ ท้ายที่สุด ต้อง Execution คือต้องนำไปทำได้

 


วิชาที่ 25 Learning Forum

หัวข้อ  การพัฒนาและบริหารเครือข่ายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU and Networking Development and Management) โดย     นายอำพล พงศ์สุวรรณ
           หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา
           นายนิพนธ์ บุญญามณี 
             นายกองค์กรบริหารจังหวัดสงขลา         
             นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ          
          กรรมการ/ประธานฝ่ายการศึกษา หอการค้าจังหวัดสงขลา         
           นายมะลูดิง ตีโด และ นายมาหาหมัด มะลาเฮง          
           นักข่าวท้องถิ่นสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี          
          นายสนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม         
             ปราชญ์ชุมชน

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล </p>

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          เมื่อไหร่จะ Turn Network เป็น Alliance มีความสำคัญอย่างไร ก้าวผ่านอุปสรรคอะไรและใช้เครื่องมืออะไร

 

นายอำพล พงศ์สุวรรณ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา

          สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงทางการศึกษา โดยเฉพาะ ม.อ. ที่ผ่านมาได้มีการเชื่อมโยงกันมากกับจังหวัดสงขลา จะพูดในนามของการนำนโยบายรัฐบาลมาปฏิบัติในพื้นที่ การบริหารราชการจังหวัด ทุกจังหวัดต้องมีการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด มีแผนจังหวัด มีการจัดทำงบประมาณจังหวัด หลักสำคัญต้องดูถึงยุทธศาสตร์ชาติ และนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ ปัจจุบันยึดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต้องนำนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เชื่อมกับนโยบายในพื้นที่ ดูแผนภาค และแผนกลุ่ม ในภาคใต้มี 3 กลุ่มจังหวัด คือกลุ่มอ่าวไทย ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช กลุ่มอันดามัน ประกอบด้วย ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง  และกลุ่มภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และปัจจุบัน ในปี 2562 รัฐบาลเริ่มส่งนโยบายแผนภาคไปเรียนร้อยแล้ว ม.อ.ได้รับไป 500 ล้านบาท

          9 จังหวัดภาคใต้ตอนบนเป็นภาคหนึ่ง และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอีกภาคหนึ่ง ได้จากให้อำเภอลงไปประชาคมหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนปัญหาว่าแต่ละหมู่บ้านมีปัญหาอะไรบ้าง เพื่อนำมาเป็น Hilight ในการพัฒนาจังหวัด มีการพัฒนาในพื้นที่ ผนวกกับวิสัยทัศน์สงขลา 2570 ซึ่งเกิดจากภาคีเครือข่ายพัฒนา และคติพจน์ของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ที่กล่าวว่า เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน มีการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด และกำหนดเป็นแนวทางพัฒนาจังหวัด มีจุดเน้นเป็นวาระ และประเด็น 15 วาระหรือ 15 ประเด็น ที่มีกลยุทธ์ชัดเจนจากการดูนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์ชาติ มีการกำหนดเป็นจุดเน้นออกมาเป็นแนวทาง 15 แนวทางเดินหน้าสงขลา เดินหน้าประเทศไทย นำไปขับเคลื่อนในพื้นที่ เป็นการพัฒนาแนวทางจังหวัดในภาพรวม

          เครือข่ายกับการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะ ม.อ. จังหวัดถือว่าเป็นสถาบันหลักของภาคใต้และจังหวัด ถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทางองค์ความรู้ ถือว่าเป็นรายได้ที่เชื่อมโยงกับจังหวัด

          1. ด้านวิชาการ – จังหวัดต้องเชื่อมโยงกับ ม.อ.ในเชิงวิชาการ เช่นแผนยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด 20 ปี ที่ต้องพึ่งเครือข่ายทางวิชาการ ของ ม.อ. ที่จะนำเป็นความรู้ให้สอดคล้องกับแนวทางจังหวัดดำเนินการ

          2.  ด้านการเกษตร – องค์ความรู้ด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ต้องพึ่ง ม.อ. แม้ว่ามีหน่วยงานเกษตรอยู่แล้วก็ยังไม่พอ ต้องอาศัย ม.อ. เป็นพี่เลี้ยงอีกหน่วยงานหนึ่ง

          3. ด้านสุขภาพ – ม.อ.มี รพ.ของภาคใต้คือ รพ.สงขลานครินทร์ที่พี่น้องประชาชนภาคใต้ต้องมารับบริการตรงนี้ จังหวัด กับ ม.อ. และหน่วยงานสุขภาพ ได้กำหนดในช่วงทำแผนภาคว่า ให้ม.อ.เป็นศูนย์สุขภาพของพี่น้องประชาชนในภาคใต้ โดยทางจังหวัดร่วมกับคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ได้ให้ เป็นศูนย์กลางในการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งในแผนพัฒนาภาคได้นำไปเสนอ และนายกอบจ.เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอนั้น ได้รับงบประมาณในเบื้องต้น 50 ล้านบาทเพื่อรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่  ยอดงบประมาณที่ขอผ่านงบประมาณภาค 800 ล้านบาท และได้งบพัฒนามา 500 ล้านบาท  

นอกจากนั้น การเชื่อมโยงด้านแผนงบประมาณชัดเจนที่ได้รับการยกเลิกไป 270 ล้านบาท รัฐบาลส่งผ่านกลุ่มภาคใต้ชายแดนเป็นงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อก่อสร้างโรงงานขยะติดเชื้อ แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนในการไปตั้ง แต่ ม.อ.กำลังเปลี่ยนไปตั้งที่นาทับ แต่อาจระงับไปก่อนชั่วคราว บทเรียนที่ต้องได้รับการยกเลิกไปเนื่องจากไม่ได้ไปคุยกับชาวบ้านก่อน แต่พอจะเข้าสู่โครงการที่จะสร้างจะเป็นปัญหา

เรื่องนวัตกรรม และการแปรรูปยางพารา รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้การแปรรูปยางพาราโดยใช้งบการพัฒนานวัตกรรมของ ม.อ. พบว่า ม.อ.มีการพัฒนานวัตกรรมที่ชัดและชัดเจน งบประมาณรัฐบาลส่งผ่านทางกลุ่มจังหวัดมีหลายโครงการที่ ม.อ.ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ การเกษตร สุขภาพ Thailand 4.0 ที่อาศัย ม.อ.เป็นพี่เลี้ยงของจังหวัดให้เห็นชัดเจน มีเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรื่องการสร้างคนที่มีคุณภาพ ทั้ง 5 มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาฯ โดย ม.อ.เป็นตัวหลัก ได้มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน สงขลาเป็น 5 ช่วงวัย โดยงบประมาณในปี 2561 เป็นการนำงบการวิจัยไปสู่การปฏิบัติชัดเจน ได้แต่งตั้ง 5 คณะทำงาน และให้แต่ละคณะทำงานแปลงผลงานวิจัยออกมาเป็นรูปแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ที่สามารถนำไปใช้ในปี 2562 ได้ สิ่งไหนต่อยอดได้ ต่อยอดได้ สิ่งไหนเริ่มต้น ขยายผล ก็จะไปดำเนินการ

สรุป ภาพรวม จังหวัดมีจุดเน้นในการเชื่อมโยงพัฒนาเครือข่ายจังหวัด และมีจุดเชื่อมโยงกับ ม.อ. ที่ไม่สามารถทิ้งได้  จังหวัดยินดีสนับสนุนในการเชื่อมโยง สนับสนุนการวิจัย และนำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาจังหวัดเยอะมาก  

ช่องทางที่เชื่อมโยงได้

1. แผนพัฒนาจังหวัด

2. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

3. แผนภาค ซึ่งจะแผนที่สำคัญ ที่ให้ชุมชนแยกเป็นตอนบน

ถ้าอาจารย์มีงานวิจัย สามารถเสนอของบประมาณจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดได้ โดยขอไปที่กลุ่มงานยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดของสำนักงานจังหวัด

 

นายนิพนธ์ บุญญามณี  นายกองค์กรบริหารจังหวัดสงขลา

          เรื่องเครือข่ายมีความจำเป็นมาก เพราะไม่มีใครสำเร็จคนเดียวได้โดยไม่ได้รับการร่วมมือจากคนอื่น จึงเป็นที่มาของ บูรณาการ เนื่องจากแต่ละส่วนมองว่ามีอาณาเขตของตัวเอง ดังนั้นการทำอะไรให้บรรลุเป้าหมายเครือข่ายสำคัญที่สุด ยกตัวอย่างเวลาคนคัดเลือกผู้แทนให้ลองสมมุติว่าจะไปหาเครือข่ายใครบ้างทางการเมือง การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดโดยเฉพาะเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย เพราะสิ่งที่การเมืองและผู้บริหารขาดคือความคิดหรือ Think Tank เราไม่สามารถทำอะไรโดยปราศจากการศึกษา การจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย

ปัญหาประเทศไทยปัญหาหนึ่งคือความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่มาของประเทศไทยที่จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ชาติ ต้องพูด 20 ปี ไม่ใช่พูดแค่ปีต่อปี และจะทำให้สำเร็จได้ ต้องทำอย่างไร

ได้ไปหาอาจารย์ปรึกษาเรื่องยุทธศาสตร์ และเห็นด้วยว่าประเทศไทยจะไม่สามารถพัฒนาได้ถ้าอยู่ในวังวนเดิม ถ้าเราไม่ไปตามเทคโนโลยี หรือคิดเรื่องอย่างนี้ บ้านเมืองไปไม่ได้จริง ๆ จึงคิดจับมือกับหน่วยงานการศึกษาและมหาวิทยาลัย ให้คิดถึงเครือข่ายอยู่ที่ไหนที่จะทำ เช่น จับมือร่วมกับ ม.อ. ทำเรื่อง นำสงขลาสู่เมืองนวัตกรรม และถ้าไม่มีเครือข่ายเป็นเรื่องยาก แต่การสร้างเครือข่ายอย่างต้องมีศิลปะ และวิธีการในการสร้างเครือข่าย และเมื่อเราถือแผนเป็นหลัก เราต้องมีแผนอยู่ในมือ โครงการไหนที่จะได้รับงบประมาณต้องมี 3 สิ่งนี้คือ 1. อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 2. อยู่ในแผนกระทรวงฯ 3. ต้องเป็นความต้องการของพื้นที่ ซึ่งถ้าโครงการฯ อยู่ใน 3 ส่วนนี้ได้ โครงการจะได้รับการจัดสรรก่อน ดังนั้น การไม่มีเครือข่ายทางแผนเช่นสภาพัฒน์ หรือกระทรวงฯ จะยากในการจัดสรรงบประมาณ  เช่นการทำรถไปโมโนเรล ทำคนเดียวจะยากในการทำสำเร็จ จึงต้องทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย และเชิญกรรมการ สนข. เป็นกรรมการตรวจรับงาน และเมื่อเวลาประชุม สนข.จะเป็นตัวแทนในการนำเสนอกับกระทรวงฯ ซึ่งปัจจุบันได้บรรจุในแผนของกระทรวงคมนาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ม.อ.ต้องเป็นสถาบันหลักในภาคใต้  ยกตัวอย่างความสำเร็จ ม.อ.ยิ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่ จังหวัดสงขลาฯ อย่างเดียวอาจไม่พอ อาทิ กีฬาแห่งชาติ ถ้าไม่มี ม.อ. จะยากในการเดินได้ ถ้า ม.อ.ไม่ให้ที่พักจำนวน 9,000 กว่าคน จะหาได้จากที่ไหน และเมื่อไม่นานมานี้ กีฬาคนพิการ ก็ได้ใช้จากสถานที่ ม.อ.หมด อธิการดูให้เสร็จในด้านภูมิทัศน์และการออกแบบต่าง ๆ ดังนั้น ม.อ.จึงถือว่าเป็นเครือข่ายสำคัญ แต่ที่น่าเสียดายคือเรื่อง เผาขยะ  แต่เป็นโอกาสดี ถ้า ม.อ.ไปอยู่ที่ท่าข้าม จะให้มีการลงพื้นที่ใหญ่ขึ้น ได้หาทางไปของบประมาณเหลือจ่ายมาเพื่อทำถนนตรงนี้ เนื่องจากคาดว่าต่อไปจะขยายเป็นเมือง เนื่องจากแนวพัฒนาสงขลาและการทำทางหลวงใหม่จะมาทางด้านนี้อยู่แล้ว การที่ ม.อ.ได้ที่ตรงนั้นไว้ เสมือน ม.อ.ได้ที่ในเมืองแม้ว่าตอนนี้ยังเป็นชนบทอยู่ สิ่งเหล่านี้ ม.อ.ต้องลงในพื้นที่มากขึ้น  อยากให้เอาผลงานวิจัย และการศึกษามาช่วยเสริมกิจกรรมอยู่ มีการมอบหมายในการนำงานวิจัยไปสู่ปฏิบัติ ซึ่งถ้าทำอย่างนี้ได้จะเป็นการสร้างเครือข่ายที่ดี ทำอย่างไรให้อย่างเป็นปัญหาทางสังคม

          ที่ร่วมกับ ม.อ. เช่นทำอย่างไรให้เด็กสนใจเกษตร จึงได้หาแนวทางเขียนหลักสูตรให้น่าสนใจโดยโชว์เทคโนโลยีใหญ่ ๆ เกษตรเล็ก ๆ  

          เราต้องคิดที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไร ม.อ.ต้องทำให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ให้เห็นว่า ม.อ.มีคุณูปการกับจังหวัด และภาคใต้ อย่างที่ปัตตานี มีชุมชนที่เป็นของกลาง ที่ขายได้อยู่แล้วจะทำอย่างไรให้นำ ฮาลาลไปพัฒนาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้ได้

          เรื่องเครือข่ายจึงเป็นตัวชี้วัดที่ดีมากขึ้น และถ้านำงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติได้จะทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้น และเมื่อ ม.อ.จะประสบความสำเร็จในทุกด้านอยู่ที่การสร้างเครือข่าย อยู่ที่ใครจะใช้เทคนิคที่ดี ปัจจัยสำเร็จ คือต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เข้าใจเรา สร้างความเป็นมิตรให้เรา เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน

          คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ ความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานกับคนอื่นได้ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เราทำงานร่วมกันได้สำเร็จ  

          ทักษะเวลาไปทำเครือข่าย หรือหาแนวร่วม ต้องมีหลักแนวร่วมคือ เรื่องใดที่ทำงานร่วมกันไม่ได้อย่าเพิ่งพูด เรื่องอะไรที่เรายังเห็นความแตกต่างกันอยู่อย่าเพิ่งพูด  ดังนั้นเรื่องการทำงานแนวร่วมที่คนกลุ่มนี้ใช้กันคือ อ่อนน้อมถ่อมตน คือการโอนเอนไปหาเขา โอนแต่ยังไม่ล้ม ไม่เปลี่ยนหลักการตนเอง แต่เป้าหมายคือเอาคนนี้มาเป็นพวกให้ได้ ดังนั้นลักษณะการทำงานที่ดีคือไปหาเขา แล้วเชิญเขามาทำงานร่วมกับเรา แล้วเขาเหล่านั้นจะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่กับเรา เมื่อเดินไปได้ก็ใช้หลักบูรณาการได้ ซึ่งการบูรณาการได้ต้องให้ความรู้สึกที่ดีก่อน ดังนั้น การใช้ท่าที การเข้าไปหาเขา พูดคุยด้วยความจริงใจกับเขา การทำสิ่งเหล่านี้จะสร้างเครือข่ายได้ไม่ยาก สำคัญคือการทำความเข้าใจกัน

          หลักการพัฒนาไม่มีอะไรได้ไปทั้งหมด ต้องมีได้อย่างเสียอย่าง ถ้าเสียมากกว่าก็ถอย  และบางครั้งคำพูดหรือชื่อในการเรียกเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีวิธีการในการเข้าไปจัดการ เช่นอาจเปลี่ยนจากขยะติดเชื้อเป็นขยะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น  ให้ ม.อ.รักษาที่ตรงนั้นให้ดี รักษาแนวร่วมให้ดี เครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิธีการสร้างมิตรเป็นสิ่งสำคัญให้เกิดความสำเร็จ สรุปคือการทำงานสำเร็จได้ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ ในการมีความรู้ และประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์

 

นายสนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม ปราชญ์ชุมชน

          ทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนไม่ติดยา มีเครือข่ายนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้สู่อาเซียน + 6

          ได้นำหลักวิชาการไปปฏิบัติในเครือข่ายมี 3 ศาสตร์

          1. ศาสตร์พระราชา

          2. ศาสตร์สากล

          3. ศาสตร์ชาวบ้าน

          เครือข่ายในชุมชนมี

1. เครือข่ายเกษตรกร คนกล้าคืนถิ่นที่ คสช. ตั้งงบประมาณมาว่าทำไมคนในท้องถิ่นทิ้งที่อยู่อาศัยไปอยู่ในเมือง เด็กรุ่นใหม่ต้องตั้งหลัก หาอยู่หากิน ที่อยู่สะดวก สบาย สร้างปัจจัยในการพัฒนาตนเอง ทำให้เด็กเหล่านี้สร้างเครือข่ายในการพึ่งพาตนเอง

          2. เครือข่ายฝ่ายมีชีวิต ได้มีการร่วมมือ และเดินสายทั่วประเทศ

          3. เครือข่ายผู้ประกอบการค้าอาหาร มีพื้นที่ต้นแบบสู่ผู้ประกอบการ เป็นกสิกรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค จนได้รับความเป็นต้นแบบ

          4. เครือข่ายประชาคมอนุรักษ์ ผาดัง เครือข่ายเยาวชนสตรี

          การใช้ทั้ง 3 ศาสตร์ในการบูรณาการเครือข่าย การเชื่อมโยงทฤษฎีต่าง ๆ เครือข่ายคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคน  เราต้องผลักดันคนให้มาทำงานเชิงกลยุทธ์แบ่งบทบาทตามหน้าที่

หลักการทำงานเครือข่าย

1. เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม– ต้องรู้จักวัฒนธรรมของชาวมุสลิม  ความเป็นอยู่ของชาวจีน เนื่องจากมนุษย์มีความเชื่อต่างกัน สิ่งไหนที่ไม่ชอบก็ให้ถอย

2. ลดอัตตา – ความเป็นตัวตนที่ไม่ถอน ถ้าไปลงพื้นที่แล้วเผลอไปออกคำสั่งจะไม่สามารถทำเครือข่ายได้ เมื่อลงชุมชนแล้ว ต้องถอดหมวกออก แต่ละพื้นที่มีความไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาให้ดี

3. เป้าหมายต้องไม่เปลี่ยน แต่กลยุทธ์เปลี่ยนได้

4. มีความยืดหยุ่น จัดการเปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดได้

5. กิจกรรมต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต้อง Commitment แล้ว Follow up เพราะเครือข่ายคือคนที่ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้

6. ต้องไว้ใจกัน มีปัญหาอะไรปรึกษา

7. รับผิดชอบในความสำเร็จและล้มเหลว

องค์ประกอบการทำงานเครือข่าย

          1. ภาวะผู้นำ – ต้องเป็น Role Model เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทีมงานและเครือข่าย

          2. เสริมพลัง – ต้องมีมิตรไมตรี พูดจาดี ๆ ในการเสริมพลังร่วมกัน

          3. ค่านิยมร่วมกัน – แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

          4. พันธสัญญาร่วมกัน – ต้องมี commitment

          5. ต้องพัฒนาตลอดเวลา

บทบาทเครือข่าย

          1. ปกป้องสิทธิสมาชิกและกลุ่ม – ทุกบทบาทมีความสำคัญเท่าเทียมกันอยู่ที่ใครจะเล่นตรงไหน การให้เวที ต้องปล่อยเขา

          2. การสร้างพลังต่อรอง

          3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ – มีเวลาสม่ำเสมอ สร้างเครือข่ายให้เคลื่อนได้

          4. ประสานไม่ซ้ำซ้อน

ประโยชน์ของเครือข่าย

          1. แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ แก้ปัญหา

          2. ร่วมคิด ร่วมทำ กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

          3. สามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์

          4. สร้างระบบการผลิต

โดยสรุป

          เครือข่ายเป็นเรื่องของคนล้วน ๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะจัดสรรทรัพยากรอย่างไร ถ้าคนจัดการไม่ถูกเครือข่ายล่ม และเจ๊ง จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คนกับการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่

          ทัศนคติ และศักยภาพของคนที่ทำงานร่วมกัน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการสนับสนุนระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายร่วมกัน เช่น ร่วมกับ ม.อ. ตลาดนัดสีเขียว เรื่อง Start Up

นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ

กรรมการ/ประธานฝ่ายการศึกษา หอการค้าจังหวัดสงขลา

          หอการค้าในประเทศไทยเป็นนิติบุคคลทั้งหมด ยกเว้นสภาอุตสาหกรรมเป็นในส่วนกลาง กรรมการการเลือกตั้งมาจากสมาชิกในจังหวัด กรรมให้โควตาในการไปเรียน วปอ. ใน LC ทุกฉบับต้องกำหนดไว้เลย 

          ในแง่ของเครือข่าย ม.อ.ตั้งอยู่ที่นี่คนหาดใหญ่ให้อะไรกับ ม.อ.บ้าง

          มีการทะเลาะกันมาตลอดในเรื่องทะเลาะกับภาคประชาสังคม มีมูลนิธิชุมชนสงขลา แรก ๆ มีการทะเลาะกันกับภาคประชาสังคม แต่พอผ่านไปเราจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ในส่วนของจังหวัดจะขับเคลื่อนร่วมกัน มีการทำเรื่องของสงขลาพอเพียง เรื่องบุฟเฟ่ห์พอเพียง ภารกิจหอการค้า การส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ เราเรียกว่าโซนคาบสมุทร มีโซนอำเภอ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย โซนเศรษฐกิจ มีหาดใหญ่ สะเดา โซนเกษตรเลี้ยงอำเภอ มีพัทลุง ละหม่อม 

          หาดใหญ่ เป็นศูนย์รวมพ่อค้าที่มา Deal กับต่างประเทศ แต่ด้วยความไม่มั่นคงทำให้หาดใหญ่ด้อยลงไปมาก อาจต้องขอ Passport

          การเชื่อมต่อในเครือข่ายอุดมศึกษา ปัญหาที่พบคือ เด็กที่จบอนุปริญญาจาก หอการค้าไม่สามารถเชื่อมกับ ม.อ. ได้ ทำให้ต้องไปเชื่อม กับ ม.ทักษิณ ม.ราชภัฏอื่น ๆ

          อยากเห็นจิตวิญญาณของ ม.อ. ที่ร่วมมือกับสังคม ทำร่วมกับสังคมและให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

          ภาคเอกชนอยากเห็นมหาวิทยาลัยเป็นของเรา อยากให้ ม.อ.เป็นผู้วิจัยว่าภาคใต้จะเดินไปทางไหน มีวิจัยที่สามารถชี้ทิศทางว่าภาคใต้จะเป็นอย่างไร ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรอสภาพัฒน์ ฯ กำหนด

          กรณียางพารา ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ค้าวัตถุดิบเหมือนแอฟริกา ถ้าเราปิดไม่ให้ยางออก จะอยู่ไม่ได้

          ต้องกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้มีการดูเรื่องการจ่ายเงินผ่านทาง การมีสินค้า

          15 ภาคีเครือข่าย การพัฒนาภาคใต้ทั้งภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรกับเมืองนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นอย่างไร น่าจะเห็นผลมหาวิทยาลัยที่คลุกคลีตรงนี้ มหาวิทยาลัยต้องคุยกับชาวบ้าน แล้วกำหนดทิศทางภาคใต้ในการขับเคลื่อน

 

นายมะลูดิง ตีโด และ นายมาหาหมัด มะลาเฮง  นักข่าวท้องถิ่นสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี

สิ่งที่จะสำเร็จคือความร่วมมือ การให้อภัย การอยากทำความรู้จักก่อน แล้วเมื่อมีสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างถึงย้อนกลับมาที่เรา

ยกตัวอย่างเรื่องขยะที่บอกว่าเหม็น ให้เปลี่ยนใช้ชื่อใหม่ที่ดูเก๋เป็นสิ่งที่ต้องการ แต่ในนามสื่อมวลชน อยากให้ดูถึงความปรองดองก่อนว่า ขยะเกิดจากใคร เอาสิ่งตรงนี้มาประมวลก่อน แล้วเอาสื่ออะไรมาทำตรงนี้ ให้หัวหน้าเครือข่ายพูดถึงว่าขยะมาจากไหน แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับตัวเรา สิ่งที่เกิดประโยชน์คืออะไร ถ้าไม่ทำตรงนั้นอะไรจะเกิดกับตัวเรา แต่พยายามให้สื่อออกข่าว คนนี้พูดอย่างนี้ คนนี้พูดอีกอย่าง แต่อยากให้พูดถึงเหตุผลว่าเพราะอะไร และจะทำหรือไม่ ถ้าจะทำให้ทำวิจัยว่าจะเกิดอะไรกับชุมชน

งานงบประมาณด้านการสร้างและพัฒนาพื้นที่  สิ่งที่ให้งบประมาณไปสุดท้ายอาจไม่ได้ผลกลับมาเนื่องจากชาวบ้านไม่เอา เราต้องถามชาวบ้านว่าเพราะเหตุอะไรชาวบ้านไม่เอาเช่น การตัดต้นไม้ต้นเดียวเสียดาย เพราะเป็นทางไปบนเขา สิ่งที่ขาดคือ ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการให้ความรู้กับชาวบ้าน สิ่งเหล่านี้ต้องเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง พัฒนาพื้นที่ และพัฒนาสิ่งที่จะทำ ถ้ามีการประชาสัมพันธ์น้อย คนขาดความเข้าใจ

สื่อเสมือนเป็นคนใช้ เป็นคนกลางที่จะใช้ให้ทำอะไร แต่จริง ๆ แล้วเป็นตัวกลางที่มาพิจารณาว่าให้อะไรชาวบ้าน สื่อทั้งหมด ต้องคำนึงถึงความเพียงพอ ความพอเพี่ยง สิ่งที่ต้องทำอันดับคือ

1. การโฆษณาการออกข่าวในพื้นที่

2. กระจายข่าย เพราะข่าวจะเป็นตัวบ่งบอกว่าสิ่งนั้นชาวบ้านต้องการหรือไม่ ข่าวเป็นเสมือนตัวกลางในการสร้างความร่วมมือทุกอย่าง ดังนั้นการทำอะไรถ้ามีการประชาสัมพันธ์มากขึ้น สิ่งนั้นจะเกิด แต่ถ้ามีคนคัดค้านเพราะเขาไม่เข้าใจ เราต้องทำด้วยใจนักข่าวที่อยู่ตรงกลางจริง ๆ

3. การสร้างความเครือข่ายที่ร่วมมือกัน ให้เขารู้จักกัน ให้ทำบ่อย ๆ เป็นสื่อหลักของหน่วยงาน และเมื่อหน่วยงานได้สื่อแล้วให้ขยายผลอีกที

สิ่งที่เป็นไปได้ที่สุดคือข่าว อยากให้แต่ละหน่วยงานมีเฟซบุ๊กส์และไลน์ของหน่วยงาน จะได้รับความเชื่อถือมากกว่า เพราะว่าการออกข่าวมีความรวดเร็วมาก อย่างเฟซบุ๊กส์ ไลน์ ยิงข้อมูลออกไปเร็วมาก

โดยหลักแล้วจะมีการสืบข่าวก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ส่วนไลน์หรือเฟซบุ๊กส์บางครั้งแชร์ไปโดยผ่านการตรวจสอบ อาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าหน่วยงาน หรือการบริหารงาน ที่ดีที่สุด ต้องเผยแพร่หน่วยงาน คำสอน สิ่งที่เป็นประโยชน์จากหน่วยงานของเรา  หาสื่อเข้ากับตัวเรา และเมื่อสื่ออยู่กับตัวเรา เราจะสบาย เพราะเขาจะอยู่กับเราเป็นตัวแทนให้เรา

ทุกอย่างถ้าเราโฆษณาได้ เราจะเพิ่มมูลค่าได้ สิ่งเหล่านี้มาจากการออกสื่อ จึงอยากให้ทุกคนได้นำแนวคิด แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ดีของหมู่บ้านมากขึ้น ทำอย่างไรให้ในพื้นที่มีรายได้เพิ่มจากเดิม

เราจะยกให้ ม.อ.เป็นที่สนใจของคนได้อย่างไร เช่นในด้านชาวบ้าน ม.อ.ทำอย่างไรเช่นประดิษฐ์สินค้า การสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา แต่เราไม่ได้แนะนำเขา ไม่ได้แนะนำการตลาดให้เขา อย่างเรื่อง OTOP ทำได้รอบเดียว เราต้องมองถึงการรองรับระยะยาวให้กับชาวบ้านและประชาชนในพื้นที่ สิ่งที่ชาวบ้านจะได้ตรงนี้คืออะไร

ณ วันนี้ ม.อ.มีเครือข่ายกว้างมาก แล้วเราจะรู้ว่า ม.อ.ทำอย่างไรด้วย อย่างน้อยออกข่าวสื่อ

ทุกคนมีเงินเดือนตนเองอยู่แล้ว แต่เมื่อไหร่ขาดประชาสัมพันธ์จะทำให้ยาก และความสำเร็จน้อย

ชาวบ้านเขาจะเรียนรู้ที่จะพึ่งพาใครที่สามารถเข้าถึงได้  จะกล้าพูดกับคนในพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำตรงนี้คือ สร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งให้ดำเนินการร่วมกันทั้งหมด และเมื่อไหร่ได้รู้จักคน รู้จักงาน จะมีความสำเร็จ เพราะความเข้าใจกัน แต่เมื่อไม่มีความเข้าใจกันจะคนละทิศคนละทาง

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          สิ่งที่เราจะทำต่อไปจะทำอะไรให้เกิดขึ้น คีย์คือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภาคใต้ ถ้าไม่ไปด้วยกัน เราน่าจะปรับทัศนคติให้เข้าหากัน โดยส่วนตัวจะพยายามช่วย ม.อ.ให้มากที่สุด การประชาสัมพันธ์ยุคใหม่เป็นการประชาสัมพันธ์ที่แหลมคมมาก เราอย่าทิ้งชุมชน สมรภูมิต้องมีคนดูแล

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

          1. ชื่นชมที่ทำให้เห็นมุมมองจากมิติที่หลากหลาย จากที่ฟังชื่นชมในผลงาน ได้ยินเรื่อง KhonKaen Smart City  จึงอยากทำว่าในสงขลาสามารถทำได้ที่จะร่วมกันจากหลายภาคส่วนได้หรือไม่

          คุณชัยวุฒิตอบ เรื่อง ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ได้มีส่วนเข้าไปร่วมด้วย  ได้ร่วมกันทำวิสัยทัศน์ขอนแก่นที่เขาใหญ่ ได้คุยกันถึงการพัฒนาบ้านเมือง เป็นกลุ่มคน Generation ที่ 3 ที่จะมาทำธุรกิจแทนพ่อแม่ ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ลงทุนคนละ 10 ล้าน มีการวางเงิน แล้วลงมือร่วมกัน จำนวน 20 คน  แต่ในมุมมองของคนใต้ คนใต้มีลักษณะเป็น Individual สูงมาก ดังนั้นการรวมตัวแบบขอนแก่นยังไม่ได้ เคยมีเชิญรุ่นลูกของ คุณนิพนธ์ ในกลุ่ม YEC การตั้งกลุ่มใหม่มีกำลังแต่เป็นการกินแชร์กันทุกเดือน เคยมีการคิดว่าทำอย่างไรที่จะหลอมรวมกันที่จะสร้างบ้านแปลงเมือง อย่างเรื่อง 15 ภาคี เคยมีการคุยกันทุกเดือน แต่เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ก็เปลี่ยนใหม่ โดยการตอบคือ สงขลาจะเป็นอย่างนี้ได้หรือไม่ ถือว่ายากพอสมควร แต่ในส่วนขอนแก่นที่ทำได้เพราะมีอำนาจรัฐในการสนับสนุนชัดเจน

          คุณนิพนธ์ตอบ เรื่องขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ไม่ใช่ไม่มีปัญหา แต่พบว่ามีปัญหาในการปฏิบัติเยอะมาก กฎหมายต่าง  ๆ จะเข้ามาจับเยอะมาก ของขอนแก่นยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการในการทำของรัฐได้เลย การคุยเรื่อง Project ขนาดใหญ่ ลงทุนขนาดใหญ่ หลีกพ้นเรื่องกฎหมายไม่ได้ ตอบคำถามต่อสังคมไม่ได้ สิ่งที่ทำคือต้องทำกระบวนการการศึกษา ถ้าเป็นเอกชนร่วมทุนกับรัฐต้องมี พ.ร.บ.ร่วมทุน ส่วน ขอนแก่น มีเอกชนมาร่วมกัน แต่มีพ่อแม่ทำงานเป็นเทศบาล เทศมนตรี จึงคิดว่าน่าจะทำได้ จึงคิดว่าโมเดลนี้เป็นปัญหา อย่างภูเก็ตก็อยากทำบ้างแต่พอมารู้ว่ามีปัญหา จึงควรมาหาว่าจะมีโมเดลในการขับเคลื่อนระหว่างรัฐกับเอกชนอย่างไร ดังนั้นเพื่อลดภาระของรัฐ ก็ให้เอกชนเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนในงบประมาณ 500 ล้านบาทได้ เช่นเรื่องมหาวิทยาลัย สาธารณสุข โรงพยาบาล เป็นต้น สิ่งนี้เป็นที่มาที่ไปที่ทำให้มีการปรับกฎหมายระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนใหม่ แก้กฎหมายเมื่อปี 2556 เปิดโอกาสให้เอกชนมาพัฒนาประเทศมากขึ้นเพื่อลดภาระของรัฐ เพราะรัฐไม่มีกำลังพอที่จะทำทุกเรื่องในตอนนี้ ทำอย่างไร ไม่ต้องรองบประมาณอย่างเดียว ทำอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์ได้ และให้มีรัฐมาดูแลด้วย อย่างโมเดลขอนแก่นดีในประเด็นเรื่องเห็นการตื่นตัวของประชาชนในการเข้ามาแก้ปัญหาพื้นฐาน แต่บางอย่างรัฐต้องเสียบ้าง ก็ต้องยอม ต้องชี้แจ้งประโยชน์ว่าได้อะไร อย่างเช่นทำไมถึงคิดรถโมโนเรล เพราะลดการนำรถเข้าไปในเมืองเพื่อไปส่งลูก เป็นต้น สนข.มีปัญหามาก

          2. สิ่งที่เห็นคือทุกท่านทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาสงขลา แต่ไม่ได้มองที่สงขลาอย่างเดียวมองถึงพัฒนาภาคใต้ มีแนวทางในการขับเคลื่อนโดยใช้ชุมชนเป็นต้นแบบ มองชุมชนเป็นต้นแบบแล้วพัฒนาอะไร มองที่มหาวิทยาลัย นักข่าวต้องมองบริบทคนทำข่าวเป็นแบบนี้ถึงพัฒนา

จากที่เห็นในอดีตที่ท่านชัยวุฒิกล่าว คือ ทำไมมาเลเซียขนยางมาขายที่ประเทศไทยได้ แต่ประเทศไทยกระโดดขึ้นและลง

          ท่านอำพลที่กล่าวว่านำเงิน 270 ล้านบาทมาให้ ม.อ.เพื่อให้ทำโรงงานกำจัดขยะ แต่เกิดไม่ได้เพราะไม่เข้าไปตอนแรก

          ท่านนิพนธ์ เห็นการทำงานว่าเป็นคนติดดิน แต่ว่าสิ่งที่เห็นชัดเจนคือ วันเปิดและปิดกีฬาแห่งชาติที่สงขลา ดีกว่าที่กรุงเทพฯ

          ดร.จีระ เสริมว่า ท่านนิพนธ์ กำลังทำสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก ท่านเคยเป็นเลขาฯ นายกฯชวน  ขออะไรให้ท่านมาช่วยพูดท่านมาตลอด คนเราต้องมีท่าทีที่เป็นมิตรเสมอ เกมส์ของ ม.อ. ต้องวิ่งทั้งระดับสูง ระดับกลาง และระดับล่าง  ต้องมีการนำเสนอเป็นโปรเจค วางแผนเป็นดิจิตอลและต้องขายได้ โปรเจคใหญ่ข้างบน ต้องดูด้วย

          คุณนิพนธ์ ตอบ ที่อาจารย์ตามสื่อคือไลน์กับเฟซบุ๊กส์มีอิทธิพลสูงมาก ในวันที่ ดร.วิษณูมาเปิดสนามกีฬาติณสูลานนท์ เชิญราชภัฎมาถ่ายวีดิโอผ่านเฟซบุ๊กส์คนเข้ามาชม 300,000 – 400,000 คน พอถ่ายกีฬา มีคนดูมากขึ้นกว่า 500,000 คน หลังจากนั้นคนเข้ามาดูเป็นล้านคน แสดงถึงว่าสื่ออยู่บนฝ่ามือคนหมดแล้ว ต้องมีอะไรสักอย่างที่คนมาดูสงขลาเกมส์ อยากฝากทุกคนทราบว่าสื่อโซเชี่ยลมีเดีย สำคัญมาก ขณะนี้มีคนติดตาม 7 หมื่น 6 พันคน ทุกคนต้องช่วยสร้างตรงนี้ ถ้าทำได้ ม.อ. มีแบรนด์เนมอยู่แล้ว ต้องรักษาคุณภาพและเครือข่ายอย่าให้แบรนด์เนมเป็นอดีตไป สรุปคือเครือข่ายและมีเดียส์มีอิทธิพลมาก การสร้าง Network ทาง Social Media เป็นสิ่งที่ต้องทำทุกคน

          3. การสร้างภาพลักษณ์ ม.อ. ขอถามคุณชัยวุฒิ และมะลูดิงว่า ม.อ.ต้องทำอย่างไรบ้างในการสร้างภาพลักษณ์ และสร้างโอกาสให้ออกไปข้างนอก เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงบริบท และพัฒนาบางอย่างให้ดีขึ้น

          คุณมะลูดิง ตอบ สิ่งที่อยากให้ทำและง่าย ๆ คือ อยากให้ทำในเรื่องการดูแลเยาวชน เช่น บริจาคสิ่งของ การไปวัด ไปมัสยิดให้คนรู้จักมากขึ้น กีฬาสงขลาเกมส์ เห็นภาพผู้ว่าฯ ในการเตรียมพื้นที่ และเรื่องกาชาดจังหวัด สรุปคือให้ทำสิ่งที่ดี ๆ ให้สังคมและเผยแพร่ประชาชนรับรู้ ให้ทุกเครือข่ายคิดดีต่อกันเพื่อให้ทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น

          คุณชัยวุฒิ ฝากเรื่อง  ก๊าซธรรมชาติทางทะเลเอาจากสงขลา แต่เงินไปอยู่นนทบุรี ค่าภาษี 10 % ส่วนหนึ่งน่าจะคืนภาษีพื้นที่ ดังนั้น ธุรกิจต้องแจ้งว่ารายได้ได้เท่าไหร่ถึงให้คืนพื้นที่ไป

          ตอบ การอยู่ในใจประชาชน เช่น อธิการเป็น สว. ได้จากน้ำท่วม สถานีวิทยุ 88 ม.อ.  แต่ก่อน แต่ประเด็นคือ มหาวิทยาลัยสนใจสิ่งที่จะทำต่อหรือไม่ สนใจที่จะเผยแพร่สื่อที่ทำประโยชน์ให้สังคมหรือไม่ ต้องรักษาระดับภาพที่ดีให้คนฝังในใจคนว่า ม.อ.เป็นส่วนที่ดีได้ หรือจะให้คนหาดใหญ่มีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์

          4. ในฐานะที่เป็น Stakeholder สิ่งที่สะท้อนกลับมามีความสำคัญหมดเลยเนื่องจากสูงที่สุดแล้ว แต่จากที่เราเรียนกันวันนี้เรื่องการสร้างเครือข่าย ความจริงใจต่อกัน แต่ละคนมีบทบาทต่างกัน เป็นนักธุรกิจ การเมือง นักปราชญ นักข่าว ม.อ.ก็เป็นนักวิชาการ ถ้าทุกท่านรวมตัวกัน แล้วพูดด้วยความจริงใจต่อกัน ม.อ.ก็มีเหตุผล ม.อ.แต่ละท่านก็มีเหตุผลของท่าน สิ่งเหล่านี้ถ้าเปิดใจไม่มีอะไรต่อกัน มองเห็นประโยชน์ร่วมกัน ถ้าลงไปอยู่การปฏิบัติจริง ๆ จะประชาสันธ์อย่างไรให้คนรู้จัก นำข่าวไปเผยแพร่เป็นความต้องการของนักข่าวหรือไม่ หรือทำข่าวแบบ Live ประจำวันออก แล้วข่าววิชาการ ม.อ.จะมีส่วนอย่างไร วิธีการเหล่านี้ถ้าร่วมกันและหาประเด็นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          5. ขอขอบคุณอาจารย์และทีมงานที่เชิญทีมพันธมิตรทั้ง 5 ท่านมา ได้เติมเต็มหลายอย่างมาก


วิชาที่ 27 Learning Forum & Activity

หัวข้อ   TEAMWORK ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   

โดย     รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

         นักวิจัยอาวุโส สวทช.

 

Leadership & Teamwork

กิจกรรมที่ 1 : สอบถามความคิดเห็นจากคนในห้อง

ถาม : อะไรทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

ตอบ :

1. สัมพันธ์ที่ไม่ดี

2. คิดแล้วไม่ลงมือทำ

3. ทำไมถึงไม่คิด

- ไม่มีแรงบันดาลใจ

- คิดไม่ออก

- มองไม่เห็นองค์รวม

- สิ่งเร้า

4. ทำไมขี้หลงขี้ลืม

- ขาดความต่อเนื่อง

- ขาดความ Attention

- สติ คู่กับ สัมปชัญญะ

 

สติ คือ การรับรู้ เห็นแล้วจบ

สัมปชัญญะ   คือ ทำให้สติรู้ความต่อเนื่อง คือรู้ครบ รู้รอบ รู้ถ้วนถี่ รู้จนหมด เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบละเอียดอ่อน และประณีตมาก โดยเฉพาะต้องรู้ตัวเอง

 

กิจกรรมที่ 2 : หาคุณค่าตนเอง

ให้บอกคุณค่าของตัวเอง ที่พอบอกแล้วทุกคนรู้ว่าคือเรา เป็นคุณค่าที่รู้ว่าหนึ่งเดียวโดยประเทศไทย และประกาศคุณค่าของตัวเองให้สังคมรับรู้มากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 3 : ให้แต่ละคนเลือกไพ่คนละ 1 แผ่น

1. ให้แต่ละคนซ้อนเป็นวงใน และวงนอก

2. เปิดเพลง แล้วคนวงในเดินหมุนไปทางซ้าย คนวงนอกหมุนไปทางขวา

3. หยุดเพลงดูว่าใครได้จับคู่กับใคร

4. ดูไพ่ของคู่ว่าสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้อย่างไร

5. จับกลุ่ม 8 คน ให้นำเสนอโครงการที่เป็นประโยชน์กับ ม.อ.

6. ให้กลุ่มขึ้นบนเวที และให้แต่ละคนพูดการเชื่อมโยงระหว่าง ม.อ.กับการ์ดรูปภาพ

          สรุป ทำไมในการทำงานถึงคิดออกในการทำ Teamwork และทำไมชีวิตไม่เป็นอย่างนี้

1. โจทย์ของทุกกลุ่มมีเป้าหมายที่ชัดเจน และทุกคนเห็นเป้าหมายร่วมกันที่จะเดินไปข้างหน้า

2. การทำงานกลุ่ม ไม่ได้รู้สึกรังเกียจที่จะเอาใครออกจากกลุ่ม แต่ชีวิตจริงทำไมเราถึงรังเกียจที่จะให้คนบางคนไม่อยู่กลุ่ม

3. ทำไมถึงทุกคนรวมกลุ่มได้

ความคิดเห็นเนื่องจากคิดว่าเป็นทีมเดียวกัน คิดว่าเขาน่าจะพัฒนาได้

สรุปคือ เราเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นอย่างไร เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์หมดทุกอย่าง “เปลี่ยนวิธีคิด พลิกชีวิตด้วยปัญญา”

ในโลกนี้มี 2 ด้าน อย่าคิดบวกหรือลบอย่างเดียวจะทำให้เห็นไม่ครบ แต่เราจะสามารถนำของ 2 ด้านมาพลิกให้เกิดปัญญาได้อย่างไร เรามีทั้งของดีและของไม่ดีแล้วทำไมเราเลือกที่จะมองไม่ดี ให้หมุนหาสิ่งที่ดีมาชนกัน แล้วจะเจอมุมที่ดี เป็นกระบวนการหมุนมุมมองของเขาและเราให้ตรงกับคุณค่าของแต่ละคน

ถ้าการหมุนไม่ลงตัวใครผิด

ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถคู่กันได้หมด ถ้าหาคุณค่าของสิ่งนั้นให้เจอ

 

กิจกรรมที่ 4 : แจกกระดาษ A4

1. ให้แต่ละคนเขียนชื่อไว้ที่มุมกระดาษด้านบน และเขียน ความเก่ง อัตลักษณ์ คุณค่าที่เราแตกต่างและโดดเด่นอะไรในกระดาษ

2. ส่งกระดาษอีกด้านให้เพื่อน 3 คนช่วยเขียนให้เรา (ไม่ดูด้านที่เราเขียน) ให้เพื่อนเขียนถึงเราว่ามีอัตลักษณ์ สิ่งที่แตกต่าง และโดดเด่นอะไร

3. เอาของเพื่อนกับของเรามาดูว่าที่เขียนตรงกันมีกี่ข้อ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          1. ถ้าเพื่อนเขียนตรงกับสิ่งที่เราเขียนแสดงว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริง และเป็นสิ่งที่เราได้แสดงออกให้เพื่อนเห็น

          2. สิ่งที่เราเขียน แต่เพื่อนไม่เขียน หมายถึง เราไม่ได้แสดงออก และคิดไปเอง

          3. สิ่งที่เพื่อนเขียน แต่เราไม่เขียนหมายถึง  สิ่งที่เราไม่รู้ตัวเอง

          ถ้าเราไม่แสดงคุณค่าเราให้เด่นชัด คุณค่าจะไม่ออก ขณะเดียวกัน ถ้าอยากจะสำเร็จไว ต้องหาคุณค่าที่โดดเด่นให้ได้

          เราจะหาสิ่งเล็ก ๆ ที่คนอื่นมองไม่เห็นแต่ให้เรามองเห็น หา Impact ให้เจอให้ได้ แล้วจะสามารถสร้างสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสังคมได้

สรุป

          การประสบความสำเร็จของคนในโลกคือเห็นอะไรที่คนอื่นไม่เห็น แล้วก้าวไปสู่จุดนั้น ยิ่งอาจารย์เจาะลึกมากเท่าไหร่ สิ่งนั้นจะสบายมากขึ้น ถ้าเราเก่งทุกอย่าง คนอื่นจะมีที่ยืนหรือไม่

 

การเปรียบเทียบของมนุษย์

คำถาม  มีการพิสูจน์ว่า DNA ของมนุษย์ กับลิงอุรังอุตังต่างกันไม่เกิน 5%  แต่ทำไมมนุษย์ถึงต่างกับลิงอุรังอุตังมาก

คำตอบ  วิทยาศาสตร์บอกว่า พันธุกรรมของมนุษย์ต่างกันไม่ถึง 1% หมายถึงต่างกันน้อยมาก แต่สิ่งที่ต่างกันคือสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู หมายถึง มนุษย์ฝึกได้

 

การบ่มเพาะมนุษย์

          มนุษย์ประกอบด้วย

          1. สมอง

          2. ใจ

          3. กาย

          สรุป มนุษย์ต้องเริ่มที่สมอง ต้องฝึกการเพาะสมองคือการคิดอย่างมีเหตุมีผล เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วมาเพาะที่ใจ แล้วมาทำที่กายจนเป็นนิสัยปกติ แล้วจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ติดตัวเราได้

การเปลี่ยนแปลง

          มนุษย์ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเพราะมนุษย์เข้าข้างตัวเอง

          เปรียบเทียบมนุษย์กับปลาทอง

          โหลที่ 1 โหลรั่ว แต่ไม่รู้ว่าโหลรั่ว

          โหลที่ 2 โหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่ว  พยายามกระโดดไปโหลใหม่แต่ไม่สามารถกระโดดไปโหลใหม่ได้

          โหลที่ 3 โหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่ว และสามารถกระโดดไปโหลใหม่ได้

          โหลที่ 4 โหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่ว สามารถกระโดดไปโหลใหม่ และรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง สามารถกระโดดไปโหลใหม่ได้ต่อเรื่อย ๆ

สรุปคือ  1. ยอมรับ และปรับเปลี่ยน

          2. พัฒนาศักยภาพ Mindset และปัญญา

          3. เพื่อคุณค่าและแรงจูงใจ

          ดังนั้น ถ้าคิดจะอยู่รอดให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เสมือนพระมหาชนกที่ว่ายน้ำให้สุดชีวิต สู้ให้สุดชีวิต ถ้าสู้ให้สุดชีวิต หมายถึงต้องมีคำว่าดีกว่า วินาทีถัดไปต้องดีกว่าวินาทีนี้ หมายถึงโลกนี้มีการพัฒนา สังคมวิจัยและพัฒนาเกิดขึ้นในสังคมนี้

 

กิจกรรมที่ 5 ให้สุ่มคนในห้องมาแสดงละครว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้เสมอ แล้วจะพบว่าชีวิตจะมีการพัฒนาจะพบว่าพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ และจะดียิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ


Inspiration

          เกิดขึ้นจากการที่เราเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น เห็นอะไรที่ละเอียดอ่อน รู้รอบ รู้ครบ มองเห็นความมีส่วนร่วม แล้วมีจินตนาการ แล้วจะเห็นความเพียร

          แรงบันดาลใจมาจากฝันที่มนุษย์มี

คำถาม : องค์กรของ ม.อ. สิ่งไหนที่อ่อนไหวสุด แรงบันดาลใจ ความสามารถ ความเพียร

          ความสำเร็จ เกิดจากการตั้งเป้าหมาย เกิดจาก Endurance , Capability, Imagination , Inspiration, Value

          ขึ้นอยู่กับฝัน ว่ามีฝันอย่างไร เช่น ถ้ามีฝันที่ทำให้มีแรงบันดาลใจแต่ละคนจะไป

 

คำถาม : เกิดมาทำไม ?

คำตอบ : เกิดมาเพื่อพัฒนา , และ....

สติ

          ใน 1 วันมีสติกี่ชั่วโมง

 

ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต

มนุษย์ถูกแบ่งเป็น 4Qs

-           Intelligence Quotient

-           Emotional Quotient

-           Moral Quotient

-           Survival Quotient

 

บุคลิกภาพของคน

          วิธีดูให้ดูตอนตบะแตก จะมีตัวตนที่เป็นแก่นแท้ปรากฎที่ชัดมากที่สุด

I นักกิจกรรม (Intuition SQ กับ Feeling EQ)

ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน  ไม่สนใจเรื่องเวลา

2. S นักปฏิบัติ (Sensing MQ กับ Feeling EQ)

สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ  ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

3. C นักทฤษฎี

ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด  ไม่ชอบเสี่ยง

4. D นักผจญภัย

กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ

          สรุป ผู้บริหารที่เก่งจะปรับตัวเข้าไปเรื่อย ๆ จนไปอยู่ตรงกลาง แม้อาจไม่ใช่แก่นแท้ตัวตนเดิม ทุกคนเป็นผู้บริหารได้หมด ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์

          เราจำเป็นหรือไม่ที่จะไปบอกดอกไม้สีหนึ่งให้เป็นอีกสีหนึ่ง เพราะทุกคนงามด้วยตัวตนที่เป็นตัวตนของตนเอง แต่คนที่จะทำให้สวยงามเมื่อนำมารวมกันขึ้นอยู่กับคนจัด ใครเป็นคนมอง ให้เขาเป็นตัวตนของเขา แต่เรามีหน้าที่ว่าทำอย่างไรให้นำตัวเขาไปสวมตัวตนให้ตรงกับงาน

ถ้าพบคนที่ตรงกันข้ามกันแล้วอยู่ด้วยกันจะทำอย่างไร

          - ให้มองโลกอย่างเข้าใจโลก มองการเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นกระบวนการจัดสรรที่ทำให้ทีมเวอร์กไปได้

 

คุณค่ากับมูลค่า

1.  คุณค่ากับมูลค่าตัวไหนเกิดก่อน

– ถ้าคุณค่าเกิดคนเห็นคุณค่ามูลค่าจะเกิดและเมื่อเกิดกระแสที่มากขึ้น คุณค่าของเราจะมากขึ้น

2. ทำคุณค่าตรงกับตลาด

          - หาตัวเองให้เจอ แล้วนำไปวางในสิ่งที่ต้องการ

          - ทุกสิ่งทุกอย่าง ในของดีมีของไม่ดี ในของไม่ดีมีของดี

3. ดูว่าของนั้นมีคุณค่าอย่างไร

          - ดูอย่างใช้สัมปชัญญะ ดูพิจารณาถ้วนถี่ แล้วจะเกิดศรัทธา และความรัก แล้วเราจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน

4. เป้าหมาย

          - หาเป้าที่คนอื่นยังไม่มี หาเป้าที่คนเราจะเป็นเจ้าของสิ่งนั้น  

 

 

Wisdom for Life

           

          สรุป ให้ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดของชีวิต เพราะถ้ายึดติดกับอดีต หรือฝันถึงอนาคต ก็จะกลุ้มใจและมีทุกข์ ให้มองโลก 2 มุมแล้วมาสวมให้ตรงกับคุณค่าจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ สิ่งสำคัญคือทำปัจจุบันให้ดีและใหม่ที่สุด

อาทิ อาจารย์ทั้งหลายทำวิจัย แล้วให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ

คุณค่าที่แท้จริง – เห็นของดีในของไม่ดี เห็นของไม่ดีในของดี

          การทำแล้วเอาดีแต่คนเดียวจะไปไม่รอด ถ้าทำแต่ประโยชน์ของท่านไม่แบ่งปันคนรอบข้าง คนรอบข้างจะอยู่ไม่ได้ จะทำให้ถูกรุมทึ้ง แล้วจะตาย ดังนั้นเมื่อได้ประโยชน์มาให้แบ่งปันกัน ได้ประโยชน์ร่วมกัน แล้วเราจะโชคดี  

          แบ่งปัน – ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย

          ฝึกกระบวนการขอบคุณ – จะทำให้เรารู้สึกว่าฉันได้ทำอะไรคืนกลับสิ่งนั้นพอหรือยัง เป็นการสำนึกในบุญคุณ แล้วจะทำให้เราสิ่งนั้นคืน

          ฝึกกระบวนการขอโทษ – มนุษย์ทุกคนที่เคยทำผิดหมด แต่กล้าที่จะยอมรับผิด เจตนาเป็นที่ตั้งของทุกอย่าง ฝึกให้เรากล้าที่จะสำนึก แล้วเราจะเริ่มที่จะเข้าใจในสถานการณ์นั้น

          เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นใครควรเริ่มก่อน – ควรเริ่มที่ตัวเอง ทุกอย่างอยู่ที่เราทั้งนั้น ต้องรู้จักขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย แล้วจะทำให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ให้ตั้งต้นมาในสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน แล้วจะก่อให้เกิดกระบวนการหมุนเวียนและทำทีมเวอร์กได้

 

การสร้างทีม Team

1. คุณค่าที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน (Win Win) ของการเป็นทีมคืออะไร

          - แบ่งอย่างไรให้ถึงซึ่งความพอใจ และแบ่งอย่างไรให้ถึงซึ่งความยั่งยืน

          - การมีชีวิตอยู่ร่วมกันทั้งหมดด้วยความยั่งยืน

          - สิ่งที่เราเห็นทั้งหมด เป็นการสะสมการทำกรรมมาจากหลายภพชาติ การอธิษฐาน สะสมบุญบารมี ดังนั้น สิ่งที่เราเห็นเราจะไม่รู้ว่ามีการสะสมอะไร

          - โลกนี้มีอะไรเป็นเหตุและปัจจัยให้เราเป็นได้แบบนี้ เช่น ครอบครัว การเรียนรู้

2. เป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม ปล่อยวางตัวตนและประโยชน์ของตน

          1.  โลกแห่งความสมมุติ หมายถึงการ นึกถึงจะมา ไม่นึกถึงจะไม่มี เป็นความคุ้นเคยที่เราจะนึกถึงการมีอยู่เป็นของเรา ในทางศาสนาอยู่ที่จิตเกิดและดับ การเกิดและดับอยู่ที่การเป็นตัวกู ของกู ทุกอย่างไม่มีความเป็นตัวตน แต่มีความเป็นสมมุติ

          2.  เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

          - การเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดอัจฉริยะภาพเกิดขึ้น ให้เข้าใจความจริงของธรรมชาติแลเห็นถึงคุณค่าที่ยั่งยืน ตราบใดที่เราทำตัวเราใหญ่ในทีม คนอื่นจะไม่มีที่ยืน จะหลุดนอกกรอบ และไปสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ ของเขา

          - การทำตัวเองเล็กลงเท่าไหร่ ให้ประโยชน์คนรอบข้างมากเท่าไหร่ คนจะเข้ามามากขึ้นเท่านั้น

          - ให้เราเข้าใจวัฏจักรภาพใหญ่หรือไม่ ถ้าเข้าใจจะไม่เข้าใจสิ่งเล็กน้อยที่ไม่ดีเลย

          เริ่มต้นจาก 1. เข้าใจตนเอง – ให้กลับมาอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเอง ให้ลองพิจารณาไตร่ตรองตัวเองอยู่ลึก ๆ

ใจที่กว้าง  : สละ 4 สละ

คือ การสละทรัพย์สิน กับคนไร้สาระ จะทำให้มีเวลา กับเงินที่มากขึ้น จะทำให้มีเวลามาจัดการกับคนที่มีสาระมากขึ้น จะทำให้เราพบเจอสิ่งที่มีความสำคัญกับในชีวิต (อะไรที่ใน 3 เดือนไม่หยิบหรือแตะเลยหมายถึงสิ่งนี้ไร้สาระ ให้เราทิ้งสิ่งนี้ หรือนำไปบริจาค แล้วจะทำให้เราประหยัดเงินได้ทันที)

มนุษย์ไม่ผิดที่ไม่รู้ แต่ผิดที่รู้แล้วแต่ไม่ทำ ให้อยู่กับปัจจุบัน ให้ว่ายให้สุดชีวิต ทำให้ดีกว่าและใหม่ ๆ เสมอ ให้ตั้งไว้ในใจว่าถ้าไม่ใหม่ไม่ทำ

วิธีการสร้างทีมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

1.  เข็มทิศ มีเป้าหมายที่ชัด – หาทิศทางของตัวเองให้เจอ ฝึกทำเป้าหมายที่ใหญ่ แล้วซอยเป้าหมายเล็ก ๆ

2.  การสื่อสาร

    - สภาพแวดล้อม

    - กำลังใจ – ให้ในสิ่งทีอยากได้

    - Mission , Value & Strategy

    - ดูความสามารถ

เข็มทิศกับเวลา

          - เลือกเข็มทิศคือสัมมาทิฐิและวันหนึ่งเราจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่เราจะไปถึง เพราะถ้าเลือกเวลาจะเราทำแต่สิ่งเร่งด่วนแต่อาจไม่สำคัญ

          - ต่อเชื่อมกับนวัตกรรมให้สูงขึ้น ๆ แคบลง และมีฉันคนเดียวที่ทำได้ แล้วจะทำให้คนอื่นมีที่ยืน

- หาสิ่งที่ตัวเองทำให้เก่ง ทำการเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น

การคิดอย่างเป็นกลยุทธ์

1. เป้าหมาย – มีเป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายย่อย ๆ

2. หาจุดยืน ปรับกรอบความคิด

3. วิเคราะห์ ผู้รับเป้าหมายมีปัญหาอะไร และทำอย่างไรและทำอย่างไรจึงพึงพอใจ

4. แรงช่วย

5. วางแผน

6. ปฏิบัติ เราควรปรับปรุงและพัฒนาอะไร

กระบวนการที่ทำให้เกิดความสำเร็จ และอยู่รอด

1. การมองทิศทางที่ออก

          เช่น แต่งงานกับนายอำเภอ ได้เป็นภรรยาผู้ว่าฯ เราต้องมองทิศทางให้ออก

หรือเข้าใจว่า 4.0 คืออะไร เป็นการหนีจากกรอบระดับกลางด้วยรายได้ 4.0 ระบบดิจิตอล ปัญหาคือคน

กระบวนการหาคุณค่า และสร้างนวัตกรรมไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

2. กระบวนการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา (5.0)

มองตา ก็รู้ใจ เห็นคุณค่า เห็นอกเห็นใจมองคุณค่าที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

สรุปคือ

1. เราต้องเข้าใจความจริง เข้าใจ ธรรมชาติสิ่งนั้น เราจึงสามารถหาคุณค่าจะสิ่งนั้นได้

2. มองประโยชน์ของภาพใหญ่ ให้มองให้รอบคอบ บางครั้งพูดอะไรสะใจ แต่เป็นเหตุกระทบกับคนรอบข้าง

3. ทำอะไรไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน ว่ายให้สุดชีวิต ดีที่สุด และดีกว่า และดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจะเข้า 5.0 โดยไม่ต้องรอ 4.0

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. จะทำอะไรที่จะเอาชนะกับดักเวลา

          ตอบ สัมมาทิฐิ ให้หาคุณค่าของตัวเองให้เจอ ไม่เช่นนั้นเราจะมุ่งไปที่คุณค่าทางสังคม ที่ยึดติดวัตถุ ให้กลับมาที่ตัวเอง หาให้เจอว่าเกิดมาทำไม

          ระหว่างสอนผล กับสอน Process (กระบวนการ) สิ่งที่สำคัญคือ Process เช่น ต้องการเกิดมาสะสมบุญ บุญได้จากอะไรบ้าง เช่น กิริยาวัตถุ 4 บุญที่สูงที่สุดคือบุญแห่งการสร้างปัญญา สิ่งที่ตามมาคือจะรู้วิธีการสอนอะไร  เราต้องสอนให้ฝึกคิด ให้ตั้งคำถาม อย่าสอนให้เด็กจำ เพราะสิ่งนั้นคือกระบวนการสกัดกั้นความคิด ปรับกระบวนการสอนให้สร้างปัญญา แล้วเขาจะให้ทุกอย่างในการแก้ปัญหา แต่ถ้าสอนให้เขาคิดเป็นเขาจะจำหน้าครูคนนี้ตลอดชีวิต แล้วกลับมาจะรู้ว่าได้ดีเพราะอาจารย์

2. การประเมิน

          ตอบ มีการประเมินตามวัตถุประสงค์ เราต้องมาถอด KPI ตรงนั้นให้ดี

          การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย สอนแบบความรู้ เนื้อหาจะหนักมาก เนื่องจากหัวข้อ KPI จะเต็มมาก แต่ถ้าสอนให้เขาคิดเป็น ถ้าสอนสนุกเขาจะไปอ่าน แล้วกระบวนการเรียนแบบเชื่อมโยง เขาจะไขว่คว้า เป็นกระบวนการที่เขาจะค้นคว้าและทำการบ้าน  แล้วจะทำให้ครูสอนลดลงอย่างมาก

          การเรียนต้องเรียนแบบแก่น ไม่ใช่เรียนแบบจำ แล้วจะทำให้สรุปความรู้ได้ดี ต้องดู Point ใหญ่ Point รอง Point ย่อย เช่น TeamWork  สิ่งสำคัญคือ การมีเข้มทิศ เป้าหมาย และการสื่อสารร่วมกันในทีม

3. เจอเหตุการณ์ที่นักศึกษาบางคนมีสิทธิในการประเมินอาจารย์เป็นเสมือนมีดาบอยู่ในมือจะทำลายขวัญและกำลังใจ

          ตอบ ถ้าแจกงานที่ไร้สาระ หรือสาระ ถ้าให้งานไร้สาระอาจเจอการประเมินที่ไม่ดี  ให้ดูถึงสิ่งที่เด็กเอาไปใช้ประโยชน์ ปัญหาอย่างหนึ่งอาจารย์จะต้องปรับรูปแบบการสอนให้ทัน

          สมองมนุษย์เรียนรู้แบบ Mind Map แล้วเกิดกระบวนการต่อยอดในการเรียนรู้ต่อไป ซึ่งถ้านักศึกษาเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และใช้ในชีวิต เขาจะพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป

          ต้องคำนึงถึงว่า ความสำเร็จคือให้เด็กเอาไปใช้ได้ ต้องกล้าออกจากกรอบ

          กระบวนการที่พลาดคือ พลาดในการทำให้เด็กมีทักษะ เรียนรู้แบบรู้รอบ รู้ครบ แล้วเด็กจะไม่ได้ ต้องฝึกทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ และเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อที่จะเกิดให้บอกแก่นได้ทันที

          ดังนั้นการปรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ทักษะในการพัฒนาทักษะพื้นฐาน การสังเกตที่ละเอียดอ่อน การพัฒนาทักษะที่ประณีต ถ้าพลาดที่ทักษะ แรงจูงใจจะมาหรือไม่ จะจำได้หรือไม่ และจะนำไปใช้ต่อได้หรือไม่

          วิธีการฝึกคือ ต้องฝึกว่าทำไม แล้วจะเกิดการเรียนรู้ว่าทำไม ให้หาคุณค่าตัวเองให้เจอ แล้วเกิดสัมมาทิฐิ


วิชาที่ 28 Learning Forum

หัวข้อ   การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

(Perspectives on Management Effectiveness for Future University)

โดย     ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         

 

ให้เขียนคุณภาพการศึกษาในคณะของท่าน ใน ม.อ. ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร

ตารางแนวตั้ง สภาพที่พึงเป็นหรือความคาดหวัง

ตารางแนวนอง สภาพความเป็นจริง

ยกตัวอย่าง

เลข 1 แปลว่าควรจะเป็นแต่ยังไม่เป็น เราต้องพยายามเยอะมาก

เลข 9 แปลว่า ไม่ควรจะเป็น แต่เป็น เราควรเลิกเลย

เลข 7 แปลว่า ไม่ควรจะเป็น และยังไม่ได้เป็น

เลข 9 แปลว่า เป็นแล้ว และควรจะเป็น หมายถึงสมบูรณ์ดีแล้ว

เลข 5 แปลว่า น่าจะเป็นหรือไม่น่าจะเป็น เป็นได้ 2 แบบ หรืออีกคำตอบหนึ่งคือแทงกั๊ก แปลว่าพอใจสภาพเดิม จึงอยากฝากขอให้ทุกคนไม่แทงกั๊ก เลข 5 เป็นเสมือนเครื่องมือที่ไม่ทำให้เราทำอะไร

          ถ้าไม่เป็นเลข 5 จะเป็นเลขอะไร เราต้องตัดสินใจว่าเราคิดว่าอะไร

 

พายุประเทศไทย

          หมายถึงสิ่งที่เรากระทบกับประเทศไทย อย่ามองพายุในทางร้ายทั้งหมด เพราะเป็นโอกาสด้วย เราจะทำอย่างไรถึงจะสู้กับพายุได้ สิ่งนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับในโลกทั้งหมด

          1. การระเบิดขององค์ความรู้ ความรู้เสมือนชีวิต - เรากำลังเปลี่ยนสังคมความรู้ยุคที่ 1 ไมสู่ที่ 2 ด้วย

          2. เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยความรู้ สังคมความรู้ยุคที่ 1 ไปสู่สังคมความรู้ยุคที่ 2

          3. Broadband open system

          4. Capitalism Industry การแข่งขันได้ กลไกตล

          5. โลกาภิวัตน์ – อุดมศึกษาข้ามชาติ การแข่งขันข้ามชาติ

          6. Demography student change Life-Long Education

          7. กระแสสังคม การเมือง ประชาธิปไตย

          - ปัจจุบันเกิดสิทธิในการเข้ารับการศึกษา การเปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนได้ สู่สิทธิของการได้การศึกษาที่มีคุณภาพ หมายถึงปริญญาต้องมีความหมาย ต้องเป็นปริญญาของจริงไม่ใช่ของหลอก

          8. Education System as a whole – บทบาทของการศึกษาทั้งหมด

          9. Modern Management

          สรุปคือเราจะใช้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สู่การพัฒนาได้หรือไม่

          ยกตัวอย่าง : ความรู้ปรับเปลี่ยน

          1. การระเบิดขององค์ความรู้  และพลังของการศึกษา มีกิจการงานขับเคลื่อนด้วยความรู้ เป็นสังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นลักษณะของการเลคเชอร์และท่องจำ

          2. ปัจจุบันความรู้เปลี่ยน อย่างเช่นเมื่อก่อนใครทำวิทยานิพนธ์กว่าจะค้นวิทยานิพนธ์ต้องขอค้นใช้เวลา 1 เดือนกว่า แต่ปัจจุบันคืนเดียวทำได้เลยในการหา Literature Review ในการหามวลความรู้ในโลก  Global Knowledge Pool ต่อกันเข้าด้วยอินเตอร์เนต (ความรู้ที่พิสูจน์แล้ว Explicit Knowledge) จึงต้องมี

- ความสามารถในการหาความรู้สำคัญกว่าปริมาณความรู้

- รู้เนื้อหาสาระเพียงพอที่จะมีวิจารณญาณ

- รอบรู้เพียงพอที่จะคิดรอบคอบ

สรุปคือ ต้องเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ จึงขึ้นอยู่กับ Human Resource Capabilities คือการจัดการความรู้ ซึ่งสำคัญกว่าความรู้ที่มี ได้แก่ การเข้าถึงความรู้  วิจารณญาณ รู้เท่าทันความรู้ การตีค่า ความคุ้มค่าของความรู้ การปรับความรู้ เพื่อใช้การกระจายเผยแพร่ความรู้

โลกเปลี่ยน

          1. ความรู้เมื่อนำมาใช้แล้วจะเกิดความรู้ใหม่เกิดขึ้น

          2. ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น – ประโยชน์ของความรู้

          3. มีประโยชน์ ใช้ได้หรือไม่ เข้ากับวัฒนธรรมหรือไม่ ปรับได้หรือไม่

          3. KM

          4. ความรู้จากการกระทำ (Tacit Knowledge) – เป็นความรู้จากการปฏิบัติ เป็นประสบการณ์ ทุกสาขาวิชามีความรู้ส่วนนี้เข้ามา

สังคมความรู้ยุคที่ 2

          ความรู้เกี่ยวกับองค์รวมความรู้ที่ถูกต้อง เป็นสังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นการนำความรู้จากการปฏิบัติเข้ามา

ความรู้ในศตวรรษที่ 21

          1. การหาความรู้เพิ่มสำคัญกว่าการสะสม

          2. สภาพความเป็นอกาลิโกของความรู้หายไป

          3. คุณภาพของความรู้มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม

          4. การเป็นผู้ผูกขาดความรู้หมดไป

          5. สภาพการเป็นผู้รู้ถดถอยลง

          6. ความเป็นสาขาวิชาการจำเพาะ ลดขอบเขตและความชัดเจนสหวิทยากรสำคัญเพิ่มขึ้น ความรู้รอบ ความรอบรู้ คุณธรรม สุนทรียภาพ

          7. ความรู้เป็นพลังงานหรือเหลวมากกว่าเป็นมวลปฏิภาค ปฏิสัมพันธ์

คุณสมบัติของบัณฑิต เปลี่ยนไป

1. ความสามารถในการเข้าถึง  –  internet, language competencies

2. ความสามารถในการเลือก -- critical appraisal, research methods

3. ความสามารถในการปรับใช้ – holistic, economic, humanistic

4. ความสามารถในการสอน สื่อสาร ถ่ายทอด  -- communication skills

5. การทำงานเป็นทีม – trust, respect for others, leadership

ความสามารถในวิชาชีพ – ข้อมูล  ความรู้

การตัดสินใจ ฝีมือ  ความคิด  ปัญญา  ธรรมะ

คุณลักษณะบัณฑิต

ความสามารถ  เจตคติ  ใฝ่รู้ การจัดการเวลา

 

 

 

 

บัณฑิตสำหรับอนาคต

สร้างสมรรถนะความรู้พื้นฐานและความรู้เพื่อใช้งาน (information competence)

ฐานความรู้    ความรู้พร้อมใช้   การนำไปใช้

Informative – Formative  - Transformative   learning

-  ต้องสร้างคนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

1. Basic/applied , Essential , Professional , Knowledge

2. Professional , Knowledge  pool

3. New knowledge

4. Essential Professional Skills

5. Innovations

 

ความรู้เป็นทั้งปัญหาและโอกาส

- ICT เป็นปัญหาหรือโอกาส

- ความรู้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิผูกขาดโดยนักวิชาชีพ สู่ความรู้เป็นสมบัติสาธารณะแหล่งข้อมูลหลากหลาย

- 3G 4G ไม่ใช่โทรศัพท์ Digital Revolution

- โอกาสข้ามเวลา และระยะทาง เป็นโอการสู่ Equity การปรับสมรรถนะใหม่ ปรับเจตคติ

 

มหาวิทยาลัยในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

1. Demography Student Change Life Long Education

2. การมีเทคโนโลยีการสื่อสาร สารสนเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยในอนาคตปรับเปลี่ยนไป

          - Virtual University

          - Hybrid University  - ทุกคนไม่จำเป็นต้องมาเรียนที่เขา

          สรุปคือ มหาวิทยาลัยในอนาคตจะไม่เป็นอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน การศึกษาในปัจจุบันต้องเน้นสมรรถนะ และสมรรถภาพของนักเรียน มีการให้การศึกษาโดยการบริการ มีหลักฐาน

EPA

Competence-based Education

1. Teamwork & Collaborative skills

2. Quality improvement Skills

3. Critical Thinking Skills / Decision making skills

4. Education for “Evidence-based Services”

Research Methodology-Scientifically proven evidences (research) Situation specific evidences Evaluative evidences

5. Professionalism – เราเชื่อความเป็นวิชาชีพได้มากน้อยแค่ไหน

นักเรียนจำเป็นต้องมีวิจารณญาณ และเราจะสร้างวิจารณญาณได้อย่างไร ?

 

บทบาทงานวิจัย

1. สร้างการแข่งขันในระดับชาติ – แข่งขันกับประเทศอื่น ๆ อย่าง ม.อ. ได้มีการสร้างให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย

- มีวิธีวัด ranking ที่ไปแข่งขันกับต่างประเทศ

2.วิจัยเพื่อการพัฒนาของประเทศ – ใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหา เป็นลักษณะ Glocalize Research คือเอาความรู้ในโลกมาใช้ในประเทศไทย เป็นความรู้อย่างไร

3. วิจัยสู่การประเมินความรู้ – ปัจจุบันยังไม่มีการประเมินความรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจากการบริการนั้น ให้นำการบริการปกติให้เกิดการวิจัยได้อย่างไร

4. ความรู้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา – ใช้ความสามารถในการคิด พิจารณาว่าวิธีการวิจัยถูกหรือไม่ นักเรียนสามารถแยกได้หรือไม่ ถ้าอยากให้นักเรียนหรือครูแยกได้ ต้องทำการวิจัย

          วิจัยเป็นวิถีชีวิต วิถีชีวิตของมนุษย์เป็นวิถีที่ชอบเชื่อ ส่วนวิถีอีกวิถีที่ตรงกันข้ามคือมีความสงสัย และต้องการหาความรู้ คือการหาความจริงจากความรู้ มีการหา Literature Research และทำ Systematic Review ในการตรวจสอบความรู้

5. ความรู้เป็นการสร้างพลัง ให้มีการคำนวณว่าเป็นอย่างไร แล้วหาทางแก้ปัญหาเอง รู้ว่าปัญหา คืออะไร อาจารย์ต้องทำวิจัยเพื่อเป็นการพัฒนา

          สรุปคือการเปลี่ยนคอนเซปต์ของการวิจัยคือเป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณาด้วย

 

วิธีการแข่งขัน

คนที่มีสภาพด้อยกว่าในการแข่งขันจะชนะได้เมื่อ

1. รู้ความสามารถของตัวเอง

2. แข่งที่ไหน

3. มีความกล้าหาญเพียงพอ

 

          David Sinclair ศึกษาปริญญาเอกที่ MIT ทำการศึกษาวิจัยของสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ หาสิ่งที่ทำให้คนอายุยืนมาขึ้น ได้ค้นพบ เรื่องยีสต์  และยีนที่ทำให้อายุยืน  ค้นพบโมเลกุลที่พบในเปลือกองุ่นสีแดง ค้นพบและตั้งบริษัทชื่อว่า Sirtris Pharmaceutical ได้โมเลกุล แล้วมีคนซื้อบริษัทที่ซื้อด้วย 720 ล้านเหรียญสหรัฐ

          สรุปคือวิจัยไม่ได้ให้เกิดประโยชน์แล้วตีพิมพ์ทั้งสิ้น แต่วิจัยทำให้เกิดการเป็นมหาเศรษฐีได้ในทันที อย่าง Times Magazine ได้เรียก David Sinclair เป็น 1 ใน 100 ของคนที่มีอิทธิพลในโลกในปี ค.ศ. 2014

 

การค้นพบจากการวิจัย

          1. ต้องผ่านช่วงการค้นพบ การฝันสลาย การพัฒนา แล้วถึงสามารถนำไปสู่การใช้ได้จริง

          2. การวิจัยต้องใช้พลังมาก และมีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน

          3. ต้องมีนักวิจัยที่มีความสามารถ ห้องปฏิบัติการที่มีเทคโนโลยี เงินทุนที่เพียงพอการวางแผนที่รอบคอบ ประสิทธิภาพ / คุณภาพ ความพยายามและตั้งใจจริง

          สรุป กระบวนการวิจัยมีปัญหาเกิดขึ้นมาก ต้องรู้ว่าส่วนหนึ่งเป็น High Risk วิจัยต้องมีการยอมรับที่ไม่ได้ผล และต้องสามารถคิดค้นพัฒนางานวิจัยในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ได้ผลด้วย  ต้องมีพัฒนาการทางด้านนี้

 

Disruptive Innovation

          กระบวนการคิดหนึ่งของการมีนวัตกรรม เป็นกระบวนการขัดขวาง แทรกแซง หรือทำลายนวัตกรรม อาทิ มีบริษัทหนึ่งผลิตนวัตกรรมแต่ยังมีคุณภาพที่ต่ำอยู่ แต่สามารถใช้การได้ แข่งกับบริษัทใหญ่ที่มีราคาสูง แต่ไม่สามารถแข่งสู้ได้ บริษัทใหญ่ก็ต้องเจ๊งไป ในที่สุดบริษัทขนาดเล็กก็พัฒนานวัตกรรมค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากการแทรกแซง

Sustaining Innovation

          เป็นการพัฒนานวัตกรรมของบริษัทใหญ่ที่ที่มีนวัตกรรมอยู่แล้วให้ใช้ได้และยั่งยืน

Efficiency Innovation

          เป็นการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ยกตัวอย่างเช่นการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ และเป็นที่สังคมต้องการ

กิจกรรม

1. ให้วิเคราะห์ ม.อ.ใน 10 ปีข้างหน้าจะต่างจากในปัจจุบันเพียงใด คิดในระดับ 1-10

 

คุณภาพ : โครงร่างองค์กรสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์

เกณฑ์ TQA ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ

1. การนำองค์กร – ต้องพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเจริญขึ้น

7. ผลลัพธ์- ต้องดูว่าต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร

2-6 เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่

2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์

3. การมุ่งเน้นลูกค้า

4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5. การมุ่งเน้นบุคลากร

6. การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ

 

 

การทำการตลาดแบบ Imperfect market for higher education

          การสร้างแบรนด์ การสร้างให้เป็น Star จะเป็นผู้ดึงดูด สามารถทำให้เป็นผู้ผูกขาดและนำรายได้เข้ามา ดังนั้นกลไกนี้ถ้าใครเข้าถึงคนนั้นจะได้เปรียบ อย่าง ม.อ.จะใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้อย่างไร คือรักษาความเป็น Star และทำให้ Star เป็น Super Star จริง ๆ ได้อย่างไร

          สรุปคือการตลาดในวงการศึกษาจะมีการทำกลไกทางการตลาดเข้ามา เมื่อมีความเป็น Star ได้จะสามารถเป็นคนกำหนดคุณค่าความเป็น World Class

 

Collaboration การสร้างความร่วมมือจากส่วนต่าง ๆ

          1. Internal Collaboration – Internal-faculty, Inter-campus

          2. International ม.44

          3. Corporate Industries – ภาคใต้มีอุตสาหกรรมมาก เช่นที่วิทยาเขตตรัง มีโรงงานอาหารทะเล ส่งอาหารทะเลที่ผลิตและสามารถกินสดส่งไปที่ญี่ปุ่น แต่บางครั้ง ม.อ.ยังไม่รู้ว่ามีอุตสาหกรรมอย่างนี้อยู่ที่เราจะสร้างความร่วมมือให้นักศึกษาลองไปศึกษา

          4. Community Engagement – ความร่วมมือกับชุมชนมีมาก

          5. Inter-University Education System as a whole – ม.อ.สามารถร่วมมือช่วยมหาวิทยาลัยอื่นดีขึ้น แล้วในที่สุดมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะดี จะสามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้น สิ่งนี้เป็นบทบาทของมหาวิทยาลัย

          สรุป แสดงถึงการมีอะไรอยู่ในระบบที่ไม่สามารถก้าวข้ามสู่ความร่วมมือได้

 

Productivity

          1.ทุกสาขาวิชาควรร่วมการวิจัยและวิชาการ และการบริการเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการศึกษา เน้นการมองในทุกมุมจะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้น มุ่งสู่การปรับเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมดคือ นำ Research + Service + Education

          2. University as producers / Students as Producer

 

การเงิน

          ต้องดูแหล่งเงิน แหล่งรายได้ ม.อ.รายได้ยังเป็นแบบ Traditional ที่เคยได้มา ต้องลองหาช่องทางในการหาเงินมากขึ้น อยู่ที่วิธีคิดว่าจะคิดอย่างไรในเรื่องการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยของเรา อาทิ Brand Asset , Education ,Research, Physical Property Asset, Services Engagement, Collaboration Asset

การสร้างความเป็นเลิศให้อนาคตของ ม.อ.

          ดูว่าสิ่งที่ทำปัจจุบันไม่ได้ผลในปัจจุบันนี้ แต่เป็นสิ่งที่เราจะได้ในอนาคต สิ่งที่ตัดสินใจในปัจจุบันเป็นเรื่องของอนาคต หมายถึง ม.อ.มีอนาคตที่สดใสได้หรือไม่ และใครเป็นคนทำให้อนาคตมหาวิทยาลัยสดใส ต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในมหาวิทยาลัย เชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร ลูกศิษย์ และที่สำคัญคือการเชื่อมั่นในตัวเอง ที่จะทำให้สำเร็จให้ได้  

          สิ่งทั้งหลายที่อยู่ที่นี่ทุกคนต้องมีจินตนาการในอนาคต อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ดี มีพลังศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. สงสัยตรง สไลด์ Competencies คิดว่าจะตก Entrepreneurship Competencies เราจำเป็นต้องเพิ่มทักษะด้านนี้หรือไม่ เพราะที่เรียนมามีการพูดถึงเรื่องนี้พอสมควร

          ตอบ เรื่องนี้มีความหมายจริง ๆ แต่คำว่า Entrepreneurship หมายถึงสมรรถนะของการมีชีวิตลักษณะหนึ่งในการพิจารณาความเป็นตัวของตัวเอง ในการพึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งคนอื่น เห็นด้วย ที่ใส่ไว้เป็นเพียงตัวอย่าง ขอบคุณที่เติมไปด้วย

 

2. สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ อาจารย์เป็นนักอ่าน ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษามาสอน และสุดท้ายที่จับประเด็นได้คือสิ่งที่พวกเราทุกคนที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จึงอยากให้อาจารย์แนะนำพวกเราว่าการเป็น มหาวิทยาลัยใน 20 ปีข้างหน้าคือ Student/University as Producer จะเป็นอย่างไร

          ตอบ สิ่งที่เล่าอยากให้ได้การขยายวิธีคิด ไม่ได้แค่ Content อยากขยายขอบฟ้าความคิดเท่านั้น ตัวอย่างที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างที่เราบอกว่าเราสามารถมองได้กว้างกว่านั้นมาก ทั้งหมดนี้เพราะเราไม่มีศรัทธากับเขา ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบต้องเกิด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ญี่ปุ่นก็เกิดระบบมหาวิทยาลัยเหมือนกัน จุฬาฯ ใช้ระบบเหมือนของฝรั่งเศส ที่ญี่ปุ่นสร้างพร้อมจุฬาฯ เน้นเรื่องวิจัย ญี่ปุ่นใช้ระบบเยอรมัน ว่ามหาวิทยาลัยเป็นที่บุกเบิกความรู้ นักเรียนต้องทำวิจัยอีก 1 ปี ถึงจะสำเร็จได้ อีก 100 ปีต่อมาเห็นความแตกต่างว่าญี่ปุ่นไปไกลมาก แต่ของไทยเน้นการเรียนการสอนอย่างเดียว พบว่ามหาวิทยาลัยตอนแรกยังไม่ใช่มหาวิทยาลัยเนื่องจากไม่ใช่องค์กรที่ผลิตความรู้  ให้สังเกตว่าหลายแห่งมหาวิทยาลัยที่เป็น Star ได้ไปคัดนักเรียนเพื่อมาเป็นสมองของมหาวิทยาลัย มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยให้ทุนทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่ได้คือได้สมองของนักเรียนที่ดีเป็นทรัพย์สินของเขา และนักศึกษาปริญญาเอกที่ดีจะทำให้มหาวิทยาลัยเป็น Star เอานักศึกษาเป็น Producer แล้วที่สมัครมาก็กลายเป็นตัวผลิตความรู้ ผลิต Innovation ต่าง ๆ  ส่วนหนึ่งคือ ถ้าดูญี่ปุ่นจะมี Professor ที่กว้างที่เก็บความรู้ระบบ ประสบการณ์ แล้วเอานักเรียนที่เข้ามาที่มีความคิดที่กว้าง และบ้าบิ่นมาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม จึงกลายเป็นเครื่องมือในมหาวิทยาลัย อย่างที่จุฬาฯ ได้มีการนำระบบนี้เข้ามาแล้วเป็นกองทุนดุษฎีพิพัฒน์ เอาสมองมาเป็นเครื่องมือของเรา หรือแม้แต่ปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ยังให้นิสิตทำวิทยานิพนธ์เพื่อเป็นสาระให้กับมหาวิทยาลัย สิ่งนี้คือการสร้างปัญญาของนักเรียน ดังนั้นอย่าคิดว่านักเรียนที่เข้ามาไม่เก่ง ต้องทำให้นักเรียนที่ไม่ดี เข้ามาแล้วดีได้ เป็นเรื่องที่เก่งกว่า ดังนั้น เรื่องที่นำมาเล่าคืออยากยกตัวอย่างวิธีคิดที่เปลี่ยน

 

3. สิ่งที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเป็น Student as Producer ได้อย่างรวดเร็ว จะสามารถดึงนักเรียนที่เป็นต้นน้ำเก่ง  ๆ เข้ามาได้อย่างไร ดังนั้นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจะนำคนเก่งเข้ามาเรียนมากขึ้นได้อย่างไร

          ตอบ การให้นักเรียนมาที่นี่ได้อย่างไร อยู่ที่นักเรียนเชื่ออาจารย์เชื่อมหาวิทยาลัยมากแค่ไหนมากกว่าที่จะไปที่อื่น  เช่น ประเทศไทย มีวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ มีทรัพยากรที่ยาวนาน แต่ทำไมมาเลเซีย สิงคโปร์แซงประเทศไทย เพราะอะไร คำตอบหนึ่งคือ ไทยไม่มีนวัตกรรม อย่างที่บอกคือ Student as Producer นั้นหมายถึงเป็นนวัตกรรมทางการจัดการศึกษาอย่างหนึ่ง ดังนั้นนวัตกรรมในการจัดการศึกษาของ ม.อ.จะเป็นอย่างไร มีสิ่งที่น่าจะจัดการได้มากขึ้นอยู่กับว่า ม.อ.จะทำหรือไม่ เช่นเรื่องน้ำท่วมภาคใต้ มีการพูดเรื่องทรัพยากรน้ำ มีคนยกย่องว่า ม.อ.ช่วย แต่ก็ยังไม่ได้ตอบสนองต่อคนภาคใต้ทั้งหมดได้ เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร การพิจารณาแก้ไขปัญหาทั้งหลายอย่าแก้ไขปัญหาฉาบฉวยแต่ให้ดูให้ดี  อย่าง ม.อ.น่าจะทำเรื่องศาสตร์ด้านการจัดการดูแลน้ำท่วม น้ำแล้ง ดังนั้น คำถามคือเราเป็นอย่างไร เราต้องมีของจริงของตัวเองที่แข่งได้ และชาวบ้านรู้ สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยขาดคือการสื่อสารภายใน และการสื่อสารภายนอก มีขั้นตอนต่าง ๆ ในการปรับมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ใครจะปรับ เพราะเป็นเรื่องของทุกคน โดยแท้จริงแล้วผู้ผลิตคืออาจารย์ทั้งหลายที่เป็น Producer ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ผู้บริหาร หรือนักเรียนจะเป็น Producer ทั้งหมด

 

4. ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่มีภัยคุกคามรอบด้านในมหาวิทยาลัย เห็นด้วยที่พูดเรื่องหลักสูตร Course Online แต่ในความเป็นจริง จะมีแนวทางในการผลักดันมากน้อยแค่ไหน ที่อาจให้เด็กมาทดลองเรียนก่อนในหลักสูตรต่าง ๆ แล้วเก็บเครดิตไว้ จะเป็นการเพิ่มจำนวนนักศึกษาที่สนใจจริง ๆ และเป็นการเปิด Target กลุ่มลูกค้ามากขึ้น และถ้ามองแบบเดิมคืออัตราการเกิดลดลงเหลือ 0.3 ถ้ามองแค่รอเด็กที่จบ ม.6 เข้ามาอาจทำให้ ม.อ.ไม่รอดในอนาคต

          ตอบ ทุกช่องทางมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ได้ยกตัวอย่างการเรียนบางรายวิชาที่สามารถสอบเทียบในการเรียนเข้ามาได้ สิ่งนี้เป็นนวัตกรรมชนิดหนึ่งของโรงเรียน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูเรื่องนวัตกรรมด้วย เช่น นักเรียนสาธิตที่ดีสามารถเข้า ม.อ.ได้เลย โดยไม่ต้องสอบเป็นต้น  Innovation เหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ทั้งบวกและลบ แต่ที่ ม.อ. เดินไม่ออกเพราะไม่กล้าทำ ดังนั้น ต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไร เมื่อเป็นผู้บริหารในอนาคต

ทำอย่างไรที่อาจารย์ไปเรียนในต่างประเทศเข้ามาช่วยสอนใน ม.อ.จะช่วยสร้างประโยชน์ได้มาก เราต้องมีสนามบินให้ลง

 

5. แทนที่ ม.อ.จะเปิดสาขาอะไร แต่เปลี่ยนเป็นอยากทำอาชีพอะไรให้มา ม.อ. โดยแต่ละคนอาจเรียนแบบข้ามวิชาได้ หมายถึงผลิตให้ตรงเป้าหมายต่อความต้องการของบัณฑิตมากขึ้น เป็นการสร้าง Specific Program และเมื่อเราเข้าใจแบบนี้เราสามารถทำ Survey ได้ว่าพันธมิตรแบบไหน และสเป็กที่ต้องการคืออะไร ก็มาต่อจิ๊กซอว์กับบัณฑิตที่จะจบจากมหาวิทยาลัย  และเมื่อปี 3 อาจส่งบัณฑิตไปฝึกงานเพื่อทดสอบว่าใกล้คุณภาพที่ต้องการหรือไม่และ ปี 4 ก็เข้าสู่การเตรียมพร้อมไปสู่การทำงานที่นั่น แล้วมีการทำประเมินผลจากการที่ไปทำงานที่นั้น ๆว่ามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นอย่างไร จึงคิดว่าน่าจะสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย และตอบสนองต่อบัณฑิตได้

          ตอบ ปัญหาที่เรากำลังประสบ คือเราคิดว่าจะมีคำตอบ คณะนี้คิดถึงปัญหาที่ตอบสนองในสภาพปัจจุบัน แต่บัณฑิตที่อยู่ตรงนี้ต้องอยู่ไปอีก 20-30 ปี การแก้ปัญหาในปัจจุบันนี้ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน เช่น คนนึงสามารถทำงานนี้ได้เลย เช่นเป็นนักวิศวกรมืออาชีพ แต่ถ้าจะให้คนนี้อยู่ไป 10-20 ปีข้างหน้า อาจเป็นสิ่งที่คนละอย่างกัน หมายถึงการศึกษาไม่ใช่ตัดเสื้อใช้ได้ทันทีและพอดีตัว เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร ดังนั้นอย่าหาคำตอบเพียงคำตอบเดียว เพราะเรากำลังดีลกับความหลากหลายไม่ใช่แบบพิมพ์ เราต้องเลิกคำว่าผลิตบัณฑิตได้แล้ว ไม่ใช่ปั้นออกมาเป็นวิชาชีพนั้น ๆ เพราะจริง ๆ แล้วมีหลายคำตอบมาก

 

6. ประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตการณ์ด้านการศึกษา หลังจากนี้จะมีวิธีการอย่างไรต่อการปฏิรูปการศึกษากับประเทศไทย

          ตอบ คำถามนี้เป็นคำถามที่กว้างขวางมาก และเป็นสิ่งที่หนักมาก ถ้ามองย้อนไปสู่การปฏิรูปที่ผ่านมาแล้วพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาก สภาพของประเทศไทยมีทุกอย่างมากแต่สู้ใครไม่ได้ ถ้าอีก 10 ปีข้างหน้าบอกว่าการปฏิรูปไม่สำเร็จจะแพ้ขนาดไหน ดังนั้น ณ จุดนี้จึงหาวิธีการอย่างไรที่แพ้ไม่ได้ ปัญหาใหญ่สุดของการศึกษาไทยคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพการศึกษา พบว่ามีคนกลุ่มน้อยที่ไปแข่งกับระดับโลกได้ แต่เป็นกลุ่มนิดเดียว เกิดได้เพราะระบบที่ขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สิ่งที่ขาดคือ เราบริหารความเหมือน ไม่ได้บริหารความหมายหรือความแตกต่าง ระบบเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านั้น ทางแก้คือการปรับให้ตัวระบบเปลี่ยนได้ ที่พยายามทำอยู่คือตัวระบบข้อมูลของนักเรียน แม้ว่าเลขบัตรประชาชนมีอยู่ แต่ไม่รู้ว่านักเรียนไปเรียนที่ไหน มีการจ่ายเงินซ้ำซ้อน มีจุดรั่วของระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพมีปัญหา การวางนโยบายของชาติจึงต้องมีข้อมูลที่ครบ พบว่ามีนักเรียนที่จบ ม.3 แล้วออกนอกระบบการศึกษา

          ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือต้องเป็นระบบปฏิรูปเยาวชน มากกว่าปฏิรูประบบการศึกษา อย่างการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเน้นเรื่องการมีเนื้อหาสาระ ต้องมีการไปติวเนื้อหารสาระ ดังนั้นคนที่เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยจึงได้คนที่มีเนื้อหาสาระมาเรียน เราต้องดูว่าจุดวิกฤติตรงไหนที่แก้ไขแล้วกระทบทั้งระบบ เช่น ม.อ.อยู่ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัย มีวิธีวัดทั้งหมด ให้ไปดู Ranking ของมหาวิทยาลัยว่า 10 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขึ้นหรือไม่ จะต้องเปลี่ยนระบบอย่างไรให้การศึกษาสำเร็จได้ ต้องเปลี่ยนระบบรัฐธรรมนูญการศึกษาไทย และปัญหาที่ต้องแก้คือความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทยยังติดปัญหาเรื่องความยากจนอยู่ เนื่องจากไม่มีเงินเข้าโรงเรียนที่มีคุณภาพ เลยกลายเป็นอยู่ในวงจรเดิม ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้มีช้างเผือกอยู่มาก แต่ไม่มีโอกาส ต้องดูว่าทำอย่างไรที่ไทยถึงไม่แพ้ต่างประเทศ

รองอธิการบดีบุญประสิทธิ์

          วัตถุประสงค์ของการจัดหลักสูตรคือเห็นว่าที่ผู้นำ และเห็นอารมณ์โกรธที่กระตุ้นให้เราคิดได้ว่าเราต้องดีขึ้นกว่านี้ได้ ทิศทางที่เราพัฒนาดีอยู่ระดับหนึ่ง แต่เราไม่สามารถพัฒนาไปในอนาคตได้ถ้าไม่มีการปรับกระบวนการคิด     

          เรื่อง Ranking เป็น 1 ในการวัดงานวิจัย แต่เราไม่ดูใน Ranking เพื่อเอาเป็นเอาตายกับตำแหน่ง แต่ดูเนื้อหาสาระว่าเพื่ออะไร

          ต้องดูว่าที่นักเรียนไม่เลือก ม.อ.เพราะอะไร คำถามคือทำไมถึงไม่เลือก สิ่งที่เห็นคือเด็กหาดใหญ่ปัจจุบันจบ ม.ต้น ไปกรุงเทพฯ แล้วและอาจไปสร้างชื่อเสียงที่อื่นหมดเลย ได้มีการคุยกับผู้ปกครองว่าให้อยู่ที่นี่มีการถามว่าถ้าให้เรียนที่ ม.อ. เรียนที่นี่จะเรียนอะไร และจะการันตีได้ว่ามีอนาคตที่ดีได้อย่างไร ประเด็นคือ เราจะสร้างให้ ม.อ.น่าเชื่อถือ มีคุณภาพใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้อย่างไร ภาควิชาที่เทียบกับต่างประเทศเป็นอย่างไร สู้เขาได้หรือไม่ พัฒนาตนเองให้สู้ได้

          เรามีเป้าหมายเดียวกัน เกิดอารมณ์เหมือนกันต้องไปด้วยกัน  

          เรื่องคลัสเตอร์ ต้องทำให้เกิดขึ้นจริง ๆ ว่าบัณฑิตที่ ม.อ. จะนำงานวิจัยมาร่วมกับการเรียนการสอน และสร้างความกลมกลืนได้คืออะไร นี่คือ World Class , Social Class ที่เราต้องทำให้เกิดขึ้นคืออะไร ดังนั้นคลัสเตอร์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ยางพารา สุขภาพ ท่องเที่ยว อาหาร  เราต้องช่วยกัน แต่บางครั้งต้องออกนอกกรอบ เราต้องช่วยกันทำ ช่วยกันคิด แม้บางเรื่องไม่มีคำตอบสำเร็จ แต่เราต้องช่วยกัน เราต้องมีกรอบการจัดการ เราจะใช้ Ranking มาดูต้องดีขึ้น ใช้ EdPeX ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ต้องมี Star ระดับ World Class ม.อ.จะสร้างอะไร เป็นสิ่งที่เราต้องนำมาปรับว่าเราจะใช้ทำอะไร

          เรื่องของสัมมนา อปม. มีการคุยเรื่องวัดมหาวิทยาลัยอย่างไร ตัววัดไม่ต้องวัดมากแต่ต้องให้ความหลากหลาย ดู Ranking ว่าเราดีขึ้นหรือแย่ลง เอเชียน Ranking อยู่ในอันดับที่ 7 คนที่แทรงเราไปคือใครบ้าง อย่าหาข้อแก้ตัวให้ตัวเอง เราต้องมองไปที่ระดับสูงกว่าเรา ต้องหาบางเรื่องที่เราเก่งให้ได้ บางเรื่องอาจไม่เกี่ยวกับ Ranking เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สุขภาพ เราต้องดึงสิ่งนี้ขึ้นมาให้เด่น แล้ว ม.อ.จะไปต่อในอนาคตได้  ม.อ.ต้องมีสาขาที่โผล่พ้นน้ำ และเป็นในระดับ World Class แล้ว ม.อ.จะก้าวหน้าไปได้ การมี Star มาต้องนำให้มาอยู่ในทีมให้ได้ ไม่ใช่หมั่นไส้ เราจะสร้างให้คนเก่งอยู่ร่วมกันให้ได้จะเป็นอย่างไร คือการสร้าง Talent Management เราต้องชี้ว่าใครเป็น Star อาจารย์ของ ม.อ.ต้องโตขึ้นมาและเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ต้องให้อาจารย์โต และเป็น Authority Field ให้ได้ แล้วสร้างทีมขึ้นมา สิ่งนี้คือสิ่งที่ ม.อ.ต้องเดิน

          การหาเงิน เนื่องจาก ม.อ.ทำในระบบราชการมายาวนาน แต่การขยับในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัย การสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย ต้องมีการเปิดช่องในสิ่งนี้เกิดขึ้น ให้หาสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายภาพ และทำอย่างไรให้ 5 วิทยาเขตโตไปด้วยกัน เราต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ แล้วจัดการ ให้ทุกท่านคิดตอนนี้ เพราะ Innovative Idea คนอายุน้อยมีมากกว่าคนอายุเยอะ และเชื่อว่า ม.อ.จะมีการพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยในภาคใต้ และเดินหน้าไปกับประเทศไทยได้อย่างดี

          สิ่งที่ได้เรียน ทำให้ทิศทางการพัฒนา ม.อ.ไปได้เร็วขึ้น แรงขึ้น และไปเป็นหมู่คณะ คิดแล้วน่าสนุก มีปัญหาแน่ แต่เชื่อว่าเราจะเดินไปข้างหน้าด้วย กัน ม.อ.มีบัณฑิตที่จบจากเรา และมีลักษณะที่เป็นม.อ.มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศ แล้วเราจะเดินหน้าไปด้วยกัน ร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้นจากผลการกระทำของทุกท่านที่ทำให้เกิดขึ้นจริง

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ Reputation นักศึกษา Inbound / Outbound ในภาพรวมของมหาวิทยาลัยเรายังไม่รู้ว่าเปอร์เซ็นเหล่านี้มีอะไร และเราต้องทำให้ดีขึ้น  อย่างคณะวิทย์ อยู่ใน Ranking ที่เท่าไหร่ ปัญหาอยู่ตรงไหน จะได้ปรับตรงไหน

2. มีกรรมการมาจาก ม.มหิดล วิทยานุสรณ์ มีการให้สัมภาษณ์ว่ามีเปอร์เซ็นนักเรียนเท่าไหร่ที่จบจาก มอว. วย. แสงทอง ดรุณี แล้วมาเรียนต่อคณะวิทย์ฯ เราต้องทำให้เราเก่งและแกร่งพอที่จะเป็นที่รู้จักของหัวกระทิในภาคใต้และหาดใหญ่

          ตอบ เรื่อง Ranking แยกข้อมูลคณะต่าง ๆ มีแต่การเผยแพร่ยังไม่ได้เผยแพร่เท่าไหร่ ของม.อ.มีน้อย กระบวนการจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ไม่แรงพอ ได้มีการพูดในที่ประชุมว่าเป็นปัญหาที่เราต้องช่วยกัน ส่วนเรื่องสาขาวิชาชีพจะมี Ranking บอกสาขาที่พอใช้ได้อยู่มี แต่ปัญหาการรวบรวมข้อมูลไม่มีหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้จริง ๆ ทำ 100 ต้องให้ได้ 100

          เรื่อง นักเรียนจาก มอว. วย. แสงทอง และดรุณี  สิ่งที่มีการคุยกันยังไม่ได้สรุป จะทำอย่างไรให้เรียน ม.ปลายเข้ามาที่นี่ เราต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้

          สิ่งที่ทำ UN คือไม่ได้ต้องการคะแนน แต่ต้องการเทียบกับหลักสูตร ดังนั้นการขยับเป็นอินเตอร์มีข้อจำกัดภาษาอยู่ แต่เราไม่ได้คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

3. ประเด็นชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยชอบอะไรหลายอย่าง แต่ปรากฏว่าไม่มีใครสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ระบบเอกสารเป็นภาษาไทย ไม่สามารถทำอะไรได้ต้องรอเจ้าหน้าที่ แล้วเจ้าหน้าที่ไม่พูดภาษาอังกฤษได้ คนที่อยู่มากสุด 2 ปี ส่วนใหญ่ 6 เดือน เหตุผลเพราะไม่สามารถทำอะไรได้เลย จึงอยากให้เปลี่ยนแปลงเรื่องระบบข้อมูลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ Bilingual ทั้งหมด แล้วมีคำถามว่าเข้ามาเจอห้องเปล่า และถ้าเข้ามาวันหยุดทุกอย่างปิดหมด แล้วเขาต้องไปนอนโรงแรม กว่าจะจัดการห้องได้ต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ ทั้ง ๆ ที่ไปในมหาวิทยาลัยอื่นในต่างชาติ เขาเตรียมให้หมด ดังนั้นสิ่งที่อยากฝากไว้ใน ม.อ.คือเราต้องมีกลไกในการบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ให้พร้อมก่อน และน่าเปิด International Center ให้กับส่วนอื่นได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย การเดินทางของชาวต่างชาติไม่สามารถสื่อสารกับคนภายนอกได้เนื่องจากไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่พักรอบนอกไม่สามารถโบกรถมาได้ จึงอยากให้ ม.อ.ติดต่อกับเทศบาลให้มีรถเวียนตลอดเลย อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแล มีระบบที่รองรับ

          ตอบ ระบบช้ากว่าที่อยากเห็น และการประสาน ม.อ.เป็นแท่ง ๆ เราต้องพยายามล้มสิ่งเหล่านี้ให้ได้ วิเทศสัมพันธ์ต้องพยายามรวมสิ่งต่าง ๆ ในการดูแลอาจารย์และนักศึกษาต่างชาติให้ดี

          มหาวิทยาลัยต้องมีระบบที่ดูแลได้มาตรฐานที่ควรจะเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้น รวมถึงเรื่องวีซ่าที่ต้องจัดการ ขออนุญาตรับไว้ในการประสานงาน และจะปรับโครงสร้างเป็นแนวราบมากขึ้น

4. อยากให้ระมัดระวังในการขอวีซ่าจากนักศึกษาต่างชาติเพื่อเข้ามาในประเทศไทย แต่พอได้วีซ่าแล้วจะหายไป บางครั้งเป็นเรื่องการแอบแฝงที่เราต้องดูด้วย  ยกตัวอย่างที่จุฬาฯ สร้าง I House เป็นคอนโดแล้วเก็บค่าใช้จ่ายเป็นรายได้เข้ามหาวิทยาลัย

          ปัญหาหลักบางเรื่องมาจากภาควิชาในการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เราต้องมองเป้าหมายร่วมกัน และขับเคลื่อนร่วมกัน ให้มองว่าเราจะพยายามพัฒนาตัวเองและไปด้วยกันได้อย่างไร




         

 

 

 



 




#PSUfutureleaders3 #โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่3

หมายเลขบันทึก: 631520เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2017 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Summary of what has been learned and what will be applied to the work

25-July-17

Subject 23:

  • Project for PSU Leader Class 3:

Funding will be in the domain of Alumni (Group 1), Teaching and Curriculum (Group 2), Research and Innovation (Group 3), Asset Management (Group 4), PSU Staff (Group 4), Academic Services (Group 4, Group 5), and Entrepreneurship (Group 5).

  • Video Making:

ProShow Gold is recommended for video editing. Effects, caption text, background and music can be added. Publish show menu is useful for exporting the video.

26-July-17

Subject 24:

  • The most important thing in communication is to hear what isn't being said (Peter Drucker).
  • Tour of duty has different types which are rotational, transformational, and foundational.
  • Alignment for different types of tours involves shifting company interests and employee interests to achieve better mission alignment.
  • The people we know equals the skill we have.

Subject 25:

  • Sufficient budget, well plan do not guarantee success if the communication is insufficient
  • Networking development is the most important for a successful large-scale work.
  • Networking management requires frequent practices and experiences. The main idea is to discuss about similarities and to avoid differences.  
  • Secret of budget proposal lies within 20-year nation strategies, ministry strategies, and local needs.

Subject 26:

  • Workshop Group 2: Two PSU networking projects that failed terribly are chosen for the analysis, one problem in local level and another problem in international level. Major problem lies within the communication and network development.
  • The problem is analyzed using the following principles: where are we?, where do we want to go?, how to do it?, how to do it successfully and 3V.

27-July-17

Subject 27:

  • Teamwork seeks value in each person.
  • Value + Inspiration + Imagination + Capability + Endurance => Goal
  • Thinking IQ + Intuition SQ + Feeling EQ + Sensing MQ => 4Qs
  • Navigator is more important than time.

Subject 28:

  • Perspectives on management effectiveness for future university are essential.
  • There should be resources sharing between Thai universities (e.g. Tell Me More).
  • There is a big gap in Thai education system between Olympian students and poor students.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท