ครูพลังสูง


ครูพลังสูงจะแยกแยะความสำคัญ ความยาก ของสิ่งที่จะสอน และตรวจสอบความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ของศิษย์แต่ละคน

ครูพลังสูง

หนังสือ Variable Learning for Teachers : Maximizing Impact on Learning โดย John Hattie  หน้า ๒๖ เอ่ยถึง high-effect teachers    ผมใช้คำว่า “ครูพลังสูง”    พลังในที่นี้หมายถึงผลกระทบ (effect) ต่อศิษย์

John Hattie พัฒนาวิธีวัดผลลัพธ์ต่อตัวเด็ก จากมาตรการพัฒนาวิธีสอนแบบต่างๆ ให้เปรียบเทียบกันได้    และเรียกตัววัดนั้นว่า Effect Size (ES หรือ d)  

 เขาบอกว่า ครูพลังสูงส่งผลลัพธ์ต่อตัวเด็ก สูงกว่าครูพลังต่ำ คิดเป็น d = 0.25    อธิบายได้ว่า นักเรียนที่โชคดี ได้เรียนกับครูพลังสูง ผลการเรียนจะก้าวหน้ากว่าเด็กที่โชคร้าย ได้เรียนกับครูพลังต่ำ ถึงหนึ่งปีเต็ม    ครูในระบบการศึกษาไทยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไหน?

เขาอธิบายต่อว่า คุณลักษณะสำคัญของครูพลังสูงคือ เจตคติ (attitude) และความคาดหวัง (expectation)

ครูพลังสูงจะแยกแยะความสำคัญ ความยาก ของสิ่งที่จะสอน   และตรวจสอบความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ของศิษย์แต่ละคน   

นำไปสู่คุณลักษณะที่เป็นหัวใจของครูพลังสูง คือ มี ความคลั่งใคล้ใหลหลง (passion)  และแรงบันดาลใจ (inspiration) ในการทำหน้าที่ครู  เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ศิษย์ 

เพื่อเตือนสติผู้เกี่ยวข้อง John Hattie มีคำถามเป็น checklist ให้ร่วมกันตอบดังนี้  

  • Checklist สำหรับการสอนอย่างเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและความคลั่งใคล้ : ผู้ใหญ่ทุกคนในโรงเรียนตระหนักว่า
  • Checklist สำหรับการสอนอย่างมีแรงบันดาลใจและคลั่งใคล้  : 

ก.  มีความแตกต่างระหว่างครูต่างคน ในการสร้างผลกระทบต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์  ของนักเรียน

 ข.  ทุกคน (ผู้นำในโรงเรียน, ครู, ผู้ปกครอง, และตัวนักเรียนเอง) ให้คุณค่าสูง ต่อการสร้างผลสัมฤทธิ์หลัก ในนักเรียนทุกคน

 ค.  ทุกคนเอาจริงเอาจังในการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อสร้างผลเชิงบวก ต่อความสำเร็จของนักเรียนทุกคน

  • โรงเรียนแห่งนี้มีหลักฐานให้เชื่อมั่นได้ว่าครูทุกคนสอนอย่างมีแรงบันดาลใจและคลั่งใคล้    และนี่คือเกณฑ์หลักที่ใช้ในการเลื่อนตำแหน่ง   
  • โรงเรียนนี้มีโปรแกรมพัฒนาครู ที่ …
  • โปรแกรมพัฒนาครูของโรงเรียนนี้ช่วยให้ครูบรรลุความสามารถด้าน
  • ความเป็นมืออาชีพในโรงเรียนเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้นำและครูร่วมมือกันทำให้โรงเรียนมี Visible Learning อยู่ภายใน (Visible Learning Inside) 

ก. ทำให้ครูเข้าใจรายวิชาของตนลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ข. สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ในชั้นเรียน

ค. ช่วยให้ครูรู้วิธีให้ข้อมูลป้อนกลับที่ได้ผล (effective feedback)

ง. เอาใจใส่มิติด้านการพัฒนาจิตใจของนักเรียน

จ. พัฒนาความสามารถของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้ระดับผิวและระดับลึก

ก. แก้ปัญหาในการสอน

ข. ตีความเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่

ค. ให้ความสำคัญแก่บริบท

ง. ตรวจสอบการเรียนรู้

จ. ทดสอบสมมติฐาน

ฉ. แสดงความเคารพผู้อื่นในโรงเรียน

ช. แสดงความมีแรงบันดาลใจต่อการสอนและการเรียนรู้

ซ. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความซับซ้อน

 

ทำให้ผมหวนไปคิดถึงครูเรฟ เอสควิธ ที่ผมเคยเขียนเล่าไว้ ที่นี่ ว่าเป็นยอดแห่งครูที่มีไฟ / วิญญาณครู    หรือครูพลังสูง

วิจารณ์ พานิช

๒๑ มิ.ย. ๖๐

 

หมายเลขบันทึก: 630877เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2017 06:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2017 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท