เครื่องมือกำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษา



ผมขออภัย ที่วิพากษ์ว่า การศึกษาไทยตกต่ำลงเรื่อยๆ อย่างนี้ เพราะวิธีกำหนดนโยบายของเราเป็นแบบ ใช้เน้นปฏิภาณ   ไม่เน้นใช้ข้อมูลหลักฐาน

เป็นที่รู้กันทั่วโลก ว่าในปัจจุบันระบบต่างๆ มีความซับซ้อนสูงยิ่ง   การคิดกำหนดนโยบายโดยใช้ สามัญสำนึก หรือปฏิภาณโดยผู้มีอำนาจมักผิด    เพราะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวข้องที่มีความสำคัญมาก บางปัจจัย    และนอกจากนั้น วิธีกำหนดนโยบายแบบดังกล่าว ยังเปิดช่องให้มีคนเข้าไปแสวงผลประโยชน์ส่วนตนหรือ ส่วนกลุ่ม  

ผมเรียนรู้ข้อสรุปนี้โดยตรงจากการที่โชคดีได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการประชุมวิชาการประจำปี PMAC   ที่เป็นการประชุมวิชาการเรื่องระบบและนโยบายสุขภาพ    จึงได้ตระหนักในความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของ การกำหนดนโยบายทั้งหลาย ในทุกระดับ    

การกำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศ ก็ไม่เป็นข้อยกเว้น   และความตกต่ำของคุณภาพ การศึกษาไทยมันฟ้อง อยู่โทนโท่ 

หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับใช้กำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ ยกระดับคุณภาพการศึกษา ของประเทศคือ Hattie Effect Size    ที่ผมเคยเขียนบันทึกเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ที่นี่ 

 Hattie Effect Size สังเคราะห์ผลงานวิจัยจากทั่วโลก เพื่อบอกว่ามาตรการใดที่ส่งผลต่อ Learning Outcome ของนักเรียนมากน้อยแค่ไหน   

โปรดอ่านบทความที่ลิ้งค์ไว้ให้นะครับ   เขาบอกว่า Hattie Effect Size 1999 ระบุมาตรการที่ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล คือ repeating students, parental involvement and ability grouping  และมาตรการที่ได้ผลดีคือ cognitive ability (IQ), Direct Instruction และ feedback  


Hattie Effect Size 2008 บอกว่ามีข้อค้นพบใหม่ว่า มาตรการที่ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล คือ inductive teaching, inquiry learning, และ teaching test taking   ส่วนข้อค้นพบใหม่ด้านมาตรการที่ได้ผลดีคือ teacher clarity, formative evaluation และ acceleration


Hattie Effect Size 2016   ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ (meta-analysis) จากผลการวิจัยกว่า ๑,๒๐๐ ชิ้น   บอกข้อค้นพบใหม่ว่า  มาตรการที่ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลคือ  depression, corporal punishment in the home, web-based learning, and juvenile delinquent programs   ส่วนมาตรการที่ได้ผลดี ได้แก่ collective teacher efficacy, conceptual change programs, teacher credibility, response to intervention, cognitive task analysis and particular types of classroom discussion


ส่วน service learning ให้ผลปานกลาง 

ผู้เขียนบทความย่อยรายงาน Hattie Effect Size 2016 คือ Shuan Killian สรุปว่า ใน ๑๙๔ มาตรการที่สังเคราะห์จากผลการวิจัย ว่ามีผล (บวก หรือลบ) ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็ก   มีมาตรการหรือปัจจัยที่ให้ผลดีระดับซูเปอร์สตาร์ ๖ มาตรการ   ได้แก่


1.       Teacher estimates of achievement  ซึ่งหมายถึงการที่ครูคาดการณ์ผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนเป็นรายคน

2.       Collective teacher efficacy  ข้อนี้ผมว่าสำคัญมาก   แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำอธิบายของ Shuan Killian   ผมมองว่านี่คือเรื่อง PLC  ที่ครูร่วมกันเรียนรู้เพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน  

3.       Self reported grades   หมายถึงการที่นักเรียนรู้ว่าผลการเรียนรู้ที่ดีเป็นอย่างไร   และรู้ว่าตนเองควรได้เกรดอะไร

4.       Piagetian levels   ข้อนี้ผมก็ตีความต่างจาก Shuam Killian อีก   ดดยผมตีความว่า ครูจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามระดับพัฒนาการของเด็ก ซึ่ง Piaget บอกว่ามี ๔ ระดับ อานได้ ที่นี่

5.       Conceptual change programs   เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีการช่วยแก้ความเข้าใจผิดๆ ของนักเรียน   หัวข้อบ่งไปทางที่ว่ามีโปรแกรมช่วยแก้ไขนักเรียนที่เข้าใจผิด   แต่ในบันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ของการสอน บอกว่าครูต้องบูรณาการการแก้ไขความรู้ผิดๆ ไปในการสอนตามปกติ ดัง บันทึกนี้

6.       Response to intervention  ซึ่งหมายถึงการมีระบบช่วยเหลือนักเรียนที่มีความยากลำบาก ในการเรียนบางหน่วยเรียนรู้   ดังที่ผมเคยเล่าระบบการศึกษาพิเศษของประเทศฟินแลนด์ ที่นี่




หนังสือ Variable Learning for Teachers : Maximizing Impact on Learning โดย John Hattie

หนังสือ Visible Learning into Action : International Case Studies of Impact โดย John Hattie และคณะ




วิจารณ์ พานิช

๑๙ มิ.ย. ๖๐



คำสำคัญ (Tags): #600706#Hattie#Effect Size#Hattie Effect Size
หมายเลขบันทึก: 630754เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2017 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2017 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท