มายาคติเรื่องขนาดของชั้นเรียน กับผลสัมฤทธิ์ของการเรียน


การลดขนาดชั้นเรียนไม่เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการเรียน เป็นเพราะครูไม่เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ ยังคงใช้วิธีสอนแบบเดิม

 

ในการประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ แนวทางการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของครูสู่ศตวรรษที่ ๒๑ที่ศศนิเวศ จัดโดย SIGA    มีการนำเสนอผลการประมวลสาเหตุของความด้อยคุณภาพของการศึกษาไทย    ว่าาเหตุหนึ่งคือ สัดส่วนของจำนวนนักเรียนต่อครูสูง หรือขนาดของชั้นเรียนใหญ่

 

 

ทำให้ระลึกถึงข้อความในหนังสือ Visible Learning : A Synthesis of Over 800 Meta-Analyses Relating to Achievement  บทที่ 6 The contributions from school  หัวข้อย่อย Class size  เล่าผล meta-analysis ของผลการวิจัย ๙๖ ชิ้น  ครอบคลุมจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่มได้รับการทดลอง ๕๕๐,๓๓๙ คน    สรุปได้ว่า การลดขนาดจำนวนนักเรียนต่อชั้น (class size) มีผลยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของนักเรียนน้อยมาก

 

ฝ่ายที่อ้างว่าการลดขนาดชั้นเรียน มีผลบวกต่อผลสัมฤทธิ์ บอกว่า การลดขนาดชั้นเรียนนำไปสู่การเรียน ที่เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายคนมากขึ้น,   การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น,   เปิดช่องให้เกิดนวัตกรรมในการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง,   เพิ่มขวัญกำลังใจของครูลดปัญหาในชั้นเรียนปัญหาความประพฤติของนักเรียนน้อยลงและดึงดูดความสนใจของนักเรียน ต่อชั้นเรียนง่ายขึ้น 

 

 

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยจำนวนมากมาย ไม่สนับสนุนความคิดที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนจะดีขึ้น เมื่อลดขนาดของชั้นเรียนลง 

 

 

เมื่อผู้เขียนหนังสือนี้ (John Hattie) ศึกษาเข้าไปในรายละเอียด จึงสรุปว่าผลบวกที่เกิดขึ้น จากการลดขนาดชั้นเรียน มีน้อยมาก   ผลบวกที่พบเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ด้านสภาพการทำงาน    ส่วนผลบวกที่เป็นผลด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียนมี น้อยมาก

 

 

ย้ำอีกทีว่า การลดขนาดชั้นเรียน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูดีขึ้นอย่างแน่นอน   แต่ปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนั้น อาจส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดีขึ้น หรือไม่ดีขึ้น ก็ได้

 

 

ข้อสรุปนี้เป็นจริงในทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และมาจากผลงานวิจัยในหลากหลายประเทศ

 

 

คำอธิบาย ว่าทำไมการลดขนาดชั้นเรียนไม่เพิ่มผลสัมฤทธิ์ก็คือ เป็นเพราะครูไม่เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้   ยังคงใช้วิธีสอนแบบเดิม

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ส.ค. ๕๖

 

 

หมายเลขบันทึก: 548785เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2013 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากมาก ค่ะอาจารย์

หนู จะเก็บ เป็นข้อมูล  อ้างอิง อย่างดี//// เวลา ต้องร่วมทำแผน บริหารการศึกษา

ตามความเป็นจริงแล้วมันน่าจะขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายคือครูและเด็กนะคะ เพราะถ้าครูไม่เอาในใส่ให้มี10คนก็ไม่ได้ผลค่ะอาจารย์

ดูจากนักเรียนประถมเยอะเลยค่ะเดี๋ยวนี้แต่ละห้องมีไม่ถึงยี่สิบคน บางห้องสิบคน ครูเป็นอาจารย์สามด้วยซ้ำไป แต่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 

ด้วยความเคารพนะคะ ไม่ได้ว่าครูประถมทุกคน แต่บางส่วนเป็นแบบนี้จริง ๆ เด็กขึ้นมา ม.1 บางคนยังไม่ได้ ก.ไก่ ครบด้วยซ้ำ

ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น  ที่จริงอยากให้มีการประเมินการสอนจริง ๆ ไม่ใช่แค่เอกสารค่ะ เพราะเอกสารทำสวยหรูอย่างไรก็ได้

แต่สอนจริงไม่ได้เรื่อง แล้วรัฐต้องจ่ายเงินค่าวิทยฐานะเพิ่มอีกเยอะเลย เสียดายเงินจริง ๆ

เปล่าน๊าไม่ได้อิจฉา อาจารย์สาม แต่อยากให้มีคุณภาพมากกว่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท